มุมมอง กม. ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’ ตัวช่วยฝ่ายค้านสู้คดี-บิ๊กตู่ 8 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_3538885
มุมมอง กม. ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’ ตัวช่วยฝ่ายค้านสู้คดี-บิ๊กตู่ 8 ปี
หมายเหตุ –
ความคิดเห็นทางด้านกฎหมายของ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านนำเสนอข้อมูลรายชื่อพยานเพิ่มเติม ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบการวินิจฉัยคำร้อง กรณีการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
⦁ ในความเห็นของอาจารย์คิดว่าวาระ 8 ปี ของนายกฯจะต้องเริ่มนับที่ปี 2557, 2560 หรือ 2562
ต้องเริ่มต้นนับที่ พล.อ.
ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2557 ที่พูดแบบนั้นเนื่องจากทางข้อเท็จจริงปรากฏว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติแต่งตั้ง พล.อ.
ประยุทธ์ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯในเดือนสิงหาคม ปี 2557 ดังนั้นในทางหลักการแล้วพล.อ.
ประยุทธ์จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 เรียบร้อยแล้ว ว่าง่ายๆทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่างชัดเจนว่า พล.อ.
ประยุทธ์อยู่ในฐานะนายกฯ เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมผมถึงนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.
ประยุทธ์ ปี 2557 ทั้งที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ไม่มีบทบัญญัติการจำกัดวาระ 8 ปี ของนายกฯ
ประเด็นนี้ผมอธิบายได้ในทางรัฐธรรมนูญว่า ในเบื้องต้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า รัฐธรรมนูญปี 2557 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ธรรมชาติของมันจะมีบทบัญญัติสั้นๆ ไม่ได้ยืดยาวลงรายละเอียดเหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับปกติทั่วไป แต่แม้ว่าจะมีบทบัญญัติสั้นๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีการพูดถึงกล่าวถึงในบทบัญญัติมาตราต่างๆ จะหมายความว่าไม่มีกฎเกณฑ์บังคับใช้ กรณี “
กติกาจำกัดวาระนายกฯ 8 ปี” ก็เช่นกัน แม้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ชัดเจน แต่อยู่ในขอบเขตการบังคับใช้ตามมาตรา 5 ที่มีข้อความว่า
“เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัย กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ต้องขออธิบายเพิ่มเติมว่า มาตรา 5 หากพูดเป็นภาษาให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้ แต่การบังคับใช้ให้เข้าไปดูประเพณีทางการเมืองของประเทศไทยว่าเคยทำกันมาไหม ตามหลักการแล้ว เขาให้ย้อนกลับไปดูบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ดังนั้น เมื่อไปพลิกดูรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เราก็จะพบว่า ในมาตรา 171 มีการบัญญัติกฎเกณฑ์เรื่องวาระ 8 ปีของนายกฯ จึงสามารถอธิบายได้ว่า นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้ ได้มีการก่อตั้งประเพณีทางการเมืองของไทยไว้ว่า “นายกฯ ห้ามอยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปี” ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะถูกฉีกไป แต่วาระ 8 ปีของนายกฯ ยังคงอยู่ในรูปแบบของประเพณีทางการเมืองเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 แล้ว มาตรา 5 ก็ได้รองรับประเพณีทางการเมืองนี้ไว้ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์มาดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2557 จึงย่อมต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 5 ตามปกติ การนับวาระนายกฯ ก็ต้องเริ่มนับในเดือนสิงหาคม ปี 2557 โดยไม่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญย้อนหลังใดๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
จนต่อมามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี 2560 บทเฉพาะกาลก็มีการรับรองให้มีการทำงานตามปกติตาม “
หลักการบริหารราชการแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง” อีกทั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีบทบัญญัติวาระ 8 ปีของนายกฯ ในมาตรา 158 ก็จึงยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นสิ่งที่ผมอธิบายไปก่อนนี้ว่า ระบอบรัฐธรรมนูญไทยก่อตั้งประเพณีทางการเมืองตั้งแต่ปี 2550 จนปัจจุบันว่า นายกฯห้ามอยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปีมาโดยตลอด การที่ พล.อ.
ประยุทธ์เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2557 จึงเป็นการอยู่ตำแหน่งมาอย่างต่อเนื่องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2557 เป็นต้นมาจนกระทั่งมาครบเวลา 8 ปีในวันที่ 24 สิงหาคมในปัจจุบัน การนับระยะเวลาจึงต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เมื่อท่านเป็นนายกฯ วันแรกตามปกติ เว้นแต่จะมีการยกเลิกบทบัญญัติไป
⦁ มีบางท่านทักท้วงว่า บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้ให้เขียนนับระยะเวลารวมตั้งแต่ปี 2557
เอาจริงๆ หากเราอ่านบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ครบถ้วน จะพบว่า มีการเขียนไว้ค่อนข้างชัดว่า ผู้ยกร่างมีความประสงค์ให้นับรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 264 วรรคสองเขียนไว้ชัดว่า ให้รัฐมนตรีที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ ก็รวมถึง พล.อ.
ประยุทธ์ในฐานะนายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 170 ด้วย มาตรา 170 ก็คือบทบัญญัติที่กำหนดว่า นายกฯต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระ 8 ปี ตรงนี้ชัดเจนมาก จนไม่ต้องมาถกเถียงอะไรกันต่อแล้ว และก็ไม่ปรากฏว่าจะมีการเขียนบทบัญญัติยกเว้นว่าไม่ต้องนับรวมเหมือนกับกรณีการเขียนยกเว้นเรื่องคุณสมบัติ หรือการกระทำต้องห้ามอื่น จึงไม่แปลกใจที่บันทึกของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นข่าวมาก่อนนี้
จึงมีความเห็นตรงกับที่ผมอธิบาย นั่นหมายความว่า เขามีความประสงค์จะให้มีการนับระยะเวลานายกฯ ใช้อำนาจมาก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้อยู่ยาวนั่นเอง อธิบายและตีความเจตนารมณ์ผู้ยกร่างปรากฏบนบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญที่มีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว
⦁ หาก พล.อ.ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปี ตามที่อาจารย์อธิบายจะมีผลอย่างไรตามมา
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญย่อมถือว่า พล.อ.ประยุทธ์พ้นจากตำแหน่ง ณ วันที่มีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 82 กรณีจะส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ารัฐสภาจะมีการแต่งตั้งนายกฯคนใหม่ เพื่อฟอร์มคณะรัฐมนตรีคณะใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการนี้ยังคงมี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯรักษาการ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ยังต้องรักษาการต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีของการขาดคุณสมบัติ หรือมีการกระทำความผิดใดๆ การครบวาระ 8 ปี ไม่เข้าการขาดซึ่งคุณสมบัติ หรือการกระทำความผิดใดๆ ในทางรัฐธรรมนูญ กรณีการครบวาระ 8 ปี อาจถือเป็นคุณสมบัติได้ แต่จะมีผลบังคับใช้กับ พล.อ.
ประยุทธ์สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า นั่นหมายความว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พล.อ.
ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปีเรียบร้อยแล้ว ย่อมส่งผลให้พล.อ.
ประยุทธ์ขาดคุณสมบัติของการดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ สำหรับการเลือกตั้งสมัยต่อไปนั่นเอง
⦁ คณะรัฐมนตรีรักษาการที่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯรักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่
ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญผมต้องตอบว่าไม่มีอำนาจยุบสภา ผมเห็นหลายท่านแสดงความคิดเห็น โดยไปอธิบายเชื่อมโยงกับมาตรา 169 กำหนดว่ากรณีหากอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งส่งผลให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นไปทั้งคณะและถูกกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามอนุมัติโครงการบ้าง โยกย้ายข้าราชการบ้าง อนุมัติงบประมาณบ้าง เมื่อกรณีการครบวาระ 8 ปี นายกฯไม่เข้ากรณีนี้ คณะรัฐมนตรีรักษาการจึงไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจำกัดอำนาจ เขาจึงเป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการที่มีอำนาจเต็ม เห็นว่าไม่น่าจะถูกต้อง เป็นคำอธิบายที่ค่อนข้างแปลกประหลาด
อธิบายในทางหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ว่า โดยทั่วไปแล้ว คณะรัฐมนตรีรักษาการ หรือ Caretaker Government ก็มีสถานะเป็นแบบเดียว ไม่มีการจำแนกและจะบอกว่า คณะรัฐมนตรีรักษาการประเภทใดมีอำนาจมาก หรือน้อยมากกว่ากัน เพราะต่างก็สิ้นสถานะทางรัฐธรรมนูญที่เป็นทางการไปแล้ว อำนาจทางรัฐธรรมนูญตามปกติ หรือที่เขาเรียกว่า Constitutional mandate นั้นหมดไปแล้วพร้อมกับสถานะของรัฐมนตรี จึงไม่สามารถที่จะมีเหตุผลกลใดจะมาบอกว่า มีอำนาจถึงขนาดจะไปยุบสภาได้เหมือนกับคณะรัฐมนตรีปกติ ในทางหลักการของรัฐธรรมนูญเป็นไปไม่ได้เลย เพราะแนวคิดของคณะรัฐมนตรีรักษาการคือ คณะรัฐมนตรีชั่วคราว ทำหน้าที่อยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะรอคณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งและเต็มไปด้วยความชอบธรรมมากกว่าเป็นการใช้อำนาจบริหารในฐานะผู้แทนปวงชนตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หากเรายืนยันว่าคณะรัฐมนตรีรักษาการแต่ละกรณีมีอำนาจไม่เท่ากัน บางกรณีมีอำนาจเต็มถึงขนาดยุบสภาได้ บางกรณีมีอำนาจจำกัดมาก ต้องกำหนดไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน แต่นี่ไม่มี
นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจอธิบายในเชิงหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญได้อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เฉพาะกรณีพล.อ.ประยุทธ์ตอนนี้ ต้องไม่ลืมว่าอายุของสภาผู้แทนราษฎร และอายุหรือวาระของนายกฯ มีเวลาไม่เหมือนกันแต่เหลื่อมกันอยู่ หมายถึงนายกฯ เข้ามาดำรงตำแหน่งก่อนจะมีสภาผู้แทนราษฎรหลายปี ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว วาระของนายกฯ ก็ย่อมต้องหมดไปก่อน เมื่อหมดไปก่อนอยู่ในสถานะของคณะรัฐมนตรีรักษาการ นายกฯรักษาการที่ไม่มีความชอบธรรมแล้ว เนื่องจากครบวาระไปแล้ว จะไปใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ยังไม่หมดอายุ หรือครบเงื่อนเวลาตามรัฐธรรมนูญ ยังคงมีความชอบธรรม มีอำนาจอย่างเต็มตามรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างเต็มเปี่ยมได้
ต้องไม่ลืมว่า นายกฯมาจากสภาเป็นคนตั้งขึ้น เมื่อนายกฯและคณะรัฐมนตรีพ้นไปก่อนสภา จึงไม่มีเหตุผลทางรัฐธรรมนูญ หรืออาศัยความชอบธรรมทางระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาใดมายุบสภา “แม่ที่ให้กำเนิดตนเอง” ได้
ชาวบ้าน ทำใจ รับมือน้ำท่วมทุกปี เร่งอพยพจองที่สร้างเพิงพักชั่วคราว ริมคันคลอง
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7244460
สิงห์บุรี สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มระดับสูง น้ำจ่อเข้าพื้นที่ ต.ชีน้ำร้าย อินทร์บุรี ชาวบ้านเร่งอพยพ จับจองสร้างที่พักชั่วคราว ริมคันคลอง
2 ก.ย. 65 – สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ขณะนี้เริ่มวิกฤต เนื่องจากน้ำเจ้าพระยาเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชนในที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ต.ชีน้ำร้าย
ประกอบกับ ต.ชีน้ำร้าย เป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่มีแนวเขื่อนกั้นน้ำ ดังนั้น ช่วงฤดูฝนของทุกๆ ปี จะประสบปัญหาน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นประจำ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ชาวบ้าน จะต้องทำใจและเตรียมรับมือ โดยคาดว่า น้ำน่าจะเข้าท่วมบ้านเรือนในช่วงนี้
ขณะเดียวกันประชาชนที่มีบ้านชั้นเดียว เริ่มไปเตรียมสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวบริเวณริมถนนคันคลองชลประทาน สายสิงห์บุรี-ชัยนาท
ส่วนผู้ที่มีที่พักเป็นอาคารบ้านเรือน 2 ชั้น ต่างก็เร่งเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นไปไว้บนชั้น 2 ขณะเดียวกัน บางส่วนก็เร่งเตรียมขนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตร รวมไปถึง สัตว์เลี้ยงย้ายไปพักไว้ยังริมถนนคันคลองด้วยเช่นกัน
JJNY : มุมมองกม. ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’│ชาวบ้านทำใจ ท่วมทุกปี│น้ำมันโลกลดต่อเนื่อง│ศาลตัดสินจำคุกภรรยาอดีตนายกฯนาจิบ
