ส.ค. ต้องออกไป! ฝ่ายค้านขีดเส้นตาย รบ.ประยุทธ์ ไร้ศักยภาพ ทำคนจนพุ่ง-หนี้ท่วม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7036153
ส.ค. ต้องออกไป! ฝ่ายค้านขีดเส้นตาย รัฐบาลประยุทธ์ ไร้ศักยภาพ ทำคนจนพุ่ง-หนี้ท่วม ฉุดประเทศถึงจุดต่ำสุด บริหารผิดพลาดประชาชนนอนตายข้างถนน
เมื่อเวลา 17.40 น. วันที่ 6 พ.ค. 2565 ที่ห้องวันวาน เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา พรรคร่วมฝ่ายค้านจัดประชุมหัวข้อ “
ผนึกกำลัง ขีดเส้นใต้ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาล” โดยมีแกนนำและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ นาย
ชัยธวัช ตุลาธร เลขาธิการพรรคก้าวไกล นาย
วิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นาย
เทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นาย
นิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ร่วมประชุม
จากนั้น นพ.
ชลน่าน อ่านแถลงการณ์พรรคร่วมฝ่ายค้าน “
ขีดเส้นใต้ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาลที่สิ้นสภาพ” ระบุว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด เผชิญวิกฤตในทุกมิติ วิกฤตตัวผู้นำนายกฯ ที่ไร้ศักยภาพ ขาดความน่าเชื่อถือ นำพาประเทศมาถึงทางตัน เป็นรัฐบาลหมดสภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังจะสิ้นสภาพในมิติความถูกต้องตามตัวบทกฎหมายปมวาระนายกฯ 8 ปี
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างความทุกข์ยากแก่พี่น้องประชาชนอย่างแสนสาหัส ทำลายสถิติการเพิ่มขึ้นของคนจน หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน การตกงาน การขาดดุลงบประมาณสูงสุดในประวัติศาสตร์ชาติภายใต้การบริหารของรัฐบาล วิกฤตสาธารณสุขที่คร่าชีวิตประชาชนต้องนอนตายกลางถนนเป็นจำนวนมาก กลายเป็นประเทศที่ติดเชื้อลำดับต้นๆ ของโลก
“สาเหตุจากการบริหารและมาตรการที่ผิดพลาด ควบคุมโรคระบาดแบบไร้ทิศทาง กระทำเสมือนชีวิตของประชาชนนั้นไร้ค่า ไร้ความหมาย วิกฤตการเมือง เผด็จการในคราบประชาธิปไตย ได้สร้างประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายทิ้งไว้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนานด้วยรัฐธรรมนูญฉบับวางยาพิษ รวมถึงระบบนิติบัญญัติของเสียงข้างมากที่ล้มเหลว สภาอันทรงเกียรติกลายเป็นสภาที่ซื้อได้ด้วยเงิน”
นพ.
ชลน่าน กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 วิกฤตปะทุขึ้นพร้อมกัน เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ นำความทุกข์ยากมาสู่ประชาชนอย่างมากมายมหาศาล พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นร่วมกันว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เหล่านี้ดำเนินต่อไป จะสร้างความเสียหายจนไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้ จึงมีมติร่วมกันขีดเส้นตายให้รัฐบาลที่หมดสิ้นสภาพนี้ นับตั้งแต่การเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 22 พ.ค.65 เป็นต้นไป ในการดำเนินการของพรรคร่วมฝ่ายค้านใน 4 วาระสำคัญ
ได้แก่
1. การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.
2. การพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองในเดือนมิ.ย.
3. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามมาตรา 151
และ 4. การดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือน ส.ค.
“พรรคร่วมฝ่ายค้านขอประกาศว่าวันนี้เรารวมพลัง เพื่อยุติรัฐบาลที่สิ้นสภาพ โดยการขีดเส้นตายการทำงานของรัฐบาลนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่เกินเดือน ส.ค.ที่จะถึง พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอำนาจ คืนชีวิต คืนความกินดีอยู่ดี คืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกคน” นพ.
