คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตอนแรกไม่รู้หรอกครับ ว่าอาหารอะไรให้สารอาหารอะไรบ้าง
แต่จากการลองผิดลองถูกมาหลายชั่วอายุคน
ทำให้เราเริ่มทราบว่า อาหารตัวไหนจำเป็นกับเรา ตัวไหนไม่ดีกับเรา
พวกยา สมุนไพร หรือยาพิษ อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เราก็เริ่มทราบกันมาตั้งแต่อดีตแล้ว
แม้บางอย่าง จะมีเข้าใจผิดบ้าง หรือแค่ให้สารอาหาร/ มีฐานะเป็นยา อย่างที่คนสมัยก่อนเชื่อ จากการศึกษาในสมัยใหม่
แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความรู้โดยทั่วไปจากอดีต ไม่ค่อยผิดพลาดไปไกลนัก
ถึงคนจะไม่ทราบว่าอาหารตัวไหน ให้สารอาหารอะไร แต่คนก็ยังทราบว่า ควรกิน ข้าว เนื้อ พืชผัก ผลไม้
เป็นอาหาร 3-4 อย่างแล้วแต่การแบ่งประเภท ที่มนุษย์จำเป็นต้องทาน ก่อนที่มนุษย์จะได้เรียนรู้ เข้าใจเรื่องสารอาหาร
ถึงสมัยก่อน เราจะเริ่มทราบว่า อาหารประเภทไหนจำเป็นต่อร่างกาย
จากการที่ เมื่อขาดแคลนอาหารบางประเภท ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ แต่เราก็ไม่สามารถเจาะจงไปได้ว่าเพราะอะไร
แต่เมื่อวิทยาศาสตร์พัฒนาไปเรื่อยๆ ทำให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของสิ่งต่างๆมากขึ้น
เริ่มจาก ในช่วงปี ค.ศ. 1770 อ็องตวน ลาวัวซีเย (Antoine Lavoisier) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ได้ศึกษาเรื่อง การเผาไหม้ จนพบว่าส่วนประกอบหนึ่งของอากาศที่เกี่ยวข้องเผาไหม้ และตั้งชื่อว่า อ๊อกซิเจน
ซึ่งเขายังได้ค้นพบ และตั้งชื่อ ไฮโดรเจน และ คาร์บอน เป็นการปูทางการสร้างตารางธาตุ ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น เขาศึกษาปฏิกิริยาของสารหลายชนิดเป็นจำนวนมากและตรวจวัดอย่างละเอียด จนค้นพบ กฎทรงมวล
ซึ่งจากข้อมูลที่เขาได้ศึกษามา และจากการที่เขาพบว่าสิ่งมีชีวิตสร้างความร้อน ไม่ต่างจากการเผาไหม้ของไฟ
ทำให้เขาเชื่อว่ากระบวนการเผาผลาญอาหาร ไม่ต่างกับกระบวนเผาไหม้ของไฟ เพียงแค่ช้ากว่าเท่านั้น
น่าเสียดายที่เขาไม่สามารถทำงานวิจัยให้สมบูรณ์ได้ เพราะมีการปฎิวัติฝรั่งเศสในช่วงนั้น
และลาวัวซีเย ถูกประหารโดยกิโยตินในปี ค.ศ. 1794
ถึงกระนั้น ผลงานของเขาก็เป็นที่ยอมรับ และเป็นรากฐาน ด้านเคมีและสารอาหารในเวลาต่อมา
*อนึ่ง ปีครึ่งหลังจากนั้น ภรรยาม่ายของ ลาวัวซีเย ได้รับจดหมายสั้นๆพร้อมกับข้าวของของลาวัวซีเยว่า
"ลาวัวซีเยบริสุทธิ์ และถูกตัดสินอย่างผิดพลาด"
ในปี ค.ศ. 1838 เยินส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส (Jöns Jacob Berzelius) นักเคมีชาวสวีเดน
ได้บัญญัติคำว่า โปรตีน หลังจากทำการศึกษา ส่วนประกอบทางธรรมชาติต่างๆ
โดยโปรตีน (Protein) นั้นแปลงมาจากภาษากรีกคือ Proteios ซึ่งแปลว่า ปฐมภูมิ
เนื่องจากยาคอบพบว่าโปรตีนเป็นสารตั้งต้น ที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ
อนึ่งเขายังเป็นคนแรก ที่สามารถวัดน้ำหนักของอะตอมได้สำเร็จ
ในปีเดียวกัน ฌ็อง-บาติสต์ ดูว์มา (Jean Baptiste Dumas) นักเคมีชาวฝรั่งเศส
ได้ศึกษา แยกสสาร โมเลกุลจาก น้ำผึ้ง องุ่น และพืชต่างๆ
และกลายเป็นผู้ได้ให้ชื่อ Glucose จากชื่อกรีก Glycos ที่แปลว่า ความหวาน
ซึ่งความหวานนี้เป็นสิ่งเดียวที่เขา และคนอื่นๆสนใจ ในช่วงเวลานั้น เพราะยังไม่มีใครเข้าใจความสำคัญที่แท้จริงขององค์ประกอบนี้
ช่วงกลางของปี ค.ศ. 1800 จัสตุส ฟอน ลีบิก (Justus von Liebig) นักเคมีชาวเยอรมัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งปุ๋ยเคมี
เป็นผู้ค้นพบความสำคัญของสารอาหารต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต อย่าง Carbon (C), Hydrogen (H) and Oxygen (O) และอื่นๆ
ต่อมาเป็น คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmidt) นักเคมีชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง เป็นผู้นำเสนอชื่อ คาร์โบไฮเดรตเป็นครั้งแรก ในปี 1844
ในปี ค.ศ. 1912 คาสิมีร์ ฟังค์ (Casimir Funk) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์
เป็นผู้บัญญัติคำว่า วิตามิน หลังจากการพยายามแยกสสาร ในหมวดหมู่ Amine ว่าตัวไหนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
ซึ่งกลายเป็น Vital +Amine = Vitamine ในเวลาต่อมา ซึ่งในตอนแรก เขานำเสนอแค่วิตามิน 4 ชนิดเท่านั้น
หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ค่อยๆค้นพบประเภทของวิตามินมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหลายสิบปีหลังจากนั้น
ในเรื่องของไขมันนั้น ค่อนข้างต่างจากสารอื่นๆหน่อย
เพราะมันเป็นสสารที่ถูกค้นพบ เข้าใจ และใช้งานโดยมนุษย์ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์
เราแค่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น
ถึงแม้ว่า ในด้านสารอาหาร เราจะเข้าใจว่าไขมัน เป็นแค่พลัง แคโลรี่ ความอ้วนเท่านั้น
จนกระทั่งในปี 1929-1930 คู่สามี-ภรรยา จอร์จ และ มิลเดรด เบอร์ (George and Mildred Burr)
ได้เผยแพร่เรื่อง กรดไขมันจำเป็น หรือ Essential fatty acids (EFAs) ซึ่งร่างกายไม่สามารถขาดได้ สู่สาธารณะชน
ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องสารอาหาร และการไดเอ็ต ในปัจจุบัน
ในด้านการจัดการอาหาร 5 หมู่นั้น
คงต้องกลับไปเริ่มที่ ปี 1894 ที่กระทรวงการเกษตรอเมริกา (United States Department of Agriculture ) หรือ USDA
ได้เผยแพร่คำแนะนำด้านอาหารลงบนกระดานข่าวของเกษตรกร โดย ดร. วิลเบอร์ โอลิน แอตวอเตอร์
ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก ที่มีการแนะนำด้านสารอาหารอย่างเป็นทางการจากทางรัฐบาล
ในปี 1916 USDA ได้ตีพิมพ์หนังสือ อาหารสำหรับเด็กเล็ก (Food for Young Children) เขียนโดย นักโภชนาการ แคโรไลน์ ฮันท์
ซึ่งได้จัดหมวดหมู่เป็น นมและเนื้อ, ธัญพืช, ผักและผลไม้, ไขมันและอาหารที่มีไขมัน, น้ำตาล และอาหารที่มีน้ำตาล
ในปีต่อมา 1917 จึงได้แนะนำอาหาร 5 กลุ่มเดียวกันแก่ ผู้ใหญ่
อาหาร 5 หมู่นี้ ถูกแนะนำอยู่ราวๆสิบกว่าปี ก่อนถูกเปลี่ยน ในช่วง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ให้เป็นการแนะนำตามราคา
หลังจากนั้น การแนะนำก็ถูกเปลี่ยนอีกหลายครั้ง เช่น Basic 7 ในช่วง WWII, Basic 4 หลังสงคราม หรือ Food Piramid
ในประเทศไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ได้แบ่งอาหารหลักของคนไทยออกเป็น 5 หมู่ คือ
หมู่ที่ 1 ประเภทโปรตีน คือสารอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่
หมู่ที่ 2 ประเภทคาร์โบไฮเดรต คือสารอาหารจำพวกข้าว แป้ง น้ำตาล
หมู่ที่ 3 ประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุ คือสารอาหารจำพวกพืช ผักชนิดต่างๆ
หมู่ที่ 4 ประเภทวิตามิน คือสารอาหารจำพวกผลไม้ต่างๆ
หมู่ที่ 5 ประเภทไขมัน คือสารอาหารจำพวกไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
การจัดแบ่งอาหารออกเป็น 5 หมู่ของประเทศไทย
มีจุดประสงค์เพื่อให้สะดวกในการเลือกชนิดของอาหารที่จะบริโภค เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการซื้อ ไม่ยุ่งยากจนเกินไป
ซึ่งในช่วงหลังๆ ได้มีการแบ่งอาหารเป็นตามจาน สูตร 2:1:1 ด้วยเหตุผลเรื่องการคุมน้ำหนัก
โดยแบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน สองส่วนแรกเป็นผักสด หรือผักสุกมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
อีกส่วนหนึ่งเป็นข้าว แป้ง ควรเลือกชนิดไม่ขัดสี และส่วนสุดท้ายเป็นประเภทโปรตีน เน้นปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความรู้ด้านอาหาร ค่อยๆสะสม เรียนรู้มาเรื่อยๆ
และคำแนะนำด้านอาหารเองก็ถูก เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ตามความรู้ความเข้าใจที่มี
หรือสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความจำเป็นต่างๆ ได้เช่นกัน
แต่จากการลองผิดลองถูกมาหลายชั่วอายุคน
ทำให้เราเริ่มทราบว่า อาหารตัวไหนจำเป็นกับเรา ตัวไหนไม่ดีกับเรา
พวกยา สมุนไพร หรือยาพิษ อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เราก็เริ่มทราบกันมาตั้งแต่อดีตแล้ว
แม้บางอย่าง จะมีเข้าใจผิดบ้าง หรือแค่ให้สารอาหาร/ มีฐานะเป็นยา อย่างที่คนสมัยก่อนเชื่อ จากการศึกษาในสมัยใหม่
แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความรู้โดยทั่วไปจากอดีต ไม่ค่อยผิดพลาดไปไกลนัก
ถึงคนจะไม่ทราบว่าอาหารตัวไหน ให้สารอาหารอะไร แต่คนก็ยังทราบว่า ควรกิน ข้าว เนื้อ พืชผัก ผลไม้
เป็นอาหาร 3-4 อย่างแล้วแต่การแบ่งประเภท ที่มนุษย์จำเป็นต้องทาน ก่อนที่มนุษย์จะได้เรียนรู้ เข้าใจเรื่องสารอาหาร
ถึงสมัยก่อน เราจะเริ่มทราบว่า อาหารประเภทไหนจำเป็นต่อร่างกาย
จากการที่ เมื่อขาดแคลนอาหารบางประเภท ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ แต่เราก็ไม่สามารถเจาะจงไปได้ว่าเพราะอะไร
แต่เมื่อวิทยาศาสตร์พัฒนาไปเรื่อยๆ ทำให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของสิ่งต่างๆมากขึ้น
เริ่มจาก ในช่วงปี ค.ศ. 1770 อ็องตวน ลาวัวซีเย (Antoine Lavoisier) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ได้ศึกษาเรื่อง การเผาไหม้ จนพบว่าส่วนประกอบหนึ่งของอากาศที่เกี่ยวข้องเผาไหม้ และตั้งชื่อว่า อ๊อกซิเจน
ซึ่งเขายังได้ค้นพบ และตั้งชื่อ ไฮโดรเจน และ คาร์บอน เป็นการปูทางการสร้างตารางธาตุ ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น เขาศึกษาปฏิกิริยาของสารหลายชนิดเป็นจำนวนมากและตรวจวัดอย่างละเอียด จนค้นพบ กฎทรงมวล
ซึ่งจากข้อมูลที่เขาได้ศึกษามา และจากการที่เขาพบว่าสิ่งมีชีวิตสร้างความร้อน ไม่ต่างจากการเผาไหม้ของไฟ
ทำให้เขาเชื่อว่ากระบวนการเผาผลาญอาหาร ไม่ต่างกับกระบวนเผาไหม้ของไฟ เพียงแค่ช้ากว่าเท่านั้น
น่าเสียดายที่เขาไม่สามารถทำงานวิจัยให้สมบูรณ์ได้ เพราะมีการปฎิวัติฝรั่งเศสในช่วงนั้น
และลาวัวซีเย ถูกประหารโดยกิโยตินในปี ค.ศ. 1794
ถึงกระนั้น ผลงานของเขาก็เป็นที่ยอมรับ และเป็นรากฐาน ด้านเคมีและสารอาหารในเวลาต่อมา
*อนึ่ง ปีครึ่งหลังจากนั้น ภรรยาม่ายของ ลาวัวซีเย ได้รับจดหมายสั้นๆพร้อมกับข้าวของของลาวัวซีเยว่า
"ลาวัวซีเยบริสุทธิ์ และถูกตัดสินอย่างผิดพลาด"
ในปี ค.ศ. 1838 เยินส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส (Jöns Jacob Berzelius) นักเคมีชาวสวีเดน
ได้บัญญัติคำว่า โปรตีน หลังจากทำการศึกษา ส่วนประกอบทางธรรมชาติต่างๆ
โดยโปรตีน (Protein) นั้นแปลงมาจากภาษากรีกคือ Proteios ซึ่งแปลว่า ปฐมภูมิ
เนื่องจากยาคอบพบว่าโปรตีนเป็นสารตั้งต้น ที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ
อนึ่งเขายังเป็นคนแรก ที่สามารถวัดน้ำหนักของอะตอมได้สำเร็จ
ในปีเดียวกัน ฌ็อง-บาติสต์ ดูว์มา (Jean Baptiste Dumas) นักเคมีชาวฝรั่งเศส
ได้ศึกษา แยกสสาร โมเลกุลจาก น้ำผึ้ง องุ่น และพืชต่างๆ
และกลายเป็นผู้ได้ให้ชื่อ Glucose จากชื่อกรีก Glycos ที่แปลว่า ความหวาน
ซึ่งความหวานนี้เป็นสิ่งเดียวที่เขา และคนอื่นๆสนใจ ในช่วงเวลานั้น เพราะยังไม่มีใครเข้าใจความสำคัญที่แท้จริงขององค์ประกอบนี้
ช่วงกลางของปี ค.ศ. 1800 จัสตุส ฟอน ลีบิก (Justus von Liebig) นักเคมีชาวเยอรมัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งปุ๋ยเคมี
เป็นผู้ค้นพบความสำคัญของสารอาหารต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต อย่าง Carbon (C), Hydrogen (H) and Oxygen (O) และอื่นๆ
ต่อมาเป็น คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmidt) นักเคมีชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง เป็นผู้นำเสนอชื่อ คาร์โบไฮเดรตเป็นครั้งแรก ในปี 1844
ในปี ค.ศ. 1912 คาสิมีร์ ฟังค์ (Casimir Funk) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์
เป็นผู้บัญญัติคำว่า วิตามิน หลังจากการพยายามแยกสสาร ในหมวดหมู่ Amine ว่าตัวไหนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
ซึ่งกลายเป็น Vital +Amine = Vitamine ในเวลาต่อมา ซึ่งในตอนแรก เขานำเสนอแค่วิตามิน 4 ชนิดเท่านั้น
หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ค่อยๆค้นพบประเภทของวิตามินมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหลายสิบปีหลังจากนั้น
ในเรื่องของไขมันนั้น ค่อนข้างต่างจากสารอื่นๆหน่อย
เพราะมันเป็นสสารที่ถูกค้นพบ เข้าใจ และใช้งานโดยมนุษย์ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์
เราแค่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น
ถึงแม้ว่า ในด้านสารอาหาร เราจะเข้าใจว่าไขมัน เป็นแค่พลัง แคโลรี่ ความอ้วนเท่านั้น
จนกระทั่งในปี 1929-1930 คู่สามี-ภรรยา จอร์จ และ มิลเดรด เบอร์ (George and Mildred Burr)
ได้เผยแพร่เรื่อง กรดไขมันจำเป็น หรือ Essential fatty acids (EFAs) ซึ่งร่างกายไม่สามารถขาดได้ สู่สาธารณะชน
ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องสารอาหาร และการไดเอ็ต ในปัจจุบัน
ในด้านการจัดการอาหาร 5 หมู่นั้น
คงต้องกลับไปเริ่มที่ ปี 1894 ที่กระทรวงการเกษตรอเมริกา (United States Department of Agriculture ) หรือ USDA
ได้เผยแพร่คำแนะนำด้านอาหารลงบนกระดานข่าวของเกษตรกร โดย ดร. วิลเบอร์ โอลิน แอตวอเตอร์
ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก ที่มีการแนะนำด้านสารอาหารอย่างเป็นทางการจากทางรัฐบาล
ในปี 1916 USDA ได้ตีพิมพ์หนังสือ อาหารสำหรับเด็กเล็ก (Food for Young Children) เขียนโดย นักโภชนาการ แคโรไลน์ ฮันท์
ซึ่งได้จัดหมวดหมู่เป็น นมและเนื้อ, ธัญพืช, ผักและผลไม้, ไขมันและอาหารที่มีไขมัน, น้ำตาล และอาหารที่มีน้ำตาล
ในปีต่อมา 1917 จึงได้แนะนำอาหาร 5 กลุ่มเดียวกันแก่ ผู้ใหญ่
อาหาร 5 หมู่นี้ ถูกแนะนำอยู่ราวๆสิบกว่าปี ก่อนถูกเปลี่ยน ในช่วง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ให้เป็นการแนะนำตามราคา
หลังจากนั้น การแนะนำก็ถูกเปลี่ยนอีกหลายครั้ง เช่น Basic 7 ในช่วง WWII, Basic 4 หลังสงคราม หรือ Food Piramid
ในประเทศไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ได้แบ่งอาหารหลักของคนไทยออกเป็น 5 หมู่ คือ
หมู่ที่ 1 ประเภทโปรตีน คือสารอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่
หมู่ที่ 2 ประเภทคาร์โบไฮเดรต คือสารอาหารจำพวกข้าว แป้ง น้ำตาล
หมู่ที่ 3 ประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุ คือสารอาหารจำพวกพืช ผักชนิดต่างๆ
หมู่ที่ 4 ประเภทวิตามิน คือสารอาหารจำพวกผลไม้ต่างๆ
หมู่ที่ 5 ประเภทไขมัน คือสารอาหารจำพวกไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
การจัดแบ่งอาหารออกเป็น 5 หมู่ของประเทศไทย
มีจุดประสงค์เพื่อให้สะดวกในการเลือกชนิดของอาหารที่จะบริโภค เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการซื้อ ไม่ยุ่งยากจนเกินไป
ซึ่งในช่วงหลังๆ ได้มีการแบ่งอาหารเป็นตามจาน สูตร 2:1:1 ด้วยเหตุผลเรื่องการคุมน้ำหนัก
โดยแบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน สองส่วนแรกเป็นผักสด หรือผักสุกมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
อีกส่วนหนึ่งเป็นข้าว แป้ง ควรเลือกชนิดไม่ขัดสี และส่วนสุดท้ายเป็นประเภทโปรตีน เน้นปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความรู้ด้านอาหาร ค่อยๆสะสม เรียนรู้มาเรื่อยๆ
และคำแนะนำด้านอาหารเองก็ถูก เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ตามความรู้ความเข้าใจที่มี
หรือสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความจำเป็นต่างๆ ได้เช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
มนุษย์เรารู้ได้ยังไงครับ ว่า อาหารมี 5 หมู่