JJNY : 5in1 ยื่น'ชวน'ปม8ปี│รุมตัดงบกลาง5แสนล.│วอน'ชะลอ'ขึ้นค่าไฟ│ปธ.กกต.สั่งเตรียมพร้อม│‘สหรัฐ-เกาหลีใต้’ เตรียมซ้อมรบ

171 ส.ส.ฝ่ายค้าน ผนึกชื่อยื่น 'ชวน' ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ 4 ปมตีความ 8 ปีประยุทธ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3512035
 
 
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 17 สิงหาคม ที่รัฐสภา ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ประธานวิปฝ่ายค้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายวิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย เป็นต้น ร่วมกันยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาฯ เพื่อขอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
 
นายชวน กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำไปตรวจสอบคำร้องว่า มีรายชื่อครบถ้วน ของจำนวนส.ส.ที่มีอยู่ เป็นไปตามกฎหมายคือ 1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส. คือ 48 คน หรือไม่ จากนั้นจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญได้เลย
 
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ส.ส.ฝ่ายค้านเข้าชื่อ 171 คน ยื่นต่อประธานสภาฯ เพื่อ 
 
1. ขอให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ความเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลง เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาเกินกว่า 8 ปี ตามมาตรา170 วรรคสอง และมาตรา 158วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 หรือไม่ โดยสาระสำคัญในหนังสือ ประกอบไปด้วย
 
ข้อ1. การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
 
ข้อ 2. รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง มาตรา 158 วรรคสี่ และมาตรา 264 ห้ามนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเกินกว่า 8 ปี โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องและมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น
 
ข้อ 3. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2561 และ 7/2562 กรณีมาตรา 264 ให้รัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ต้องอยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญ 2560 และ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 และ 24/2564 เรื่องการบังคับใช้กฎหมายย้อนหลังสามารถทำได้หากมิใช่โทษทางอาญา
 
ข้อ 4. เจตนารมณ์ของการจำกัดระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 วรรคสี่
 
เมื่อถามว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้นายรัฐมนตรีพ้นวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี วันที่ 23 สิงหาคม ผู้ที่รักษาการนายกฯ จะเป็นพล.ประยุทธ์ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เขียนรองรับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไป และรักษาการแทน ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ยังรักษาการในตำแหน่งนายกฯต่อไปได้ กรณีที่นายกฯไม่สามารถทำหน้าที่ได้มี 4 กรณี 
1. มีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณสมบัติ ตามรัฐธรรมนูญมาตร 98 
2. มีความไม่ซื่อสัตย์ไม่สุจริต เป็นที่ประจักษ์ 
3. ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง 
4. ทำความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 144 เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ
 
“เรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ไม่อยู่ในข้อห้ามในการทำหน้าที่รักษาการ ถ้าพล.อ.ประวิตร จะรักษาการได้ ก็ต่อเมื่อศาลสั่งให้พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยออกมา” นพ.ชลน่าน กล่าว
  
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ต้องพ้นตำแหน่งในวันที่ 23 สิงหาคม จะใช้วิธีรักษาการไปเรื่อยๆ จนใกล้ครบวาระ ไปถึงมีนาคม 2566 นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ถ้ารัฐสภาฯ ยังไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ไม่ว่าจะมาจากในบัญชี หรือนายกรัฐมนตรีคนนอก ก็มีสิทธิ์ที่จะรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกฯคนใหม่เข้ามา เพราะในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาว่า จะต้องเลือกนายกฯคนใหม่ให้ได้ ภายในกี่วัน ถ้าเป็นกรณีนายกฯรักษาการ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีอำนาจทำได้เหมือนกับเป็นนายกฯในเวลาปกติ ทั้งการพิจารณางบประมาณ การแต่งตั้งโยกย้าย แต่ถ้าเป็นการยุบสภาฯ มีข้อห้าม โดยห้ามแต่งตั้งโยกย้าย พิจารณางบประมาณ ห้ามใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง
 
