รู้ได้อย่างไรว่า “จิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ”???
เมื่อทำอานาปานสติ คือ การรู้ลมหายใจเข้า-ออก หรือ ภาวนาพุทโธๆๆๆ หรือ รู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือเพ่งกสิณ มีสติอยู่กับกรรมฐานที่ตนทำอยู่นั้น เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะเริ่มมีอาการปรากฏที่กาย ดังต่อไปนี้
น้ำตาไหลเหมือนคนร้องไห้
ขนลุก ขนผอง
รู้สึกเหมือนตัวขยาย ตัวใหญ่ขึ้น
รู้สึกเบาสบายเหมือนตัวลอยได้ รู้สึกซาบซ่านไปทั้งตัวทุกอณูขุมขนเหมือนสัมผัสลมเย็นหรือลงไปอาบในสระน้ำเย็น
เห็นแสงสว่างสีขาว
อาการเหล่านี้เรียกว่า “ปีติ” แสดงว่าท่านมาถึง “อุปจารสมาธิ” แล้ว ซึ่งเป็นสมาธิเฉียด “ฌาน” หรือ “อัปนาสมาธิ” องค์ฌานประกอบด้วย “วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา” ตอนนี้ท่านได้ 3 ใน 5 แล้ว
เมื่อมีอาการ “ปีติ” อย่าไปสนใจหรือติเใน “ปีติ” ให้เอาสติกลับมาอยู่กับกรรมฐานที่ท่านทำอยู่ขณะนั้น จะก้าวข้าม “ปีติ” เกิดเป็น “สุข” และ “เอกัคตา” ตามลำดับ ซึ่งเป็นสมาธิที่ละเอียด ประณีตกว่ามาก เมื่อมีองค์ฌานครบ 5 องค์แล้ว แสดงว่าสมาธิของท่านเป็น “อัปนาสมาธิ” หรือ “ปฐมฌาน” แล้ว สมาธิระดับนี้แหละที่มีอานิสงส์มากเข้าถึงแค่เพียงช้างกระดิกหู มีอานิสงส์มากกว่าถือศีล 100 ปี ตักบาตรจนบาตรหินก้นทุละก็ไม่เท่า “จิตรวมเป็นสมาธิ”
ให้จิตพักในสมาธิระดับนี้จนเต็มอิ่มหรือยกระดับสู่ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และอรูปฌานตามลำดับ เมื่อจิตอยู่กับความสงบจิตเต็มอิ่ม 1 ชม. 3 ชม. 6 ชม. 24 ชม. 3 วัน 7 วัน จะถอนมาที่ “อุปจารสมาธิ” เองโดยไม่ต้องบังคับ เหมือนคนบริโภคอาหารอิ่มแล้ว ขณะนั้นจิตจะมีกำลังและปัญญาสว่างไสวมาก เวลาขณะนั้นเหมาะแก่การเจริญปัญญา คือ การทำวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำลายกิเลสจนหมดสิ้นไปในที่สุด……
รู้ได้อย่างไรว่า “จิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ”???
เมื่อทำอานาปานสติ คือ การรู้ลมหายใจเข้า-ออก หรือ ภาวนาพุทโธๆๆๆ หรือ รู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือเพ่งกสิณ มีสติอยู่กับกรรมฐานที่ตนทำอยู่นั้น เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะเริ่มมีอาการปรากฏที่กาย ดังต่อไปนี้
น้ำตาไหลเหมือนคนร้องไห้
ขนลุก ขนผอง
รู้สึกเหมือนตัวขยาย ตัวใหญ่ขึ้น
รู้สึกเบาสบายเหมือนตัวลอยได้ รู้สึกซาบซ่านไปทั้งตัวทุกอณูขุมขนเหมือนสัมผัสลมเย็นหรือลงไปอาบในสระน้ำเย็น
เห็นแสงสว่างสีขาว
อาการเหล่านี้เรียกว่า “ปีติ” แสดงว่าท่านมาถึง “อุปจารสมาธิ” แล้ว ซึ่งเป็นสมาธิเฉียด “ฌาน” หรือ “อัปนาสมาธิ” องค์ฌานประกอบด้วย “วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา” ตอนนี้ท่านได้ 3 ใน 5 แล้ว
เมื่อมีอาการ “ปีติ” อย่าไปสนใจหรือติเใน “ปีติ” ให้เอาสติกลับมาอยู่กับกรรมฐานที่ท่านทำอยู่ขณะนั้น จะก้าวข้าม “ปีติ” เกิดเป็น “สุข” และ “เอกัคตา” ตามลำดับ ซึ่งเป็นสมาธิที่ละเอียด ประณีตกว่ามาก เมื่อมีองค์ฌานครบ 5 องค์แล้ว แสดงว่าสมาธิของท่านเป็น “อัปนาสมาธิ” หรือ “ปฐมฌาน” แล้ว สมาธิระดับนี้แหละที่มีอานิสงส์มากเข้าถึงแค่เพียงช้างกระดิกหู มีอานิสงส์มากกว่าถือศีล 100 ปี ตักบาตรจนบาตรหินก้นทุละก็ไม่เท่า “จิตรวมเป็นสมาธิ”
ให้จิตพักในสมาธิระดับนี้จนเต็มอิ่มหรือยกระดับสู่ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และอรูปฌานตามลำดับ เมื่อจิตอยู่กับความสงบจิตเต็มอิ่ม 1 ชม. 3 ชม. 6 ชม. 24 ชม. 3 วัน 7 วัน จะถอนมาที่ “อุปจารสมาธิ” เองโดยไม่ต้องบังคับ เหมือนคนบริโภคอาหารอิ่มแล้ว ขณะนั้นจิตจะมีกำลังและปัญญาสว่างไสวมาก เวลาขณะนั้นเหมาะแก่การเจริญปัญญา คือ การทำวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำลายกิเลสจนหมดสิ้นไปในที่สุด……