โดยธรรมชาติ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นของเราเลย ต่อจากกระทู้ https://ppantip.com/topic/41728104

กระทู้เก่า https://ppantip.com/topic/41728104

โดยธรรมชาติ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นของเราเลย 

    ซึ่งก็เป็นสามัญสำนึก หรือสามัญลักษณะ ที่มนุษย์ทุกคนย่อมรู้แล้วในยุกค์ปัจจุบัน ด้วยเมื่อเกิดมาแล้วไม่มีใครเลยจะไม่ตาย ไม่สามารถเอาอะไรไปได้สักชิ้นเดียว แม้แต่ตัวตนที่เป็นอยู่ที่เห็นว่าเป็น "เรา" และความจริงในชีวิตที่เป็นอยู่จะรู้สึกว่า "เป็นเรา" เมื่อยามตื่นเท่านั้น  ยามนอนหลับไหลความรู้สึกว่า "เป็นเรา" ย่อมไม่มีหรือเกิดขึ้น

     ดังนั้น ความเป็นเรา ไม่ได้ดำรงณ์อยู่อย่างแท้จริงเป็นเพียงไปตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติหนึ่งเท่านั้น (ฝ่ายสังขตธรรม)    

   ซึ่งในพระไตรปิฏกฉบับหลวงกล่าวไว้อย่างนี้.

                             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
                                            สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
                                                  ๔. อนุราธสูตร
                                        ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕
...
...
            [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
  อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
  พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
  อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
  พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
  อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
  อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
  พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
          [๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่า
เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
         [๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า
สัตว์บุคคลในรูปหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
       [๒๑๓] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์
บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
        [๒๑๔] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์
บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
  อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
  พ. ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ใน
ปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึง
ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑?
  อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
  พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์
                                              จบ สูตรที่ ๔.
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------

และในพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬากล่าวอย่างนี้

                          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
                                               สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
                                                    ๔. อนุราธสูตร๑-
                                                 ว่าด้วยพระอนุราธะ
...
...
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
             รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
             ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
             “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
             “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๕๕}
 

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๔. อนุราธสูตร

             “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
             “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
             “เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
             “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
             “เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
             “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่า ‘เป็น
ตถาคต’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เธอพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคต
มีในรูป’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา ฯลฯ นอกจากเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
... ในสังขาร ... นอกจากสังขาร ... ในวิญญาณ’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๕๖}
 

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

             “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูป ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคต
นี้ไม่มีรูป’ ... ไม่มีเวทนา... ไม่มีสัญญา ... ไม่มีสังขาร พิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตไม่มีวิญญาณ’ หรือ”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “อนุราธะ แท้จริง เธอจะค้นหาตถาคตโดยจริงโดยแท้ในขันธ์ ๕ ประการนี้
ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็น
อุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรง
บัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
             ๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
             ๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
             ๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
             ๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ หรือ”
             “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
             “ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และ
ความดับทุกข์เท่านั้น”
 
        หมายเหตุ ตามที่เสนอ จะเห็นว่า ฉบับหลวง กับ ฉบับ มจร.ไม่ตรงกัน ด้วยฉบับ มจร. นั้นเอาจากส่วนอื่นมาประกอบรวมกัน ไม่ได้เป็นพระสูตรเดียวกันจนจบ   ได้ผลมาจากค้นหาจาก เว็บ 84000.org ครับ. แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่