ไม่มีอะไรครับขอบ่นหน่อย
ตอนแรกคิดว่า 2687 นี่มาถามทาง ที่ไหนได้ตั้งใจมาพาคนให้หลงทาง หนักกว่าพวก อันตคาหิกะ ซะอีก
อย่างน้อย อันตคาหิกะ ก็ยังยอมรับ ทาน และศีล ว่าเป็นของดี ถึงเราจะเถียงกันเรื่อง ภาวนา กับ ปัญญา แต่ท้ายสุดถ้าไม่ยึดมั่น ในโทสะจนกลายเป็นพยาบาท เราก็ยังไปสู่สุคติ โลกสวรรค์กันได้ พวกเราเถึยงกันเพื่อหาทางไปนิพพาน หรืออย่างน้อยก็สนองตัณหา ของบัณฑิตเอามัน
แต่เจอ นิตยมิจฉา อย่าง 2687 พยายามพา คนลงโลกันต นี่ ไม่ไหวจะกล่าว
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เป็นที่ทราบกันดีในวงการศึกษาพระพุทธศาสนาว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาทางอภิปรัชญา ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับอันตคาหิกทิฏฐิ หรือ อัพยากตปัญหา (ความเห็นที่ยึดถือที่สุด) ๑๐ ประการ คือ เรื่องของโลก สภาวะของวิญญาณ และ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังนี้ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สิ้นสุด โลกไม่มีที่สิ้นสุด ร่างกายและวิญญาณเป็นอันเดียวกัน ร่างกายและวิญญาณไม่เป็นอันเดียวกัน ตถาคตจะเกิดใหม่ ตถาคตจะไม่เกิดใหม่ ตถาคตจะเกิดใหม่และไม่เกิด ตถาคตจะไม่ใช่ทั้งเกิดใหม่และไม่เกิดอีก
เหตุผลที่ไม่ทรงตอบคำถามทางอภิปรัชญา
ไม่เป็นประโยชน์ โต้เถียงกันกว่าจะได้คำตอบก็อาจจะตายไปก่อน
ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จึงเสียเวลาเปล่าที่จะโต้เถียง
ไม่ใช่เรื่องด่วน เรื่องด่วนคือการดับทุกข์
ไม่ใช่เพราะพระองค์ไม่ทรงทราบคำตอบ
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงนิ่งเฉยเสีย ไม่ทรงตอบว่า “ใช่” เพราะจะตกอยู่ในข่ายของสัสสตวาทะ (วิญญาณเที่ยง) และไม่ทรงตอบว่า “ไม่ใช่” เพราะจะตกอยู่ในข่ายของ อุจเฉวาทะ (วิญญาณขาดสูญ)
พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เมื่อมีความเห็นว่า “โลกเที่ยง” จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า “โลกไม่เที่ยง” จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า “โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง” ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ พระองค์จึงทรงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบันเท่านั้น
ตามทรรศนะนี้ถือว่า พระพุทธศาสนามิได้คัดค้านหลักความจริงทางอภิปรัชญา แต่ต้องรู้ให้จริง รู้ให้ถึงแก่นของอภิปรัชญาเท่านั้น การรู้แจ้ง จะไม่ทำให้หลงยึดติด เมื่อไม่หลงยึดติด ทิฏฐิเหล่านี้ก็ไม่อาจผูกพันให้หลงวนอยู่ในข่ายแห่งอภิปรัชญาเหมือนปลาติดแห ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร คัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (พระไตรปิฎก เล่ม ๙)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่าทีในการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
เอกังสพยากรณ์ – ตอบตรงๆว่าใช่ หรือไม่ใช่
วิภัชชพยากรณ์ – ตอบแบบวิเคราะห์
ปฏิปุจฉาพยากรณ์ – ตอบแบบย้อนถามว่าหมายถึงอะไร
ฐปนียพยากรณ์ – บางคราวต้องยกปัญหาเอาไว้ก่อน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าทรงนำแนวความคิดทางอภิปรัชญาของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนามาแสดง และทรงวิเคราะห์ไว้ตามบริบทต่าง ๆ ดังปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ จำนวนมาก ในที่นี้ขอนำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
๑. ทรงแสดงทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในพรหมชาลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๙)
๒. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในปัญจัตตยสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔)
๓. ทรงแสดงทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ตามทรรศนะของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนาไว้ในปาฏิกสูตร และตามแนวพุทธไว้ในอัคคัญญสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑)
๔. ทรงแสดงเรื่องลัทธิครูทั้ง ๖ ในสามัญญผลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)
๕. ทรงวิเคราะห์หลักกรรมของลัทธินิครนถ์นาฏบุตรไว้ในเทวทหสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔)
๖. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิที่ขัดแย้งกัน ๕ คู่ ไว้ในอปัณณกสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓)
๗. ทรงวิเคราะห์พรหมของศาสนาพราหมณ์ไว้ในเตวิชชสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)
๘. ทรงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมตามหลักมหากัมมวิภังค์ ไว้ในมหากัมมวิภังคสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านหมดนั่นก่อนค่อยมาคุยกันใหม่นะครับ
จริงๆก็รู้ล่ะว่าอัพยากตปัญหา ที่มาเถึยงกันกับเขาอยู่เนี่ยมันไม่มีประโยชน์ แต่ทำไงได้ กิเลส ภวตัณหา กับวิภวตัณหา มันละยากอะ เข้ามาเถึยงทีไร มันเกิดความมันในอารมณ์ อดไม่ได้ทุกที
http://www.buddhabucha.net/the-buddha-and-the-philosophy-questions/
