เศรษฐกิจไทยติดบ่วงหนี้ครัวเรือน ขวางเป้าอนาคตภาคท่องเที่ยว‘ไม่ถึงฝั่ง’
https://www.matichon.co.th/economy/news_4930209
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการทยอยฟื้นตัว ถือเป็นคำพูดจากสถาบันเศรษฐกิจสำคัญของรัฐที่ได้ยินมาตั้งแต่ต้นปี จนขณะนี้เหลืออีกเพียงเดือนเศษเท่านั้น จะเริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ 2568 แล้ว แต่เศรษฐกิจยังดูไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างที่คาดหวังไว้
สะท้อนจากข้อมูลของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/2567 พบว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3% ซึ่งในภาพรวมเศรษฐกิจไทย 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวได้ 2.3% ถือว่า ยังห่างจากเป้าหมายที่ต้องการให้โตมากกว่า 3% ขึ้นไป อยู่มาก แต่ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากไตรมาส 3/2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้จากการลงทุนภาครัฐขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน การส่งออกสินค้า และบริการ และการอุปโภคภาครัฐ ขยายตัวในเกณฑ์สูง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.4% การใช้จ่ายภาคบริการขยายตัว 6.5% สาขาก่อสร้างขยายตัว 15.5% การส่งออกสินค้า และบริการขยายตัวถึง 10.5% การนำเข้าสินค้า และบริการขยายตัวได้ 9.6%
⦁ หนี้เสียพุ่งฉุดมู้ดศก.ฟื้น
แม้ภาวะเศรษฐกิจดูจะมีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้น แต่กลับเป็นการบวกที่เหมือนไม่ได้ช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้มากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากข้อมูลหนี้สินครัวเรือนล่าสุดช่วงไตรมาส 2/2567 ขยายตัวชะลอลง โดยมีมูลค่ารวม 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3% จาก 2.3% ของไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีลดลงจาก 90.7% ของไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 89.6% ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่หนี้ครัวเรือนลดลงและตัวเลขจีดีพีเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขหนี้ครัวเรือนยังเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากระดับภาระหนี้ที่สูงประกอบกับคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น สะท้อนจากเงินให้กู้แก่ภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 หรือ 38.5% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดที่หดตัวเป็นครั้งแรกที่ 1.2%
นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ยังต้องติดตามแนวโน้มการก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่อาจเพิ่มขึ้น โดยเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราการผิดนัดชำระที่สูง หากครัวเรือนไม่ระมัดระวังในการก่อหนี้หรือไม่มีวินัยทางการเงิน จะนำไปสู่การติดกับดักหนี้ โดยหนี้เสียที่เกิดขึ้นของครัวเรือนส่วนใหญ่กว่า 71% อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) เมื่อพิจารณาภาพรวมการขยายตัวของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น 12.2% จะพบว่า มีสาเหตุการขยายตัว (Contribution to growth) มาจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก โดยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 พบว่า ครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบคิดเป็นมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาท และส่วนใหญ่กว่า 47.5% เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค
“
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องของครัวเรือน การก่อหนี้นอกระบบจะทำให้ลูกหนี้มีความเสี่ยงในการตกอยู่ในวังวนหนี้สินไม่รู้จบ ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมายกำหนด บางครั้งสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี อาจการถูกโกงจากสัญญาที่ไม่ชัดเจน หรือการใช้วิธีการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายและรุนแรง เป็นต้น” นาย
ดนุชากล่าว
⦁ กำลังซื้อพอเฉพาะปัจจัยสี่
ภาพเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางโดยเฉพาะในส่วนของกำลังซื้อของครัวเรือน ที่มีต้นตอมาจากภาระหนี้สิน ทำให้กำลังซื้อภายในประเทศที่หดตัว เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีอย่างที่คาดไว้ การลงทุนใหม่ก็หดหายตามไปด้วย ส่งผลต่อการจ้างงานในภาคธุรกิจ เพราะเมื่อความต้องการ (ดีมานด์) อาจมีอยู่ แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ เพราะกำลังซื้อที่ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค การขยายตัวของธุรกิจจึงชะลอตัวลง ส่งผลไปถึงภาคบริการด้วย เพราะเมื่อคนมีความสามารถในการใช้จ่ายลดลง ต้องรัดเข็มขัดแน่นขึ้นเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายตามภาระหนี้สินที่มีอยู่ นอกเหนือจากปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแล้ว ปัจจัยอื่นก็ต้องตัดออกไป
จากเดิมการท่องเที่ยว ถือเป็นปัจจัย 5 ที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ออกเดินทางเพื่อรับพลังบวก และสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว มาพร้อมภาระหนี้สินที่รัดตัว ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ อาจชะลอตัวลงได้อีกในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ภาพรวมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 อยู่ที่ 148.02 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 8.98% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และสร้างรายได้ราว 702,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.63%
น.ส.
