JJNY : นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ ! │เงินเฟ้อขยายตัว จากอาหารแพง│เศรษฐกิจอังกฤษอาจชะลอตัวหนัก│ “สี จิ้นผิง” เรียกร้องกองทัพจีน

นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ ! ทรัมป์ชนะ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่า
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/236071

รศ.ดร.สมชาย นักเศรษฐศาสตร์ มอง เลือกตั้งสหรัฐฯ ไทย ควรวางตัวเป็นกลาง-ไม่เลือกข้าง ชี้ ! หากทรัมป์ชนะ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก มากกว่าแฮร์ริส

PPTV Wealth สัมภาษณ์มุมมองนักเศรษฐศาสตร์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ซึ่งจะผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ว่า ระหว่าง กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต กับ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน หาก โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ชนะ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่า เพราะโดนัลด์ ทรัมป์ จะดำเนินการ 3 เรื่อง คือ
 
1. เก็บภาษีนำเข้าทุกประเทศ  20%
2. จะมีการเล่นงานกับประเทศที่มีดุลบัญชีเงินเกินดุลสะพัด ซึ่งมีไทยรวมอยู่ด้วย
และ 3. จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 60% หรืออาจจะมากกว่านั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดสงครามทางการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง 
รวมถึงทำให้เศรษฐกิจจีน ขยายตัวลดลงจาก 4 -5 % เหลือเพียง 2% ตรงนี้จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะไทยต้องพึ่งพาจีน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว 20% และพึ่งพาด้านการส่งออก 12% หากไม่รวมอาเซียน จีน กับ สหรัฐอเมริกา ผลัดกันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทย  รวมถึงด้านการลงทุน จีน ก็มาแรง ดังนั้น จะสางผลกระทบต่อไทยมากกว่า
 
แต่หาก กมลา แฮร์ริส เป็นผู้ชนะ เชื่อว่า จะมีนโยบายกีดกันทางการค้าต่อเนื่องมาจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ซึ่งจะเล่นงานจีนเช่นกัน แล้วจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับไทย โดยจะเล่นงานจีนใน 3 เรื่อง คือ 
1. สินค้าหรือการลงทุนเกี่ยวข้องกับไฮเทค 
2. สินค้าและการลงทุนเกี่ยวกับ รถ EV 
และ 3. สินค้าที่ส่งไปให้กับรัสเซียซึ่งไม่ใช่อาวุธแต่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอาวุธได้ 
 
อีกทั้ง คาดว่า จะมีนโยบายไปลงทุนกับประเทศที่เป็นมิตร ซึ่งตรงนี้ อาจส่งผลกระทบกับไทย และต้องรอดูว่าทางสหรัฐฯ มองไทยเป็นมิตรหรือไม่ เบื้องต้น สหรัฐฯ มองเวียดนามและอินเดียเป็นมิตร แต่ยังไม่ได้พูดถึงไทย 
 
พูดง่ายๆ ถ้าทรัมป์มา ผลกระทบต่อโลกจะมากหน่อย แต่ถ้าหากแฮร์ริสมา ผลกระทบก็จะมีอยู่แต่จะน้อยกว่า ก็เหมือนกับเป็นการต่อเนื่อง นโยบายทรัมป์ จะเป็นเรื่องของการทำให้โลกปั่นป่วน เกิดความไม่แน่นอน แต่ถ้าเป็นแฮร์ริส นโยบายจะเป็นลักษณะของความต่อเนื่องมากกว่า
 
รศ.ดร.สมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องผลกระทบต่อค่าเงินบาทไทย หากทรัมป์ เป็นผู้ชนะ นโยบายของทรัมป์ ที่จะลดการเก็บภาษีเงินได้หลายประเภท จะส่งผลทำให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นถึง 116% ต่อ GDP แต่หากแฮร์ริส เป็นผู้ชนะ ก็จะทำให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 108% ซึ่งน้อยกว่า ดังนั้น เห็นได้ว่า หากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ก็จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เจอกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ เพราะว่า เก็บภาษีนำเข้าจากจีน / เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งอาจเป็นผลทำให้ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะสูงขึ้น 
 
กรณีทรัมป์ชนะ เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น เงินเฟ้อจะสูงขึ้น ดอกเบี้ยที่ปรับลดลงอาจชะงัก ซึ่งส่งผลกระทบกับไทย ก็คือ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่หากในกรณีที่แฮร์ริสชนะ ผลกระทบอาจยังไม่ไม่มากเท่าไหร่ ก็คือเป็นไปอย่างที่เราเห็นอยู่
 
รศ.ดร.สมชาย บอกด้วยว่า ไทย ควรระมัดระวังและดำเนินมาตรการทำให้สหรัฐฯรู้ว่าไทยไม่ได้อยู่ฝ่ายใด เพื่อไม่ให้ถูกผลกระทบ และควรวางตัวเป็นกลาง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และไทยควรกระจายการลงทุนไปทั่วโลกมากขึ้น
 



สนค.เงินเฟ้อต.ค.ขยายตัว 0.83% จากอาหารราคาแพงขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_798776/

สนค.เงินเฟ้อ ต.ค.ขยายตัว 0.83% จากอาหารราคาแพงขึ้น, ช่วง 10 เดือนโต 0.26% ทั้งปีคง 0.5% สอดคล้องกับเศรษฐกิจ
 
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค.กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือ อัตราเงินเฟ้อ ในช่วงเดือนตุลาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้าได้มีการปรับสูงขึ้นเนื่องจากฐานราคาที่ต่ำในปีก่อน ที่มีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากภาครัฐมากกว่าปีนี้ ขณะที่ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลงตามทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลก สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
 
โดยสินค้าที่ราคาแพงขึ้น อาทิ ผักสด เช่น ต้นหอม กะหล่ำปลี ผักชี ผักกาดขาว มะเขือ พริกสด กะหล่ำดอก ผลไม้สด เช่น เงาะ กล้วยน้ำว้า มะม่วง แตงโม กล้วยหอม ไก่สด ไข่ไก่ กุ้งขาว เนื้อสุกรและข้าวสารเจ้า กาแฟผงสำเร็จรูป กะทิ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 2567 ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.26
 
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2567 โดยปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมันดีเซล ภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่ากระแสไฟฟ้าของภาครัฐในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สอดคล้องกับฤดูกาลท่องเที่ยว
  
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.2 – 0.8 (ค่ากลาง ร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง



เศรษฐกิจอังกฤษอาจชะลอตัวหนัก หากทรัมป์ชนะเลือกตั้ง
https://www.tnnthailand.com/news/uselection2024/180581/

รายงานจาก NIESR ระบุว่าเศรษฐกิจอังกฤษอาจเติบโตช้าลงครึ่งหนึ่ง หากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเริ่มเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ กระทบทั้งเศรษฐกิจอังกฤษและเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ
 
รายงานจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) ที่เผยแพร่ในวันนี้ (6 พ.ย.) ระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษที่ชะลอตัวอยู่แล้วอาจลดลงกว่าครึ่ง หากโดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งใหญ่
NIESR มองว่า เศรษฐกิจของอังกฤษส่งสัญญาณไม่ค่อยสดใสนักอยู่แล้ว แม้จะไม่มีแผนการเก็บภาษีของทรัมป์ก็ตาม โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอังกฤษจะชะลอตัวลงเหลือ 1.1% ในปี 2569 จาก 1.2% ในปี 2568 และจะขยายตัวเพียง 1.7% ในปี 2573
 
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ของ NIESR คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสการค้าโลก อาจโตเพียง 0.4% ในปีหน้า หากสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตามที่ทรัมป์เคยประกาศไว้
 
ส่วนเศรษฐกิจโลกก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน หากทรัมป์เก็บภาษีนำเข้า 60% สำหรับสินค้าจากจีน และ 10% สำหรับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของราคาอันเกิดจากภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นของสหรัฐฯ แต่เงินเฟ้อก็อาจเพิ่มขึ้นได้ระหว่าง 2% - 3% ในช่วง 2 ปี ข้างหน้า
 
ทั้งนี้ ต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อแผนการของรัฐบาลชุดใหม่ของอังกฤษ ที่ต้องการเพิ่มการกู้ยืมควบคู่ไปกับการปรับขึ้นภาษี เพื่อหาเงินทุนสำหรับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่