น.พ.ชลน่าน กล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญยังไม่สั่งให้นายกฯยุติการปฏิบัติหน้าที่ นายกฯยังทำหน้าที่ต่อไปได้เรื่อยๆ รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ว่า หลังจากรับเรื่องแล้ว จะต้องยุติปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ทุกอย่างอยู่ที่ศาล เมื่อรับเรื่องแล้ว จะสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่เลยหรือไม่ หรือจะสั่งให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ศาลวินิจฉัย อย่างไรก็ดีเชื่อว่า วันที่ 22 สิงหาคม สภาฯ จะส่งคำร้องของฝ่ายค้านไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ และมั่นใจว่า ศาลจะรับไว้พิจารณาอย่างแน่นอน แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการวินิจฉัยได้ ศาลคงให้ความสำคัญ เร่งกระบวนการวินิจฉัย
 
เมื่อถามว่า นักวิชาการด้านกฎหมายบางคนระบุ วาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ จะนับย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 ในทางที่เป็นโทษไม่ได้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า แล้วแต่ศาลจะใช้ดุลพินิจ แต่เรื่องนี้ก็มีข้อถกเถียงทางกฎหมายมหาชน ที่บอกว่า การนับย้อนหลังต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพประชาชนเท่านั้น แต่เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่ กรณีนี้คงแล้วแต่ ศาลจะใช้ดุลพินิจออกมาทางไหน แต่ยังมั่นใจว่า ศาลจะใช้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาประกอบในคำวินิจฉัย โดยเฉพาะข้อเท็จจริง ที่รัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้อยู่ยาว จะผูกขาดอำนาจ จะหยิบมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะอยู่ยาวจะเกิดความขัดแย้ง เชื่อว่า ศาลคงจะหยิบเงื่อนไขตรงนี้มาร่วมพิจารณาด้วย
 
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวนายกฯ จะชิงยุบสภาก่อน วันที่ 23 สิงหาคม นพ.ชลน่าน กล่าวว่า สามารถทำได้ แต่เหตุผลในการยุบสภาฯ ต้องเกิดข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาฯ แต่ขณะนี้ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น สภาฯไม่มีความผิดใดๆเลย ถ้าจะอ้างว่า ยุบสภาฯคงยาก ถ้ายุบก่อนวันที่ 23 สิงหาคม  จะไม่มีกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายจะค้างไปต่อไม่ได้ ยกเว้นแต่ได้ส่งร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ทูลเกล้าฯไปแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่มีการทูลเกล้าฯ  ถ้ายุบตอนนี้ ก็ไม่มีกฎหมายเลือกตั้ง เข้าสู่สุญญากาศ นายกฯจะอยู่ยาว แต่ไปเสริมแรงต้านของประชาชน ให้เกิดแรงต่อต้านอย่างหนัก เชื่อว่า นายกฯไม่กล้าทำ ภาวนาอย่าให้ทำ
 

  
ฝ่ายค้าน รุมตัดงบกลาง 5 แสนล้าน ไร้รายละเอียด ไม่โปร่งใส่ส่อโกง ตรวจสอบยาก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3512311
  
 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ในวาระ 2 และวาระ 3 ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้พิจารณาเสร็จแล้ว
  
ต่อมา เวลา 13.45 น. เข้าสู่การพิจารณา มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จำนวน 590,470,000,000 บาท ที่จำแนกเป็น 12 รายการ โดยกมธ. และส.ส.ฝ่ายค้านทั้ง พรรคเพื่อไทย (พท.) และ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ต่างอภิปรายไปในทิศทางเดียวกันคือ การเสนอปรับลดงบกลางลง เนื่องจากเป็นการตั้งงบที่ไม่ได้นำไปใช้ในงานเร่งด่วน และฉุกเฉิน งบจำนวนมากนำไปใช้จ่ายให้กับเงินเดือนข้าราชการ อีกทั้งยังไม่มีความโปร่งใส และตรวจสอบยาก
   
โดย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ในฐานะกมธ.ที่ขอสงวนความเห็น อภิปรายว่า จากรายงานของสำนักงานงบประมาณรัฐสภา พบว่างบกลางมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส 3 เรื่องคือ 
1. กระบวนการพิจารณา 
2. กระบวนการใช้จ่าย 
และ 3. กระบวนการตรวจสอบ โดยงบกลางในรายการเงินเลื่อนเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ ที่ปี 2566 ตั้งงบไว้ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ปี 2557-2564 ไม่เคยมีการเบิกจ่ายเลยแม้แต่บาทเดียว ดังนั้น เราจึงสามารถปรับลดลงได้
   
