กูรูออกโรงเตือนจีดีพี Q1/63 เสี่ยงติดลบ 2% หลังเผชิญสารพัดปัจจัยลบ ล่าสุดสภาพัฒน์หั่นเป้าปี 63 เหลือโต 1.5-2.5% หลังได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้ง-งบฯปี63 สะดุด-ไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก ด้านโบรกฯคาดกำไรบจ.ปี 63 มีโอกาสแค่ทรงตัว หวั่นฉุด SET ลงแตะ 1,474 จุด
สภาพัฒน์หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 1.5-2.5% รับ Q1/63 อาจติดลบ
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2562 ทั้งปี 2562 และแนวโน้มปี 2563 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2562 ขยายตัว 1.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 21 ไตรมาส หรือ 5 ปี 3 เดือน ส่งผลให้ทั้งปี 2562 ขยายตัวได้ 2.4% ด้านเศรษฐกิจไทยปี 2563 สศช.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงเหลือ 1.5-2.5% จากเดิมคาด 2.7-3.7%
ด้านการส่งออกในไตรมาส 4/2562 ติดลบ 4.9% ขณะที่ทั้งปีติดลบ 3.2% ส่วนปี 2563 คาดว่าส่งออกจะขยายตัวได้ 1.4% ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 2.3% ส่วนการนำเข้าในไตรมาส 4/2562 ติดลบ 7.6% และทั้งปี 2562 ติดลบ 5.4% ด้านปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 4/2562 อยู่ที่ 0.4% และทั้งปี 2562 อยู่ที่ 0.7% ส่วนแนวโน้มปี 2563 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.4-1.4% ลดลงจากประมาณการเดิมที่อยู่ที่ 0.5-1.5% ด้านดุลการค้าในไตรมาส 4/2562 เกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์ และทั้งปีเกินดุล 26.6 พันล้านดอลลาร์ และทั้งปี 2563 คาดว่าจะเกินดุล 24.2 พันล้านดอลลาร์
นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการ สศช. กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2563 ยังมีแนวโน้มที่จะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่แนวโน้มไตรมาส 2 จะเริ่มขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่อง และบวกแรงที่สุดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เนื่องจากฐานที่ค่อนข้างต่ำในปี 2562
ภัยแล้ง - งบช้า - โควิด-19 ปัจจัยกดดันสำคัญ
นายทศพร กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 และทั้งปี 2562 ที่ชะลอลงนั้นมีปัจจัยสำคัญ จากการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้า การแข็งค่าของเงินบาท ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ และผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และปัจจัยชั่วคราวในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการ การระบาดของไวรัสโควิด-19
สำหรับภาคการท่องเที่ยว โดยในปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย 37 ล้านคน ลดลง 7.1% จากจำนวน 39.8 ล้านคนในปี 2562 และลดลงจากประมาณการเดิมที่ 41.8 ล้านคน ขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.73 ล้านล้านบาท ลดลง 8% จากปี 2562 ที่อยู่ที่ 1.88 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเข้าสู่ช่วงสูงสุดในเดือนมีนาคมและจะสิ้นสุดลงในช่วงต้นพฤษภาคมนี้
TMB มอง Q1/62 จีดีพีติดลบ 2% หั่นเป้าทั้งปีเหลือโต 1.8%
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.8% จากเดิม 2.7% และ ส่งออกปรับลดคาดการณ์ขยายตัวมาอยู่ที่ 0.6% จากเดิม 1.2% หลังสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังรุนแรง
โดยเบื้องต้นคาดว่าหากสถานการณ์สามารถยุติได้ภายใน 6 เดือน หรือ ไม่เกินเดือนมิถุนายนนี้ตัวเลขที่ประเมินไว้จะอยู่ในกรอบที่คาดไว้ แต่หากสถานการณ์ระบาดของไวรัส ใช้เวลามากว่า 6 เดือน จะส่งผลกระทบต่อท่องเที่ยว และ ส่งออก-นำเข้าของไทยอย่างหนัก ซึ่งมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวแค่1.5%
"ก่อนหน้านี้ฝ่ายวิจัยวางกรอบจีดีพีปีนี้ไว้ที่ 2.1-2.7% แต่ตอนนี้ปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.8% โดยยังไม่รวมผลกระทบต่อธุรกิจซัพพลายเชน และ ปัญหาภัยแล้งเข้าไป ซึ่งปัญหาภัยแล้งจะกระทบจีดีพีประมาณ 0.2% ท่องเที่ยวกระทบจีดีพี 20% และ ส่งออก นำเข้า กระทบจีดีพี 70% แต่ปีนี้จีดีพีไม่เลวร้ายถึงขั้นติดลบ "
