บัณฑิต ย่อมไม่เรียก กองสังขารล้วนนี้ว่า สัตว์

ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้า ก็ตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า
(๑) เมื่อใดก็ตาม ที่เห็นผิดไปว่า ผู้กระทำ(กรรม) กับผู้เสวยผล(แห่งการกระทำ) เป็นคนเดียวกัน จัดเป็น สัสสตทิฐิ
(๒) เมื่อใดก็ตาม ที่เห็นผิดไปว่า ผู้กระทำ(กรรม) กับผู้เสวยผล(แห่งการกระทำ) เป็นคนละคนกัน จัดเป็น อุจเฉททิฐิ



แต่พวกชาวพุทธชายขอบ กลับมินำพา ยังตะบี้ตะบัน จะให้มี "ตัวเมิง ของเมิง"
ในฐานะผู้กระทำกรรม และเป็นผู้รับผลของกรรมอยู่นั่นเอง

ลำพังความเชื่อแบบนี้ มันก็ไม่ถึงกับเป็นปัญหาอะไรมากนัก ถ้าหากมันจะส่งผลให้ รู้จักอายชั่วกลัวบาป กันบ้าง
แต่ชาวพุทธชายขอบพวกนี้ ก็มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะนอกจากจะไม่อายชั่วกลัวบาปแล้ว
พวกมันยัง "กำเริบ" จนถึงขั้น กล่าวปรามาสพระมหาเถระอย่างท่านพุทธทาส ด้วยเหตุเพียงเพราะว่า
ท่านพุทธทาส กล่าวสอนผู้คน ด้วยคำสอนแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งขัดกับการ "ตีความ" อย่างโง่ๆ ของพวกมัน

กล่าวคือ แม้ชาวพุทธชายขอบพวกนี้ ก็อยู่ในสภาพ ทุเรศทุรัง เป็นเพียงแค่ ปุถุชนผู้บริโภคกาม
ซึ่งแม้แค่เพียงความเข้าใจอย่างถ่องแท้ใน ทาน และ ศีล ก็ยังไม่กระจ่างแจ้ง
แต่ด้วยความไม่เจียมตัว มันพวกนี้ กลับพยายามจะบอกเป็นนัยๆ มาโดยตลอดว่า
พวกมันเป็น สัมมาทิฐิ ทั้งๆ ที่ยังเป็น สัสสตทิฐิ อยู่อย่าง เต็มเนื้อเต็มตัวแท้ๆ



ก็มันจะเป็นสัมมาทิฐิไปได้อย่างไรเล่าครับ ?

พระพุทธเจ้าตรัสอย่างชัดเจนว่า แม้แต่ สัมมาทิฐิระดับ "ชาวบ้าน" ยังหมายถึง ผู้ที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า
(๑) ผลวิบากของกรรมที่ ทำดี ทำชั่ว .............. มีอยู่
(๒) (กรรมดี) เป็นส่วนแห่งบุญ ........... ให้ผลแก่ขันธ์

หมายความว่า ชาวพุทธ ระดับ "ลูกเป็ดไก่อ่อน" จะพูด หรือเข้าใจว่า ตนเป็นผู้ทำกรรม และเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำนั้น ก็ย่อมได้
แต่คุณก็ต้องยอมรับ "ความจริง" ด้วยว่า นั่นเป็นเพียงแค่ ความเชื่อ ในระดับชาวบ้าน ที่ยังไม่ถึงขั้นที่จะเรียกว่า "สัมมาทิฐิ"



แต่เพราะ ชาวพุทธชายขอบพวกนี้ "อยาก" จะยกตน ว่าสูงส่งเหนือกว่าคนธรรมดา ในทำนองว่า พวกมันเป็น สัมมาทิฐิ
เรื่องราว จึงเลยเถิด บานปลาย จนกลายเป็น การกล่าวตู่พระพุทธเจ้า และ บิดเบือนพระธรรมวินัย ในท้ายที่สุด

น่าสมเพชไหมล่ะ ?

**********************************************************************************************



เมื่อถูกแย้งว่า จะเป็นสัมมาทิฐิได้นั้น มันก็ต้องรู้จักแยกแยะ สมมุติ และ ปรมัตถ์ ให้ชัดเจนเสียก่อน
มันก็อ้างขึ้นมาในทันทีว่า "สมมุติ ย่อมมี ปรมัตถ์สภาวะ ที่สอดคล้องกัน"

พร้อมทั้งยังอ้าง วชิราสูตร อย่างไม่รู้เหนือรู้ใต้ อีกต่างหาก !



เมื่อพิจารณา วชิราสูตร พร้อม อรรถกถา อย่างรอบคอบ
จะพบว่า มันมิใช่ "ความสอดคล้อง" อย่างที่ไอ้หมอนั่นกล่าวอ้างเลยสักนิด

เพราะ ทั้งท่านพระวชิราภิกษุณี และอรรถกถา ล้วนระบุตรงกันว่า ไม่มี สัตว์ บุคคล ฯลฯ อยู่จริง
ที่มีอยู่ ก็คือ การเกิดดับของ ทุกข์ คือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น

แต่ที่น่าอดสูยิ่งกว่า ก็คือ การพยายามอธิบายความว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ ในระดับสมมุติ ที่ไม่มีอยู่จริงนี้
มี "สภาวะ" บางอย่างในระดับปรมัตถ์ "รองรับ" อยู่อย่างสอดคล้องกลมกลืนกัน
ซึ่งนี่ย่อมมิใช่คำอธิบายในพระพุทธศาสนา แต่เป็นคำอธิบายของอัญเดียรถีย์ ลัทธิ อไทวตเวทานตะ ต่างหาก !



และเมื่อผมถามแย้งว่า ถ้าอย่างนั้น อัตตาตัวตน ก็มี สภาวะในระดับปรมัตถ์ รองรับอยู่เหมือนกันน่ะสิ ?
คราวนี้ ไอ้หมอนั่น ถึงกับ "แถกแถ" อย่างไม่กลัวหนังถลอกว่า ........

"การเรียกขานชื่อต่างๆ โดยสมมุติ กับ ความเห็นผิดว่า มีอัตตา เป็นคนละอย่างกัน"

เมื่อ แถกแถ มาจนถึงตรงนี้ ก็ "จบเห่" แล้วหละครับ
เพราะการเถียงแบบข้างๆ คูๆ แบบนี้ ย่อมแสดงว่า ไม่มีความเข้าใจในพุทธธรรม เลยแม้แต่น้อย
อีกทั้งยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่า มันผู้นี้ เป็น สัสสตทิฐิ แบบเต็มตัว เลยทีเดียว

ทั้งนี้ ขอให้ชาวพุทธเถรวาททั้งหลาย จงพิจารณา กรณี ของไอ้หมอนี่ เอาไว้เป็นอุทาหรณ์ นะครับ
และท่านทั้งหลาย พึงทราบตามความเป็นจริงด้วยว่า พระพุทธเจ้า มิได้ตรัสสอนว่า สมมุติเหล่านั้น
แม้ไม่จริง แต่ก็มี "สภาวะ" บางอย่าง เช่น ขันธ์ ในระดับปรมัตถ์รองรับอยู่

ขอให้ท่านทั้งหลายจงรับทราบว่า คำอธิบายแบบนี้ เป็นของคณาจารย์ลัทธิอื่น คือ สังกราจารย์
ซึ่งกล่าวว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ เป็นมายา(สมมุติ) ที่เกิดจาก อวิทยา(อวิชชา) ทำให้เห็นผิดไปจากที่ควรจะเป็น
แต่ สัตว์ บุคคล ฯลฯ ที่กล่าวว่าเป็นมายานี้ ก็มิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ หากแต่มี "บางสิ่ง" ซึ่งเป็นความจริงแท้ "รองรับ" อยู่เบื้องหลัง

อุปมา เช่น เราเข้าใจผิดไปว่า เชือกที่เราเห็นในเงามืดเป็นงู
งู นั้นเป็นมายา ไม่มีอยู่จริง แต่กระนั้น ในเหตุการณ์ดังกล่าว
ย่อมมี เชือก ซึ่งเป็นสภาวะที่แท้จริงรองรับอยู่ ฉันใด ก็ฉันนั้น

**********************************************************************************************

การอ้างว่า "สมมุติบัญญัติ กับความเห็นผิดว่า มีอัตตา เป็นคนละอย่างกัน" นี้เท่ากับเป็นการ ปกป้องมิจฉาทิฐิของตน
ด้วยการทำร้ายทำลาย พระพุทธศาสนา กล่าวตู่พระพุทธเจ้า และ บิดเบือนพระธรรมวินัย อย่างมิอาจให้อภัยได้เลยทีเดียว

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพิจารณา พระพุทธดำรัสจาก สังยุตตนิกาย ซึ่งท่านพระราธะ ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่าสัตว์ ?"



พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เพราะเหตุที่มี ความพอใจ(ฉันทะ) ความกำหนัด(ราคะ) ความเพลิดเพลิน(นันทิ)
และความทะยานอยาก(ตัณหา) ในขันธ์ ๕ เป็นผู้ข้องในขันธ์ ๕ เป็นผู้เกี่ยวข้องในขันธ์ ๕ ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์

อรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความเพิ่มเติมไว้ว่า ด้วยความที่เป็นผู้ข้องอยู่ในอุปาทานขันธ์นั้น ย่อมทำการยึดถือว่า

"นี้ของเรา นี้ของเรา"



คำถาม ก็คือ เมื่อพิจารณา "เฉพาะ" คำสอนของพระพุทธเจ้า โดยไม่ไป "ฉกฉวย" เอาคำสอนของอัญเดียรถีย์ เข้ามาปะปน
ยังมีชาวพุทธเถรวาทท่านใด กล้ายืนยัน อยู่อีกหรือไม่ว่า ..........

สมมุติบัญญัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ หรือ บุคคล ก็ตาม ไม่เกี่ยวกับ ความเห็นผิดใน อัตตา ตัวตน ?

ขออนุญาต สรุปความ ในชั้นนี้เสียก่อนว่า เมื่อกล่าวสำหรับ "ปุถุชน" ชาวโลกผู้บริโภคกาม โดยทั่วไป
ล้วนแต่ สำคัญมั่นหมายใน สัตว์ บุคคล ด้วย อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดติดถือมั่นว่าเป็นตัวตน ของตน ด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้น ก็จงอย่าพยายามปฏิเสธ "ความจริง" ข้อนี้กันอีกเลย
เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไร ที่จะปฏิเสธในสิ่งที่ตนเองกำลังเป็นอยู่

นี่มันเป็นธรรมชาติของสัตว์โลก นะครับ

การที่พวกชาวพุทธชายขอบ พยายามอ้างข้อความของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ท่านเหล่านั้น ก็ยังกล่าวด้วยคำว่า เรา เขา
หรือกล่าวถึง สมมุติต่างๆ เช่น สัตว์ บุคคล ฯลฯ นี้ย่อมเป็นการอ้างที่ ผิดฝาผิดตัว อย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะ การที่พระอรหันต์
ยังกล่าวด้วยถ้อยคำอย่างนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับชาวโลก "ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก ย่อมกล่าวตามสมมุติที่พูดกัน"
แต่ท่านเหล่านั้น ก็หาได้ยึดติดถือมั่นในสมมุติบัญญัติเหล่านั้นด้วย ตัณหาอุปาทาน แต่อย่างใดไม่ ซึ่งย่อมแตกต่างกับ ปุถุชน เป็นธรรมดา



กล่าวโดยสรุป ก็คือ แม้ พระพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านก็กล่าวด้วยภาษาของชาวโลก ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติ ก็จริง
แต่เพราะท่านเหล่านั้น "เป็นผู้ครอบงำได้แล้ว คือ ก้าวล่วงแล้วซึ่ง ความสำคัญตน ในตัณหา ทิฐิ และ มานะ"
เราทั้งหลาย จึงสามารถเชื่อได้อย่างแน่นอนว่า ท่านกล่าวโดยไม่ยึดติดถือมั่นใน สมมุติบัญญัติเหล่านั้นว่าเป็นตน หรือ ของตน

