เมื่อก่อนตอนสมัยยังเป็นเด็ก ได้มีโอกาสไปเดินเล่นซื้อของแถวย่านเยาวราช เดินนานๆก็หิวก็เลยหาอะไรกิน แล้วดันไปเตะตากับร้านขายข้าวที่เมนูชื่อแปลกๆ "ข้าวพระรามลงสรง" ตอนนั้นก็รู้สึกงงๆว่ามันคืออะไร ทำไมต้องพระรามลงสรง รสชาติมันเป็นยังไง ก็เลยลองเข้าไปนั่งชิมดู สรุปโดยรวมแบบคร่าวๆมันก็คือ ข้าวราดผักบุ้งลวกกับหมูลวกราดด้วยน้ำซอสคล้ายแกงแขกข้นๆเหมือนน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ มีน้ำพริกเผาแบบจีนกินแกล้ม รสชาติโดยรวมจะออกแนวมันๆหวานๆ มีรสเค็มตาม สามรถกินคู่กับไข่ต้มหรือไข่ดาว ก็ถือว่าอร่อยถูกปากอยู่ไม่น้อย
แล้วคำถามคือทำไมต้องพระรามลงสรง สำหรับเรื่องนี้ต้องเล่าเท้าความไปยังสมัยยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม กำลังเรืองอำนาจในช่วงยุคสงครามเย็น ชาวจีนในยุคนั้นต่างถูกเพ่งเล็งว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับระบอบคอมมิวนิสต์ การขายสินค้าและอาหารต่างๆที่เป็นภาษาจีนก็เลยมักจะถูกเพ็งเล็งจากทางภาครัฐไปโดยปริยาย แต่เดิมทีชื่อของเมนูนี้คือ "ซาแต๊ปึ่ง" ซึ่งเป็นภาษาจีนอย่างเห็นได้ชัด เหล่าบรรดาพ่อค้าชาวจีนก็ไม่อยากจะมีปัญหากับรัฐบาลในยุคสมัยนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อดังกล่าวเป็น "พระรามลงสรง" เพื่อให้เมนูนี้ดูมีความเป็นไทยมากขึ้น พระรามสื่อถึงผักบุ้งและเนื้อหมู น้ำซอสซาแต๊ที่ราดลงไปก็เปรียบกับการลงอาบน้ำ ใช้ตัวละครในวรรณคดีมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความเป็นไทย ทำให้เมนูยังคงอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมทีเมนู"ซาแต๊ปึ่ง"หรือ"พระรามลงสรง" ถือเป็นเมนูของชาวฮกเกี้ยนที่อพยพลงมาอยู่แถวเอชียอาคเนย์ทางตอนใต้ เป็นการประยุกต์ส่วนผสมท้องถิ่นกับส่วนผสมแบบจีนเข้าไว้ด้วยกัน ชาวจีนชอบกินผักบุ้งชอบกินเนื้อหมู ทางแถบเอเชียอาคเนย์ก็มีทั้งกะทิพริกแกงรวมถึงเครื่องเทศต่างๆ อีกทั้งยังชอบหุงข้าวกินเหมือนกัน การผสานทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น กลายเป็นเมนูชื่อไทยๆ วัตถุดิบแบบจีนๆ ราดซอสแบบมุสลิมนั่นเอง
วัตถุดิบหลักๆก็จะมี ผักบุ้งลวกพอสะดุ้ง และ เนื้อหมูหมักกับแป้งมัน ผงฟู ไข่ขาว รวนในน้ำมันพืชไฟอ่อนๆ
