ป่วยใหม่ทะลุ 2.7พัน! โควิดวันนี้ ดับเพิ่ม 34ศพ ปอดอักเสบกว่า 900ราย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7183476
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้น ผู้ป่วยใหม่พุ่งกว่า 2.7 พันราย ปอดอักเสบเพิ่ม 911 ราย เผย ติดเชื้อเสียชีวิต 34 ราย
วันที่ 27 ก.ค.2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) 2,747 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 2,747 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,358,733 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 2,099 ราย หายป่วยสะสม 2,358,197 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 24,219 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 34 ราย เสียชีวิตสะสม 9,560 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 911 ราย ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) (สัปดาห์ที่ 29 : 17-23 ก.ค.2565) จำนวน 204,615 คน สะสม 6,668,542 คน
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
“นพดล” เตือนสติผู้มีอำนาจ ทำอะไรขอให้คิดถึงปชช.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_381210/
“นพดล” ออกโรงเตือนสติผู้มีอำนาจ ทำอะไรขอให้คิดถึงประชาชน ระบบการเลือกตั้งแบบไหน ประเทศชาติได้ประโยชน์
นาย
นพดล ปัทมะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นที่กำลังพิจารณาใน ร่าง พ.ร.ป. การเลือกตั้งฯ ว่าจะหาร 500 หรือแก้กลับไปหาร 100 หรือจะแก้รัฐธรรมนูญกลับไปใช้บัตรใบเดียว ว่า จะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงว่าระบบการเลือกตั้งแบบไหนประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่แค่คิดว่าระบบไหนพรรคตนได้ประโยชน์ หรือป้องกันไม่ให้พรรคอื่นได้เปรียบ
ดังนั้นควรคิดให้รอบคอบว่าการเลือกตั้งแบบไหนสะท้อนความต้องการประชาชนได้ดีที่สุด ง่าย และนำไปสู่รัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อเอกภาพในการแก้ปัญหาประเทศ ลดการต่อรองทางการเมืองให้น้อยลง ซึ่งตนเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ให้หาร 100 นั้นมาถูกทางแล้ว แต่พอขั้นตอนการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. การเลือกตั้งฯกลับแก้ให้ไปหาร 500 เสมือนไม่ได้แก้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการย้อนเวลาหาอดีตกลับไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมอีกครั้ง
ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าน่าจะขัดมาตรา 91 ของ รัฐธรรมนูญ และการเมืองก็จะมีปัญหาเสถียรภาพเช่นเดิม รัฐบาลก็จะมาจากหลายพรรค ผลักดันนโยบายยาก ประเทศไทยเสียโอกาส ความสามารถในการแข่งขันสู้คนอื่นไม่ได้ ดังนั้นในระหว่างที่คณะกรรมาธิการ กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้งฯ เพื่อนำกลับมาให้รัฐสภาพิจารณาในต้นเดือนสิงหาคมนั้น
ตนหวังว่าผู้ที่มีหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องจะทบทวนและพิจารณาระบบการเลือกตั้งให้รอบคอบอีกครั้งว่า 1) อย่าแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้ขัดรัฐธรรมนูญ 2) สร้างระบบเลือกตั้งที่ง่ายและสะท้อนความต้องการประชาชน และ 3) มีระบบการเลือกตั้งที่นำไปสู่รัฐบาลที่เข้มแข็ง พร้อมแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลเต้นแก้ หนี้ครัวเรือน งัดมาตรการรับมือดอกเบี้ยขาขึ้น
https://www.prachachat.net/finance/news-991587
รัฐบาลห่วงปม “หนี้ครัวเรือน” ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น บอร์ดแก้วิกฤตเศรษฐกิจให้ความสำคัญดูแลหนี้รายย่อย เล็งร่วมมือแบงก์ปรับโครงสร้างยืดหนี้ผ่อนบ้าน กสิกรฯเผยไตรมาส 2/65 หนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 14.78 ล้านล้านบาท แบงก์ผวาวิกฤตค่าครองชีพฉุดความสามารถชำระหนี้ถดถอย ทีทีบีเตือนดอกเบี้ยขาขึ้นจุดระเบิด “หนี้ครัวเรือน” สมาคมธนาคารเฝ้าระวังหนี้เสี่ยงในโครงการอีก 2.8 ล้านล้านบาท จับตา “หนี้นอกระบบ” ปูด