แต่บรรดาชาวพุทธชายขอบทั้งหลาย เช่น ล็อกอิน ชาวมหาวิหาร คันโตนาซี เฉลิมศักดิ์1 เอิงเอย และ ฯลฯ
อาศัยอะไร จึงกล้ายืนยันว่า พวกแก กล่าวถึง สัตว์ บุคคล ฯลฯ
โดยปราศจาก ความสำคัญมั่นหมายใน สมมุติบัญญัติเหล่านั้น ว่าเป็นอัตตาตัวตน ?

เพราะถ้าพวกแก กล่าวยืนยันเช่นนั้น
มันก็ไม่ต่างไปจากการกล่าวอวดอ้างว่า พวกแก เป็นพระอรหันต์ นั่นเอง !

หรือมิใช่ ?

ธรรมดาของสัตว์โลก มันเป็น สัสสตทิฐิ มาตั้งแต่แรกแล้ว นี่ครับ
หมายความว่า เมื่อกล่าวถึง สัตว์ มันก็กล่าวด้วยเหตุคือ ความพอใจ(ฉันทะ) ความกำหนัด(ราคะ) ความเพลิดเพลิน(นันทิ)
และความทะยานอยาก(ตัณหา) ในขันธ์ ใดขันธ์หนึ่ง ว่าเป็นตัวเป็นตน ด้วยกันทั้งนั้นแหละ

จนเมื่อสามารถพัฒนาสติปัญญาขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง ก็ย่อมคลายความถือมั่นลงไปได้บ้างว่า
นั่นสักแต่ว่าขันธ์ มิใช่ตน หรือ ของๆ ตน เมื่อเห็นสัตว์ บุคคล ครั้งใด ก็พยายาม พิจารณาแยกรูปนาม
โดยไม่พยายาม ที่จะประกอบรูปนามนั้น ให้กลับมาเป็น สัตว์ หรือ บุคคล ได้อีก ซึ่งนี่คือ อารมณ์วิปัสสนา
เพื่อเจริญปัญญา อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การละวางความยึดติดถือมั่นใน ขันธ์ทั้งหลายว่าเป็นอัตตาตัวตน

หากเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแท้จริง ก็ย่อมทราบได้ด้วยตนเองว่า บุญทาน ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมให้ผลแก่ขันธ์
หาใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่อย่างใดไม่ เมื่อยอมรับได้อย่างนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นสัมมาทิฐิ ระดับชาวบ้าน(โลกียะ)

แต่ตราบใด ที่ยังเห็นว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นผู้ทำกรรม
และ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เหล่านั้นแหละ คือผู้รับผล
ตราบนั้น เขาก็ยังได้ชื่อว่าเป็น มิจฉาทิฐิ ฝ่ายสัสสตทิฐิ อยู่นั่นเอง !

และหากแม้ จะอ้างว่า พระพุทธเจ้าตรัสเองว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ฯลฯ"
ประการที่ ๑ ก็ต้องทราบตามความเป็นจริงด้วยว่า ข้อความนั้น ทรงมีพระประสงค์จะตรัสสอน "ศีลธรรม" กับชาวบ้าน
ประการที่ ๒ ก็ต้องทราบด้วยว่า แม้จะตรัสถึง กรรม โดยเนื่องกับ สัตว์ แต่ก็ตรัสโดยมิได้ทรงยึดถือ ด้วยอัตตวาทุปาทาน
ประการที่ ๓ ข้อความดังกล่าวนี้ มิได้ระบุเอาไว้เลยว่า ผู้ที่เชื่อย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ จักเป็น สัมมาทิฐิระดับโลกียะ !



จะเห็นได้ว่า มันเป็นคนละเรื่อง คนละประเด็นกัน อย่างชัดเจน นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่