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากช่วงที่เหลือของปี 2567 มีแนวโน้มที่คนไทยจะเที่ยวในประเทศทะลุ 200 ล้านคน-ครั้งแน่นอน มีโอกาสลุ้นที่ 230 ล้านคน-ครั้งเพราะเหลือการเดินทางอีกแค่ 52 ล้านคน-ครั้ง ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่คนไทยเดินทางเที่ยวมากที่สุด เพราะเพิ่งผ่านช่วงปิดเทอม ที่เห็นผู้ปกครองพาบุตรหลานออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเส้นทางฮอตฮิต อาทิ เส้นทางหมูเด้ง รวมถึงช่วงปลายปี ก็มีเทศกาลหลากหลายที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวด้วย เริ่มต้นที่งานลอยกระทง อีเวนต์ใหญ่ที่จัดขึ้นในแต่ละภูมิภาค จนถึงการเคาต์ดาวน์ 2568 ที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นแน่นอน ถือเป็นแรงหนุนให้คนไทยเดินทางเที่ยวในประเทศมากกว่าปกติ จากเฉลี่ยที่ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการเดินทางเที่ยวในประเทศอยู่ที่ 16 ล้านคน-ครั้งต่อเดือน
⦁ รายได้ท่องเที่ยวพลาดเป้า
แต่ในแง่ของการสร้างรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยในปี 2567 ที่ตั้งเป้าไว้ 1 ล้านล้านบาท ดูแนวโน้มแล้วไม่น่าจะทำได้ตามเป้าหมาย คาดอยู่แค่ 9.5-9.7 แสนล้านบาทเท่านั้น เพราะในปัจจุบัน แม้เห็นคนไทยออกเดินทางท่องเที่ยวอยู่ แต่การใช้จ่ายเฉลี่ยไม่สูง เพราะคนระมัดระวังในการใช้จ่าย จึงลดจำนวนวันท่องเที่ยวและลดการใช้จ่ายลง โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ 3,000 บาทต่อทริปต่อคนเท่านั้น จากประมาณ 4,000 บาทต่อทริปในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ทำให้รายได้ไทยเที่ยวไทยในปีนี้ มีแนวโน้มจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เกิดจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีผลมากสุด เป็นเรื่องค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อน้อย และใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น พร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการลดจำนวนวันท่องเที่ยว และหันไปเดินทางท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับมากขึ้น
รวมถึงมีความผันผวนของราคาพลังงาน ซึ่งคนไทยกว่า 80% นิยมขับรถยนต์เที่ยวเอง ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และหันมาเที่ยวระยะใกล้แทน อีกทั้งมีความต้องการออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย เนื่องจากต้องการสัมผัสอากาศ วัฒนธรรม และอาหารที่ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย รวมทั้งต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งตลาดคนไทยเที่ยวนอกถือว่าเติบโตสูงมากในปีนี้ เพราะกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง อย่างไรก็ยังมีความสามารถในการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวสูงอยู่ ประกอบกับค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนค่า โดยเฉพาะเงินเยน ทำให้ยิ่งกระตุ้นให้คนไทยเลือกที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่น รวมถึงกระแสความสนใจในการซื้ออาร์ตทอยของคนไทยในหลายประเทศ อาทิ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ก็เป็นแรงจูงใจให้คนไทยเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
ความคุ้มค่าต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ และค่าโรงแรมที่พักในจังหวัดท่องเที่ยวหลักบางจังหวัดมีราคาเทียบเท่ากับการไปต่างประเทศ ทำให้คนไทยตัดสินใจไปเที่ยวต่างประเทศมากกว่า โดยในปัจจุบันเราเห็นการส่งเสริมการตลาดจากประเทศที่เป็นจุดหมายยอดนิยมของคนไทย อาทิ ประเทศจีนให้ฟรีวีซ่าท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวไทย การทำโปรโมชั่นราคาบัตรโดยสารระหว่างประเทศของสายการบินต่างๆ อาทิ ฮ่องกงแอร์ไลน์และคาเธย์แปซิฟิก เส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง แอร์เจแปน เส้นทางกรุงเทพฯ-โตเกียว นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแพคเกจโรงแรมที่พัก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย ที่มีความต้องการอยู่แล้ว ทำให้ตลาดไทยเที่ยวนอกยิ่งขยายตัวมากขึ้น
