สมาคมโรงแรมพ้อ หมดแรงจะไปต่อ จี้คลังทบทวนเก็บภาษีที่ดิน 100%
https://ch3plus.com/news/economy/morning/285452
นาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดิน โดยจะเริ่มจัดเก็บตั้งเดือน เม.ย.65 เป็นต้นไป จากก่อนหน้านี้รัฐบาลลดหย่อนการจัดเก็บ 90% โดยรัฐได้จัดเก็บเพียง 10% เพื่อช่วยลดภาระผู้เสียภาษี
แต่ปีนี้ (2565) จะเริ่มเก็บตามอัตราภาษีที่ระบุไว้ แต่ประชาชนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ ทั้งนี้ ช่วง 2 ปีที่มีการลดหย่อนภาษีที่ดินนั้น รัฐสูญรายได้ไปราว 35,000 ล้านบาท
สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเก็บเป็นอัตราขั้นบันไดของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแยกประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ที่ดินเพื่อการเกษตร มีอัตราภาษีตั้งแต่ 0.01-0.1% โดยยกเว้นภาษีให้กับที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทและใน 3 ปีแรก (ปี 63-65) กรณีเป็นที่ดินเกษตรของบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ต้องมีภาระภาษี
2. ส่วนที่ดินเพื่ออยู่อาศัย มีอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเป็นบ้านหลังหลักของคนคนนั้น มีชื่อเป็นเจ้าของและมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้นที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
3. ที่ดินประเภทอื่นๆ อาทิ ที่ดินเพื่อพาณิชย์ อุตสาหกรรม และที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควร มีอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุกๆ 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมต้องไม่เกิน 3%
ด้านนาง
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการเก้บภาษีที่ดิน เพราะภาคธุรกิจโรงแรมกำลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตโควิดกว่า 2 ปี
ซึ่งภาคโรงแรมจะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจอื่นๆ หากรัฐเก็บภาษีที่ดิน 100% เพราะเป็นการประเมินที่ดินและสินทรัพย์ โดยไม่ได้นำการขาดรายได้ของธุรกิจโรงแรมมาร่วมพิจารณาด้วย ทำให้ภาษีที่ดินกลายเป็นต้นทุนก้อนใหญ่ของธุรกิจโรงแรม
ทำให้โรงแรมส่วนใหญ่หมดแรงจะไปต่อ เพราะสถานการณ์ท่องเที่ยวยังไม่ปกติ จึงอยากเรียกร้องให้มีการจัดเก็บแบบขั้นบันได ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทยอยเก็บปีละ 5% 10% และอยากขอผ่อนปรนการจัดเก็บไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เพื่อประเมินสถานการร์โควิด และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว
อดีตผู้ว่า ธปท. รุมอัดรัฐ งบขาดดุล-หนี้สาธารณะพุ่ง ลั่นถ้าไม่คุมเข้ม เศรษฐกิจตกเหวแน่
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6980732
อดีตผู้ว่า ธปท. รุมอัดรัฐ งบขาดดุล-หนี้สาธารณะพุ่ง เหตุทำนโยบายประชานิยมต่อเนื่อง สร้างปัญหาฐานะการคลังระยะยาว ลั่นถ้าไม่คุมเข้ม เศรษฐกิจตกเหวแน่
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565 นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา
“เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธปท.ว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงอย่างมากในเรื่องการทำนโยบายการคลังของประเทศ หากมองอย่างเป็นกลาง ภาครัฐตอนนี้อยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วง เพราะมีการทำงบประมาณแบบขาดดุลติดต่อกันมานานเหลือเกิน ขณะเดียวกันหนี้สาธารณะของประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าถึงจุดหนึ่งต้องรีบแก้ไข
ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ทำนโยบายต่างๆ ต่อเนื่องมาจนทำให้ประชาชนรู้สึกว่านโยบายประชานิยมเป็นเรื่องธรรมดา มีอะไรก็ใช้จ่ายไป ส่งผลให้ฐานะการคลังซ่อนสิ่งที่เป็นปัญหาในระยะยาวไว้เยอะมาก และหากเมื่อไรนโยบายการคลัง ไม่สามารถดูแลตัวเองให้ดีกว่านี้ ภาระในการดูแลเศรษฐกิจก็จะตกมาอยู่ที่การทำนโยบายการเงิน จึงเห็นว่าถ้าเมื่อใด ธปท.จำเป็นต้องทำนโยบายเข้มงวดที่คนอื่นไม่ชอบ ก็ต้องใจแข็งที่จะทำ เพราะถ้าไม่มีเราเป็นด่านสุดท้ายเศรษฐกิจก็ไม่รู้จะตกเหวไปอยู่ที่ไหน
“ผู้ว่า ธปท. คนปัจจุบัน บอกผมหลายเรื่อง ว่าปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้น มีต้นเหตุจากภาคเศรษฐกิจจริง และสุดท้ายก็มาโผล่ปลายเหตุว่าการเงินไม่มีเสถียรภาพ ทำให้เราต้องรับภาระอยู่คนเดียว ก็ต้องออกแรง แม้ว่าจะเสนออะไร ซึ่งส่วนมากเขาไม่ค่อยฟัง แต่ต้องพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด” นาย
ชัยวัฒน์ กล่าว
ด้าน ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ผู้ว่า ธปท. เปิดเผยว่า การทำนโยบายการคลังขณะนี้ เหมือนไม่มีนโยบาย เป็นการใช้เงินไปเรื่อย ๆ ไม่เคยคิดว่าจะขาดดุลเท่าไร และขาดดุลงบประมาณควรมีน้ำหนักแค่ไหนถึงจะเพียงพอ ฉะนั้นประเทศชาติตอนนี้ ต้องเน้นเรื่องการมีนโยบายการคลังที่จริงจัง ขณะที่การทำนโยบายการเงิน ต้องเน้น กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อต่อไป แต่ต้องสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตพอสมควร เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้
“คนดำเนินนโยบายการคลัง ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ เรื่องนี้อยู่ที่ผู้นำ หรือรัฐบาล มากกว่าว่าจะคิดหรือไม่คิด อยากเห็น ธปท.เน้นเรื่องอิสระ ทำให้ที่ตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าจะสร้างความพอใจให้ผู้มีอำนาจ นักการเมือง แต่ไม่ใช่ไม่ฟังใคร”
“ธปท.ต้องฟังความหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ และประสานงานกับ กระทรวงการคลัง และ รมว.คลัง ไม่ทำตัวเหนือหรือไม่ตาม รมว.คลัง ขณะเดียวกัน ต้องดูแลธนาคารพาณิชย์เหมือนลูก ไม่ใช่ศัตรู เพราะธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่สำคัญในการช่วยดูแลเรื่องเศรษฐกิจ” ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร กล่าว
ขณะที่ นาย
ประสาร ไตรรัตน์ อดีตผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ เป็นเรื่องการบริหารจัดการ หรือธรรมาภิบาลของประเทศ เป็นเรื่องระบบยุติธรรม ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าธรรมาภิบาลไม่ดี จึงเกิดการขัดขวาง ไม่เห็นด้วย (Discourage) เช่น กรณีเมืองไทย มีคนบอกว่าขาดคนที่เก่งความรู้เทคโนโลยี ซึ่งเด็กรุ่นใหม่เก่งมาก แต่เลือกไปทำงานที่ต่างประเทศ มันเป็นเรื่องที่กว้างกว่าเศรษฐกิจจริง ไม่ใช่เรื่องนโยบายการเงินการคลัง แต่ต้องจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการคิด (Rethink) หรือปรับรูปแบบ (Reform) การบริหารราชการใหม่
‘สมชัย’ ชี้กรณีคลิปหลุดแรมโบ้ ถ้ากกต.ทำเฉย เอาผิด 175 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3271516
‘สมชัย’ ชี้กรณีคลิปหลุดแรมโบ้ ถ้า กกต.ทำเฉย เอาผิด 175 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้
