สศก. คาดปี’63 จีดีภาคเกษตรหดตัว -2.4%ถึง-3.4% เหตุแล้งทำผลผลิต ข้าว-มัน-ปาล์ม ลด ขณะที่ยางกรีดไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/economics/news_5252344
สศก. คาดปี’63 จีดีภาคเกษตรหดตัว -2.4%ถึง-3.4% เหตุแล้งทำผลผลิต ข้าว-มัน-ปาล์ม ลด ขณะที่ยางพาราฝนตกหนักกรีดไม่ได้
สศก.คาดจีดีพีเกษตรหด - นาย
ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2563 (ก.ค.-ก.ย.) หดตัว 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ หดตัวลงไตรมาส 3 ปรับตัวดีกว่าไตรมาส 2 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งที่ต่อเนื่องถึงช่วงกลางปี เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญและปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ สาขาพืช ซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักยังคงหดตัว 0.8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน มังคุด และเงาะ ขณะที่ยางพาราลดลงจากจำนวนวันกรีดยางที่ลดลงจากฝนตกชุก รวมถึงการขาดแคลนแรงงานในการกรีดยาง การผลิตพืชหลักที่ลดลงยังส่งผลให้ สาขาบริการทางการเกษตร หดตัวตามไปด้วย โดยไตรมาส 3 หดตัว 0.2%
สำหรับสาขาประมง หดตัวเช่นกันที่ 0.9% จากปริมาณการเลี้ยงกุ้งทะเลและสัตว์น้ำจืดที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดพื้นที่การเลี้ยง ปรับลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง
ส่วนสาขาป่าไม้หดตัว 1.0% จากปริมาณผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา และครั่ง ที่ลดลงตามความต้องการของตลาดและการส่งออกที่ชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สาขาปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 2.4% จากการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกเนื้อไก่ที่สำคัญของไทย และการใช้สายพันธุ์โคนมที่เหมาะสม ส่งผลให้อัตราการให้น้ำนมเพิ่มขึ้น
สำหรับภาวะเศรษฐกิจการเกษตรตลอดปี 2563 คาดว่า จะหดตัวอยู่ในช่วง - 3.4% ถึง -2.4%เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยสาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร มีทิศทางหดตัวลงตามการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. 2563 มีฝนตกเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
ส่วนสาขาประมง คาดว่าจะปรับตัวลดลง ทั้งการทำประมงทะเลและประมงน้ำจืด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนและปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ในขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาป่าไม้ คาดว่าจะขยายตัวได้ตามความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
คาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 สศก. ยังมีปัจจัยและสถานการณ์สำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยสถานการณ์การระบาดที่ยังคงยืดเยื้อและความเสี่ยงของการกลับมาระบาดในรอบที่ 2 และความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งในด้านการค้าและความมั่นคงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุน เป็นต้น
ศัลยกรรมไทยปีนี้ทรุดหนักติดลบ 70%
https://www.dailynews.co.th/economic/804947
คนไทยไม่กล้าใช้เงิน ยอมทนหน้าย่น งดทำนม แปลงเพศ ฉุดลากศัลยกรรมไทยปีนี้ทรุดหนักติดลบ 70% มูลค่าหายไป 2 หมื่นล้าน คาดต้องใช้เวลาอีก 3 ปีกว่าจะฟื้น
นาย
สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยันฮี เปิดเผยว่า ปีนี้ภาพรวมตลาดศัลยกรรมตกแต่งไทยติดลบหนัก 70% มูลค่าลดลงจาก 30,000 ล้านบาทเหลือเพียง 10,000 ล้านบาท จากปกติเติบโตปีละ 5-10% และคาดว่าจะทรงตัวในตัวเลขดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 3 ปี จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ลูกค้าต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำศัลยกรรมในไทยได้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประชาชนยังไม่กล้าใช้เงินจึงชะลอแผนการทำศัลยกรรมแบบผ่าตัดใหญ่ อาทิ แปลงเพศ เสริมหน้าอก ตัดกราม ดูดไขมัน และการชะลอวัย ออกไป 70-80%
