//// โลกโลกียะ มีขันธ์5ประเภท(รูปและจิต) เท่านั้น เป็นสภาวะที่แท้จริง //การเห็นว่า มีสัตว์อยู่นอกขันธ์5 คือ การเห็นผิด

.

.

.

     พระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ ว่า ไม่มีสิ่งอื่นที่มีสภาวะที่แท้จริง อยู่นอกเหนือขันธ์5(กาย(รวมวัตถุ)และจิต

       ไม่มีสัตว์บุคคล ที่อยู่ในขันธ์5
        และไม่มีสัตว์บุคคล ที่อยู่นอกเหนือขันธ์5

       และไม่ว่าจะ แปลศัพท์ ว่า ตถาคโต ว่า เป็นสัตว์บุคคล(พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับหลวง(สยามรัฐฉบับบอปลไทย)  หรือแปลว่า ตถาคต (พระไตรปิฎกแปลไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)   
        เนื้อความแห่งพระธรรม คือ การแสดงว่า ไม่มีสิ่งอื่นใด ที่อยู่ในขันธ์5
               ไม่มีสิ่งอื่นใด ที่อยู่นอกเหนือขันํ์5

        คำว่า สัตว์ คือ จิต(วิญญาณ) ที่มีความอยาก(ตัณหา) 
หลงยึดมั่นผิด ว่า
     กายและจิต(วิญาณ)ชุดนั้นๆเอง ว่าเป็นตน หรือของตน
     
(เพราะ ไม่มี สติ เห็น ว่า
       กายและจิต ชุดนั้นๆ (ที่เกิดดับตลอดเวลา )
       ไม่คงที่(ไม่เที่ยง) ไม่คงทนอยู่นานพอที่จะเรียกว่าเป็นใครหรือตัวตนอะไร นี้ ว่าเป็น เป็นของตน[/url}

         (จิตหรือวิญาณ เป็นสิ่งเดียว ที่รับรู้สิ่งต่างๆได้ คิดได้
เป็นที่เกิดของความอยาก และความรู้สึกอื่นๆ
         ไม่มีสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆได้  นอกจากจิต)

  

           สิ่งที่เห็น เป็น กายและจิต เป็น ผลของเหตุ
        ตามหลักพระธรรม ปฏิจจสมุปบาท
เท่านั้นเอง  ไม่มีใคร หรือตัวตนอะไร  ทั้งสิ้น

----------
1. อนุราธะสูตร ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2586&Z=2679%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B0%2084000

๔. อนุราธสูตร

ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

   ...
...

...
             [๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 
เธอย่อมเห็นรูปว่า
เป็นสัตว์บุคคลหรือ
?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             [๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า
สัตว์บุคคลในรูปหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
             อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

             
              
...
 
**********

2. อนุราธะสูตร ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=86
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙] [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๔. อนุราธสูตร๑-
ว่าด้วยพระอนุราธะ
     ...
...

...
          
             “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในรูป’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
             เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา ฯลฯ นอกจากเวทนา ฯลฯ 
ในสัญญา
... ในสังขาร ... นอกจากสังขาร .. 
 ในวิญญาณ’ หรือ”
             “ ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
                                                                 
                                                             
...
**********

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่