เมื่อวันที่ 4 เมษยน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้โพสต์ถึงกรณีคลิปเสียง นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับการจับกุมสลากกินแบ่งรัฐบาลออนไลน์และการจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
“เรื่องแรมโบ้ ถูกผิดว่าไปตามกฎหมาย นายกว่าอย่างนั้น
1.หากใช้เงินซื้อเสียง ผิดแน่นอน ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับเลือก ไม่มีอายุความ เปิด มาตรา 138 พ.ร.ป.ส.ส. ดูได้ หาก กกต.สอบสวนแล้วเป็นจริง กกต.ต้องยื่นศาลฎีกาเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
2. หากสอบแล้วว่า มีการซื้อเสียง ยังมีโทษอาญา เท่ากับผิดมาตรา 73 (1) ของ พ.ร.ป.ส.ส. จำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
3. จะใช้ 15 ล้าน หรือ 100 ล้านเพื่อสู้ฝ่ายตรงข้ามในการเลือกตั้ง เท่ากับแจ้งบัญชีรายรับรายจ่ายหลังเลือกตั้งเป็นเท็จ ผิดมาตรา 155 วรรคสอง ผู้สมัคร หรือหากเกี่ยวข้องไปถึงหัวหน้าพรรค (ตอนนั้น คือ อุตตม) ต้องระวางโทษ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
4. เรื่องนี้ หากเป็นข่าวครึกโครม ถือเป็นความปรากฏ ที่ กกต.สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยไม่ต้องมีผู้ร้องก็ได้ ยกเว้น กกต.ประเทศนี้ไม่เคยฟังข่าว
5. ดีที่สุดกรณีนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขต 10 นครราชสีมา ควรยื่นคำร้องให้มีการสอบสวนต่อ กกต. เพื่อเป็นต้นเรื่องดำเนินการ
6. กรณี กกต.ไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณา สามารถฟ้อง อาญา 157 แก่ กกต.ทั้ง 7 คนได้ โดยแจ้งความกล่าวโทษได้ทุกโรงพัก”
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/4830963846952980
กมธ.กฎหมายลูก ซีกฝ่ายค้าน ชง 4 ประเด็นกำหนดคุณสมบัติผู้จัดตั้งพรรค ย้ำ หลักการต้องเปิดกว้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3271050
กมธ.กฎหมายลูก ซีกฝ่ายค้าน ชง 4 ประเด็นกำหนดคุณสมบัติผู้จัดตั้งพรรค ย้ำ หลักการต้องเปิดกว้างให้ ปชช.มีส่วนร่วม
เมื่อวันที่ 4 เมษายน นาย
ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ. … กล่าวถึงการนัดประชุม กมธ.ในวันที่ 7 เมษายน เพื่อลงมติใน 2 ประเด็นในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เรื่องการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง และเรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองที่เรียกเก็บจากสมาชิกพรรคการเมือง ว่า จากการหารือของ กมธ.ซีกฝ่ายค้าน มีประเด็นที่จะสนับสนุนการลดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรค จากเดิมมีอัตรารายปี 100 บาท เป็น 20 บาท และรายปี 2,000 บาท เป็น 200 บาท อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนลงมติ คือ ข้อกำหนดว่าด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองที่เรียกเก็บจากสมาชิกพรรค ควรบัญญัติไว้ในข้อบังคับพรรคแทนการกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.ป.หรือไม่
นาย
ธีรัจชัยกล่าวต่อว่า ส่วนการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น เบื้องต้นฝ่ายค้านมีประเด็นเสนอให้พิจารณาเพิ่มเติม รวม 4 ประเด็น คือ
1. ลดจำนวนผู้ร่วมจดจัดตั้งพรรคการเมือง จากเดิมต้องใช้ 500 คน เป็น 100 คน
2. ยกเลิกทุนประเดิมพรรค ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดให้ต้องมี 1 ล้านบาท
3. ลดอายุของผู้ร่วมจัดตั้งพรรค จาก 20 ปี เป็น 18 ปี
และ 4. ผ่อนปรนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรค โดยให้ใช้ข้อห้ามตามมาตรา 96 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แทนมาตรา 98 ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ลงสมัคร ส.ส. (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (14) (16) (17) หรือ (18)
“ในประเด็นการลดจำนวนผู้ร่วมจัดตั้งพรรคและยกเลิกทุนประเดิม มีรายละเอียดที่ กมธ.เห็นต่างและมองว่าอาจจะเกินหลักการ เนื่องจากเนื้อหาของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ได้เสนอหลักการนี้ แต่ผมเห็นว่าร่างฉบับที่นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เสนอมีหลักการที่กว้างและสามารถพิจารณาครอบคลุมได้” นายธีรัจชัยกล่าว
นาย
ธีรัจชัยกล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นลดอายุผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และการผ่อนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ร่วมจัดตั้งพรรค ในหลักการ กมธ.ซีกฝ่ายค้านเห็นด้วย แต่ยังมีประเด็นที่ต้องหารือในรายละเอียด โดยเฉพาะการลดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่เสนอให้ยกมาตรา 98 ออก ทั้งนี้ มี กมธ.เห็นว่าควรคงสาระบางประเด็นไว้ เช่น ข้อห้าม ส.ว. หรือบุคคลที่เคยเป็น ส.ว. ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดไม่ถึง 2 ปี, ผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทำผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ทำผิดกฎหมายว่าด้วยการฉ้อโกงประชาชน, ยาเสพติด, การพนัน, ค้ามนุษย์, ฟอกเงิน เป็นต้น ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ประชุมต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
JJNY : 5in1 ส.โรงแรมพ้อหมดแรงไปต่อ│อดีตผู้ว่าธปท.รุมอัดรัฐ│‘สมชัย’ชี้กรณีคลิปแรมโบ้│กมธ.กม.ลูกชง4ประเด็น│หมีขาวจวกยูเครน
https://ch3plus.com/news/economy/morning/285452
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดิน โดยจะเริ่มจัดเก็บตั้งเดือน เม.ย.65 เป็นต้นไป จากก่อนหน้านี้รัฐบาลลดหย่อนการจัดเก็บ 90% โดยรัฐได้จัดเก็บเพียง 10% เพื่อช่วยลดภาระผู้เสียภาษี
แต่ปีนี้ (2565) จะเริ่มเก็บตามอัตราภาษีที่ระบุไว้ แต่ประชาชนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ ทั้งนี้ ช่วง 2 ปีที่มีการลดหย่อนภาษีที่ดินนั้น รัฐสูญรายได้ไปราว 35,000 ล้านบาท
สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเก็บเป็นอัตราขั้นบันไดของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแยกประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ที่ดินเพื่อการเกษตร มีอัตราภาษีตั้งแต่ 0.01-0.1% โดยยกเว้นภาษีให้กับที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทและใน 3 ปีแรก (ปี 63-65) กรณีเป็นที่ดินเกษตรของบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ต้องมีภาระภาษี
2. ส่วนที่ดินเพื่ออยู่อาศัย มีอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเป็นบ้านหลังหลักของคนคนนั้น มีชื่อเป็นเจ้าของและมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้นที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
3. ที่ดินประเภทอื่นๆ อาทิ ที่ดินเพื่อพาณิชย์ อุตสาหกรรม และที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควร มีอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุกๆ 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมต้องไม่เกิน 3%
ด้านนางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการเก้บภาษีที่ดิน เพราะภาคธุรกิจโรงแรมกำลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตโควิดกว่า 2 ปี
ซึ่งภาคโรงแรมจะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจอื่นๆ หากรัฐเก็บภาษีที่ดิน 100% เพราะเป็นการประเมินที่ดินและสินทรัพย์ โดยไม่ได้นำการขาดรายได้ของธุรกิจโรงแรมมาร่วมพิจารณาด้วย ทำให้ภาษีที่ดินกลายเป็นต้นทุนก้อนใหญ่ของธุรกิจโรงแรม
ทำให้โรงแรมส่วนใหญ่หมดแรงจะไปต่อ เพราะสถานการณ์ท่องเที่ยวยังไม่ปกติ จึงอยากเรียกร้องให้มีการจัดเก็บแบบขั้นบันได ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทยอยเก็บปีละ 5% 10% และอยากขอผ่อนปรนการจัดเก็บไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เพื่อประเมินสถานการร์โควิด และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว
อดีตผู้ว่า ธปท. รุมอัดรัฐ งบขาดดุล-หนี้สาธารณะพุ่ง ลั่นถ้าไม่คุมเข้ม เศรษฐกิจตกเหวแน่
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6980732
อดีตผู้ว่า ธปท. รุมอัดรัฐ งบขาดดุล-หนี้สาธารณะพุ่ง เหตุทำนโยบายประชานิยมต่อเนื่อง สร้างปัญหาฐานะการคลังระยะยาว ลั่นถ้าไม่คุมเข้ม เศรษฐกิจตกเหวแน่
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565 นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธปท.ว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงอย่างมากในเรื่องการทำนโยบายการคลังของประเทศ หากมองอย่างเป็นกลาง ภาครัฐตอนนี้อยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วง เพราะมีการทำงบประมาณแบบขาดดุลติดต่อกันมานานเหลือเกิน ขณะเดียวกันหนี้สาธารณะของประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าถึงจุดหนึ่งต้องรีบแก้ไข
ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ทำนโยบายต่างๆ ต่อเนื่องมาจนทำให้ประชาชนรู้สึกว่านโยบายประชานิยมเป็นเรื่องธรรมดา มีอะไรก็ใช้จ่ายไป ส่งผลให้ฐานะการคลังซ่อนสิ่งที่เป็นปัญหาในระยะยาวไว้เยอะมาก และหากเมื่อไรนโยบายการคลัง ไม่สามารถดูแลตัวเองให้ดีกว่านี้ ภาระในการดูแลเศรษฐกิจก็จะตกมาอยู่ที่การทำนโยบายการเงิน จึงเห็นว่าถ้าเมื่อใด ธปท.จำเป็นต้องทำนโยบายเข้มงวดที่คนอื่นไม่ชอบ ก็ต้องใจแข็งที่จะทำ เพราะถ้าไม่มีเราเป็นด่านสุดท้ายเศรษฐกิจก็ไม่รู้จะตกเหวไปอยู่ที่ไหน
“ผู้ว่า ธปท. คนปัจจุบัน บอกผมหลายเรื่อง ว่าปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้น มีต้นเหตุจากภาคเศรษฐกิจจริง และสุดท้ายก็มาโผล่ปลายเหตุว่าการเงินไม่มีเสถียรภาพ ทำให้เราต้องรับภาระอยู่คนเดียว ก็ต้องออกแรง แม้ว่าจะเสนออะไร ซึ่งส่วนมากเขาไม่ค่อยฟัง แต่ต้องพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด” นายชัยวัฒน์ กล่าว
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ผู้ว่า ธปท. เปิดเผยว่า การทำนโยบายการคลังขณะนี้ เหมือนไม่มีนโยบาย เป็นการใช้เงินไปเรื่อย ๆ ไม่เคยคิดว่าจะขาดดุลเท่าไร และขาดดุลงบประมาณควรมีน้ำหนักแค่ไหนถึงจะเพียงพอ ฉะนั้นประเทศชาติตอนนี้ ต้องเน้นเรื่องการมีนโยบายการคลังที่จริงจัง ขณะที่การทำนโยบายการเงิน ต้องเน้น กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อต่อไป แต่ต้องสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตพอสมควร เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้
“คนดำเนินนโยบายการคลัง ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ เรื่องนี้อยู่ที่ผู้นำ หรือรัฐบาล มากกว่าว่าจะคิดหรือไม่คิด อยากเห็น ธปท.เน้นเรื่องอิสระ ทำให้ที่ตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าจะสร้างความพอใจให้ผู้มีอำนาจ นักการเมือง แต่ไม่ใช่ไม่ฟังใคร”
“ธปท.ต้องฟังความหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ และประสานงานกับ กระทรวงการคลัง และ รมว.คลัง ไม่ทำตัวเหนือหรือไม่ตาม รมว.คลัง ขณะเดียวกัน ต้องดูแลธนาคารพาณิชย์เหมือนลูก ไม่ใช่ศัตรู เพราะธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่สำคัญในการช่วยดูแลเรื่องเศรษฐกิจ” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์ อดีตผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ เป็นเรื่องการบริหารจัดการ หรือธรรมาภิบาลของประเทศ เป็นเรื่องระบบยุติธรรม ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าธรรมาภิบาลไม่ดี จึงเกิดการขัดขวาง ไม่เห็นด้วย (Discourage) เช่น กรณีเมืองไทย มีคนบอกว่าขาดคนที่เก่งความรู้เทคโนโลยี ซึ่งเด็กรุ่นใหม่เก่งมาก แต่เลือกไปทำงานที่ต่างประเทศ มันเป็นเรื่องที่กว้างกว่าเศรษฐกิจจริง ไม่ใช่เรื่องนโยบายการเงินการคลัง แต่ต้องจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการคิด (Rethink) หรือปรับรูปแบบ (Reform) การบริหารราชการใหม่
‘สมชัย’ ชี้กรณีคลิปหลุดแรมโบ้ ถ้ากกต.ทำเฉย เอาผิด 175 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3271516
‘สมชัย’ ชี้กรณีคลิปหลุดแรมโบ้ ถ้า กกต.ทำเฉย เอาผิด 175 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้
เมื่อวันที่ 4 เมษยน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้โพสต์ถึงกรณีคลิปเสียง นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับการจับกุมสลากกินแบ่งรัฐบาลออนไลน์และการจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
“เรื่องแรมโบ้ ถูกผิดว่าไปตามกฎหมาย นายกว่าอย่างนั้น
1.หากใช้เงินซื้อเสียง ผิดแน่นอน ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับเลือก ไม่มีอายุความ เปิด มาตรา 138 พ.ร.ป.ส.ส. ดูได้ หาก กกต.สอบสวนแล้วเป็นจริง กกต.ต้องยื่นศาลฎีกาเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
2. หากสอบแล้วว่า มีการซื้อเสียง ยังมีโทษอาญา เท่ากับผิดมาตรา 73 (1) ของ พ.ร.ป.ส.ส. จำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
3. จะใช้ 15 ล้าน หรือ 100 ล้านเพื่อสู้ฝ่ายตรงข้ามในการเลือกตั้ง เท่ากับแจ้งบัญชีรายรับรายจ่ายหลังเลือกตั้งเป็นเท็จ ผิดมาตรา 155 วรรคสอง ผู้สมัคร หรือหากเกี่ยวข้องไปถึงหัวหน้าพรรค (ตอนนั้น คือ อุตตม) ต้องระวางโทษ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
4. เรื่องนี้ หากเป็นข่าวครึกโครม ถือเป็นความปรากฏ ที่ กกต.สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยไม่ต้องมีผู้ร้องก็ได้ ยกเว้น กกต.ประเทศนี้ไม่เคยฟังข่าว
5. ดีที่สุดกรณีนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขต 10 นครราชสีมา ควรยื่นคำร้องให้มีการสอบสวนต่อ กกต. เพื่อเป็นต้นเรื่องดำเนินการ
6. กรณี กกต.ไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณา สามารถฟ้อง อาญา 157 แก่ กกต.ทั้ง 7 คนได้ โดยแจ้งความกล่าวโทษได้ทุกโรงพัก”
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/4830963846952980
กมธ.กฎหมายลูก ซีกฝ่ายค้าน ชง 4 ประเด็นกำหนดคุณสมบัติผู้จัดตั้งพรรค ย้ำ หลักการต้องเปิดกว้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3271050
กมธ.กฎหมายลูก ซีกฝ่ายค้าน ชง 4 ประเด็นกำหนดคุณสมบัติผู้จัดตั้งพรรค ย้ำ หลักการต้องเปิดกว้างให้ ปชช.มีส่วนร่วม
เมื่อวันที่ 4 เมษายน นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ. … กล่าวถึงการนัดประชุม กมธ.ในวันที่ 7 เมษายน เพื่อลงมติใน 2 ประเด็นในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เรื่องการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง และเรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองที่เรียกเก็บจากสมาชิกพรรคการเมือง ว่า จากการหารือของ กมธ.ซีกฝ่ายค้าน มีประเด็นที่จะสนับสนุนการลดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรค จากเดิมมีอัตรารายปี 100 บาท เป็น 20 บาท และรายปี 2,000 บาท เป็น 200 บาท อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนลงมติ คือ ข้อกำหนดว่าด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองที่เรียกเก็บจากสมาชิกพรรค ควรบัญญัติไว้ในข้อบังคับพรรคแทนการกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.ป.หรือไม่
นายธีรัจชัยกล่าวต่อว่า ส่วนการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น เบื้องต้นฝ่ายค้านมีประเด็นเสนอให้พิจารณาเพิ่มเติม รวม 4 ประเด็น คือ
1. ลดจำนวนผู้ร่วมจดจัดตั้งพรรคการเมือง จากเดิมต้องใช้ 500 คน เป็น 100 คน
2. ยกเลิกทุนประเดิมพรรค ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดให้ต้องมี 1 ล้านบาท
3. ลดอายุของผู้ร่วมจัดตั้งพรรค จาก 20 ปี เป็น 18 ปี
และ 4. ผ่อนปรนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ร่วมจัดตั้งพรรค โดยให้ใช้ข้อห้ามตามมาตรา 96 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แทนมาตรา 98 ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ลงสมัคร ส.ส. (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (14) (16) (17) หรือ (18)
“ในประเด็นการลดจำนวนผู้ร่วมจัดตั้งพรรคและยกเลิกทุนประเดิม มีรายละเอียดที่ กมธ.เห็นต่างและมองว่าอาจจะเกินหลักการ เนื่องจากเนื้อหาของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ได้เสนอหลักการนี้ แต่ผมเห็นว่าร่างฉบับที่นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เสนอมีหลักการที่กว้างและสามารถพิจารณาครอบคลุมได้” นายธีรัจชัยกล่าว
นายธีรัจชัยกล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นลดอายุผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และการผ่อนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ร่วมจัดตั้งพรรค ในหลักการ กมธ.ซีกฝ่ายค้านเห็นด้วย แต่ยังมีประเด็นที่ต้องหารือในรายละเอียด โดยเฉพาะการลดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่เสนอให้ยกมาตรา 98 ออก ทั้งนี้ มี กมธ.เห็นว่าควรคงสาระบางประเด็นไว้ เช่น ข้อห้าม ส.ว. หรือบุคคลที่เคยเป็น ส.ว. ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดไม่ถึง 2 ปี, ผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทำผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ทำผิดกฎหมายว่าด้วยการฉ้อโกงประชาชน, ยาเสพติด, การพนัน, ค้ามนุษย์, ฟอกเงิน เป็นต้น ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ประชุมต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง