.
----- " @พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทิฏฐิ ๖๒ เริ่มต้นจากผัสสะนำไปสู่เวทนา สุดท้ายก็คือความทุกข์ ดังนั้นจึงไม่อาจนำ
@ไปสู่ความดับทุกข์ได้แต่อย่างใด (ที.สี.อ. ๑๔๔/๑๑๖)"
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
**********
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
ว่าด้วยข่ายแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตมาณพ
...
...
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
พวกที่มีวาทะว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง
พวกที่มีวาทะว่า บางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ พวก
ที่มีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มี
เหตุปัจจัย ฯลฯ พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจาก
ตายแล้วมีสัญญา ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ฯลฯ
พวก
ที่มีวาทะว่า หลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า มีสภาพ
บางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ฯลฯ พวก
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้ง
ส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมีความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ด้วยมูลเหตุ ๖๒
อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกรับสัมผัส (ผัสสะ)๑- ทางผัสสายตนะ ๖ แล้ว
เกิดเวทนา (ความรู้สึก) เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา (ความอยาก) เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีอุปาทาน (ความยึดมั่น ถือมั่น) เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึง
เกิดมีภพ (ความมี ความเป็น) เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชาติ (ความเกิด) เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความไม่สบายใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ)
ว่าด้วยไม่มีวัฏฏะเป็นต้น
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะเหล่านั้นออกตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นเธอย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวก
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
@เชิงอรรถ :
@๑ สัมผัส หรือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น
@พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทิฏฐิ ๖๒ เริ่มต้นจากผัสสะนำไปสู่เวทนา สุดท้ายก็คือความทุกข์ ดังนั้นจึงไม่อาจนำ
@ไปสู่ความดับทุกข์ได้แต่อย่างใด (ที.สี.อ. ๑๔๔/๑๑๖)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
อนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ทั้งหมดถูกทิฏฐิ ๖๒ นี้ซึ่งเป็นดุจตาข่าย
ปกคลุมเอาไว้ ตกอยู่ในตาข่ายนี้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้ ติดอยู่ในตาข่ายนี้
ถูกปกคลุมเอาไว้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้เอง
เปรียบเหมือนชาวประมง หรือลูกมือชาวประมง ผู้ชำนาญ ใช้แหตาถี่ทอดลง
หนองน้ำเล็กๆ เขาคิดว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ในหนองน้ำแห่งนี้ทั้งหมดถูกแหครอบ
เอาไว้ อยู่ในแหนี้ เมื่อผุดขึ้นก็ผุดอยู่ในแหนี้ ติดอยู่ในแหนี้ ถูกครอบเอาไว้ เมื่อผุด
ขึ้นก็ผุดอยู่ในแหนี้ ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ทั้งหมดถูกทิฏฐิ ๖๒ นี้๑- ซึ่งเป็นดุจตาข่าย
ปกคลุมเอาไว้ ตกอยู่ในตาข่ายนี้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้ ติดอยู่ในตาข่ายนี้
ถูกปกคลุมเอาไว้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้เอง ฉันนั้น
อุปมาร่างกายเหมือนผลมะม่วง
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตขาดตัณหาที่พาไปสู่ภพเสียแล้ว๒-
เทวดาและมนุษย์จักเห็นกายของตถาคตได้ชั่วเวลายังดำรงอยู่ หลังจากกายแตก
สลายไปเพราะสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นกายนั้นอีก
เปรียบเหมือนเมื่อกลุ่มผลมะม่วงถูกตัดขั้ว ผลมะม่วงทั้งหมดที่ห้อยอยู่กับขั้วก็
ย่อมติดตามขั้วนั้นไป ฉันใด กายของตถาคตขาดตัณหาที่พาไปสู่ภพเสียแล้ว เทวดา
และมนุษย์จักเห็นกายของตถาคตได้ชั่วเวลาที่ยังดำรงอยู่ หลังจากกายแตกสลายไป
เพราะสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นกายนั้นอีก ฉันนั้น”
@เชิงอรรถ :
@๑ ทิฏฐิ ๖๒ คือทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่มีอยู่ในอินเดีย ทั้งก่อนและร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ มีอยู่ทั้งหมด ๖๒
@ทฤษฎี พระพุทธองค์ทรงยกมาแสดงเพื่อยืนยันว่า พระองค์ทรงรู้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างแจ่มแจ้ง และทรง
@แสดงพรหมชาลสูตรครอบคลุมทฤษฎีเหล่านั้นทั้งหมด เปรียบเหมือนชาวประมงใช้แหทอดคลุมปลาไว้ได้
@ทั้งหมด ฉะนั้น
@๒ ไม่มีตัณหาที่จะเป็นเหตุให้เกิดอีก (ที.สี.อ. ๑๔๗/๑๑๗-๑๑๘)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๖} พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
[๑๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ธรรมบรรยายนี้มีชื่อว่าอะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า ข่ายแห่ง
ประโยชน์ (อรรถชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่งธรรม (ธรรมชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่ง
สัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ (พรหมชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่งทิฏฐิ(ทิฏฐิชาละ) ก็ได้
ตำราพิชัยสงคราม (สังคามวิชัย) อันยอดเยี่ยมก็ได้๑-”
[๑๔๙] ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้จบลง โลกธาตุที่ประกอบด้วย ๑๐,๐๐๐
จักรวาลได้หวั่นไหวแล้วแล
พรหมชาลสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งประโยชน์ เพราะเหตุที่ในพรหมชาลสูตร พระพุทธองค์ทรงแจกแจงประโยชน์ในโลกนี้
@และประโยชน์ในโลกหน้าอันเป็นดุจตาข่ายไว้ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งธรรม เพราะพระองค์ตรัสถึงแบบแผน
@และลัทธิธรรมเนียมอันเป็นดุจตาข่ายไว้ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งทิฏฐิ เพราะพระองค์ทรงแจกแจงทิฏฐิ ๖๒ อัน
@เป็นดุจตาข่ายที่ผูกมัดผู้ที่มีความเชื่อลัทธิเหล่านี้ไว้ และที่ชื่อว่า ตำราพิชัยสงครามเพราะผู้ที่ฟังสูตรนี้แล้ว
@สามารถพิชิต เทวปุตตมาร ขันธมาร มัจจุมาร หรือกิเลสมารได้ (ที.สี.อ. ๑๔๘/๑๑๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๗}
**********
.
.
??? เรียนคุณจางซานฟง จาก คำถามว่า .พรหมชาลสูตร .ขอแค่ประโยคเดียวครับ/.ข้อความใหนเป็นสิ่งผิดครับ?
@ไปสู่ความดับทุกข์ได้แต่อย่างใด (ที.สี.อ. ๑๔๔/๑๑๖)"
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
**********
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
ว่าด้วยข่ายแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตมาณพ
...
...
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
พวกที่มีวาทะว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง
พวกที่มีวาทะว่า บางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ พวก
ที่มีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มี
เหตุปัจจัย ฯลฯ พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจาก
ตายแล้วมีสัญญา ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา ฯลฯ
พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ฯลฯ
พวก
ที่มีวาทะว่า หลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ ฯลฯ พวกที่มีวาทะว่า มีสภาพ
บางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ฯลฯ พวก
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้ง
ส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมีความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ด้วยมูลเหตุ ๖๒
อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกรับสัมผัส (ผัสสะ)๑- ทางผัสสายตนะ ๖ แล้ว
เกิดเวทนา (ความรู้สึก) เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา (ความอยาก) เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีอุปาทาน (ความยึดมั่น ถือมั่น) เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึง
เกิดมีภพ (ความมี ความเป็น) เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชาติ (ความเกิด) เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความไม่สบายใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ)
ว่าด้วยไม่มีวัฏฏะเป็นต้น
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะเหล่านั้นออกตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นเธอย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวก
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
@เชิงอรรถ :
@๑ สัมผัส หรือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น
@พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทิฏฐิ ๖๒ เริ่มต้นจากผัสสะนำไปสู่เวทนา สุดท้ายก็คือความทุกข์ ดังนั้นจึงไม่อาจนำ
@ไปสู่ความดับทุกข์ได้แต่อย่างใด (ที.สี.อ. ๑๔๔/๑๑๖)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ทั้งหมดถูกทิฏฐิ ๖๒ นี้ซึ่งเป็นดุจตาข่าย
ปกคลุมเอาไว้ ตกอยู่ในตาข่ายนี้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้ ติดอยู่ในตาข่ายนี้
ถูกปกคลุมเอาไว้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้เอง
เปรียบเหมือนชาวประมง หรือลูกมือชาวประมง ผู้ชำนาญ ใช้แหตาถี่ทอดลง
หนองน้ำเล็กๆ เขาคิดว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ในหนองน้ำแห่งนี้ทั้งหมดถูกแหครอบ
เอาไว้ อยู่ในแหนี้ เมื่อผุดขึ้นก็ผุดอยู่ในแหนี้ ติดอยู่ในแหนี้ ถูกครอบเอาไว้ เมื่อผุด
ขึ้นก็ผุดอยู่ในแหนี้ ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ทั้งหมดถูกทิฏฐิ ๖๒ นี้๑- ซึ่งเป็นดุจตาข่าย
ปกคลุมเอาไว้ ตกอยู่ในตาข่ายนี้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้ ติดอยู่ในตาข่ายนี้
ถูกปกคลุมเอาไว้ เมื่อโผล่ขึ้นก็โผล่อยู่ในตาข่ายนี้เอง ฉันนั้น
อุปมาร่างกายเหมือนผลมะม่วง
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตขาดตัณหาที่พาไปสู่ภพเสียแล้ว๒-
เทวดาและมนุษย์จักเห็นกายของตถาคตได้ชั่วเวลายังดำรงอยู่ หลังจากกายแตก
สลายไปเพราะสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นกายนั้นอีก
เปรียบเหมือนเมื่อกลุ่มผลมะม่วงถูกตัดขั้ว ผลมะม่วงทั้งหมดที่ห้อยอยู่กับขั้วก็
ย่อมติดตามขั้วนั้นไป ฉันใด กายของตถาคตขาดตัณหาที่พาไปสู่ภพเสียแล้ว เทวดา
และมนุษย์จักเห็นกายของตถาคตได้ชั่วเวลาที่ยังดำรงอยู่ หลังจากกายแตกสลายไป
เพราะสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นกายนั้นอีก ฉันนั้น”
@เชิงอรรถ :
@๑ ทิฏฐิ ๖๒ คือทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่มีอยู่ในอินเดีย ทั้งก่อนและร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ มีอยู่ทั้งหมด ๖๒
@ทฤษฎี พระพุทธองค์ทรงยกมาแสดงเพื่อยืนยันว่า พระองค์ทรงรู้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างแจ่มแจ้ง และทรง
@แสดงพรหมชาลสูตรครอบคลุมทฤษฎีเหล่านั้นทั้งหมด เปรียบเหมือนชาวประมงใช้แหทอดคลุมปลาไว้ได้
@ทั้งหมด ฉะนั้น
@๒ ไม่มีตัณหาที่จะเป็นเหตุให้เกิดอีก (ที.สี.อ. ๑๔๗/๑๑๗-๑๑๘)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๖} พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]
[๑๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ธรรมบรรยายนี้มีชื่อว่าอะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า ข่ายแห่ง
ประโยชน์ (อรรถชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่งธรรม (ธรรมชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่ง
สัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ (พรหมชาละ) ก็ได้ ข่ายแห่งทิฏฐิ(ทิฏฐิชาละ) ก็ได้
ตำราพิชัยสงคราม (สังคามวิชัย) อันยอดเยี่ยมก็ได้๑-”
[๑๔๙] ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้จบลง โลกธาตุที่ประกอบด้วย ๑๐,๐๐๐
จักรวาลได้หวั่นไหวแล้วแล
พรหมชาลสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งประโยชน์ เพราะเหตุที่ในพรหมชาลสูตร พระพุทธองค์ทรงแจกแจงประโยชน์ในโลกนี้
@และประโยชน์ในโลกหน้าอันเป็นดุจตาข่ายไว้ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งธรรม เพราะพระองค์ตรัสถึงแบบแผน
@และลัทธิธรรมเนียมอันเป็นดุจตาข่ายไว้ ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งทิฏฐิ เพราะพระองค์ทรงแจกแจงทิฏฐิ ๖๒ อัน
@เป็นดุจตาข่ายที่ผูกมัดผู้ที่มีความเชื่อลัทธิเหล่านี้ไว้ และที่ชื่อว่า ตำราพิชัยสงครามเพราะผู้ที่ฟังสูตรนี้แล้ว
@สามารถพิชิต เทวปุตตมาร ขันธมาร มัจจุมาร หรือกิเลสมารได้ (ที.สี.อ. ๑๔๘/๑๑๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๔๗}
**********
.
.