สำหรับไตรมาส 1/63 ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะติดลบ 2% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และติดลบ 3.3% เทียบไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจาก COVID-19 ที่ส่งผลกระทบยังภาคการท่องเที่ยว การส่งออก-นำเข้า ธุรกิจซัพพลายเชน ยังไม่รวมภัยแล้ง
กสิกร ชี้แม้ Q1/63 เสี่ยงติดลบ แต่ยังไม่ถดถอย
นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ จากไตรมาส 4/62 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/62 ขยายตัว 1.6% ซึ่งมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ เอกชน และการส่งออก แต่ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยที่ลดลงมาจากปัจจัยเฉพาะตัว หลังจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ต้องเลื่อนใช้ ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐลดลง
ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession) แต่ยอมรับว่าไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ และต้องรอดูตัวเลขไตรมาส 2/63 ที่ชัดเจน แต่เชื่อว่ารัฐบาลคงเร่งออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา
" มีคำถามว่ามีโอกาสที่ไทยจะเกิดเทคนิเคิลรีเซสชั่นหรือไม่ เหมือนประเทศอื่นๆในภูมิภาค หรือไม่ เพราะเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 2% เรียบร้อยแล้ว และต่ำสุดรอบ 21 ไตรมาส และไตรมาส 1/63 อาจต่ำกว่าไตรมาส 4 ปีที่แล้ว มีโอกาสติดลบ แต่จะถดถอยหรือไม่ต้องไปดูว่าไตรมาส 2/63 จะติดลบหรือไม่ แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะออกหลายๆ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ"
แนะนำให้จับตาหุ้น 2 กลุ่มน่าลงทุน คือกลุ่มค้าปลีกและไอซีที หลังคลายแรงกดดันจากภาวะ overhang ไปมากแล้ว ซึ่งมองว่า มี.ค.63 จะเริ่มมีเงินไหลเข้าหุ้นกลุมนี้ หุ้นน่าสนใจกลุ่มค้าปลีก คือ CPALL แต่อาจต้องรอผลประมูลเทสโก้ , HMPRO , CPN
ชี้ต้องอัดงบแสนลบ. หากอยากเห็นจีดีพี 2%
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะหายไปราว 2.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีภาคการส่งออก-นำเข้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเกี่ยวเนื่องกับจีนที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดผลิตของโรงงานในจีน ส่งผลให้ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2563 มีแนวโน้มจะไม่ขยายตัว
การสอดประสานระหว่างมาตรการการคลังและการเงินร่วมกันจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยพยุงให้ GDP ในปี 2563 โตได้ไม่ต่ำกว่า 2.0% ซึ่งจะต้องมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาในระบบราวแสนล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถควบคุมได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะมีการทบทวนตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 อีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม 2563 นี้
โบรกฯคาดกำไรบจ.ปี 63 อาจไม่โต-SET เสี่ยงลงแตะ 1,474 จุด
บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า ประเมินจีดีพี Q1/63 เป็นไปได้ที่จะเห็นการเติบโตของ GDP ที่ไม่ถึง 1% เชื่อว่าจะทำให้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย ส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนใน SET อาจจะไม่เห็นการเติบโตของผลประกอบการปี 2563 จากฐานในปี 2562 (0% Growth) ภาวะดังกล่าวถือเป็นแรงกดดันต่อ SET Index ทำให้ Down Side เปิดกว้างขึ้นอีกรอบ โดยมีโอกาสที่จะเห็นการปรับฐานลงมาต่ำกว่า 1500 จุดอีกครั้ง
ทั้งนี้ประเมิน กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 62 คาดว่าจะชะลอลงตามจีดีพี มาอยู่ที่ 92.11 บาท/หุ้น (ลดลง 5.9%) เพราะยังเผชิญกับค่าใช้จ่ายพนักงานที่ปรับตาม พรบ. แรงงาน รวมถึงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากการนำบริษัทที่มีค่า P/E สูงเข้าตลาดมา
ส่วนในปี 2563 จีดีพีมีโอกาสชะลอลงจากทุกๆ องค์ประกอบ ทั้งจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายปี 2563 กดดันการเบิกจ่ายภาครัฐ, กำแพงภาษีระหว่างจีนสหรัฐรอบ 1 – 4 ยังมีอยู่ และไทยอาจถูกตัดสิทธิ GSP ไทยรอบที่ 2 ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก สุดท้ายภัยแล้งหนักสุดในรอบ 40 ปี กระทบภาคการบริโภค เป็นความเสี่ยงต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2563 รวมถึงเป้าหมายของดัชนี
ทั้งนี้หากประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 63 ทรงตัว ดัชนีมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบ 1,474 – 1,612 จุด (ภายใต้ P/E 16 – 17.5 เท่า) ดังนั้น SET Index ณ ปัจจุบันยังถือว่า มี Downside ณ เวลาที่ Fund Flow ยังชะลอการไหลเข้า โดยกลยุทธ์ แบ่งเงินลงทุนบางส่วนพักไว้ในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่าง DIF ซึ่งให้ Dividend Yield สูงถึง 6.1% และยังมี Premium เพียง 9% เท่านั้น และยังได้ Sentiment ของแนวโน้มการใช้สัญญาณ 5G ที่มากขึ้น ให้สอดคล้องกับยุค Digital ณ ปัจจุบัน
ธปท.เตรียมปรับเป้า 25 มี.ค.นี้ - คลังดูแลใกล้ชิด
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2562 และเป้าปี 2563 สศช.ประกาศออกมา ต่ำกว่าตัวเลขที่ ธปท. ประมาณไว้ ณ เดือนธันวาคม 2562 ที่ 2.5% และ 2.8% ตามลำดับ สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงแรง จากผลกระทบของภัยแล้ง -ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2563 และการระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเกิน 3% ได้อีกในปี 2564 หากไม่มีปัจจัยลบอื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้ ธปท. จะเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจไทยชุดใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยในระหว่างนี้ จะติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นคาดว่าผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าจะรุนแรงที่สุดในไตรมาสแรกของปีนี้ ก่อนจะคลี่คลายลง
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงรายได้ของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
กระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และมีความพร้อมที่จะดำเนินมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ไม่มีแรงกดดันด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งอัตราเงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และฐานะทางการคลังสะท้อนจากหนี้สาธารณะต่อ GDP เพียงร้อยละ 41.3 ถือว่ายังอยู่ในระดับที่เข้มแข็งมาก
ที่มา efinancethai.com
จีดีพีไทย Q1/63 ส่อติดลบ 2% - สศช.หั่นเป้าทั้งปีเหลือ1.5-2.5%
สภาพัฒน์หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 1.5-2.5% รับ Q1/63 อาจติดลบ
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2562 ทั้งปี 2562 และแนวโน้มปี 2563 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2562 ขยายตัว 1.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 21 ไตรมาส หรือ 5 ปี 3 เดือน ส่งผลให้ทั้งปี 2562 ขยายตัวได้ 2.4% ด้านเศรษฐกิจไทยปี 2563 สศช.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงเหลือ 1.5-2.5% จากเดิมคาด 2.7-3.7%
ด้านการส่งออกในไตรมาส 4/2562 ติดลบ 4.9% ขณะที่ทั้งปีติดลบ 3.2% ส่วนปี 2563 คาดว่าส่งออกจะขยายตัวได้ 1.4% ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 2.3% ส่วนการนำเข้าในไตรมาส 4/2562 ติดลบ 7.6% และทั้งปี 2562 ติดลบ 5.4% ด้านปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 4/2562 อยู่ที่ 0.4% และทั้งปี 2562 อยู่ที่ 0.7% ส่วนแนวโน้มปี 2563 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.4-1.4% ลดลงจากประมาณการเดิมที่อยู่ที่ 0.5-1.5% ด้านดุลการค้าในไตรมาส 4/2562 เกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์ และทั้งปีเกินดุล 26.6 พันล้านดอลลาร์ และทั้งปี 2563 คาดว่าจะเกินดุล 24.2 พันล้านดอลลาร์
นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการ สศช. กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2563 ยังมีแนวโน้มที่จะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่แนวโน้มไตรมาส 2 จะเริ่มขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่อง และบวกแรงที่สุดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เนื่องจากฐานที่ค่อนข้างต่ำในปี 2562
ภัยแล้ง - งบช้า - โควิด-19 ปัจจัยกดดันสำคัญ
นายทศพร กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 และทั้งปี 2562 ที่ชะลอลงนั้นมีปัจจัยสำคัญ จากการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้า การแข็งค่าของเงินบาท ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ และผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และปัจจัยชั่วคราวในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการ การระบาดของไวรัสโควิด-19
สำหรับภาคการท่องเที่ยว โดยในปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย 37 ล้านคน ลดลง 7.1% จากจำนวน 39.8 ล้านคนในปี 2562 และลดลงจากประมาณการเดิมที่ 41.8 ล้านคน ขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.73 ล้านล้านบาท ลดลง 8% จากปี 2562 ที่อยู่ที่ 1.88 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเข้าสู่ช่วงสูงสุดในเดือนมีนาคมและจะสิ้นสุดลงในช่วงต้นพฤษภาคมนี้
TMB มอง Q1/62 จีดีพีติดลบ 2% หั่นเป้าทั้งปีเหลือโต 1.8%
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.8% จากเดิม 2.7% และ ส่งออกปรับลดคาดการณ์ขยายตัวมาอยู่ที่ 0.6% จากเดิม 1.2% หลังสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังรุนแรง
โดยเบื้องต้นคาดว่าหากสถานการณ์สามารถยุติได้ภายใน 6 เดือน หรือ ไม่เกินเดือนมิถุนายนนี้ตัวเลขที่ประเมินไว้จะอยู่ในกรอบที่คาดไว้ แต่หากสถานการณ์ระบาดของไวรัส ใช้เวลามากว่า 6 เดือน จะส่งผลกระทบต่อท่องเที่ยว และ ส่งออก-นำเข้าของไทยอย่างหนัก ซึ่งมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวแค่1.5%
"ก่อนหน้านี้ฝ่ายวิจัยวางกรอบจีดีพีปีนี้ไว้ที่ 2.1-2.7% แต่ตอนนี้ปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.8% โดยยังไม่รวมผลกระทบต่อธุรกิจซัพพลายเชน และ ปัญหาภัยแล้งเข้าไป ซึ่งปัญหาภัยแล้งจะกระทบจีดีพีประมาณ 0.2% ท่องเที่ยวกระทบจีดีพี 20% และ ส่งออก นำเข้า กระทบจีดีพี 70% แต่ปีนี้จีดีพีไม่เลวร้ายถึงขั้นติดลบ "
สำหรับไตรมาส 1/63 ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะติดลบ 2% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และติดลบ 3.3% เทียบไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจาก COVID-19 ที่ส่งผลกระทบยังภาคการท่องเที่ยว การส่งออก-นำเข้า ธุรกิจซัพพลายเชน ยังไม่รวมภัยแล้ง
กสิกร ชี้แม้ Q1/63 เสี่ยงติดลบ แต่ยังไม่ถดถอย
นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ จากไตรมาส 4/62 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/62 ขยายตัว 1.6% ซึ่งมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ เอกชน และการส่งออก แต่ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยที่ลดลงมาจากปัจจัยเฉพาะตัว หลังจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ต้องเลื่อนใช้ ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐลดลง
ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession) แต่ยอมรับว่าไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ และต้องรอดูตัวเลขไตรมาส 2/63 ที่ชัดเจน แต่เชื่อว่ารัฐบาลคงเร่งออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา
" มีคำถามว่ามีโอกาสที่ไทยจะเกิดเทคนิเคิลรีเซสชั่นหรือไม่ เหมือนประเทศอื่นๆในภูมิภาค หรือไม่ เพราะเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 2% เรียบร้อยแล้ว และต่ำสุดรอบ 21 ไตรมาส และไตรมาส 1/63 อาจต่ำกว่าไตรมาส 4 ปีที่แล้ว มีโอกาสติดลบ แต่จะถดถอยหรือไม่ต้องไปดูว่าไตรมาส 2/63 จะติดลบหรือไม่ แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะออกหลายๆ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ"
แนะนำให้จับตาหุ้น 2 กลุ่มน่าลงทุน คือกลุ่มค้าปลีกและไอซีที หลังคลายแรงกดดันจากภาวะ overhang ไปมากแล้ว ซึ่งมองว่า มี.ค.63 จะเริ่มมีเงินไหลเข้าหุ้นกลุมนี้ หุ้นน่าสนใจกลุ่มค้าปลีก คือ CPALL แต่อาจต้องรอผลประมูลเทสโก้ , HMPRO , CPN
ชี้ต้องอัดงบแสนลบ. หากอยากเห็นจีดีพี 2%
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะหายไปราว 2.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีภาคการส่งออก-นำเข้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเกี่ยวเนื่องกับจีนที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดผลิตของโรงงานในจีน ส่งผลให้ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2563 มีแนวโน้มจะไม่ขยายตัว
การสอดประสานระหว่างมาตรการการคลังและการเงินร่วมกันจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยพยุงให้ GDP ในปี 2563 โตได้ไม่ต่ำกว่า 2.0% ซึ่งจะต้องมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาในระบบราวแสนล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถควบคุมได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะมีการทบทวนตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 อีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม 2563 นี้
โบรกฯคาดกำไรบจ.ปี 63 อาจไม่โต-SET เสี่ยงลงแตะ 1,474 จุด
บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า ประเมินจีดีพี Q1/63 เป็นไปได้ที่จะเห็นการเติบโตของ GDP ที่ไม่ถึง 1% เชื่อว่าจะทำให้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย ส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนใน SET อาจจะไม่เห็นการเติบโตของผลประกอบการปี 2563 จากฐานในปี 2562 (0% Growth) ภาวะดังกล่าวถือเป็นแรงกดดันต่อ SET Index ทำให้ Down Side เปิดกว้างขึ้นอีกรอบ โดยมีโอกาสที่จะเห็นการปรับฐานลงมาต่ำกว่า 1500 จุดอีกครั้ง
ทั้งนี้ประเมิน กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 62 คาดว่าจะชะลอลงตามจีดีพี มาอยู่ที่ 92.11 บาท/หุ้น (ลดลง 5.9%) เพราะยังเผชิญกับค่าใช้จ่ายพนักงานที่ปรับตาม พรบ. แรงงาน รวมถึงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากการนำบริษัทที่มีค่า P/E สูงเข้าตลาดมา
ส่วนในปี 2563 จีดีพีมีโอกาสชะลอลงจากทุกๆ องค์ประกอบ ทั้งจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายปี 2563 กดดันการเบิกจ่ายภาครัฐ, กำแพงภาษีระหว่างจีนสหรัฐรอบ 1 – 4 ยังมีอยู่ และไทยอาจถูกตัดสิทธิ GSP ไทยรอบที่ 2 ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก สุดท้ายภัยแล้งหนักสุดในรอบ 40 ปี กระทบภาคการบริโภค เป็นความเสี่ยงต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2563 รวมถึงเป้าหมายของดัชนี
ทั้งนี้หากประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 63 ทรงตัว ดัชนีมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบ 1,474 – 1,612 จุด (ภายใต้ P/E 16 – 17.5 เท่า) ดังนั้น SET Index ณ ปัจจุบันยังถือว่า มี Downside ณ เวลาที่ Fund Flow ยังชะลอการไหลเข้า โดยกลยุทธ์ แบ่งเงินลงทุนบางส่วนพักไว้ในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่าง DIF ซึ่งให้ Dividend Yield สูงถึง 6.1% และยังมี Premium เพียง 9% เท่านั้น และยังได้ Sentiment ของแนวโน้มการใช้สัญญาณ 5G ที่มากขึ้น ให้สอดคล้องกับยุค Digital ณ ปัจจุบัน
ธปท.เตรียมปรับเป้า 25 มี.ค.นี้ - คลังดูแลใกล้ชิด
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2562 และเป้าปี 2563 สศช.ประกาศออกมา ต่ำกว่าตัวเลขที่ ธปท. ประมาณไว้ ณ เดือนธันวาคม 2562 ที่ 2.5% และ 2.8% ตามลำดับ สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงแรง จากผลกระทบของภัยแล้ง -ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2563 และการระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเกิน 3% ได้อีกในปี 2564 หากไม่มีปัจจัยลบอื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้ ธปท. จะเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจไทยชุดใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยในระหว่างนี้ จะติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นคาดว่าผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าจะรุนแรงที่สุดในไตรมาสแรกของปีนี้ ก่อนจะคลี่คลายลง
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงรายได้ของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
กระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และมีความพร้อมที่จะดำเนินมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ไม่มีแรงกดดันด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งอัตราเงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และฐานะทางการคลังสะท้อนจากหนี้สาธารณะต่อ GDP เพียงร้อยละ 41.3 ถือว่ายังอยู่ในระดับที่เข้มแข็งมาก
ที่มา efinancethai.com