อีกทั้งเรายังมาเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคเหนือ ต่อมาเพียง 1 เดือนก็เกิดน้ำท่วมที่จังหวัดภาคใต้อีก และมีปรากฏการณ์คลื่นความร้อน (เอลนีโญ) เหตุแผ่นดินไหว ภัยแล้ง รวมทั้งฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน ปัญหาสุขภาพ และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อความเชื่อมั่นถูกกระทบ ก็ทำให้การเดินทางหยุดชะงักและชะลอตัวไปแบบอัตโนมัติ
⦁ ตลาดของถูกแข่งขันเดือด
ด้านเอกชน นาย
เทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ธุรกิจโรงแรมถือว่ามีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะในด้านราคา สะท้อนจากในช่วงปลายปี ยอดจองท่องเที่ยวถือว่าเต็มแล้วในหลายโรงแรม แต่เป็นโรงแรมตามเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งลูกค้าจะเน้นจองในห้องพักที่มีราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับห้องพักขนาดเดียวกัน โดยช่วงราคาที่พัก พบว่า ราคาอยู่ประมาณ 1,000-2,000 บาท เป็นช่วงราคาที่ได้รับความนิยมสูงสุด สะท้อนถึงความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่นับรวมกลุ่มลูกค้าที่เข้าพักโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป เพราะส่วนนี้สามารถจ่ายราคาใดก็ได้ตามความพอใจของตัวเองอยู่แล้ว
โรงแรมส่วนใหญ่คาดว่าจำนวนลูกค้าไทยจะใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยเฉพาะโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว หากพิจารณารายภูมิภาคพบว่า กว่า 50% ของโรงแรมในภาคเหนือคาดว่าสัดส่วนลูกค้าไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น โดยความกังวลสูงสุดกระจุกตัวอยู่ในผลกระทบจากการแข่งขันของธุรกิจและทุนต่างชาติ ต่อธุรกิจโรงแรม ซึ่งโรงแรมประมาณ 50% กังวลต่อการเข้ามาแข่งขันของธุรกิจและทุนต่างชาติ อาทิ ธุรกิจจีนโดยโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว ส่วนใหญ่มีความกังวลด้านราคา ขณะที่โรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป ส่วนใหญ่มีความกังวลด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ โรงแรมในภาคกลางและภาคเหนือ กังวลมากกว่าภาคอื่น
มาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐ โรงแรมส่วนใหญ่จึงต้องการให้มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย โดยเน้นการท่องเที่ยวเมืองรอง มาตรการเราเที่ยวด้วยกัน ส่งเสริมการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพและใช้จ่ายสูง รวมถึงสนับสนุนให้มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มเติม และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ มาตรการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรการลดหย่อนภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตรการด้านแรงงาน โดยให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนการเพิ่มทักษะของแรงงานในธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะพนักงานทำความสะอาด และพนักงานบริการในห้องอาหาร มาตรการด้านการเงิน อาทิ ดูแลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับเดียวกับประเทศอื่น มีมาตรการสินเชื่อระยะสั้นหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในการปรับปรุงที่พักแรม โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก และโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงมาตรการอื่นๆ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสาธารณูปโภค และตรวจสอบการเข้ามาทำธุรกิจของต่างชาติที่อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
JJNY : เศรษฐกิจไทยติดบ่วงหนี้ครัวเรือน│“ณัฐพงษ์” หนุนใช้กลไกสภา│เตือนรับมือฝนระลอกสอง│เซเลนสกีเรียกร้องขอคำเชิญจากนาโต
https://www.matichon.co.th/economy/news_4930209
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการทยอยฟื้นตัว ถือเป็นคำพูดจากสถาบันเศรษฐกิจสำคัญของรัฐที่ได้ยินมาตั้งแต่ต้นปี จนขณะนี้เหลืออีกเพียงเดือนเศษเท่านั้น จะเริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ 2568 แล้ว แต่เศรษฐกิจยังดูไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างที่คาดหวังไว้
