สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เพราะมันมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานไงครับ แล้วไอ้เรื่องค่าชดเชยลูกจ้างปกติเขาต้องกันเงินบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีสำรองไว้อยู่แล้วอย่างเช่นตอนกฎหมายแรงงานปรับสิทธิให้ลูกจ้างที่ทำงานมากกว่า 20ปีเวลาโดนเลิกจ้างบริษัทต้องจ่ายชดเชยเพิ่มจากเดิม 300วันเป็น 400วันหลายๆบริษัทเขาก็สำรองเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ใช่ครับที่คุณถูกมันก็ถูกในมุมของบริษัท อันนี้เราพูดถึงบริษัททั่วๆ ไปนะ ไม่ใช่ มหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ถ้าเค้าขาดทุน ต้องปิดตัวเอง แบกรับผลขาดทุนอยู่แล้ว พนักงานไม่ได้มีส่วนได้เสียใดๆ บริษัทก็ต้องรับผิดชอบตามกฏหมายแรงงานถูกไหมครับ
แต่ถ้าก่อนหน้านี้เค้ากำไร มหาศาลละกำไรทุกปี เค้าแบ่งกำไรให้พนักงานไหม บางที่อาจจะจ่ายเป็นโบนัสให้ แต่ถ้าไม่จ่ายมันก็ไม่ผิดตรงไหนใช่ไหม พนักงานก็ทำงานไป ให้บริษัทร่ำรวยไป ในขณะที่ตัวเองก็รับเงินเดือนเท่าเดิม มีแต่บริษัทที่เติบโต วันดึคืนร้าย บริษัทอยากจะลดต้นทุน มาจ้างพนักงานที่เงินเดือนสูงๆ ออกอีก บริษัทยังคงกอบโกยกำไรต่อไป พนักงานที่ร่วมก่อตั้งกันมาเค้าอาจจะไม่เห็นหัวก็ได้
อ้าวแล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ ความเสี่ยงไงครับ บริษัทแบกรับความเสี่ยงที่จะกำไรหรือขาดทุน มันคือส่วนของเค้า ในขณะที่พนักงานไม่ต้องรับความเสี่ยงใดๆ ถ้าบริษัทกำไรเค้าก็สบายไป พนักงานไม่เกี่ยว ดังนั้นถ้าเค้าขาดทุน พนักงานก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน ดังนั้นก็ต้องจ่ายชดเชยกันตามกฏหมายมา
ปล. พนักงานรู้อยู่แล้วครับ ยอดขายไม่เข้า จากที่เคยขายได้แยะๆ มานั่งตบยุงกัน ทำไมเค้าจะไม่รู้ละครับ ยกเว้นมีการคอรัปชั่นภายในกันหนักๆ พนักงานอาจจะไม่รู้
ถ้าเค้าขาดทุน ต้องปิดตัวเอง แบกรับผลขาดทุนอยู่แล้ว พนักงานไม่ได้มีส่วนได้เสียใดๆ บริษัทก็ต้องรับผิดชอบตามกฏหมายแรงงานถูกไหมครับ
แต่ถ้าก่อนหน้านี้เค้ากำไร มหาศาลละกำไรทุกปี เค้าแบ่งกำไรให้พนักงานไหม บางที่อาจจะจ่ายเป็นโบนัสให้ แต่ถ้าไม่จ่ายมันก็ไม่ผิดตรงไหนใช่ไหม พนักงานก็ทำงานไป ให้บริษัทร่ำรวยไป ในขณะที่ตัวเองก็รับเงินเดือนเท่าเดิม มีแต่บริษัทที่เติบโต วันดึคืนร้าย บริษัทอยากจะลดต้นทุน มาจ้างพนักงานที่เงินเดือนสูงๆ ออกอีก บริษัทยังคงกอบโกยกำไรต่อไป พนักงานที่ร่วมก่อตั้งกันมาเค้าอาจจะไม่เห็นหัวก็ได้