"ปัจจุบันโรงพยาบาลยันฮีให้บริการด้านความงาม 50% และรักษาโรคทั่วไป 50% ซึ่งหลังจากไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง ขณะนี้มีผู้กลับเข้ามารับบริการแล้วโดยรวม 60-70% ซึ่งการบริการด้านความงามนั้นพบว่าลูกค้าที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดเล็ก เช่น ตัดไฝ เสริมจมูก ทำตา 2 ชั้น ในราคาหลักพัน ส่วนการผ่าตัดใหญ่ราคาหลักหมื่นขึ้นไป ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลัก 60% นั้นจะถูกเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากไม่กล้าใช้เงินเพราะกังวลด้านเศรษฐกิจและกลัวตกงาน"
ทั้งนี้ ปัจจุบันจึงเห็นโรงพยาบาล คลินิกที่ให้บริการด้านความงามเริ่มออกโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในรูปแบบต่างๆ อย่างน้อย 10-15% เช่น ลดค่าผ่าตัด ลดค่าห้องพัก ลดค่ายา รวมทั้งคลินิกเริ่มปรับตัวโดยการลดเวลาการทำงาน อาทิ จากเดิมเปิดให้บริการ 12 ชั่วโมง ลดเวลาเหลือ 6 ชั่วโมง หรือเปิดเฉพาะช่วงเย็นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะที่รายเล็กที่แบกรับต้นทุนไม่ไหวก็ปิดให้บริการ ส่วนรายใหญ่ที่มีสาขาเยอะเริ่มลดจำนวนสาขาลง 50% เช่น ลดจาก 10 สาขา เหลือ 5 สาขา เพื่อพยุงธุรกิจแต่ยังรักษาแบรนด์ให้มีชื่อในตลาด
สำหรับโรงพยาบาลยันฮีช่วงที่ผ่านมาได้เริ่มปรับตัวด้วยการลดการทำงานล่วงเวลา (โอที) และจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายลดราคา 10-15% สำหรับบริการด้านความงาม และเร่งขยายบริการในแผนกผู้สูงอายุ รองรับฐานลูกค้ากลุ่มดังกล่าวที่จะช่วยชดเชยรายได้กลุ่มความงามที่หายไป โดยเพิ่มจำนวนเตียงอีก 100 เตียง จากเดิมที่มี 80 เตียง พร้อมกับเริ่มเปิดบริการรับฝากเลี้ยงดูผู้สูงอายุเพิ่มเติมด้วย
JJNY : 4in1 สศก.คาดปี’63 จีดีภาคเกษตรหดตัว/ศัลยกรรมทรุดติดลบ70%/ครอบครัว“วันเฉลิม”ออกแถลงการณ์ฉบับ3/ป๋าเต็ดเข้าใจแล้ว
https://www.khaosod.co.th/economics/news_5252344
สศก. คาดปี’63 จีดีภาคเกษตรหดตัว -2.4%ถึง-3.4% เหตุแล้งทำผลผลิต ข้าว-มัน-ปาล์ม ลด ขณะที่ยางพาราฝนตกหนักกรีดไม่ได้
สศก.คาดจีดีพีเกษตรหด - นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2563 (ก.ค.-ก.ย.) หดตัว 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ หดตัวลงไตรมาส 3 ปรับตัวดีกว่าไตรมาส 2 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งที่ต่อเนื่องถึงช่วงกลางปี เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญและปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ สาขาพืช ซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักยังคงหดตัว 0.8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน มังคุด และเงาะ ขณะที่ยางพาราลดลงจากจำนวนวันกรีดยางที่ลดลงจากฝนตกชุก รวมถึงการขาดแคลนแรงงานในการกรีดยาง การผลิตพืชหลักที่ลดลงยังส่งผลให้ สาขาบริการทางการเกษตร หดตัวตามไปด้วย โดยไตรมาส 3 หดตัว 0.2%
สำหรับสาขาประมง หดตัวเช่นกันที่ 0.9% จากปริมาณการเลี้ยงกุ้งทะเลและสัตว์น้ำจืดที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดพื้นที่การเลี้ยง ปรับลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง
ส่วนสาขาป่าไม้หดตัว 1.0% จากปริมาณผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา และครั่ง ที่ลดลงตามความต้องการของตลาดและการส่งออกที่ชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สาขาปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 2.4% จากการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกเนื้อไก่ที่สำคัญของไทย และการใช้สายพันธุ์โคนมที่เหมาะสม ส่งผลให้อัตราการให้น้ำนมเพิ่มขึ้น