นายกฯนัดถก 10 รัฐมนตรี
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการระดับปลัดกระทรวง 10 คน อยู่ระหว่างจัดกรอบวาระการพิจารณา เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมกับ 10 รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ
โดยฝ่ายเลขานุการ คือ ปลัดกระทรวงการคลัง จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาระยะเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหา ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และระยะกลางในต้นปีหน้า รวมทั้งระยะยาวในปี 2566 คาดว่านายกรัฐมนตรีจะนัดประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องก่อน จากนั้นจะมีการนัดประชุมคณะกรรมการร่วมกับ 10 รัฐมนตรี ในต้นเดือนสิงหาคมนี้
แพ็กเกจ “ยืด-พักหนี้” บ้าน
สำหรับการบริหารสถานการณ์เฉพาะหน้า คณะอนุกรรมการให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคล ในสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น ที่ประชาชนมีภาระผ่อนบ้าน ที่อยู่อาศัย หากจะจัดการปัญหานี้ต้องมีการออกแพ็กเกจทางการเงิน ปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้โมเดลเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวก่อนหน้านี้
แนวทางที่เป็นรูปธรรม จะคล้ายกับการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ในช่วงปีที่ผ่านมา มาตรการการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคล เช่น การพักหนี้การผ่อนบ้าน อาจจะพักทั้งหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักเฉพาะเงินต้น แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เพื่อเป็นการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเบี้ยวหนี้ หรือการชักดาบ โดยคณะกรรมการต้องขอความร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้ประเทศสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้
เตือนหนี้ครัวเรือนระเบิด
นาย
ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอะไรที่คาดเดาได้ยาก สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ส่งผ่านมาจากข้างนอก อย่างราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมาก และเป็นต้นทุนที่ส่งผ่านไปอีกหลาย ๆ อย่าง สิ่งที่กระทบไทยแน่ ๆ และกระทบแล้วก็คือ “เงินเฟ้อ” ส่วนที่จะกระทบต่อไปก็คือ “ดอกเบี้ย” และสิ่งที่ไม่รู้ว่ารอระเบิดอยู่หรือเปล่า ก็คือ “หนี้ครัวเรือน”
“คนที่เป็นหนี้ครัวเรือน ก็เป็นคนรายได้น้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้เมื่อเจอเงินเฟ้อ ก็เท่ากับว่าเงินในกระเป๋าน้อยลง เท่านั้นยังไม่พอ อีกเดี๋ยวดอกเบี้ยก็จะขึ้นอีก คนกลุ่มนี้จึงน่าเป็นห่วงที่สุด โดยคนเหล่านี้ก็คือ ลูกค้าของบริษัทต่าง ๆ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ”
นาย
ปิติกล่าวว่า ในเดือน ส.ค.นี้ อัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับขึ้นแน่นอน เพราะสัญญาณมาชัดเจนแล้ว ตรงนี้น่ากังวล และต้องมาดูว่าทำอย่างไรจะช่วยกันลดภาระให้คนกลุ่มล่างนี้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาวิกฤตหนี้ครัวเรือนขึ้นมาได้ ซึ่งประเทศไทยไม่เคยเกิดจึงมีประสบการณ์เรื่องนี้น้อยมาก
แบงก์เร่งแก้หนี้ฝ่ามรสุม
“สิ่งที่ทางสมาคมธนาคารไทยกำลังผลักดันก็คือ การแก้หนี้ครัวเรือน เพราะหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุด คือหนี้นอกระบบ และหนี้จากผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (น็อนแบงก์) โดยพยายามทำโครงการรวมหนี้ของกลุ่มแบงก์และน็อนแบงก์ เพื่อให้ภาระของลูกหนี้ในการผ่อนต่อเดือนลดลง นอกจากนี้ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ก็ต้องเร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กัน” นาย