เนื้อหมูถ้าไม่อยากรวนน้ำมันก็สามารถเอาไปลวกในน้ำเดือดหรือจะเปลี่ยนเป็นเนื้อวัวแทนก็ได้ ส่วนผักบุ้งก็อาจเปลี่ยนเป็นผักใบเขียวอื่นๆอย่างผักกวางตุ้งหรือคะน้าแทนก็ได้เช่นกัน
น้ำซอสถ้าเอาแบบง่ายๆเลยคือไปซื้อน้ำซอสมาจากร้านขายหมูสะเต๊ะเลยนั่นล่ะ เพราะมันคือซอสตัวเดียวกัน(สะเต๊ะ=ซาแต๊)
แต่ถ้าจะเคี่ยวเองก็ง่ายๆเลยแค่ตั้งกระทะไฟกลางเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน ใส่พริกแกงมัสมั่นกับพริกแกงแพนงลงไปอย่างละเท่าๆกัน ปรุงรสด้วยน้ำปลากับน้ำตาลให้หวานนำเค็มเล็กน้อย แล้วค่อยใส่ถั่วลิสงคั่วบทลงไปเคี่ยวจนน้ำซอสมีลักษณะงวดข้น
เตรียมส่วนผสมทุกอย่างเสร็จก็จัดลงจานให้สวยงามตามชอบ โปะข้าวสวยหุงสุกใหม่ๆลงไปสักถ้วย วางผักบุ้งลงไปรองแล้วค่อยเอาเนื้อซ้อนลงไป ราดด้วยนำซอสซาแต๊ที่เตรียมไว้ ถ้ามีงาคั่วก็โรยลงไปสักนิด กินแกล้มกับน้ำพริกเผา คู่กับไข่สักฟอง จะต้มจะดาวจะเจียวก็ตามถนัดได้เลย
ถือเป็นอันเสร็จพิธีกับเมนูพระรามลงสรง เมนูชื่อแบบวรรณคดีไทย วัตถุดิบแบบจีน น้ำซอสแบบมุสลิม
เนื้อหมูหมักนุ่มๆเด้งๆ ผักบุ้งลวกหวานกรุบ ราดซอสซาแต๊รสหวานมันเค็ม คู่กับข้าวสวยหุงสุกนุ่มๆร้อนๆ อย่าลืมไข่สักฟอง รับรองหอมอร่อยครบเครื่อง อิ่มหนำสำราญกันไปอีกหนึ่งมื้อ
การผสานและความร่วมมือกันของหลายๆวัฒนธรรม อาจจะนำมาซึ่งสิ่งดีๆให้กับสังคม เพราะสุดท้ายแล้ว พวกเราก็ล้วนอยู่บนโลกใบเดียวกัน
facebook page : เสือตะหลิว " อาหาร กับ ชายชาตรี "
วัตถุดิบแบบจีน ปรุงแบบมุสลิม ชื่อแบบไทย "ข้าวพระรามลงสรง"
แล้วคำถามคือทำไมต้องพระรามลงสรง สำหรับเรื่องนี้ต้องเล่าเท้าความไปยังสมัยยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม กำลังเรืองอำนาจในช่วงยุคสงครามเย็น ชาวจีนในยุคนั้นต่างถูกเพ่งเล็งว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับระบอบคอมมิวนิสต์ การขายสินค้าและอาหารต่างๆที่เป็นภาษาจีนก็เลยมักจะถูกเพ็งเล็งจากทางภาครัฐไปโดยปริยาย แต่เดิมทีชื่อของเมนูนี้คือ "ซาแต๊ปึ่ง" ซึ่งเป็นภาษาจีนอย่างเห็นได้ชัด เหล่าบรรดาพ่อค้าชาวจีนก็ไม่อยากจะมีปัญหากับรัฐบาลในยุคสมัยนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อดังกล่าวเป็น "พระรามลงสรง" เพื่อให้เมนูนี้ดูมีความเป็นไทยมากขึ้น พระรามสื่อถึงผักบุ้งและเนื้อหมู น้ำซอสซาแต๊ที่ราดลงไปก็เปรียบกับการลงอาบน้ำ ใช้ตัวละครในวรรณคดีมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความเป็นไทย ทำให้เมนูยังคงอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมทีเมนู"ซาแต๊ปึ่ง"หรือ"พระรามลงสรง" ถือเป็นเมนูของชาวฮกเกี้ยนที่อพยพลงมาอยู่แถวเอชียอาคเนย์ทางตอนใต้ เป็นการประยุกต์ส่วนผสมท้องถิ่นกับส่วนผสมแบบจีนเข้าไว้ด้วยกัน ชาวจีนชอบกินผักบุ้งชอบกินเนื้อหมู ทางแถบเอเชียอาคเนย์ก็มีทั้งกะทิพริกแกงรวมถึงเครื่องเทศต่างๆ อีกทั้งยังชอบหุงข้าวกินเหมือนกัน การผสานทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น กลายเป็นเมนูชื่อไทยๆ วัตถุดิบแบบจีนๆ ราดซอสแบบมุสลิมนั่นเอง
วัตถุดิบหลักๆก็จะมี ผักบุ้งลวกพอสะดุ้ง และ เนื้อหมูหมักกับแป้งมัน ผงฟู ไข่ขาว รวนในน้ำมันพืชไฟอ่อนๆ
เนื้อหมูถ้าไม่อยากรวนน้ำมันก็สามารถเอาไปลวกในน้ำเดือดหรือจะเปลี่ยนเป็นเนื้อวัวแทนก็ได้ ส่วนผักบุ้งก็อาจเปลี่ยนเป็นผักใบเขียวอื่นๆอย่างผักกวางตุ้งหรือคะน้าแทนก็ได้เช่นกัน
น้ำซอสถ้าเอาแบบง่ายๆเลยคือไปซื้อน้ำซอสมาจากร้านขายหมูสะเต๊ะเลยนั่นล่ะ เพราะมันคือซอสตัวเดียวกัน(สะเต๊ะ=ซาแต๊)
แต่ถ้าจะเคี่ยวเองก็ง่ายๆเลยแค่ตั้งกระทะไฟกลางเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน ใส่พริกแกงมัสมั่นกับพริกแกงแพนงลงไปอย่างละเท่าๆกัน ปรุงรสด้วยน้ำปลากับน้ำตาลให้หวานนำเค็มเล็กน้อย แล้วค่อยใส่ถั่วลิสงคั่วบทลงไปเคี่ยวจนน้ำซอสมีลักษณะงวดข้น
เตรียมส่วนผสมทุกอย่างเสร็จก็จัดลงจานให้สวยงามตามชอบ โปะข้าวสวยหุงสุกใหม่ๆลงไปสักถ้วย วางผักบุ้งลงไปรองแล้วค่อยเอาเนื้อซ้อนลงไป ราดด้วยนำซอสซาแต๊ที่เตรียมไว้ ถ้ามีงาคั่วก็โรยลงไปสักนิด กินแกล้มกับน้ำพริกเผา คู่กับไข่สักฟอง จะต้มจะดาวจะเจียวก็ตามถนัดได้เลย
ถือเป็นอันเสร็จพิธีกับเมนูพระรามลงสรง เมนูชื่อแบบวรรณคดีไทย วัตถุดิบแบบจีน น้ำซอสแบบมุสลิม
เนื้อหมูหมักนุ่มๆเด้งๆ ผักบุ้งลวกหวานกรุบ ราดซอสซาแต๊รสหวานมันเค็ม คู่กับข้าวสวยหุงสุกนุ่มๆร้อนๆ อย่าลืมไข่สักฟอง รับรองหอมอร่อยครบเครื่อง อิ่มหนำสำราญกันไปอีกหนึ่งมื้อ
การผสานและความร่วมมือกันของหลายๆวัฒนธรรม อาจจะนำมาซึ่งสิ่งดีๆให้กับสังคม เพราะสุดท้ายแล้ว พวกเราก็ล้วนอยู่บนโลกใบเดียวกัน
facebook page : เสือตะหลิว " อาหาร กับ ชายชาตรี "