สำหรับภาวะเศรษฐกิจการเกษตรตลอดปี 2563 คาดว่า จะหดตัวอยู่ในช่วง - 3.4% ถึง -2.4%เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยสาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร มีทิศทางหดตัวลงตามการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. 2563 มีฝนตกเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
ส่วนสาขาประมง คาดว่าจะปรับตัวลดลง ทั้งการทำประมงทะเลและประมงน้ำจืด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนและปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ในขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาป่าไม้ คาดว่าจะขยายตัวได้ตามความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
คาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 สศก. ยังมีปัจจัยและสถานการณ์สำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยสถานการณ์การระบาดที่ยังคงยืดเยื้อและความเสี่ยงของการกลับมาระบาดในรอบที่ 2 และความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งในด้านการค้าและความมั่นคงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุน เป็นต้น
ศัลยกรรมไทยปีนี้ทรุดหนักติดลบ 70%
https://www.dailynews.co.th/economic/804947
คนไทยไม่กล้าใช้เงิน ยอมทนหน้าย่น งดทำนม แปลงเพศ ฉุดลากศัลยกรรมไทยปีนี้ทรุดหนักติดลบ 70% มูลค่าหายไป 2 หมื่นล้าน คาดต้องใช้เวลาอีก 3 ปีกว่าจะฟื้น
นายสุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยันฮี เปิดเผยว่า ปีนี้ภาพรวมตลาดศัลยกรรมตกแต่งไทยติดลบหนัก 70% มูลค่าลดลงจาก 30,000 ล้านบาทเหลือเพียง 10,000 ล้านบาท จากปกติเติบโตปีละ 5-10% และคาดว่าจะทรงตัวในตัวเลขดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 3 ปี จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ลูกค้าต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำศัลยกรรมในไทยได้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประชาชนยังไม่กล้าใช้เงินจึงชะลอแผนการทำศัลยกรรมแบบผ่าตัดใหญ่ อาทิ แปลงเพศ เสริมหน้าอก ตัดกราม ดูดไขมัน และการชะลอวัย ออกไป 70-80%
"ปัจจุบันโรงพยาบาลยันฮีให้บริการด้านความงาม 50% และรักษาโรคทั่วไป 50% ซึ่งหลังจากไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง ขณะนี้มีผู้กลับเข้ามารับบริการแล้วโดยรวม 60-70% ซึ่งการบริการด้านความงามนั้นพบว่าลูกค้าที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดเล็ก เช่น ตัดไฝ เสริมจมูก ทำตา 2 ชั้น ในราคาหลักพัน ส่วนการผ่าตัดใหญ่ราคาหลักหมื่นขึ้นไป ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลัก 60% นั้นจะถูกเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากไม่กล้าใช้เงินเพราะกังวลด้านเศรษฐกิจและกลัวตกงาน"
ทั้งนี้ ปัจจุบันจึงเห็นโรงพยาบาล คลินิกที่ให้บริการด้านความงามเริ่มออกโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในรูปแบบต่างๆ อย่างน้อย 10-15% เช่น ลดค่าผ่าตัด ลดค่าห้องพัก ลดค่ายา รวมทั้งคลินิกเริ่มปรับตัวโดยการลดเวลาการทำงาน อาทิ จากเดิมเปิดให้บริการ 12 ชั่วโมง ลดเวลาเหลือ 6 ชั่วโมง หรือเปิดเฉพาะช่วงเย็นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะที่รายเล็กที่แบกรับต้นทุนไม่ไหวก็ปิดให้บริการ ส่วนรายใหญ่ที่มีสาขาเยอะเริ่มลดจำนวนสาขาลง 50% เช่น ลดจาก 10 สาขา เหลือ 5 สาขา เพื่อพยุงธุรกิจแต่ยังรักษาแบรนด์ให้มีชื่อในตลาด
สำหรับโรงพยาบาลยันฮีช่วงที่ผ่านมาได้เริ่มปรับตัวด้วยการลดการทำงานล่วงเวลา (โอที) และจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายลดราคา 10-15% สำหรับบริการด้านความงาม และเร่งขยายบริการในแผนกผู้สูงอายุ รองรับฐานลูกค้ากลุ่มดังกล่าวที่จะช่วยชดเชยรายได้กลุ่มความงามที่หายไป โดยเพิ่มจำนวนเตียงอีก 100 เตียง จากเดิมที่มี 80 เตียง พร้อมกับเริ่มเปิดบริการรับฝากเลี้ยงดูผู้สูงอายุเพิ่มเติมด้วย