ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เชิญชวนร่วมกันศึกษาพระไตรปิฎก
การได้อ่านศึกษาพระไตรปิฎก (แม้จะเป็นพระไตรปิฎกแปล) น้อมกายใจเสมือนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ ของพระตถาคต
๙. พหุเวทนิยสูตร ว่าด้วยเวทนาหลายประเภท
[๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายีพระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร ขอรับ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
(๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า
“ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๒ ประการ
คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า
“ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เพียง ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้
[๘๙] ท่านพระอานนท์ได้ยินการสนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งณ ที่สมควร
ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามบรรยาย
๑- ที่มีอยู่ของอุทายี
ส่วนอุทายีก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
@๑ บรรยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๗-๒๖๘/๑๔๑)
ประเภทแห่งเวทนา
อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้
เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่รู้ ไม่สำคัญ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่กันและกัน
ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้
เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักรู้ สำคัญ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่กันและกัน
ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
กามสุข
[๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’
เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า‘อากาศหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
อานนท์ ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็มิได้คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
[๙๑] อานนท์ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และ บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข’
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนาเพียงอย่างเดียวแล้วบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย
แต่บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พหุเวทนิยสูตรที่ ๙ จบ
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=9
กราบขอบพระคุณ คณะผู้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยให้ข้าพเจ้าได้อ่านเรียนรู้ศึกษาคำสอนของพระตถาคต
ผู้ศึกษา ควรรู้จักเวทนา
ควรรู้จักเวทนาเกิดที่กายและใจ ประเภทของเวทนา
ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนา ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้ดับแห่งเวทนา
ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้ดับแล้วไม่กลับกำเริบ
ชวนศึกษา : พระตถาคตแสดง เวทนา ๒ เวทนา ๓ เวทนา ๕....เวทนา ๑๐๘
เชิญชวนร่วมกันศึกษาพระไตรปิฎก
การได้อ่านศึกษาพระไตรปิฎก (แม้จะเป็นพระไตรปิฎกแปล) น้อมกายใจเสมือนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ ของพระตถาคต
๙. พหุเวทนิยสูตร ว่าด้วยเวทนาหลายประเภท
[๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายีพระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร ขอรับ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
(๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า
“ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๒ ประการ
คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า
“ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เพียง ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้
[๘๙] ท่านพระอานนท์ได้ยินการสนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งณ ที่สมควร
ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามบรรยาย๑- ที่มีอยู่ของอุทายี
ส่วนอุทายีก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
@๑ บรรยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๗-๒๖๘/๑๔๑)
ประเภทแห่งเวทนา
อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้
เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่รู้ ไม่สำคัญ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่กันและกัน
ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้
เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักรู้ สำคัญ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่กันและกัน
ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
กามสุข
[๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’
เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า‘อากาศหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
อานนท์ ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็มิได้คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
[๙๑] อานนท์ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และ บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข’
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนาเพียงอย่างเดียวแล้วบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย
แต่บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พหุเวทนิยสูตรที่ ๙ จบ
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=9
กราบขอบพระคุณ คณะผู้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยให้ข้าพเจ้าได้อ่านเรียนรู้ศึกษาคำสอนของพระตถาคต
ผู้ศึกษา ควรรู้จักเวทนา
ควรรู้จักเวทนาเกิดที่กายและใจ ประเภทของเวทนา
ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนา ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้ดับแห่งเวทนา
ควรรู้จักเหตุปัจจัยให้ดับแล้วไม่กลับกำเริบ