กกร.ขยับเป้าส่งออกปีนี้โตเป็น 6-8% หนุน GDP โตคงเดิม 2.75-3.5% ฝ่า ศก.โลกถดถอย
กกร.” ประเมินเศรษฐกิจไทยภาพรวมปี 2565 ล่าสุด โดยคงกรอบการเติบโต GDP ที่ 2.75%-3.5% แม้ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มถดถอยชัดเจนก็ตาม เหตุส่งออกยังโตได้ต่อโดยปรับเพิ่มกรอบมูลค่าการส่งออกโตเป็น 6-8% ขณะที่เพิ่มเป้าเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็น 5.5-7% จากแรงกดดันน้ำมัน ค่าไฟที่แพงในงวดใหม่
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนสิงหาคม 2565 โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ว่า แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวชัดเจนขึ้นแต่ กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้จึงยังคงประมาณการกรอบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะขยายตัวได้ 2.75%-3.5% โดยการเติบโตมูลค่าการส่งออกจากเดิมคาดการณ์เดือน ก.ค.ที่เติบโตได้ในกรอบ 5%-7% เป็นโตได้ 6%-8% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากเดิมอยู่ในกรอบ 5%-7% เป็น 5.5%-7%
“เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจนขึ้น เห็นได้จากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรก และจีนขยายตัวต่ำกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ส่วนเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและจะเร่งตัวขึ้นในครึ่งปีหลังจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค.ที่จะสูงตามมาก็ยิ่งกดดัน และการปรับขึ้นของราคาสินค้าซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวและส่งผลต่ออำนาจซื้อภาคครัวเรือนและต้นทุนภาคธุรกิจ” นายผยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวและมาตรการภาครัฐเป็นแรงส่งเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวชัดเจนขึ้น โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องหลังยกเลิกมาตรการ Thailand Pass คาดว่ามีโอกาสแตะระดับ 7-8 ล้านคน ประกอบกับยังมีแรงหนุนกำลังซื้อจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 5 ที่คาดว่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายได้ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.2% ของ GDP ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศและภาวะเงินเฟ้อที่กระทบอำนาจซื้อ
การประชุม กกร.วันนี้ได้รับเกียรติจากหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และผู้แทนการค้าไทย มาให้ข้อมูลทิศทางการขับเคลื่อนการฟื้นตัวประเทศ เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน คือ Better and Green Thailand 2030 ที่ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก ได้แก่ ...👇
1. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 2.1 แสนล้านบาท
2. Smart Electronics โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 5 แสนล้านบาท
3. ดึงดูดชาวต่างชาติ ที่มีศักยภาพสูงด้วยให้วีซ่าระยะยาว 10 ปี (LTR) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 1 ล้านล้านบาท
4. อุตสาหกรรม Digital (Data Center and Cloud Service) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 1 แสนล้านบาท
และ 5. Soft Power โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 3 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ เช่น การเปิดใช้วีซ่าระยะยาว 10 ปี (LTR) และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และค่าธรรมเนียม FIDF ที่ประชุม กกร.เห็นว่ามีความสอดคล้องกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รวมถึงแนวทางของนโยบายการคลังและความจำเป็นในการรักษาสมดุลด้านนโยบายในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนกรณีผลกระทบจากกรณีเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ออกคำสั่งให้บริษัทและผู้กู้ยืมเงินรายย่อยระงับการจ่ายหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ รวมทั้งครอบคลุมการทำธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่องนั้น กกร.พบว่าการค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วง 5 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการค้าอยู่ที่ 118,900.61 ล้านบาท โดยคิดเป็นการค้าชายแดน 91.64% ของมูลค่าการค้ารวม เป็นอันดับ 2 ของการค้าชายแดนไทย และหากพิจารณาถึงผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว จะสามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจเป็น 2 ส่วน ดังนี้...👇
1. ด้านการค้าระหว่างไทย-เมียนมา (Trading Business) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ...
1.) กลุ่มธุรกิจการค้าชายแดน (Border Trade) ยังไม่ได้รับผลกระทบ และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีการค้าขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
2.) ด้านอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา (Investment) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
-กลุ่มการลงทุนทางตรง (FDI) หากเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินในไทยเป็นเงินบาทจะไม่ได้รับผลกระทบ
-และกลุ่มการลงทุนภายใน หมายถึงบริษัทที่ลงทุนในเมียนมาอยู่แล้ว และได้นำผลกำไรที่เกิดขึ้นมาลงทุนขยายธุรกิจต่อ กลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบใด
https://mgronline.com/business/detail/9650000073731
เศรษฐกิจประเทศไทยไปต่อได้เพราะมีตัวช่วยอย่างน่ามหัศจรรย์
พอโควิดทำแทบพัง ก็มีสินค้าส่งออกมาช่วยเพิ่มรายได้ คงจีดีพีไว้ไม่ต่ำลง
แม้กระทบเรื่องพลังงาน แต่ก็มีท่องเที่ยวปังเข้ามาเสริม คนไม่สนค่าน้ำมันแพง ขอให้มีน้ำมันเติม
ไทยจะผ่านวิกฤตทั้งหลาย เศรษฐกิจดีขึ้นก่อนลุงครบวาระแน่นอนค่ะ
ยังไม่ครบ8ปี สิงหาคมลุงยังอยู่นะคะ .....
