ขออนุญาตนำวิธีปฏิบัติสมาธิของหลวงพ่อพระป่าท่านหนึ่ง ซึ่งท่านจากไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่านมีพระฝรั่งจำนวนมาก ผมปฏิบัติตามวิธีนั่งสมาธิที่ท่านสอนแล้วก็เป็นจริงตามที่หลวงพ่อท่านบอกไว้ จนทำให้พบกับสมาธิที่ตั้งมั่นเพื่อการทำวิปัสสนาต่อไป เริ่มด้วย
1) หาเวลาว่างสัก 15 นาที นั่งขัดสมาสแล้วดูลมหายใจที่ปลายจมูกไปเรื่อย ๆ จนกว่าใจของท่านจะสงบดี แล้วให้เพิ่มเวลานั่งเป็น 30 นาที/ครั้ง ไปจนกว่าใจของท่านจะสงบดี จากนั้น ให้เพิ่มเวลานั่งสมาธิเป็น 1 ชม.
2) ผมปฏิบัติอย่างนี้ สัปดาห์นึงนั่ง 2 วัน เฉลี่ย 1 เดือน นั่งสมาธิราว 8 - 10 ครั้ง ทำได้แค่นี้ เพราะหน้าที่การงานไม่ค่อยอำนวย บางเดือนนั่งสมาธิ 2 - 3 ครั้ง ก็มี ตั้งใจถือศีล 5 ตั้งแต่เริ่มนั่งสมาธิ แต่ไม่ค่อยจะครบทั้ง 5 ข้อ ไม่เคยทิ้งทั้งสมาธิและศีล ทำไปเรื่อย ๆ พร้อมกับฟังเทศก์ของหลวงพ่อหลาย ๆ ท่าน แต่ยังยึดลมหายใจเป็นหลัก
3) ผ่านไปราว 1 ปี สังเกตเห็นจิตเป็นสมาธิแบบผุบ ๆ โผล่ ๆ คือ จิตมีความตั้งมั่นแบบไม่ต่อเนื่อง ในช่วง 1 วัน จะมีสมาธินานราว 6 ชม. นอกนั้น สภาพจิตก็เหมือนคนทั่วไป ขณะที่การถือศีล 5 ของผมพยายามไม่ให้บกพร่อง
4) จากนั้นอีก 1 ปีผ่านไป ระหว่างนั้นนั่งสมาธิได้นานครั้งละ 1 ชม. ขณะที่นั่งใกล้จะจบ ชม. ผมเกิดปีติ เป็นลมพายุวิ่งทะลุมาจากใต้ดินผ่านตัวผมขึ้นไปทะลุเพดานนานราวครึ่งนาที เป็นเสียงลมพายุที่แรงงาน หูอื้อไปหมด แล้วเกิดความซาบซ่านไปทั่วร่างกาย แล้วจิตก็ถอนออกจากสมาธิ
5) จากนั้น การนั่งสมาธิครั้งถัดมา จิตจะมีกำลังมากขึ้นกว่าครั้งไหน ๆ ที่ผ่านมา พอเริ่มนั่งได้ 2 - 3 นาทีแรก สมาธิจะรวมกำลังขึ้นเอง จนทำให้จิตมันนิ่ง ลืมบอกไป ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ จะมีสติกำกับอยู่เสมอ แล้วสติของผมช่วงนั้นก็จับ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา ได้
6) การนั่งสมาธิยังคงดำเนินต่อไปเข้าสู่ปีที่ 3 ขณะที่การใช้ชีวิตประจำวันไม่แตกต่างจากคนทั่วไป ผมยังคงนั่งสมาธิเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 - 3 วัน ๆ ละ 1 ชม. บางเดือนแทบจะไม่นั่งสมาธิก็มี แต่ปฏิบัติตามศีล 5 อย่างมั่นคง กำลังสมาธิยังคงอยู่ระดับเดิมไม่เสื่อมถอย ในช่วงปีที่ 3 นี้ สมาธิก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ถึงขั้นถอนวิตก วิจารได้ ขออนุญาตกล่าวแบบรวบยอดว่า ช่วงปีที่ 4 - 5 สมาธิก้าวไปถึงขั้นอุเบกขา เอกัคตา แต่ยังไม่ถึงขั้นอุเบกขาที่ละเอียด ตอนนี้ อยู่ระหว่างการฝึกขั้นละเอียด หากท่านดำรงสติสัมปะชัญญะอยู่เสมอ ท่านจะจับอารมณ์ของสมาธิได้โดยอัตโนมัติ
7) ที่เขียนมาทั้งหมด เพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านที่ปรารถนาจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้พยายามต่อไป แม้แนวทางปฏิบัติจะไม่เหมือนกัน ก็ขอให้ท่านอดทน ไม่ควรท้อแท้ ส่วนตัวผมจะมุ่งมั่นเพื่อไปถึงเป้าหมายต่อไป
ขอบพระคุณท่านผู้อ่าน หากท่านมีพลังใจเพิ่มขึ้น ถือว่าการสื่อสารครั้งนี้คุ้มค่ามากพอแล้ว
การนั่งสมาธิเพื่อให้ได้ฌาน ....
