ฟรุกโตส อันตรายต่อไขมันพอกตับเมื่อทานแบบนี้ ☠️

🍭 การทานน้ำตาล มีส่วนทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ (non-alcoholic fatty liver disease , NAFLD) ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นตับแข็งได้ ซึ่งกลไก Metabolism ของฟรุกโตส นั้นก็อาจจะนำไปสู่การเกิดไขมันที่สะสมบริเวณตับได้ พวกนี้คือพื้นฐานอ่ะนะครับ ปกติเขาก็แนะนำให้ลดการบริโภคน้ำตาลกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งอันนั้นโอเคเข้าใจได้


🤔 แต่ปัจจุบันข้อมูลสุขภาพจำนวนมาก บอกเราว่าน้ำตาลฟรุกโตสนั้นอันตรายต่อสุขภาพ กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดไขมันพอกตับแน่นอน หลายคนฟังข้อมูลแบบนี้ผลิตซ้ำวนไปวนมา ไปช่องไหนก็พูดแบบนี้ (ไม่แปลกก็เขาคัดลอก/ท่องจำมาจากต้นทางที่เดียวกัน ๕๕) 

😱 เรียกว่าฟังจนมองฟรุกโตสเป็นยาพิษ บางคนก้าวไปถึงขั้นมองแม้แต่ผลไม้ก็เป็นอันตราย จริงๆแล้วมันเป็นยังไงกันแน่ มาดูข้อมูลจากงานวิจัยกันให้กระจ่างกันไปเลยดีกว่าครับ

📚 งานนี้เป็น Systematic Review และ Meta-Analysis ที่ศึกษามาจากงานวิจัยที่เป็น Controlled trials ซึ่งเป็นการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบชัดเจน โดยเกณฑ์ของงานที่เลือกมาศึกษาคร่าวๆ คือเป็นการศึกษาในมนุษย์นะครับ พวกงานในหนู ในสัตว์ทดลอง หรือการดูผลในหลอดทดลองต่างๆ อันนั้นไม่นำมาวิเคราะห์

👴🏻 เป็นกลุ่มคนอายุเท่าไหร่ก็ได้ สภาวะสุขภาพยังไงก็ได้ทั้งป่วย และสุขภาพดี งานวิจัยต้องทำนาน 7 วันขึ้นไป แล้วก็ ศึกษาการน้ำตาล หรืออาหารที่มีฟรุกโตสในรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับการไม่ทานฟรุกโตสเลย หรือทานน้อยกว่า 5 กรัม และดูผลในข้อบ่งชี้ที่เกี่ยวกับ NAFLD อย่างน้อยหนึ่งอย่าง IHCL (ไขมันในเซลล์ตับ), ALT หรือ AST 

📝 พวกงานที่เป็น Meal replacement รูปแบบอาหารเหลว หรือพวกมีฟรุกโตสแต่อยู่ในรูปของ Rare sugar (พวกน้ำตาลที่ใช้เป็นสารทดแทนความหวาน) อย่างเช่น isomaltulose, melezitose หรือ turanose หรือพวกน้ำตาลที่แคลลอรี่ต่ำ allulose , tagatose , sorbose พวกนี้เขาไม่นำมารวมศึกษานะครับ 

😎 และความแจ่มของงานนี้อยู่ตรงนี้ครับ คือเขาศึกษาถึงรูปแบบของการ "ควบคุมพลังงานอาหาร" ด้วยว่าเป็นแบบ 1. ทดแทน (substitution) คือรับพลังงานจากฟรุกโตส เข้าไปแทนพลังงานจากสารอาหารอื่น ว่าง่ายๆคือกินแคลอรี่เท่ากัน 2. เพิ่ม (addition) อันนี้คือให้กินฟรุกโตสเพิ่มเข้าไป แปลง่ายๆคือ กินพลังงานเพิ่มขึ้น และเพิ่มจากฟรุกโตส 3. ลด (subtraction) อันนี้เปลี่ยนฟรุกโตสไปดื่มน้ำหรือสายทดแทนความหวาน ทำให้ได้รับพลังงานลดลง และ 4. กินตามใจ (ad libitum) 

📌 พอมันมีรูปแบบทั้ง 4 อย่างเข้ามา ก็จะทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นนะครับ ว่ากินฟรุกโตสภายใต้สภาวะแบบไหน ให้ผลยังไงบ้าง ซึ่งหลังจากที่เขาค้นข้อมูลงานวิจัย จากงานทั้งหมด 4616 งาน ก็มีงานที่เข้าเกณฑ์และนำมาศึกษา 75 งาน ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 2059 คน 

🔎 ผลที่พบก็คือ ถ้าดูในการทานที่ "เพิ่ม" โดยเป็นการทานเพิ่มในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อันนี้ส่งผลเสีย มีผลต่อไขมันตับ แล้วก็ค่า ALT แต่ถ้าเป็นการทาน "ทดแทน" ด้วยพลังงานที่เท่ากัน กินน้ำตาลไป ก็ลดพลังงานจากสารอาหารอื่น ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเป็นนัยยะสำคัญ ส่วนค่า AST ไม่มีผลทั้งสองรูปแบบ

📌 ส่วนการทานที่ "ลด" ไม่ทานฟรุกโตส ก็มีไขมันในตับลดลง แต่ต้องโน้ตไว้หน่อยว่านอกจากลดฟรุกโตสแล้ว มันเป็นการทานที่พลังงานติดลบด้วย (Campos et al. 2015, Porikos et al. 1983)

🔎 ถ้าไปดูในรายละเอียดของแต่ละงานที่นำมาศึกษา จะมีงานอีกกลุ่มนึงคือการทานฟรุกโตสด้วย แต่พลังงานเป็นแบบ Negative energy balance (Eslami et al. 2019, Ribeiro et al. 2017, Kaliora et al. 2016) แต่สามงานนี้ไม่ได้ดูผลลัพธ์ในเรื่องของ IHCL ไว้ ไม่อาจบอกได้เรื่องไขมันในตับ

😎 โดยสรุปแบบเข้าใจง่าย ก็คือถ้าทานฟรุกโตส เพิ่มจากการทานปกติ หรือทานแล้วเกิดพลังงานเกิน (Calories surplus , Excess energy แล้วแต่จะเรียก) ด้วย อันนี้มีผลเสียแน่ละ แต่ถ้าทานในพลังงานที่เท่าๆกันกับสารอาหารอื่น หรือไม่ทานไปเลย มีผลแตกต่างกันไป ตามรูปแบบของแหล่งอาหารที่ทาน สภาวะพลังงานอาหารโดยรวม 

ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-07-important-food-sources-of-fructose-containing-sugars-and-non-alcoholic-fatty-liver-disease/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่