ปิติกล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมแบงก์ ที่ผ่านมามีการเตรียมพร้อมมาเยอะมาก หากเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง แบงก์มีทุนที่แข็งแกร่ง ทำให้ในช่วงวิกฤตโควิดสามารถช่วยประคองลูกหนี้ได้ ต่างกับสมัยต้มยำกุ้ง วิกฤตทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้
“ตอนนี้แบงก์ค่อนข้างแข็งแกร่ง และพร้อมพยุงลูกหนี้ไปยาว ๆ แต่การพยุงไม่ใช่คำตอบ เพราะว่าประเทศขับเคลื่อนด้วยภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ใช่ภาคการเงิน” นาย
ปิติกล่าว
ความสามารถชำระหนี้ทรุด
นาย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี กล่าวว่า จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ 14.64 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล รวมกันอยู่ที่ 1.15 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 8% เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนไม่มาก เพียงแต่ยังมีความจำเป็นต้องดูแลต่อเนื่อง เพราะมองไปข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับรายได้ครัวเรือนยังไม่ได้กลับมาเต็มที่
ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน ทำให้ตึงตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะยังเห็นความจำเป็นที่ต้องประคองลูกหนี้กลุ่มเปราะบางต่อไป จึงมีการขยายมาตรการบางส่วนออกไปถึงปี’66 อย่างสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% รวมถึงการสนับสนุนการรวมหนี้ เปลี่ยนหนี้ดอกเบี้ยสูงมาเป็นเทอมโลนที่ดอกเบี้ยถูกกว่า
“เนื่องจากยังมีลูกหนี้ที่ยังต้องได้รับการประคับประคอง ถ้าไปบีบมาก ลูกหนี้อาจจะไม่ไหว แล้วบางส่วนอาจจะหนีไปกู้นอกระบบ ส่วนอีกมุมหนึ่งก็เป็นการมองอนาคตที่ว่า การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนก็ยังไม่ได้เต็มที่ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มจะไม่แน่นอน คือเราปฏิเสธไม่ได้ว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจขยายตัวดี แต่ไม่แน่ใจว่าครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ถ้าเศรษฐกิจโลกชะลอ ระดับรายได้จะฟื้นหรือเปล่า ท่องเที่ยวจะมาทันหรือเปล่า แล้วรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าพลังงาน ค่าไฟ” นาย
นริศกล่าว
หนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.78 ล้านล้าน
นางสาว
กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่ 2/65 ยังเติบโตในกรอบจำกัดอยู่ที่ 3.5-3.7% ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1 ที่เติบโต 3.6% เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ครัวเรือนยังคงเปราะบางจากปัญหาค่าครองชีพ และรายได้ยังไม่กลับมาปกติ จึงมีความระมัดระวังการก่อหนี้ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในไตรมาส 2/65 คาดว่าจะต่ำกว่าไตรมาส 1 ซึ่งอยู่ที่ 89.2% ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของ nominal GDP จากเงินเฟ้อที่เร่งตัว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะไม่ได้ขยับ แต่ภาระหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่ายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 จะขยับมาอยู่ที่ 14.78 ล้านล้านบาท จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 14.65 ล้านล้านบาท พบว่าในส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ยังคงเป็นตัวที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของคุณภาพหนี้
“สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอาจจะต่ำลง แต่ภาระหนี้ครัวเรือนยังขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องที่ยังต้องติดตาม ภาคครัวเรือนยังเผชิญโจทย์หลายอย่างพร้อมกัน ทั้งรายได้ยังไม่ฟื้น เงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภาคครัวเรือนยังคงเปราะบาง”
JJNY : ป่วยใหม่ทะลุ 2.7พัน! ดับเพิ่ม 34│นพดลเตือนสติผู้มีอำนาจ│รัฐบาลเต้นแก้ หนี้ครัวเรือน│สหรัฐจี้จีนร่วมประณามเมียนมา
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7183476
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้น ผู้ป่วยใหม่พุ่งกว่า 2.7 พันราย ปอดอักเสบเพิ่ม 911 ราย เผย ติดเชื้อเสียชีวิต 34 ราย
วันที่ 27 ก.ค.2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) 2,747 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 2,747 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,358,733 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 2,099 ราย หายป่วยสะสม 2,358,197 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 24,219 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 34 ราย เสียชีวิตสะสม 9,560 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 911 ราย ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) (สัปดาห์ที่ 29 : 17-23 ก.ค.2565) จำนวน 204,615 คน สะสม 6,668,542 คน
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
“นพดล” เตือนสติผู้มีอำนาจ ทำอะไรขอให้คิดถึงปชช.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_381210/
“นพดล” ออกโรงเตือนสติผู้มีอำนาจ ทำอะไรขอให้คิดถึงประชาชน ระบบการเลือกตั้งแบบไหน ประเทศชาติได้ประโยชน์
นายนพดล ปัทมะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นที่กำลังพิจารณาใน ร่าง พ.ร.ป. การเลือกตั้งฯ ว่าจะหาร 500 หรือแก้กลับไปหาร 100 หรือจะแก้รัฐธรรมนูญกลับไปใช้บัตรใบเดียว ว่า จะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงว่าระบบการเลือกตั้งแบบไหนประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่แค่คิดว่าระบบไหนพรรคตนได้ประโยชน์ หรือป้องกันไม่ให้พรรคอื่นได้เปรียบ
ดังนั้นควรคิดให้รอบคอบว่าการเลือกตั้งแบบไหนสะท้อนความต้องการประชาชนได้ดีที่สุด ง่าย และนำไปสู่รัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อเอกภาพในการแก้ปัญหาประเทศ ลดการต่อรองทางการเมืองให้น้อยลง ซึ่งตนเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ให้หาร 100 นั้นมาถูกทางแล้ว แต่พอขั้นตอนการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. การเลือกตั้งฯกลับแก้ให้ไปหาร 500 เสมือนไม่ได้แก้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการย้อนเวลาหาอดีตกลับไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมอีกครั้ง
ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าน่าจะขัดมาตรา 91 ของ รัฐธรรมนูญ และการเมืองก็จะมีปัญหาเสถียรภาพเช่นเดิม รัฐบาลก็จะมาจากหลายพรรค ผลักดันนโยบายยาก ประเทศไทยเสียโอกาส ความสามารถในการแข่งขันสู้คนอื่นไม่ได้ ดังนั้นในระหว่างที่คณะกรรมาธิการ กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้งฯ เพื่อนำกลับมาให้รัฐสภาพิจารณาในต้นเดือนสิงหาคมนั้น
ตนหวังว่าผู้ที่มีหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องจะทบทวนและพิจารณาระบบการเลือกตั้งให้รอบคอบอีกครั้งว่า 1) อย่าแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้ขัดรัฐธรรมนูญ 2) สร้างระบบเลือกตั้งที่ง่ายและสะท้อนความต้องการประชาชน และ 3) มีระบบการเลือกตั้งที่นำไปสู่รัฐบาลที่เข้มแข็ง พร้อมแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลเต้นแก้ หนี้ครัวเรือน งัดมาตรการรับมือดอกเบี้ยขาขึ้น
https://www.prachachat.net/finance/news-991587
รัฐบาลห่วงปม “หนี้ครัวเรือน” ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น บอร์ดแก้วิกฤตเศรษฐกิจให้ความสำคัญดูแลหนี้รายย่อย เล็งร่วมมือแบงก์ปรับโครงสร้างยืดหนี้ผ่อนบ้าน กสิกรฯเผยไตรมาส 2/65 หนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 14.78 ล้านล้านบาท แบงก์ผวาวิกฤตค่าครองชีพฉุดความสามารถชำระหนี้ถดถอย ทีทีบีเตือนดอกเบี้ยขาขึ้นจุดระเบิด “หนี้ครัวเรือน” สมาคมธนาคารเฝ้าระวังหนี้เสี่ยงในโครงการอีก 2.8 ล้านล้านบาท จับตา “หนี้นอกระบบ” ปูด
นายกฯนัดถก 10 รัฐมนตรี
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการระดับปลัดกระทรวง 10 คน อยู่ระหว่างจัดกรอบวาระการพิจารณา เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมกับ 10 รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ
โดยฝ่ายเลขานุการ คือ ปลัดกระทรวงการคลัง จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาระยะเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหา ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และระยะกลางในต้นปีหน้า รวมทั้งระยะยาวในปี 2566 คาดว่านายกรัฐมนตรีจะนัดประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องก่อน จากนั้นจะมีการนัดประชุมคณะกรรมการร่วมกับ 10 รัฐมนตรี ในต้นเดือนสิงหาคมนี้
แพ็กเกจ “ยืด-พักหนี้” บ้าน
สำหรับการบริหารสถานการณ์เฉพาะหน้า คณะอนุกรรมการให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคล ในสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น ที่ประชาชนมีภาระผ่อนบ้าน ที่อยู่อาศัย หากจะจัดการปัญหานี้ต้องมีการออกแพ็กเกจทางการเงิน ปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้โมเดลเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวก่อนหน้านี้
แนวทางที่เป็นรูปธรรม จะคล้ายกับการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ในช่วงปีที่ผ่านมา มาตรการการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคล เช่น การพักหนี้การผ่อนบ้าน อาจจะพักทั้งหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักเฉพาะเงินต้น แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เพื่อเป็นการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเบี้ยวหนี้ หรือการชักดาบ โดยคณะกรรมการต้องขอความร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้ประเทศสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้
เตือนหนี้ครัวเรือนระเบิด
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอะไรที่คาดเดาได้ยาก สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ส่งผ่านมาจากข้างนอก อย่างราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมาก และเป็นต้นทุนที่ส่งผ่านไปอีกหลาย ๆ อย่าง สิ่งที่กระทบไทยแน่ ๆ และกระทบแล้วก็คือ “เงินเฟ้อ” ส่วนที่จะกระทบต่อไปก็คือ “ดอกเบี้ย” และสิ่งที่ไม่รู้ว่ารอระเบิดอยู่หรือเปล่า ก็คือ “หนี้ครัวเรือน”
“คนที่เป็นหนี้ครัวเรือน ก็เป็นคนรายได้น้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้เมื่อเจอเงินเฟ้อ ก็เท่ากับว่าเงินในกระเป๋าน้อยลง เท่านั้นยังไม่พอ อีกเดี๋ยวดอกเบี้ยก็จะขึ้นอีก คนกลุ่มนี้จึงน่าเป็นห่วงที่สุด โดยคนเหล่านี้ก็คือ ลูกค้าของบริษัทต่าง ๆ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ”
นายปิติกล่าวว่า ในเดือน ส.ค.นี้ อัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับขึ้นแน่นอน เพราะสัญญาณมาชัดเจนแล้ว ตรงนี้น่ากังวล และต้องมาดูว่าทำอย่างไรจะช่วยกันลดภาระให้คนกลุ่มล่างนี้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาวิกฤตหนี้ครัวเรือนขึ้นมาได้ ซึ่งประเทศไทยไม่เคยเกิดจึงมีประสบการณ์เรื่องนี้น้อยมาก
แบงก์เร่งแก้หนี้ฝ่ามรสุม
“สิ่งที่ทางสมาคมธนาคารไทยกำลังผลักดันก็คือ การแก้หนี้ครัวเรือน เพราะหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุด คือหนี้นอกระบบ และหนี้จากผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (น็อนแบงก์) โดยพยายามทำโครงการรวมหนี้ของกลุ่มแบงก์และน็อนแบงก์ เพื่อให้ภาระของลูกหนี้ในการผ่อนต่อเดือนลดลง นอกจากนี้ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ก็ต้องเร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กัน” นายปิติกล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมแบงก์ ที่ผ่านมามีการเตรียมพร้อมมาเยอะมาก หากเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง แบงก์มีทุนที่แข็งแกร่ง ทำให้ในช่วงวิกฤตโควิดสามารถช่วยประคองลูกหนี้ได้ ต่างกับสมัยต้มยำกุ้ง วิกฤตทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้