สะท้อนจากข้อมูลของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/2567 พบว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3% ซึ่งในภาพรวมเศรษฐกิจไทย 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวได้ 2.3% ถือว่า ยังห่างจากเป้าหมายที่ต้องการให้โตมากกว่า 3% ขึ้นไป อยู่มาก แต่ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากไตรมาส 3/2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้จากการลงทุนภาครัฐขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน การส่งออกสินค้า และบริการ และการอุปโภคภาครัฐ ขยายตัวในเกณฑ์สูง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.4% การใช้จ่ายภาคบริการขยายตัว 6.5% สาขาก่อสร้างขยายตัว 15.5% การส่งออกสินค้า และบริการขยายตัวถึง 10.5% การนำเข้าสินค้า และบริการขยายตัวได้ 9.6%
⦁ หนี้เสียพุ่งฉุดมู้ดศก.ฟื้น
แม้ภาวะเศรษฐกิจดูจะมีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้น แต่กลับเป็นการบวกที่เหมือนไม่ได้ช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้มากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากข้อมูลหนี้สินครัวเรือนล่าสุดช่วงไตรมาส 2/2567 ขยายตัวชะลอลง โดยมีมูลค่ารวม 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3% จาก 2.3% ของไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีลดลงจาก 90.7% ของไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 89.6% ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่หนี้ครัวเรือนลดลงและตัวเลขจีดีพีเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขหนี้ครัวเรือนยังเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากระดับภาระหนี้ที่สูงประกอบกับคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น สะท้อนจากเงินให้กู้แก่ภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 หรือ 38.5% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดที่หดตัวเป็นครั้งแรกที่ 1.2%
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ยังต้องติดตามแนวโน้มการก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่อาจเพิ่มขึ้น โดยเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราการผิดนัดชำระที่สูง หากครัวเรือนไม่ระมัดระวังในการก่อหนี้หรือไม่มีวินัยทางการเงิน จะนำไปสู่การติดกับดักหนี้ โดยหนี้เสียที่เกิดขึ้นของครัวเรือนส่วนใหญ่กว่า 71% อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) เมื่อพิจารณาภาพรวมการขยายตัวของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น 12.2% จะพบว่า มีสาเหตุการขยายตัว (Contribution to growth) มาจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก โดยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 พบว่า ครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบคิดเป็นมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาท และส่วนใหญ่กว่า 47.5% เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค
“สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องของครัวเรือน การก่อหนี้นอกระบบจะทำให้ลูกหนี้มีความเสี่ยงในการตกอยู่ในวังวนหนี้สินไม่รู้จบ ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมายกำหนด บางครั้งสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี อาจการถูกโกงจากสัญญาที่ไม่ชัดเจน หรือการใช้วิธีการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายและรุนแรง เป็นต้น” นายดนุชากล่าว
⦁ กำลังซื้อพอเฉพาะปัจจัยสี่
ภาพเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางโดยเฉพาะในส่วนของกำลังซื้อของครัวเรือน ที่มีต้นตอมาจากภาระหนี้สิน ทำให้กำลังซื้อภายในประเทศที่หดตัว เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีอย่างที่คาดไว้ การลงทุนใหม่ก็หดหายตามไปด้วย ส่งผลต่อการจ้างงานในภาคธุรกิจ เพราะเมื่อความต้องการ (ดีมานด์) อาจมีอยู่ แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ เพราะกำลังซื้อที่ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค การขยายตัวของธุรกิจจึงชะลอตัวลง ส่งผลไปถึงภาคบริการด้วย เพราะเมื่อคนมีความสามารถในการใช้จ่ายลดลง ต้องรัดเข็มขัดแน่นขึ้นเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายตามภาระหนี้สินที่มีอยู่ นอกเหนือจากปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแล้ว ปัจจัยอื่นก็ต้องตัดออกไป
จากเดิมการท่องเที่ยว ถือเป็นปัจจัย 5 ที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ออกเดินทางเพื่อรับพลังบวก และสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว มาพร้อมภาระหนี้สินที่รัดตัว ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ อาจชะลอตัวลงได้อีกในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ภาพรวมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 อยู่ที่ 148.02 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 8.98% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และสร้างรายได้ราว 702,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.63%
น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากช่วงที่เหลือของปี 2567 มีแนวโน้มที่คนไทยจะเที่ยวในประเทศทะลุ 200 ล้านคน-ครั้งแน่นอน มีโอกาสลุ้นที่ 230 ล้านคน-ครั้งเพราะเหลือการเดินทางอีกแค่ 52 ล้านคน-ครั้ง ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่คนไทยเดินทางเที่ยวมากที่สุด เพราะเพิ่งผ่านช่วงปิดเทอม ที่เห็นผู้ปกครองพาบุตรหลานออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเส้นทางฮอตฮิต อาทิ เส้นทางหมูเด้ง รวมถึงช่วงปลายปี ก็มีเทศกาลหลากหลายที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวด้วย เริ่มต้นที่งานลอยกระทง อีเวนต์ใหญ่ที่จัดขึ้นในแต่ละภูมิภาค จนถึงการเคาต์ดาวน์ 2568 ที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นแน่นอน ถือเป็นแรงหนุนให้คนไทยเดินทางเที่ยวในประเทศมากกว่าปกติ จากเฉลี่ยที่ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการเดินทางเที่ยวในประเทศอยู่ที่ 16 ล้านคน-ครั้งต่อเดือน
⦁ รายได้ท่องเที่ยวพลาดเป้า
แต่ในแง่ของการสร้างรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยในปี 2567 ที่ตั้งเป้าไว้ 1 ล้านล้านบาท ดูแนวโน้มแล้วไม่น่าจะทำได้ตามเป้าหมาย คาดอยู่แค่ 9.5-9.7 แสนล้านบาทเท่านั้น เพราะในปัจจุบัน แม้เห็นคนไทยออกเดินทางท่องเที่ยวอยู่ แต่การใช้จ่ายเฉลี่ยไม่สูง เพราะคนระมัดระวังในการใช้จ่าย จึงลดจำนวนวันท่องเที่ยวและลดการใช้จ่ายลง โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ 3,000 บาทต่อทริปต่อคนเท่านั้น จากประมาณ 4,000 บาทต่อทริปในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ทำให้รายได้ไทยเที่ยวไทยในปีนี้ มีแนวโน้มจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เกิดจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีผลมากสุด เป็นเรื่องค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อน้อย และใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น พร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการลดจำนวนวันท่องเที่ยว และหันไปเดินทางท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับมากขึ้น
รวมถึงมีความผันผวนของราคาพลังงาน ซึ่งคนไทยกว่า 80% นิยมขับรถยนต์เที่ยวเอง ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และหันมาเที่ยวระยะใกล้แทน อีกทั้งมีความต้องการออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย เนื่องจากต้องการสัมผัสอากาศ วัฒนธรรม และอาหารที่ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย รวมทั้งต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งตลาดคนไทยเที่ยวนอกถือว่าเติบโตสูงมากในปีนี้ เพราะกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง อย่างไรก็ยังมีความสามารถในการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวสูงอยู่ ประกอบกับค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนค่า โดยเฉพาะเงินเยน ทำให้ยิ่งกระตุ้นให้คนไทยเลือกที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่น รวมถึงกระแสความสนใจในการซื้ออาร์ตทอยของคนไทยในหลายประเทศ อาทิ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ก็เป็นแรงจูงใจให้คนไทยเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
ความคุ้มค่าต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ และค่าโรงแรมที่พักในจังหวัดท่องเที่ยวหลักบางจังหวัดมีราคาเทียบเท่ากับการไปต่างประเทศ ทำให้คนไทยตัดสินใจไปเที่ยวต่างประเทศมากกว่า โดยในปัจจุบันเราเห็นการส่งเสริมการตลาดจากประเทศที่เป็นจุดหมายยอดนิยมของคนไทย อาทิ ประเทศจีนให้ฟรีวีซ่าท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวไทย การทำโปรโมชั่นราคาบัตรโดยสารระหว่างประเทศของสายการบินต่างๆ อาทิ ฮ่องกงแอร์ไลน์และคาเธย์แปซิฟิก เส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง แอร์เจแปน เส้นทางกรุงเทพฯ-โตเกียว นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแพคเกจโรงแรมที่พัก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย ที่มีความต้องการอยู่แล้ว ทำให้ตลาดไทยเที่ยวนอกยิ่งขยายตัวมากขึ้น
อีกทั้งเรายังมาเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคเหนือ ต่อมาเพียง 1 เดือนก็เกิดน้ำท่วมที่จังหวัดภาคใต้อีก และมีปรากฏการณ์คลื่นความร้อน (เอลนีโญ) เหตุแผ่นดินไหว ภัยแล้ง รวมทั้งฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน ปัญหาสุขภาพ และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อความเชื่อมั่นถูกกระทบ ก็ทำให้การเดินทางหยุดชะงักและชะลอตัวไปแบบอัตโนมัติ
⦁ ตลาดของถูกแข่งขันเดือด
ด้านเอกชน นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ธุรกิจโรงแรมถือว่ามีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะในด้านราคา สะท้อนจากในช่วงปลายปี ยอดจองท่องเที่ยวถือว่าเต็มแล้วในหลายโรงแรม แต่เป็นโรงแรมตามเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งลูกค้าจะเน้นจองในห้องพักที่มีราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับห้องพักขนาดเดียวกัน โดยช่วงราคาที่พัก พบว่า ราคาอยู่ประมาณ 1,000-2,000 บาท เป็นช่วงราคาที่ได้รับความนิยมสูงสุด สะท้อนถึงความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่นับรวมกลุ่มลูกค้าที่เข้าพักโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป เพราะส่วนนี้สามารถจ่ายราคาใดก็ได้ตามความพอใจของตัวเองอยู่แล้ว
โรงแรมส่วนใหญ่คาดว่าจำนวนลูกค้าไทยจะใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยเฉพาะโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว หากพิจารณารายภูมิภาคพบว่า กว่า 50% ของโรงแรมในภาคเหนือคาดว่าสัดส่วนลูกค้าไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น โดยความกังวลสูงสุดกระจุกตัวอยู่ในผลกระทบจากการแข่งขันของธุรกิจและทุนต่างชาติ ต่อธุรกิจโรงแรม ซึ่งโรงแรมประมาณ 50% กังวลต่อการเข้ามาแข่งขันของธุรกิจและทุนต่างชาติ อาทิ ธุรกิจจีนโดยโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว ส่วนใหญ่มีความกังวลด้านราคา ขณะที่โรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป ส่วนใหญ่มีความกังวลด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ โรงแรมในภาคกลางและภาคเหนือ กังวลมากกว่าภาคอื่น
มาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐ โรงแรมส่วนใหญ่จึงต้องการให้มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย โดยเน้นการท่องเที่ยวเมืองรอง มาตรการเราเที่ยวด้วยกัน ส่งเสริมการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพและใช้จ่ายสูง รวมถึงสนับสนุนให้มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มเติม และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ มาตรการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรการลดหย่อนภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตรการด้านแรงงาน โดยให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนการเพิ่มทักษะของแรงงานในธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะพนักงานทำความสะอาด และพนักงานบริการในห้องอาหาร มาตรการด้านการเงิน อาทิ ดูแลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับเดียวกับประเทศอื่น มีมาตรการสินเชื่อระยะสั้นหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในการปรับปรุงที่พักแรม โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก และโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงมาตรการอื่นๆ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสาธารณูปโภค และตรวจสอบการเข้ามาทำธุรกิจของต่างชาติที่อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย