การตอบคำถามอัญญเดียรถีย์ปริพาชกของท่านพระอนุราธะ

กระทู้สนทนา
....             
             ท่านพระอนุราธะ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
             พระพุทธเจ้า. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์
---
อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค 
๔. อนุราธสูตรว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕
หาอ่านเองได้ที่ https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2586&Z=2679
-----
อ่านต่อเพิ่มความเข้าใจในอรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔อนุราธสูตร 
               อรรถกถาอนุราธสูตรที่ ๔  
หาอ่านเองได้ที่ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=208
----
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔อนุราธสูตร
 
               อรรถกถาอนุราธสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในอนุราธสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ บรรณศาลา (ตั้งอยู่) ท้ายวิหารนั้นนั่นแล.
               บทว่า ตํ ตถาคโต คือ พระตถาคตผู้เป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย.
               บทว่า อญฺญตฺริเมห (บาลีเป็น อญฺญตฺร อิเมหิ) ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระอนุราธะนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เดียรถีย์เหล่านี้เป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งต่อพระศาสนา พระศาสดาจักไม่ทรงบัญญัติ (ปาฐะว่า เอวํ สตฺถา ฉบับพม่าเป็น น เอวํ สตฺถา แปลตามฉบับพม่า) เหมือนอย่างที่เดียรถีย์เหล่านี้กล่าว ฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
               บทว่า เอวํ วุตฺเต เต อญฺญติตฺถิยา ความว่า เมื่อพระเถระกล่าว (แบบ) ไม่ทราบลัทธิของตน และของบุคคลอื่นอย่างนี้ ปริพาชกผู้เป็นอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นรู้แต่เพียงลัทธิในศาสนา (ของตน) ส่วนเดียว ประสงค์จะให้โทษ (จับผิด) ในวาทะของพระเถระ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุราธะ.
               บทว่า กึ ตํ มญฺญสิ อนุราธ ความว่า พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระอนุราธะนั้นแล้วทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่รู้จักโทษในลัทธิของตน แต่เธอเป็นผู้ทำ (จริง) ได้บำเพ็ญเพียรมาแล้ว เราตถาคตจักให้เธอทราบอย่างนี้ด้วยการแสดงธรรม.
               พระศาสดาประสงค์จะทรงแสดงเทศนามีปริวัฏฏ์ ๓ จึงตรัสคำว่า ตํ กึ มญฺญสิ อนุราธ (ดูก่อนอนุราธะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?) เป็นต้น.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกทางบำเพ็ญเพื่อเป็นพระอรหันต์ขึ้น (แสดง) แก่พระอนุราธะนั้นด้วยเทศนานั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ตํ กึ มญฺญสิ อนุราธ รูปํ ตถาคโต (ดูก่อนอนุราธะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นสัตว์หรือ?).
               บทว่า ทุกฺขญฺเจว ปญฺญเปมิ ทุกฺขสฺส จ นิโรธํ ความว่า เราตถาคตบัญญัติวัฏฏทุกข์และความดับไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือพระนิพพาน.
               อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ทุกฺขํ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงทุกขสัจ เมื่อทรงหมายถึงทุกขสัจนั้นแล้วก็เป็นอันหมายถึงสมุทัยสัจด้วย เพราะสมุทัยสัจเป็นมูลเหตุแห่งทุกขสัจนั้น.
               ด้วยคำว่า นิโรธํ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงนิโรธสัจ เมื่อทรงหมายถึงนิโรธสัจนั้นแล้วก็เป็นอันทรงหมายถึงมรรคสัจด้วย เพราะมรรคสัจเป็นอุบาย (ให้บรรลุ) นิโรธสัจนั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงว่า ดูก่อนอนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้เราตถาคตบัญญัติสัจจะไว้ ๔ เท่านั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
               ด้วยเหตุผลดังว่ามานี้ในสูตรนี้ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะ (เรื่อง) วัฏฏะไว้.
               จบอรรถกถาอนุราธสูตรที่ ๔               
               ---------------------------------               
 
.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ อนุราธสูตร จบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่