“ตอนนี้แบงก์ค่อนข้างแข็งแกร่ง และพร้อมพยุงลูกหนี้ไปยาว ๆ แต่การพยุงไม่ใช่คำตอบ เพราะว่าประเทศขับเคลื่อนด้วยภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ใช่ภาคการเงิน” นายปิติกล่าว
ความสามารถชำระหนี้ทรุด
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี กล่าวว่า จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ 14.64 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล รวมกันอยู่ที่ 1.15 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 8% เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนไม่มาก เพียงแต่ยังมีความจำเป็นต้องดูแลต่อเนื่อง เพราะมองไปข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับรายได้ครัวเรือนยังไม่ได้กลับมาเต็มที่
ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน ทำให้ตึงตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะยังเห็นความจำเป็นที่ต้องประคองลูกหนี้กลุ่มเปราะบางต่อไป จึงมีการขยายมาตรการบางส่วนออกไปถึงปี’66 อย่างสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% รวมถึงการสนับสนุนการรวมหนี้ เปลี่ยนหนี้ดอกเบี้ยสูงมาเป็นเทอมโลนที่ดอกเบี้ยถูกกว่า
“เนื่องจากยังมีลูกหนี้ที่ยังต้องได้รับการประคับประคอง ถ้าไปบีบมาก ลูกหนี้อาจจะไม่ไหว แล้วบางส่วนอาจจะหนีไปกู้นอกระบบ ส่วนอีกมุมหนึ่งก็เป็นการมองอนาคตที่ว่า การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนก็ยังไม่ได้เต็มที่ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มจะไม่แน่นอน คือเราปฏิเสธไม่ได้ว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจขยายตัวดี แต่ไม่แน่ใจว่าครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ถ้าเศรษฐกิจโลกชะลอ ระดับรายได้จะฟื้นหรือเปล่า ท่องเที่ยวจะมาทันหรือเปล่า แล้วรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าพลังงาน ค่าไฟ” นายนริศกล่าว
หนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.78 ล้านล้าน
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่ 2/65 ยังเติบโตในกรอบจำกัดอยู่ที่ 3.5-3.7% ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1 ที่เติบโต 3.6% เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ครัวเรือนยังคงเปราะบางจากปัญหาค่าครองชีพ และรายได้ยังไม่กลับมาปกติ จึงมีความระมัดระวังการก่อหนี้ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในไตรมาส 2/65 คาดว่าจะต่ำกว่าไตรมาส 1 ซึ่งอยู่ที่ 89.2% ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของ nominal GDP จากเงินเฟ้อที่เร่งตัว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะไม่ได้ขยับ แต่ภาระหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่ายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 จะขยับมาอยู่ที่ 14.78 ล้านล้านบาท จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 14.65 ล้านล้านบาท พบว่าในส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ยังคงเป็นตัวที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของคุณภาพหนี้
“สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอาจจะต่ำลง แต่ภาระหนี้ครัวเรือนยังขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องที่ยังต้องติดตาม ภาคครัวเรือนยังเผชิญโจทย์หลายอย่างพร้อมกัน ทั้งรายได้ยังไม่ฟื้น เงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภาคครัวเรือนยังคงเปราะบาง”