เหนื่อยใจจริงๆ เวลาเจอพวกนิตยมิจฉาทิฏฐิ
ตอนแรกคิดว่า 2687 นี่มาถามทาง ที่ไหนได้ตั้งใจมาพาคนให้หลงทาง หนักกว่าพวก อันตคาหิกะ ซะอีก
อย่างน้อย อันตคาหิกะ ก็ยังยอมรับ ทาน และศีล ว่าเป็นของดี ถึงเราจะเถียงกันเรื่อง ภาวนา กับ ปัญญา แต่ท้ายสุดถ้าไม่ยึดมั่น ในโทสะจนกลายเป็นพยาบาท เราก็ยังไปสู่สุคติ โลกสวรรค์กันได้ พวกเราเถึยงกันเพื่อหาทางไปนิพพาน หรืออย่างน้อยก็สนองตัณหา ของบัณฑิตเอามัน
แต่เจอ นิตยมิจฉา อย่าง 2687 พยายามพา คนลงโลกันต นี่ ไม่ไหวจะกล่าว
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เป็นที่ทราบกันดีในวงการศึกษาพระพุทธศาสนาว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาทางอภิปรัชญา ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับอันตคาหิกทิฏฐิ หรือ อัพยากตปัญหา (ความเห็นที่ยึดถือที่สุด) ๑๐ ประการ คือ เรื่องของโลก สภาวะของวิญญาณ และ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังนี้ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สิ้นสุด โลกไม่มีที่สิ้นสุด ร่างกายและวิญญาณเป็นอันเดียวกัน ร่างกายและวิญญาณไม่เป็นอันเดียวกัน ตถาคตจะเกิดใหม่ ตถาคตจะไม่เกิดใหม่ ตถาคตจะเกิดใหม่และไม่เกิด ตถาคตจะไม่ใช่ทั้งเกิดใหม่และไม่เกิดอีก
เหตุผลที่ไม่ทรงตอบคำถามทางอภิปรัชญา
ไม่เป็นประโยชน์ โต้เถียงกันกว่าจะได้คำตอบก็อาจจะตายไปก่อน
ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จึงเสียเวลาเปล่าที่จะโต้เถียง
ไม่ใช่เรื่องด่วน เรื่องด่วนคือการดับทุกข์
ไม่ใช่เพราะพระองค์ไม่ทรงทราบคำตอบ
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงนิ่งเฉยเสีย ไม่ทรงตอบว่า “ใช่” เพราะจะตกอยู่ในข่ายของสัสสตวาทะ (วิญญาณเที่ยง) และไม่ทรงตอบว่า “ไม่ใช่” เพราะจะตกอยู่ในข่ายของ อุจเฉวาทะ (วิญญาณขาดสูญ)
พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เมื่อมีความเห็นว่า “โลกเที่ยง” จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า “โลกไม่เที่ยง” จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า “โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง” ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ พระองค์จึงทรงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบันเท่านั้น
ตามทรรศนะนี้ถือว่า พระพุทธศาสนามิได้คัดค้านหลักความจริงทางอภิปรัชญา แต่ต้องรู้ให้จริง รู้ให้ถึงแก่นของอภิปรัชญาเท่านั้น การรู้แจ้ง จะไม่ทำให้หลงยึดติด เมื่อไม่หลงยึดติด ทิฏฐิเหล่านี้ก็ไม่อาจผูกพันให้หลงวนอยู่ในข่ายแห่งอภิปรัชญาเหมือนปลาติดแห ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร คัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (พระไตรปิฎก เล่ม ๙)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่าทีในการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
เอกังสพยากรณ์ – ตอบตรงๆว่าใช่ หรือไม่ใช่
วิภัชชพยากรณ์ – ตอบแบบวิเคราะห์
ปฏิปุจฉาพยากรณ์ – ตอบแบบย้อนถามว่าหมายถึงอะไร
ฐปนียพยากรณ์ – บางคราวต้องยกปัญหาเอาไว้ก่อน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าทรงนำแนวความคิดทางอภิปรัชญาของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนามาแสดง และทรงวิเคราะห์ไว้ตามบริบทต่าง ๆ ดังปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ จำนวนมาก ในที่นี้ขอนำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
๑. ทรงแสดงทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในพรหมชาลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๙)
๒. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในปัญจัตตยสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔)
๓. ทรงแสดงทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ตามทรรศนะของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนาไว้ในปาฏิกสูตร และตามแนวพุทธไว้ในอัคคัญญสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑)
๔. ทรงแสดงเรื่องลัทธิครูทั้ง ๖ ในสามัญญผลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)
๕. ทรงวิเคราะห์หลักกรรมของลัทธินิครนถ์นาฏบุตรไว้ในเทวทหสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔)
๖. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิที่ขัดแย้งกัน ๕ คู่ ไว้ในอปัณณกสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓)
๗. ทรงวิเคราะห์พรหมของศาสนาพราหมณ์ไว้ในเตวิชชสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)
๘. ทรงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมตามหลักมหากัมมวิภังค์ ไว้ในมหากัมมวิภังคสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านหมดนั่นก่อนค่อยมาคุยกันใหม่นะครับ จริงๆก็รู้ล่ะว่าอัพยากตปัญหา ที่มาเถึยงกันกับเขาอยู่เนี่ยมันไม่มีประโยชน์ แต่ทำไงได้ กิเลส ภวตัณหา กับวิภวตัณหา มันละยากอะ เข้ามาเถึยงทีไร มันเกิดความมันในอารมณ์ อดไม่ได้ทุกที
http://www.buddhabucha.net/the-buddha-and-the-philosophy-questions/