https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_3538885
มุมมอง กม. ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’ ตัวช่วยฝ่ายค้านสู้คดี-บิ๊กตู่ 8 ปี
หมายเหตุ – ความคิดเห็นทางด้านกฎหมายของ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านนำเสนอข้อมูลรายชื่อพยานเพิ่มเติม ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบการวินิจฉัยคำร้อง กรณีการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
⦁ ในความเห็นของอาจารย์คิดว่าวาระ 8 ปี ของนายกฯจะต้องเริ่มนับที่ปี 2557, 2560 หรือ 2562
ต้องเริ่มต้นนับที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2557 ที่พูดแบบนั้นเนื่องจากทางข้อเท็จจริงปรากฏว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯในเดือนสิงหาคม ปี 2557 ดังนั้นในทางหลักการแล้วพล.อ.ประยุทธ์จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 เรียบร้อยแล้ว ว่าง่ายๆทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่างชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์อยู่ในฐานะนายกฯ เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมผมถึงนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ ปี 2557 ทั้งที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ไม่มีบทบัญญัติการจำกัดวาระ 8 ปี ของนายกฯ
ประเด็นนี้ผมอธิบายได้ในทางรัฐธรรมนูญว่า ในเบื้องต้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า รัฐธรรมนูญปี 2557 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ธรรมชาติของมันจะมีบทบัญญัติสั้นๆ ไม่ได้ยืดยาวลงรายละเอียดเหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับปกติทั่วไป แต่แม้ว่าจะมีบทบัญญัติสั้นๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีการพูดถึงกล่าวถึงในบทบัญญัติมาตราต่างๆ จะหมายความว่าไม่มีกฎเกณฑ์บังคับใช้ กรณี “กติกาจำกัดวาระนายกฯ 8 ปี” ก็เช่นกัน แม้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ชัดเจน แต่อยู่ในขอบเขตการบังคับใช้ตามมาตรา 5 ที่มีข้อความว่า “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัย กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ต้องขออธิบายเพิ่มเติมว่า มาตรา 5 หากพูดเป็นภาษาให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้ แต่การบังคับใช้ให้เข้าไปดูประเพณีทางการเมืองของประเทศไทยว่าเคยทำกันมาไหม ตามหลักการแล้ว เขาให้ย้อนกลับไปดูบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ดังนั้น เมื่อไปพลิกดูรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เราก็จะพบว่า ในมาตรา 171 มีการบัญญัติกฎเกณฑ์เรื่องวาระ 8 ปีของนายกฯ จึงสามารถอธิบายได้ว่า นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้ ได้มีการก่อตั้งประเพณีทางการเมืองของไทยไว้ว่า “นายกฯ ห้ามอยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปี” ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะถูกฉีกไป แต่วาระ 8 ปีของนายกฯ ยังคงอยู่ในรูปแบบของประเพณีทางการเมืองเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 แล้ว มาตรา 5 ก็ได้รองรับประเพณีทางการเมืองนี้ไว้ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์มาดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2557 จึงย่อมต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 5 ตามปกติ การนับวาระนายกฯ ก็ต้องเริ่มนับในเดือนสิงหาคม ปี 2557 โดยไม่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญย้อนหลังใดๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
