คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
สัตว์ใน 👉 ภูมิ 4 หรือ 31 ภพ
1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)
2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)
ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)
3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)
ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)
ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)
ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)
(*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)
4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)
1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)
2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)
ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)
3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)
ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)
ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)
ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)
(*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)
4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)
แสดงความคิดเห็น
สัตว์ตามความหมายของพุทธ "เถรวาท"
พวกนิกายอื่นจะเอาด้วยก็ได้ แต่หากไม่ตรงตามนี้ ไม่ใช่เถรวาทนะจ๊ะ
สัตวโลก หรือ สัตว์โลก (บาลีวันละคำ 1,287)
https://dhamtara.com/?p=3913
สัตวโลก หรือ สัตว์โลก
ถ้าไม่มีการันต์ที่ ว = สัตวโลก อ่านว่า สัด-ตะ-วะ-โลก
ถ้ามีการันต์ที่ ว์ = สัตว์โลก อ่านว่า สัด-โลก
(๑) “สัตว”
บาลีเป็น “สตฺต” อ่านว่า สัด-ตะ รากศัพท์มาจาก สญฺช (ธาตุ = ติด, ข้อง) + ต ปัจจัย, ลบ ญฺช, ซ้อน ต
: สญฺช > ส + ตฺ + ต = สตฺต แปลตามศัพทว่า (1) “ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น” (2) “ผู้ยังผู้อื่นให้ติดข้อง” (3) “ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะของผู้ติดข้อง”
ความหมายข้อ (3) หมายถึงว่าแม้ผู้ปราศจากกิเลสไม่ติดข้องอะไรอีกแล้ว ก็ยังเรียกว่า “สตฺต” ตามสำนวนนิยม
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สตฺต” ว่า a living being, creature, a sentient & rational being, a person (สัตว์โลก, สัตว์, สิ่งที่มีความรู้สึกและมีเหตุผล, คน)
“สตฺต” สันสกฤตเป็น “สตฺตฺว” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สัตว” หรือ “สัตว์”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“สัตว-, สัตว์ : (คำนาม) สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).”
(๒) “โลก” บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –
(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลง ช เป็น ก, แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ
: ลุชฺ + ณ = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป”
(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + อ ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น ก, แผลง อุ เป็น โอ
: ลุจฺ + อ = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป”
(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + อ ปัจจัย
: โลกฺ + อ = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น”
“โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)
ดูเพิ่มเติม: “โลก” บาลีวันละคำ (629) 4-2-57
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [102] แสดง “โลก 3” ไว้ดังนี้ –
[102] โลก 3 (ประดาสภาวธรรมหรือหมู่สัตว์ กำหนดโดยขอบเขตบ้าง ไม่กำหนดบ้าง —Loka: the world; the earth; sphere; universe)
1. สังขารโลก (โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย — Saŋkhāraloka: the world of formations)
2. สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์ — Satta-loka: the world of beings)
3. โอกาสโลก (โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, จักรวาล — Okāsa-loka: the world of location; the world in space; the universe)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“โลก, โลก– : (คำนาม) แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).”
สัตว + โลก = สัตวโลก
ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –
“สัตวโลก : (คำนาม) หมู่สัตว์.”
อภิปราย :
๑ พจน.54 เขียนคำนี้ว่า “สัตวโลก” (ว ไม่การันต์) ตามหลักภาษาต้องอ่านว่า สัด-ตะ-วะ-โลก เป็นคำสมาส แปลจากหลังมาหน้า คือแปลว่า “โลกคือหมู่สัตว์”
๒ คนส่วนมากออกเสียงคำนี้ว่า สัด-โลก ถ้าออกเสียงอย่างนี้ก็ควรเขียนเป็น “สัตว์โลก” (การันต์ที่ ว์) เป็นคำประสม แปลจากหน้าไปหลัง คือแปลว่า “สัตว์ที่อยู่ในโลก”
๓ พจน.54 ไม่ได้เก็บคำว่า “สัตว์โลก” ไว้
……..
: ดูก่อนภราดา!
โลกนี้คือที่คุมขังอันไม่มีวันปลดปล่อย
ถ้าทำใจให้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันไม่ได้
ก็อย่าคิดแต่ที่จะเบียดเบียนเอาเปรียบกันอยู่เลย
เอาเวลาไปคิดหาวิธีหลุดพ้นจากที่คุมขังนี้ยังจะประเสริฐกว่า
ความหมายสัตว์ ตามพระสูตร
หากมีใครบอกจะเอาแต่พระสูตร ก็ต้องตามนี้ ไม่ใช่ไปคิดเพ้อกันเอง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=4433&Z=4459
๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
[๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์. ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น. ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๒.