อ้าวแล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ ความเสี่ยงไงครับ บริษัทแบกรับความเสี่ยงที่จะกำไรหรือขาดทุน มันคือส่วนของเค้า ในขณะที่พนักงานไม่ต้องรับความเสี่ยงใดๆ ถ้าบริษัทกำไรเค้าก็สบายไป พนักงานไม่เกี่ยว ดังนั้นถ้าเค้าขาดทุน พนักงานก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน ดังนั้นก็ต้องจ่ายชดเชยกันตามกฏหมายมา
ปล. พนักงานรู้อยู่แล้วครับ ยอดขายไม่เข้า จากที่เคยขายได้แยะๆ มานั่งตบยุงกัน ทำไมเค้าจะไม่รู้ละครับ ยกเว้นมีการคอรัปชั่นภายในกันหนักๆ พนักงานอาจจะไม่รู้
ความคิดเห็นที่ 8
ในหลักทางบัญชี บริษัท ต้องประมาณการและเตรียมการไว้นะครับ ไม่งั้นถึงวันไม่มีเงินจ่าย ไม่ใช้แค่ตอน บ.ล้ม
ตอนพนักงานเกษียณอายุ ก็เหมือนกันครับ
บริษัท เป็นนิติบุคคลครับ ถ้า จะเจ๊ง มันต้องไปด่าผู้บริหาร คนตัดสินใจว่าบริหารอย่างไร? มากกว่า
จากประสปการณ์ พนักงานดี-ผู้นำห่วย ยังไงก็เจ๊งครับ
แต่ถ้า ผู้นำดี-พนักงานห่วย มันยังไปรอดครับ (อย่างน้อยเขาก็หาทางจนได้ เพราะเขามีอำนาจมากสุดแล้ว)
ตอนพนักงานเกษียณอายุ ก็เหมือนกันครับ
บริษัท เป็นนิติบุคคลครับ ถ้า จะเจ๊ง มันต้องไปด่าผู้บริหาร คนตัดสินใจว่าบริหารอย่างไร? มากกว่า
จากประสปการณ์ พนักงานดี-ผู้นำห่วย ยังไงก็เจ๊งครับ
แต่ถ้า ผู้นำดี-พนักงานห่วย มันยังไปรอดครับ (อย่างน้อยเขาก็หาทางจนได้ เพราะเขามีอำนาจมากสุดแล้ว)
แสดงความคิดเห็น
สงสัยมานานแล้วว่า บริษัทที่ขาดทุนจนต้องปิดตัว ทำไมต้องชดเชยให้พนักงานด้วยครับ
คือเวลาที่บริษัท ขาดทุนมากๆ หรือเป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง หรือธุรกิจที่สวนทางกับกระแสโลก วันดีคืนดี แบกรับขาดทุนไม่ไหว จนต้องปิดตัวลงเนี่ย ทำไมเหมือนมีคนบอกว่าต้องชดเชยให้พนักงานด้วยครับ
ในความคิดของผม ถ้าบริษัทมันพูดได้ มันก็คงอยากจะพูดว่า
โอ้ยยย ตรูไม่ได้อยากขาดทุนเล้ย ตรูอยากกำไรมากๆๆ แต่มันไปไม่ไหวแล้ว ย้ำอีกครั้งว่าตรูไม่ได้อยากปิดตัวอย่างงี้ว้อย แล้วจะมาเรียกร้องให้ตรูชดเชยเนี่ย หืมมม พวกเอ็งเข้าใจคำว่าขาดทุนไหม ติดลบเป็นหลักล้านๆเนี่ย แล้วจะเอาที่ไหนไปชดให้พวกเอ็ง ฮือออ
ประมาณนี้หรือเปล่า
แต่ทำไมผมถึงรู้สึกว่ามีคนที่คิดว่า ไอ้บริษัท เอ็งจะขาดทุนอะไรก็เรื่องของเอ็ง แต่เอ็งต้องชดเชยให้พวกข้าก่อนว้อย อะไรแบบนี้รึเปล่า
และโดยปกติแล้วพนักงานส่วนใหญ่มักจะรู้หรือไม่ครับว่าบริษัทของตนอยู่ในช่วงขาลงและขาดทุนติดต่อกัน น่าจะเตรียมใจไว้หรือหาทางหนีทีไล่ไว้ก่อนหรือเปล่า (เช่น หางานใหม่)
ขอบคุณครับ