ชลน่าน กล่าว
น้ำมันดีเซลพ่นพิษ แม่ค้าพาเหรด ขึ้นราคาผัก กรรมตกกับประชาชน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7035009
ผักขึ้นราคาต่อเนื่อง หลังน้ำมันดีเซลขึ้นราคา ล่าสุดผักชีราคาทะลุ กก.ละ 100 บาท แตงกวา ถุงละ 250 บาท พริก กก.ละ 80 บาท ถั่วฝักยาว กก.ละ 60 บาท
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตลาดสดบางลำภู เขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่าผักหลายชนิดเริ่มปรับราคาจำหน่ายมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะ พริกแดงจินดา ถั่วฝักยาว แตงกวา และผักชี หลังรัฐบาลประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล
นาง
สุพรรณณี ภูสีน้ำ อายุ 64 ปี แม่ค้าขายผักสด เปิดเผยว่า ผักที่มีการปับขึ้นราคาขึ้นในระยะนี้ ก็จะมี พริกแดงจินดา ถั่วฝักยาว แตงกวา และผักชี โดยเฉพาะผักชีที่มีการปรับราคาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก่อนหน้านี้ราคา กก. ละ 40 บาท ราคาวันนี้ขึ้นเป็น กก.ละ 100 บาท แตงกวา เดิมถุงละ 120 บาท ต่อ 10 กก. ขึ้นเป็นถุงละ 250 บาท ต่อ 10 กก.
พริกแดงจินดา กก. ละ 50 บาท ขึ้นมาเป็น กก.ละ 80 บาท ถั่วฝักยาว เดิม กก.ละ 30 บาท ขึ้นเป็น กก.ละ 60 บาท ทั้งนี้ในการปรับขึ้นราคานั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือน เพราะเป็นช่วงฤดูแล้งผักปลูกยาก ทำให้ราคาเริ่มขยับตัว แต่อีกปัจจัยหนึ่งคือการปรับตัวขึ้นของน้ำมันดีเซล เนื่องจากรถขนผักส่วนมากใช้รถกระบะที่ใช้น้ำมันดีเซลทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้นต้นทุนเพิ่ม
นาง
สุพรรณี กล่าวต่อว่า ราคาผักไม่ได้ขึ้นตลอด เพราะมีทั้งช่วงถูกช่วงแพงตามฤดูกาล จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาน้ำมันให้ได้เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาระทุกอย่างจะมาตกกับประชาชน ที่จะต้องซื้อของในราคาแพงขึ้นเกือบทุกอย่างอย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
ร้านขายส่งไข่ไก่โคราช โอด! ยอดขายตกกว่า 30% หลังจากไข่ไก่ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
https://news.ch7.com/detail/567790
วันนี้ (6 พ.ค. 65) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ร้านขายส่งไข่ไก่ ภายในตลาดเทิดไท อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่า หลายร้านมีลูกค้ามาสั่งซื้อไข่ไก่บางตา ภายหลังจากที่ไข่ไก่ได้มีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีปรับขึ้นราคาไปแล้วถึง 6 ครั้ง ปัจจุบันไข่ไก่คละหน้าฟาร์มขายอยู่ที่ราคาฟองละ 3.50 บาท
โดยนาง
ศศิภัสสรสิษฐ์ ชูสันเทียะ เจ้าของร้านศศิฟาร์ม ร้านขายส่งไข่ไก่ภายในตลาดเทิดไท กล่าวว่า ช่วงนี้ไข่ไก่ได้มีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง ที่ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ต่าง ๆ ต้องปรับราคาไข่ไก่ขึ้นตาม โดยขณะนี้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ปรับราคาสูงขึ้น อยู่ที่ฟองละ 3.50 บาท
ขณะที่ร้านของตนเองก็จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นตาม โดยไข่ไก่ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า จะเป็นขนาดเบอร์ 1 เบอร์ 2 และเบอร์ 3 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ากลุ่มร้านอาหาร ที่ต้องนำไปเป็นวัตถุดิบ ส่วนเบอร์ 0 นั้น จะเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่ซื้อไปประกอบอาหารที่บ้าน โดยขณะนี้
เบอร์ 1 แผง 30 ฟอง ขายปลีก ราคาแผงละ 120 บาท ขายส่งแผงละ 115 บาท
เบอร์ 2 ขายปลีก ราคาแผงละ 117 บาท ขายส่ง แผงละ 112 บาท
เบอร์ 3 ขายปลีก ราคาแผงละ 115 บาท ขายส่ง ราคาแผงละ 110 บาท
ช่วง 2 ปีมานี้พบว่าลูกค้าลดน้อยลงจากก่อนหน้านั้นกว่า 30% เพราะประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง ค่าน้ำมันแพง ทำให้หลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายลง อีกส่วนหนึ่งมาจากช่วงที่ผ่านมาโรงเรียนต่าง ๆ มีการเรียนออนไลน์ ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ ไม่มีการสั่งไข่ไก่ไปประกอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียน ดังนั้นปีนี้ที่คาดว่าโรงเรียนจะเปิดเรียนออนไซต์ 100% ก็หวังว่าลูกค้ากลุ่มโรงเรียนต่าง ๆ จะกลับมาสั่งซื้อไข่ไก่เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายกลับมาได้พอสมควร
สู้ไม่ไหว! ชาวนาช้ำ น้ำมัน-ปุ๋ยแพง ทำนาไม่คุ้ม วอนรัฐตรึงราคา ลดต้นทุน
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/289935
ชาวนาในจังหวัดพิจิตร นำเครื่องจักรกลการเกษตร ออกมาปรับพื้นที่นาข้าว เพื่อเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยชาวนาต่างเร่งสูบน้ำขึ้นนา ท่ามกลางราคาน้ำมันดีเซล ที่ใช้สูบน้ำ และใส่เครื่องจักรกลสำหรับทำนา ปรับราคาขึ้นมาลิตรละ 32 บาท และจะขึ้นอีกรอบในวันจันทร์หน้า
เบื้องต้นกระทรวงพลังงานบอกว่าจะขึ้นอีก 1 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาปุ๋ยก็ยังพุ่งไม่หยุด ล่าสุดปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ตกกระสอบละ 1,800 บาทแล้ว ยังไม่รวมค่ายาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ที่ปรับราคาขึ้นยกแผง และยังมีแนวโน้มที่จะขึ้นอีก ดันต้นทุนการทำนาต่อไร่ พุ่งทะลุ 6 พันบาทต่อไร่ไปแล้ว และถ้าเป็นนาดอน ต้องสูบน้ำหลายต่อ ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนพุ่งสูงไปอีก เผลอๆ แตะ 7 พันบาทต่อไร่เลยทีเดียว สวนทางกับราคาข้าว ที่มีลงกับลง ถ้าเกี่ยวสด ราคาจะอยู่ที่ 6 พัน ถึง 7 พันบาทเท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าต้นทุนการทำนา กับ ราคาข้าว วิ่งทันกันแล้ว ขณะที่หนี้ ธกส.ก็รุมเร้า ประกาศพักชำระหนี้ แต่ดอกเบี้ยยังเดิน
นาง
สวณีย์ โพธิ์รัง ผู้จัดการนาแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ยิ่งซ้ำเติมให้ต้นทุนการทำนาเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่เจอกับราคาปุ๋ยแพงอยู่แล้ว โดยชาวนาต้องใช้น้ำมันเติมเครื่องสูบน้ำเข้านา จากเดิม เฉลี่ย 300 ถึง 500 บาทต่อไร่ แต่ตอนนี้สูงถึง 1,000 บาทต่อไร่แล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก หากน้ำมันขึ้นไปถึง 35 บาทต่อลิตร และยังต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง จากเดิมเฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน เหลือเพียง 5-6 ร้อยกิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น หรือ หายไปกว่าครึ่ง ทำให้วันนี้สิ่งที่ชาวนาทำได้ คือ ลดพื้นที่เพาะปลูก บางคนเลือกที่จะไม่ทำนาในรอบการผลิตนี้ เนื่องจากไม่มีเงินลงทุน สู้ต่อไม่ไหว
โดยสิ่งที่ชาวนาเรียกร้องในวันนี้ คือ ให้รัฐบาลช่วยตรึงราคาน้ำมันดีเซล สำหรับทำนา และตรึงราคาปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต พร้อมเรียกร้องให้ ธกส.พักต้น และพักดอกเบี้ย 2 ปี เพื่อลดภาระให้ชาวนาได้ลืมตาอ้าปากได้ ไม่เช่นนั้นชาวนาคงอยู่ไม่ได้
JJNY : 5in1 รบ.ประยุทธ์ทำคนจนพุ่ง-หนี้ท่วม│ดีเซลพ่นพิษ ขึ้นราคาผัก│ขายส่งไข่ไก่โคราชโอด!│ชาวนาช้ำ│แอมเนสตี ชี้มีหลักฐาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7036153
เมื่อเวลา 17.40 น. วันที่ 6 พ.ค. 2565 ที่ห้องวันวาน เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา พรรคร่วมฝ่ายค้านจัดประชุมหัวข้อ “ผนึกกำลัง ขีดเส้นใต้ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาล” โดยมีแกนนำและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ นายชัยธวัช ตุลาธร เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายวิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายเทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ร่วมประชุม
จากนั้น นพ.ชลน่าน อ่านแถลงการณ์พรรคร่วมฝ่ายค้าน “ขีดเส้นใต้ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาลที่สิ้นสภาพ” ระบุว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด เผชิญวิกฤตในทุกมิติ วิกฤตตัวผู้นำนายกฯ ที่ไร้ศักยภาพ ขาดความน่าเชื่อถือ นำพาประเทศมาถึงทางตัน เป็นรัฐบาลหมดสภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังจะสิ้นสภาพในมิติความถูกต้องตามตัวบทกฎหมายปมวาระนายกฯ 8 ปี
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างความทุกข์ยากแก่พี่น้องประชาชนอย่างแสนสาหัส ทำลายสถิติการเพิ่มขึ้นของคนจน หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน การตกงาน การขาดดุลงบประมาณสูงสุดในประวัติศาสตร์ชาติภายใต้การบริหารของรัฐบาล วิกฤตสาธารณสุขที่คร่าชีวิตประชาชนต้องนอนตายกลางถนนเป็นจำนวนมาก กลายเป็นประเทศที่ติดเชื้อลำดับต้นๆ ของโลก
“สาเหตุจากการบริหารและมาตรการที่ผิดพลาด ควบคุมโรคระบาดแบบไร้ทิศทาง กระทำเสมือนชีวิตของประชาชนนั้นไร้ค่า ไร้ความหมาย วิกฤตการเมือง เผด็จการในคราบประชาธิปไตย ได้สร้างประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายทิ้งไว้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนานด้วยรัฐธรรมนูญฉบับวางยาพิษ รวมถึงระบบนิติบัญญัติของเสียงข้างมากที่ล้มเหลว สภาอันทรงเกียรติกลายเป็นสภาที่ซื้อได้ด้วยเงิน”
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 วิกฤตปะทุขึ้นพร้อมกัน เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ นำความทุกข์ยากมาสู่ประชาชนอย่างมากมายมหาศาล พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นร่วมกันว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เหล่านี้ดำเนินต่อไป จะสร้างความเสียหายจนไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้ จึงมีมติร่วมกันขีดเส้นตายให้รัฐบาลที่หมดสิ้นสภาพนี้ นับตั้งแต่การเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 22 พ.ค.65 เป็นต้นไป ในการดำเนินการของพรรคร่วมฝ่ายค้านใน 4 วาระสำคัญ
ได้แก่
1. การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.
2. การพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองในเดือนมิ.ย.
3. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามมาตรา 151
และ 4. การดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือน ส.ค.
“พรรคร่วมฝ่ายค้านขอประกาศว่าวันนี้เรารวมพลัง เพื่อยุติรัฐบาลที่สิ้นสภาพ โดยการขีดเส้นตายการทำงานของรัฐบาลนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่เกินเดือน ส.ค.ที่จะถึง พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอำนาจ คืนชีวิต คืนความกินดีอยู่ดี คืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกคน” นพ.ชลน่าน กล่าว
น้ำมันดีเซลพ่นพิษ แม่ค้าพาเหรด ขึ้นราคาผัก กรรมตกกับประชาชน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7035009
ผักขึ้นราคาต่อเนื่อง หลังน้ำมันดีเซลขึ้นราคา ล่าสุดผักชีราคาทะลุ กก.ละ 100 บาท แตงกวา ถุงละ 250 บาท พริก กก.ละ 80 บาท ถั่วฝักยาว กก.ละ 60 บาท
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตลาดสดบางลำภู เขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่าผักหลายชนิดเริ่มปรับราคาจำหน่ายมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะ พริกแดงจินดา ถั่วฝักยาว แตงกวา และผักชี หลังรัฐบาลประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล
นางสุพรรณณี ภูสีน้ำ อายุ 64 ปี แม่ค้าขายผักสด เปิดเผยว่า ผักที่มีการปับขึ้นราคาขึ้นในระยะนี้ ก็จะมี พริกแดงจินดา ถั่วฝักยาว แตงกวา และผักชี โดยเฉพาะผักชีที่มีการปรับราคาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก่อนหน้านี้ราคา กก. ละ 40 บาท ราคาวันนี้ขึ้นเป็น กก.ละ 100 บาท แตงกวา เดิมถุงละ 120 บาท ต่อ 10 กก. ขึ้นเป็นถุงละ 250 บาท ต่อ 10 กก.
พริกแดงจินดา กก. ละ 50 บาท ขึ้นมาเป็น กก.ละ 80 บาท ถั่วฝักยาว เดิม กก.ละ 30 บาท ขึ้นเป็น กก.ละ 60 บาท ทั้งนี้ในการปรับขึ้นราคานั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือน เพราะเป็นช่วงฤดูแล้งผักปลูกยาก ทำให้ราคาเริ่มขยับตัว แต่อีกปัจจัยหนึ่งคือการปรับตัวขึ้นของน้ำมันดีเซล เนื่องจากรถขนผักส่วนมากใช้รถกระบะที่ใช้น้ำมันดีเซลทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้นต้นทุนเพิ่ม
นางสุพรรณี กล่าวต่อว่า ราคาผักไม่ได้ขึ้นตลอด เพราะมีทั้งช่วงถูกช่วงแพงตามฤดูกาล จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาน้ำมันให้ได้เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาระทุกอย่างจะมาตกกับประชาชน ที่จะต้องซื้อของในราคาแพงขึ้นเกือบทุกอย่างอย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
ร้านขายส่งไข่ไก่โคราช โอด! ยอดขายตกกว่า 30% หลังจากไข่ไก่ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
https://news.ch7.com/detail/567790
วันนี้ (6 พ.ค. 65) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ร้านขายส่งไข่ไก่ ภายในตลาดเทิดไท อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่า หลายร้านมีลูกค้ามาสั่งซื้อไข่ไก่บางตา ภายหลังจากที่ไข่ไก่ได้มีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีปรับขึ้นราคาไปแล้วถึง 6 ครั้ง ปัจจุบันไข่ไก่คละหน้าฟาร์มขายอยู่ที่ราคาฟองละ 3.50 บาท
โดยนางศศิภัสสรสิษฐ์ ชูสันเทียะ เจ้าของร้านศศิฟาร์ม ร้านขายส่งไข่ไก่ภายในตลาดเทิดไท กล่าวว่า ช่วงนี้ไข่ไก่ได้มีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง ที่ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ต่าง ๆ ต้องปรับราคาไข่ไก่ขึ้นตาม โดยขณะนี้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ปรับราคาสูงขึ้น อยู่ที่ฟองละ 3.50 บาท
ขณะที่ร้านของตนเองก็จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นตาม โดยไข่ไก่ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า จะเป็นขนาดเบอร์ 1 เบอร์ 2 และเบอร์ 3 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ากลุ่มร้านอาหาร ที่ต้องนำไปเป็นวัตถุดิบ ส่วนเบอร์ 0 นั้น จะเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่ซื้อไปประกอบอาหารที่บ้าน โดยขณะนี้