💚มาลาริน💚กกร.ขยับเป้าส่งออกปีนี้โตเป็น 6-8% หนุน GDP โตคงเดิม 2.75-3.5% ฝ่า ศก.โลกถดถอย
กกร.” ประเมินเศรษฐกิจไทยภาพรวมปี 2565 ล่าสุด โดยคงกรอบการเติบโต GDP ที่ 2.75%-3.5% แม้ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มถดถอยชัดเจนก็ตาม เหตุส่งออกยังโตได้ต่อโดยปรับเพิ่มกรอบมูลค่าการส่งออกโตเป็น 6-8% ขณะที่เพิ่มเป้าเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็น 5.5-7% จากแรงกดดันน้ำมัน ค่าไฟที่แพงในงวดใหม่
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนสิงหาคม 2565 โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ว่า แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวชัดเจนขึ้นแต่ กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้จึงยังคงประมาณการกรอบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะขยายตัวได้ 2.75%-3.5% โดยการเติบโตมูลค่าการส่งออกจากเดิมคาดการณ์เดือน ก.ค.ที่เติบโตได้ในกรอบ 5%-7% เป็นโตได้ 6%-8% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากเดิมอยู่ในกรอบ 5%-7% เป็น 5.5%-7%
“เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจนขึ้น เห็นได้จากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรก และจีนขยายตัวต่ำกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ส่วนเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและจะเร่งตัวขึ้นในครึ่งปีหลังจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค.ที่จะสูงตามมาก็ยิ่งกดดัน และการปรับขึ้นของราคาสินค้าซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวและส่งผลต่ออำนาจซื้อภาคครัวเรือนและต้นทุนภาคธุรกิจ” นายผยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวและมาตรการภาครัฐเป็นแรงส่งเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวชัดเจนขึ้น โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องหลังยกเลิกมาตรการ Thailand Pass คาดว่ามีโอกาสแตะระดับ 7-8 ล้านคน ประกอบกับยังมีแรงหนุนกำลังซื้อจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 5 ที่คาดว่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายได้ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.2% ของ GDP ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศและภาวะเงินเฟ้อที่กระทบอำนาจซื้อ
การประชุม กกร.วันนี้ได้รับเกียรติจากหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และผู้แทนการค้าไทย มาให้ข้อมูลทิศทางการขับเคลื่อนการฟื้นตัวประเทศ เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน คือ Better and Green Thailand 2030 ที่ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก ได้แก่ ...👇
1. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 2.1 แสนล้านบาท
2. Smart Electronics โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 5 แสนล้านบาท
3. ดึงดูดชาวต่างชาติ ที่มีศักยภาพสูงด้วยให้วีซ่าระยะยาว 10 ปี (LTR) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 1 ล้านล้านบาท
4. อุตสาหกรรม Digital (Data Center and Cloud Service) โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 1 แสนล้านบาท
และ 5. Soft Power โดยมีเป้าหมายสร้าง GDP 3 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ เช่น การเปิดใช้วีซ่าระยะยาว 10 ปี (LTR) และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และค่าธรรมเนียม FIDF ที่ประชุม กกร.เห็นว่ามีความสอดคล้องกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รวมถึงแนวทางของนโยบายการคลังและความจำเป็นในการรักษาสมดุลด้านนโยบายในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนกรณีผลกระทบจากกรณีเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ออกคำสั่งให้บริษัทและผู้กู้ยืมเงินรายย่อยระงับการจ่ายหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ รวมทั้งครอบคลุมการทำธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่องนั้น กกร.พบว่าการค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วง 5 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการค้าอยู่ที่ 118,900.61 ล้านบาท โดยคิดเป็นการค้าชายแดน 91.64% ของมูลค่าการค้ารวม เป็นอันดับ 2 ของการค้าชายแดนไทย และหากพิจารณาถึงผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว จะสามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจเป็น 2 ส่วน ดังนี้...👇
1. ด้านการค้าระหว่างไทย-เมียนมา (Trading Business) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ...
1.) กลุ่มธุรกิจการค้าชายแดน (Border Trade) ยังไม่ได้รับผลกระทบ และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีการค้าขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
2.) ด้านอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา (Investment) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
-กลุ่มการลงทุนทางตรง (FDI) หากเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินในไทยเป็นเงินบาทจะไม่ได้รับผลกระทบ
-และกลุ่มการลงทุนภายใน หมายถึงบริษัทที่ลงทุนในเมียนมาอยู่แล้ว และได้นำผลกำไรที่เกิดขึ้นมาลงทุนขยายธุรกิจต่อ กลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบใด
https://mgronline.com/business/detail/9650000073731
เศรษฐกิจประเทศไทยไปต่อได้เพราะมีตัวช่วยอย่างน่ามหัศจรรย์
พอโควิดทำแทบพัง ก็มีสินค้าส่งออกมาช่วยเพิ่มรายได้ คงจีดีพีไว้ไม่ต่ำลง
แม้กระทบเรื่องพลังงาน แต่ก็มีท่องเที่ยวปังเข้ามาเสริม คนไม่สนค่าน้ำมันแพง ขอให้มีน้ำมันเติม
ไทยจะผ่านวิกฤตทั้งหลาย เศรษฐกิจดีขึ้นก่อนลุงครบวาระแน่นอนค่ะ
ยังไม่ครบ8ปี สิงหาคมลุงยังอยู่นะคะ .....