1) หาเวลาว่างสัก 15 นาที นั่งขัดสมาสแล้วดูลมหายใจที่ปลายจมูกไปเรื่อย ๆ จนกว่าใจของท่านจะสงบดี แล้วให้เพิ่มเวลานั่งเป็น 30 นาที/ครั้ง ไปจนกว่าใจของท่านจะสงบดี จากนั้น ให้เพิ่มเวลานั่งสมาธิเป็น 1 ชม.
2) ผมปฏิบัติอย่างนี้ สัปดาห์นึงนั่ง 2 วัน เฉลี่ย 1 เดือน นั่งสมาธิราว 8 - 10 ครั้ง ทำได้แค่นี้ เพราะหน้าที่การงานไม่ค่อยอำนวย บางเดือนนั่งสมาธิ 2 - 3 ครั้ง ก็มี ตั้งใจถือศีล 5 ตั้งแต่เริ่มนั่งสมาธิ แต่ไม่ค่อยจะครบทั้ง 5 ข้อ ไม่เคยทิ้งทั้งสมาธิและศีล ทำไปเรื่อย ๆ พร้อมกับฟังเทศก์ของหลวงพ่อหลาย ๆ ท่าน แต่ยังยึดลมหายใจเป็นหลัก
3) ผ่านไปราว 1 ปี สังเกตเห็นจิตเป็นสมาธิแบบผุบ ๆ โผล่ ๆ คือ จิตมีความตั้งมั่นแบบไม่ต่อเนื่อง ในช่วง 1 วัน จะมีสมาธินานราว 6 ชม. นอกนั้น สภาพจิตก็เหมือนคนทั่วไป ขณะที่การถือศีล 5 ของผมพยายามไม่ให้บกพร่อง
4) จากนั้นอีก 1 ปีผ่านไป ระหว่างนั้นนั่งสมาธิได้นานครั้งละ 1 ชม. ขณะที่นั่งใกล้จะจบ ชม. ผมเกิดปีติ เป็นลมพายุวิ่งทะลุมาจากใต้ดินผ่านตัวผมขึ้นไปทะลุเพดานนานราวครึ่งนาที เป็นเสียงลมพายุที่แรงงาน หูอื้อไปหมด แล้วเกิดความซาบซ่านไปทั่วร่างกาย แล้วจิตก็ถอนออกจากสมาธิ
5) จากนั้น การนั่งสมาธิครั้งถัดมา จิตจะมีกำลังมากขึ้นกว่าครั้งไหน ๆ ที่ผ่านมา พอเริ่มนั่งได้ 2 - 3 นาทีแรก สมาธิจะรวมกำลังขึ้นเอง จนทำให้จิตมันนิ่ง ลืมบอกไป ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ จะมีสติกำกับอยู่เสมอ แล้วสติของผมช่วงนั้นก็จับ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา ได้
6) การนั่งสมาธิยังคงดำเนินต่อไปเข้าสู่ปีที่ 3 ขณะที่การใช้ชีวิตประจำวันไม่แตกต่างจากคนทั่วไป ผมยังคงนั่งสมาธิเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 - 3 วัน ๆ ละ 1 ชม. บางเดือนแทบจะไม่นั่งสมาธิก็มี แต่ปฏิบัติตามศีล 5 อย่างมั่นคง กำลังสมาธิยังคงอยู่ระดับเดิมไม่เสื่อมถอย ในช่วงปีที่ 3 นี้ สมาธิก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ถึงขั้นถอนวิตก วิจารได้ ขออนุญาตกล่าวแบบรวบยอดว่า ช่วงปีที่ 4 - 5 สมาธิก้าวไปถึงขั้นอุเบกขา เอกัคตา แต่ยังไม่ถึงขั้นอุเบกขาที่ละเอียด ตอนนี้ อยู่ระหว่างการฝึกขั้นละเอียด หากท่านดำรงสติสัมปะชัญญะอยู่เสมอ ท่านจะจับอารมณ์ของสมาธิได้โดยอัตโนมัติ
7) ที่เขียนมาทั้งหมด เพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านที่ปรารถนาจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้พยายามต่อไป แม้แนวทางปฏิบัติจะไม่เหมือนกัน ก็ขอให้ท่านอดทน ไม่ควรท้อแท้ ส่วนตัวผมจะมุ่งมั่นเพื่อไปถึงเป้าหมายต่อไป
ขอบพระคุณท่านผู้อ่าน หากท่านมีพลังใจเพิ่มขึ้น ถือว่าการสื่อสารครั้งนี้คุ้มค่ามากพอแล้ว