เบอร์ 1 แผง 30 ฟอง ขายปลีก ราคาแผงละ 120 บาท ขายส่งแผงละ 115 บาท
เบอร์ 2 ขายปลีก ราคาแผงละ 117 บาท ขายส่ง แผงละ 112 บาท
เบอร์ 3 ขายปลีก ราคาแผงละ 115 บาท ขายส่ง ราคาแผงละ 110 บาท
ช่วง 2 ปีมานี้พบว่าลูกค้าลดน้อยลงจากก่อนหน้านั้นกว่า 30% เพราะประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง ค่าน้ำมันแพง ทำให้หลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายลง อีกส่วนหนึ่งมาจากช่วงที่ผ่านมาโรงเรียนต่าง ๆ มีการเรียนออนไลน์ ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ ไม่มีการสั่งไข่ไก่ไปประกอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียน ดังนั้นปีนี้ที่คาดว่าโรงเรียนจะเปิดเรียนออนไซต์ 100% ก็หวังว่าลูกค้ากลุ่มโรงเรียนต่าง ๆ จะกลับมาสั่งซื้อไข่ไก่เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายกลับมาได้พอสมควร
สู้ไม่ไหว! ชาวนาช้ำ น้ำมัน-ปุ๋ยแพง ทำนาไม่คุ้ม วอนรัฐตรึงราคา ลดต้นทุน
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/289935
ชาวนาในจังหวัดพิจิตร นำเครื่องจักรกลการเกษตร ออกมาปรับพื้นที่นาข้าว เพื่อเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยชาวนาต่างเร่งสูบน้ำขึ้นนา ท่ามกลางราคาน้ำมันดีเซล ที่ใช้สูบน้ำ และใส่เครื่องจักรกลสำหรับทำนา ปรับราคาขึ้นมาลิตรละ 32 บาท และจะขึ้นอีกรอบในวันจันทร์หน้า
เบื้องต้นกระทรวงพลังงานบอกว่าจะขึ้นอีก 1 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาปุ๋ยก็ยังพุ่งไม่หยุด ล่าสุดปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ตกกระสอบละ 1,800 บาทแล้ว ยังไม่รวมค่ายาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ที่ปรับราคาขึ้นยกแผง และยังมีแนวโน้มที่จะขึ้นอีก ดันต้นทุนการทำนาต่อไร่ พุ่งทะลุ 6 พันบาทต่อไร่ไปแล้ว และถ้าเป็นนาดอน ต้องสูบน้ำหลายต่อ ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนพุ่งสูงไปอีก เผลอๆ แตะ 7 พันบาทต่อไร่เลยทีเดียว สวนทางกับราคาข้าว ที่มีลงกับลง ถ้าเกี่ยวสด ราคาจะอยู่ที่ 6 พัน ถึง 7 พันบาทเท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าต้นทุนการทำนา กับ ราคาข้าว วิ่งทันกันแล้ว ขณะที่หนี้ ธกส.ก็รุมเร้า ประกาศพักชำระหนี้ แต่ดอกเบี้ยยังเดิน
นางสวณีย์ โพธิ์รัง ผู้จัดการนาแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ยิ่งซ้ำเติมให้ต้นทุนการทำนาเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่เจอกับราคาปุ๋ยแพงอยู่แล้ว โดยชาวนาต้องใช้น้ำมันเติมเครื่องสูบน้ำเข้านา จากเดิม เฉลี่ย 300 ถึง 500 บาทต่อไร่ แต่ตอนนี้สูงถึง 1,000 บาทต่อไร่แล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก หากน้ำมันขึ้นไปถึง 35 บาทต่อลิตร และยังต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง จากเดิมเฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน เหลือเพียง 5-6 ร้อยกิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น หรือ หายไปกว่าครึ่ง ทำให้วันนี้สิ่งที่ชาวนาทำได้ คือ ลดพื้นที่เพาะปลูก บางคนเลือกที่จะไม่ทำนาในรอบการผลิตนี้ เนื่องจากไม่มีเงินลงทุน สู้ต่อไม่ไหว
โดยสิ่งที่ชาวนาเรียกร้องในวันนี้ คือ ให้รัฐบาลช่วยตรึงราคาน้ำมันดีเซล สำหรับทำนา และตรึงราคาปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต พร้อมเรียกร้องให้ ธกส.พักต้น และพักดอกเบี้ย 2 ปี เพื่อลดภาระให้ชาวนาได้ลืมตาอ้าปากได้ ไม่เช่นนั้นชาวนาคงอยู่ไม่ได้