ส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็น ปี 2566 ตั้งงบไว้ 92,400,000,000 บาท โดยปี 2565 อนุมัติไปตามมติครม.แล้ว 4.4 หมื่นล้านบาท และยังต้องนำมากลบเกลื่อนความผิดของรัฐบาลที่ตั้งเงินเดือนไว้ไม่พอจ่ายสำหรับปีนี้ จึงต้องเข้าไปขอให้ครม.อนุมัติอีก 2.3 หมื่นล้านบาท โดยตนได้เคยพูดว่า งบที่มีอย่างจำกัด หากไม่ปรับโครงสร้างอย่างจริงจัง อาจจะกระทบกับเงินเดือนข้าราชการก็เป็นได้ และก็เป็นจริงๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ครม.มีมติจะจัดสรรงบกลางให้กองทุนน้ำมัน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน หรืออาจจะต้องเลื่อนไปถึงงบกลางของปี 2566 หรือไม่
  
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า เงินสำรองจ่ายฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็น มีการเบิกจ่ายต่ำมากเฉลี่ย 5 ปี เบิกจ่ายเพียง 50% ทั้งนี้ งบส่วนนี้สามารถโอนเปลี่ยนแปลงระหว่างรายการงบกลางได้ โดยที่เราไม่รู้ว่าเอาไปไหน และเอาไปทำอะไร ดังนั้น การจัดสรรงบประมาณควรจะต้องดูถึงความพร้อมของการดำเนินการ และความจำเป็นเร่งด่วนของโครงการด้วย ตนจึงขอตัดลดงบกลางในทุกรายการให้เหลือ 590,000,000,046 ล้านบาท
  
ด้าน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ กมธ.ที่ขอสงวนความเห็น อภิปรายว่า ตนขอเสนอปรับลดงบกลาง 5 % เพราะมีอัตรา 18.5% ของงบประมาณทั้งหมด ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี แต่กลับไม่มีการวินัยในการใช้งบ จนอาจจะทำให้เกิดภาวะภัยทางศีลธรรม ในกระบวนการพิจารณาปีนี้ มีหลายครั้งที่ตั้งงบที่ดูแล้วไม่พอที่จะทำโครงการ เมื่อตนถามหน่วยงานนั้นไป ก็จะได้รับคำตอบว่า ไว้ไปขอจากงบกลาง ตัวอย่างแรกคือ โครงการสวัสดิการประชารัฐ ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้คือการเพิ่มจำนวนประชากรผู้ใช้สิทธิจาก 13 ล้านคน เป็น 18-20 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 35-50% แต่การจัดการกองทุนประชารัฐสวัสดิการ พบว่ามีการเพิ่มงบเพิ่มเพียง 18% โดยทางหน่วยงานก็ชี้แจงว่า จะไปเอางบจากงบกลาง
  
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวอย่างที่สอง คือ งบจัดการเลือกตั้ง ถ้านายกฯ ตัดสินใจลาออก และยุบสภาในวันนี้ ตนจะไม่ติดใจหากจะใช้งบกลางมาจัดการเลือกตั้ง เพราะผ่านมา 8 ปี เราต้องยอมรับว่า การที่ท่านจะตัดสินใจลาออกก็นับว่าเป็นปาฏิหาริย์ และเป็นปรากฏการณ์ที่เหนือการคาดการณ์ แต่ตนไม่เข้าใจว่า สภาชุดนี้จะครบวาระในช่วงเดือนมีนาคม 2566 จะมีเหตุผลอะไรทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงบประมาณ ไม่ตั้งงบสำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 หรือว่าท่านรูอะไรที่ตนไม่รู้ว่าปีหน้า จะไม่มีการเลือกตั้งตามวาระ ตนจึงถามหน่วยงานว่า จะนำเงินมาจากไหนจัดเลือกตั้ง คำตอบที่ได้คืองบกลาง ซึ่งก็เป็นคำตอบที่ดีกว่าไม่รู้ๆๆ สักเล็กน้อย แต่ในอนาคตหากทุกหน่วยงานตั้งงบไม่รอบคอบเช่นนี้ และหวังไปพึ่งงบกลางในดาบหน้า ต่อให้นำงบกลางของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้ง 8 ปี มารวมกันก็คงไม่พอ การตั้งงบกลางสูงอาจจะทำให้สบายใจ แต่ถ้าตั้งไว้สูงแล้วทำให้หน่วยงานชะล่าใจว่าถ้าตั้งงบไม่พอก็ขอจากงบกลางได้เรื่อยๆ สุดท้ายจะมีงบไม่พอสำหรับกรณีฉุกเฉิน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่