จนต่อมามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี 2560 บทเฉพาะกาลก็มีการรับรองให้มีการทำงานตามปกติตาม “หลักการบริหารราชการแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง” อีกทั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีบทบัญญัติวาระ 8 ปีของนายกฯ ในมาตรา 158 ก็จึงยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นสิ่งที่ผมอธิบายไปก่อนนี้ว่า ระบอบรัฐธรรมนูญไทยก่อตั้งประเพณีทางการเมืองตั้งแต่ปี 2550 จนปัจจุบันว่า นายกฯห้ามอยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปีมาโดยตลอด การที่ พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2557 จึงเป็นการอยู่ตำแหน่งมาอย่างต่อเนื่องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2557 เป็นต้นมาจนกระทั่งมาครบเวลา 8 ปีในวันที่ 24 สิงหาคมในปัจจุบัน การนับระยะเวลาจึงต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เมื่อท่านเป็นนายกฯ วันแรกตามปกติ เว้นแต่จะมีการยกเลิกบทบัญญัติไป
⦁ มีบางท่านทักท้วงว่า บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้ให้เขียนนับระยะเวลารวมตั้งแต่ปี 2557
เอาจริงๆ หากเราอ่านบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ครบถ้วน จะพบว่า มีการเขียนไว้ค่อนข้างชัดว่า ผู้ยกร่างมีความประสงค์ให้นับรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 264 วรรคสองเขียนไว้ชัดว่า ให้รัฐมนตรีที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ ก็รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะนายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 170 ด้วย มาตรา 170 ก็คือบทบัญญัติที่กำหนดว่า นายกฯต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระ 8 ปี ตรงนี้ชัดเจนมาก จนไม่ต้องมาถกเถียงอะไรกันต่อแล้ว และก็ไม่ปรากฏว่าจะมีการเขียนบทบัญญัติยกเว้นว่าไม่ต้องนับรวมเหมือนกับกรณีการเขียนยกเว้นเรื่องคุณสมบัติ หรือการกระทำต้องห้ามอื่น จึงไม่แปลกใจที่บันทึกของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นข่าวมาก่อนนี้
จึงมีความเห็นตรงกับที่ผมอธิบาย นั่นหมายความว่า เขามีความประสงค์จะให้มีการนับระยะเวลานายกฯ ใช้อำนาจมาก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้อยู่ยาวนั่นเอง อธิบายและตีความเจตนารมณ์ผู้ยกร่างปรากฏบนบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญที่มีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว
⦁ หาก พล.อ.ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปี ตามที่อาจารย์อธิบายจะมีผลอย่างไรตามมา
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญย่อมถือว่า พล.อ.ประยุทธ์พ้นจากตำแหน่ง ณ วันที่มีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 82 กรณีจะส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ารัฐสภาจะมีการแต่งตั้งนายกฯคนใหม่ เพื่อฟอร์มคณะรัฐมนตรีคณะใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการนี้ยังคงมี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯรักษาการ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ยังต้องรักษาการต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีของการขาดคุณสมบัติ หรือมีการกระทำความผิดใดๆ การครบวาระ 8 ปี ไม่เข้าการขาดซึ่งคุณสมบัติ หรือการกระทำความผิดใดๆ ในทางรัฐธรรมนูญ กรณีการครบวาระ 8 ปี อาจถือเป็นคุณสมบัติได้ แต่จะมีผลบังคับใช้กับ พล.อ.ประยุทธ์สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า นั่นหมายความว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปีเรียบร้อยแล้ว ย่อมส่งผลให้พล.อ.ประยุทธ์ขาดคุณสมบัติของการดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ สำหรับการเลือกตั้งสมัยต่อไปนั่นเอง
⦁ คณะรัฐมนตรีรักษาการที่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯรักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่
ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญผมต้องตอบว่าไม่มีอำนาจยุบสภา ผมเห็นหลายท่านแสดงความคิดเห็น โดยไปอธิบายเชื่อมโยงกับมาตรา 169 กำหนดว่ากรณีหากอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งส่งผลให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นไปทั้งคณะและถูกกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามอนุมัติโครงการบ้าง โยกย้ายข้าราชการบ้าง อนุมัติงบประมาณบ้าง เมื่อกรณีการครบวาระ 8 ปี นายกฯไม่เข้ากรณีนี้ คณะรัฐมนตรีรักษาการจึงไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจำกัดอำนาจ เขาจึงเป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการที่มีอำนาจเต็ม เห็นว่าไม่น่าจะถูกต้อง เป็นคำอธิบายที่ค่อนข้างแปลกประหลาด
อธิบายในทางหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ว่า โดยทั่วไปแล้ว คณะรัฐมนตรีรักษาการ หรือ Caretaker Government ก็มีสถานะเป็นแบบเดียว ไม่มีการจำแนกและจะบอกว่า คณะรัฐมนตรีรักษาการประเภทใดมีอำนาจมาก หรือน้อยมากกว่ากัน เพราะต่างก็สิ้นสถานะทางรัฐธรรมนูญที่เป็นทางการไปแล้ว อำนาจทางรัฐธรรมนูญตามปกติ หรือที่เขาเรียกว่า Constitutional mandate นั้นหมดไปแล้วพร้อมกับสถานะของรัฐมนตรี จึงไม่สามารถที่จะมีเหตุผลกลใดจะมาบอกว่า มีอำนาจถึงขนาดจะไปยุบสภาได้เหมือนกับคณะรัฐมนตรีปกติ ในทางหลักการของรัฐธรรมนูญเป็นไปไม่ได้เลย เพราะแนวคิดของคณะรัฐมนตรีรักษาการคือ คณะรัฐมนตรีชั่วคราว ทำหน้าที่อยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะรอคณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งและเต็มไปด้วยความชอบธรรมมากกว่าเป็นการใช้อำนาจบริหารในฐานะผู้แทนปวงชนตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หากเรายืนยันว่าคณะรัฐมนตรีรักษาการแต่ละกรณีมีอำนาจไม่เท่ากัน บางกรณีมีอำนาจเต็มถึงขนาดยุบสภาได้ บางกรณีมีอำนาจจำกัดมาก ต้องกำหนดไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน แต่นี่ไม่มี
นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจอธิบายในเชิงหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญได้อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เฉพาะกรณีพล.อ.ประยุทธ์ตอนนี้ ต้องไม่ลืมว่าอายุของสภาผู้แทนราษฎร และอายุหรือวาระของนายกฯ มีเวลาไม่เหมือนกันแต่เหลื่อมกันอยู่ หมายถึงนายกฯ เข้ามาดำรงตำแหน่งก่อนจะมีสภาผู้แทนราษฎรหลายปี ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว วาระของนายกฯ ก็ย่อมต้องหมดไปก่อน เมื่อหมดไปก่อนอยู่ในสถานะของคณะรัฐมนตรีรักษาการ นายกฯรักษาการที่ไม่มีความชอบธรรมแล้ว เนื่องจากครบวาระไปแล้ว จะไปใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ยังไม่หมดอายุ หรือครบเงื่อนเวลาตามรัฐธรรมนูญ ยังคงมีความชอบธรรม มีอำนาจอย่างเต็มตามรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างเต็มเปี่ยมได้
ต้องไม่ลืมว่า นายกฯมาจากสภาเป็นคนตั้งขึ้น เมื่อนายกฯและคณะรัฐมนตรีพ้นไปก่อนสภา จึงไม่มีเหตุผลทางรัฐธรรมนูญ หรืออาศัยความชอบธรรมทางระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาใดมายุบสภา “แม่ที่ให้กำเนิดตนเอง” ได้
ชาวบ้าน ทำใจ รับมือน้ำท่วมทุกปี เร่งอพยพจองที่สร้างเพิงพักชั่วคราว ริมคันคลอง
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7244460
สิงห์บุรี สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มระดับสูง น้ำจ่อเข้าพื้นที่ ต.ชีน้ำร้าย อินทร์บุรี ชาวบ้านเร่งอพยพ จับจองสร้างที่พักชั่วคราว ริมคันคลอง
2 ก.ย. 65 – สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ขณะนี้เริ่มวิกฤต เนื่องจากน้ำเจ้าพระยาเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชนในที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ต.ชีน้ำร้าย
ประกอบกับ ต.ชีน้ำร้าย เป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่มีแนวเขื่อนกั้นน้ำ ดังนั้น ช่วงฤดูฝนของทุกๆ ปี จะประสบปัญหาน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นประจำ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ชาวบ้าน จะต้องทำใจและเตรียมรับมือ โดยคาดว่า น้ำน่าจะเข้าท่วมบ้านเรือนในช่วงนี้
ขณะเดียวกันประชาชนที่มีบ้านชั้นเดียว เริ่มไปเตรียมสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวบริเวณริมถนนคันคลองชลประทาน สายสิงห์บุรี-ชัยนาท
ส่วนผู้ที่มีที่พักเป็นอาคารบ้านเรือน 2 ชั้น ต่างก็เร่งเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นไปไว้บนชั้น 2 ขณะเดียวกัน บางส่วนก็เร่งเตรียมขนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตร รวมไปถึง สัตว์เลี้ยงย้ายไปพักไว้ยังริมถนนคันคลองด้วยเช่นกัน