'ศูนย์วิจัยกสิกรไทย'หั่นจีดีพี'64ติดลบ0.5% คาดไตรมาสสามทรุดหนัก
https://www.dailynews.co.th/news/167438/
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ที่ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบปีก่อน ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.0% แต่หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 0.4% แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแรงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 7.5% เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ และการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นเป็นหลัก โดยการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2/2564 ขยายตัวที่ 36.2% ในรูปของดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า ในขณะที่ การบริโภคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2/2564 แม้ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าเนื่องจากฐานที่ต่ำ แต่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนกลับติดลบ -2.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาด ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.0% มาเป็นติดลบ -0.5% โดยมีรายละเอียดดังนี้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่มีแนวโน้มรุนแรงและลากยาวขึ้นกว่าที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม การประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คาดว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะแตะระดับสูงสุดในเดือนกันยายน และจะค่อยๆ ลดจำนวนลง แต่กว่าสถานการณ์จะควบคุมได้หรือจำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลงต่ำกว่า 1,000 คนต่อวัน คาดว่าไม่เร็วไปกว่าไตรมาสที่ 4 ในปี 2564 นี้
ดังนั้น คาดว่ารัฐบาลจะยังคงมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดไปไม่ต่ำกว่า 2 เดือน (เริ่ม ก.ค. 2564) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ตามมา และแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการออกมาเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบกับกลุ่มผู้ประกอบการและลูกจ้างในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการล็อกดาวน์ แต่คงไม่สามารถชดเชยผลกระทบได้ทั้งหมด ทำให้ คาดว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีของไทยในไตรมาส 3/2564 จะหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าติดลบ -3.5% และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าติดลบ -4.9%
นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในบางธุรกิจ แต่หากจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่อัตราประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสยังไม่สูงมากก็จะทำให้ประเด็นความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่กลับมาปกติ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยอาจน้อยกว่าที่คาด เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยในปีนี้อาจลดลงอยู่ที่ราว 1.5 แสนคน แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และโครงการ “สมุย พลัส โมเดล”
ในขณะที่ ภาคการผลิตเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการแพร่ระบาดในโรงงาน โดยหากการแพร่ระบาดยังคงไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้เกิดการปิดโรงงาน และมีผลต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่การผลิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ นอกจากนี้ อาจทำให้สินค้าในประเทศเกิดภาวะขาดตลาดในบางช่วงจังหวะเวลาอีกด้วย อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ และอียู ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะยังส่งผลให้การส่งออกไทยในปีนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง
'ศูนย์วิจัยกสิกรไทย'หั่นจีดีพี'64ติดลบ0.5% คาดไตรมาสสามทรุดหนัก
https://www.dailynews.co.th/news/167438/
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ที่ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบปีก่อน ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.0% แต่หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 0.4% แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแรงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 7.5% เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ และการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นเป็นหลัก โดยการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2/2564 ขยายตัวที่ 36.2% ในรูปของดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า ในขณะที่ การบริโภคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2/2564 แม้ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าเนื่องจากฐานที่ต่ำ แต่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนกลับติดลบ -2.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาด ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.0% มาเป็นติดลบ -0.5% โดยมีรายละเอียดดังนี้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่มีแนวโน้มรุนแรงและลากยาวขึ้นกว่าที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม การประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คาดว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะแตะระดับสูงสุดในเดือนกันยายน และจะค่อยๆ ลดจำนวนลง แต่กว่าสถานการณ์จะควบคุมได้หรือจำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลงต่ำกว่า 1,000 คนต่อวัน คาดว่าไม่เร็วไปกว่าไตรมาสที่ 4 ในปี 2564 นี้
ดังนั้น คาดว่ารัฐบาลจะยังคงมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดไปไม่ต่ำกว่า 2 เดือน (เริ่ม ก.ค. 2564) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ตามมา และแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการออกมาเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบกับกลุ่มผู้ประกอบการและลูกจ้างในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการล็อกดาวน์ แต่คงไม่สามารถชดเชยผลกระทบได้ทั้งหมด ทำให้ คาดว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีของไทยในไตรมาส 3/2564 จะหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าติดลบ -3.5% และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าติดลบ -4.9%
นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในบางธุรกิจ แต่หากจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่อัตราประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสยังไม่สูงมากก็จะทำให้ประเด็นความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่กลับมาปกติ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยอาจน้อยกว่าที่คาด เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยในปีนี้อาจลดลงอยู่ที่ราว 1.5 แสนคน แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และโครงการ “สมุย พลัส โมเดล”
ในขณะที่ ภาคการผลิตเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการแพร่ระบาดในโรงงาน โดยหากการแพร่ระบาดยังคงไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้เกิดการปิดโรงงาน และมีผลต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่การผลิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ นอกจากนี้ อาจทำให้สินค้าในประเทศเกิดภาวะขาดตลาดในบางช่วงจังหวะเวลาอีกด้วย อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ และอียู ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะยังส่งผลให้การส่งออกไทยในปีนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง