JJNY : เปิดเอ็มโอยู23ข้อ รบ.ก้าวไกล│สันนิบาต เชียร์ฉีกคำสั่งคสช.│เอกชนพิจิตร จี้กิตติศักดิ์│เลี้ยงปลากระชังเดือดร้อนหนัก

เปิดเอ็มโอยู 23 ข้อ รัฐบาลก้าวไกล เผย 5 ข้อแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7676410
 
 
เปิดร่างเอ็มโอยู 23 ข้อ รัฐบาลก้าวไกล ฟื้นฟูประชาธิปไตย-จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เดินหน้าเกณฑ์ทหารสมัครใจ เดินหน้าผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม
 
วันที่ 22 พ.ค.2566 รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับความคืบหน้ากรณีเอกสาร เอ็มโอยู ระหว่าง พรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งทุกพรรคจะทำความเห็นเพิ่มเติม หรือปรับแก้ไข พร้อมส่งกลับมาที่พรรคก้าวไกลเมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยจะมีการแถลงตั้งรัฐบาลและการเปิดรายละเอียดเอ็มโอยูที่ทุกพรรคร่วมลงนามกันในวันที่ 22 พ.ค. เวลา 16.30 น. ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเอ็มโอยู 23 ข้อ ทุกพรรคเห็นร่วมกันว่าภารกิจของรัฐบาลที่ทุกพรรคจะร่วมผลักตันประกอบไปด้วยวาระร่วมดังต่อไปนี้

1. ฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
 
2. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ทุกพรรคจะร่วมผลักดันการอำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองผ่านกลโกของรัฐสภา
 
3. ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ
 
4. ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ และกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย โดยยืดหลักความโปร่งใส ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน
 
5. เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นระบบสมัครใจ
 
6. ร่วมผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงทบทวนภารกิจของหน่วยงานและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง
 
7. ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในแง่ภารกิจและงบประมาณ เพื่อให้ท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต
 
8. แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโดยการสร้างระบบและวัฒนธรรมรัฐโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลรัฐในทุกหน่วยงาน
 
9. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหสื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม
 
10. ยกเครื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ตัด ลด หรือพักใช้ชั่วคราวซึ่งใบอนุมัติ อนุญาตที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคเพื่อปรับปรุงใหม่ ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่องทางด้านการเงินและสร้างแต้มต่อให้กับ SME พร้อมกับมุ่งเน้นการเติบโต GDP ของ SME สนับสนุนอุตสาหกรรม และสินค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
 
11. ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 
12. ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ ด้วยการผลักตันกฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมแก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน รวมถึงการทบทวนคดีที่เป็นผลจากนโยบายทวงคืนผืนป่า
 
13. ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
 
14. จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยเน้นใช้วิธีการจัดงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budgeting)
 
15. สร้างระบบสวัสดิการดูแลประชาชนตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและภาระทางการคลังระยะยาว
 
16. แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเร่งด่วน
 
17. นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา
 
18. ส่งเสริมเกษตรและปศุสัตว์ปลอดภัย คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งน้ำ ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อวางแผนการผลิตและรักษาผลประโยชน์กษตรกร ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
 
19. แก้ไขกฎหมายประมง ขจัดอุปสรรค เยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพประมงให้ยั่งยืน
 
20. ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม และได้รับค่แรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับคำาครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
21. ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 
22. สร้างความร่วมมือและกลไกภายในและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ์ให้เป็นศูนย์ (Net Zero) โดยเร็วที่สุด
  
23. ดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยการฟื้นฟูบทบาทผู้นำของไทยในอาเซียน และรักษาสมดุลการเมืองระหว่างประเทศของไทยกับประเทศมหาอำนาจ
 
ทุกพรรคเห็นพ้องกันว่าจะร่วมกันบริหารประเทศด้วยแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้
 
1. ทุกพรรคจะคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประชาชนทุกคน
 
2. ทุกพรรคจะทำงานโดยซื่อสัตย์สุจริต หากมีบุคคลของพรรคใดมีพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชัน ทุกพรรคจะยุติการดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น ๆ ทันที
 
3. ทุกพรรคจะทำงานโดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มากกว่าผลประโยชน์ของพรรคใดพรรคหนึ่ง
 
4. ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคการเมือง
 
5. ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของผู้แทนราษฎรที่สังกัดแต่ละพรรคการเมือง

ที่มาจากรายการ เรื่องเล่าเช้านี้
 

 
สันนิบาตจี้รัฐบาลใหม่ลุยเลือกตั้งผู้ว่าฯ เชียร์ฉีกคำสั่ง คสช. ปลดล็อกท้องถิ่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_3991380

สันนิบาตจี้รัฐบาลใหม่ลุยเลือกตั้งผู้ว่าฯ เชียร์ฉีกคำสั่ง คสช. ปลดล็อกท้องถิ่น
 
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม นายบุญโสต สมมนุษย์ นายกเทศมนตรีตำบลไชยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ในฐานะประธานสันนิบาตเทศบาล จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงกรณี พรรคก้าวไกล (ก.ก.) แกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 100 วันแรกจะผลักดันในหลายนโยบาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า เห็นด้วยหากพรรค ก.ก.เข้ามาคุมกระทรวงมหาดไทย (มท.) เพื่อกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพราะพรรค ก.ก.ชนะเลือกตั้ง มี ส.ส. 152 เสียงมากที่สุด ควรดูแลเรื่องดังกล่าวตามนโยบายที่หาเสียงไว้

นายบุญโสตกล่าวว่า ถ้าจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้แล้ว เรื่องแรกควรยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 8/2560 เพื่อปลดล็อกการบริหารงานบุคคล คืนอำนาจให้จังหวัดและผู้บริหารท้องถิ่นจัดการกันเอง ไม่ต้องไปสอบเลื่อนตำแหน่ง โยกย้ายที่ส่วนกลางอีก เนื่องจากเป็นอุปสรรคการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจบริบทการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนล่าช้าได้
 
นายบุญโสตกล่าวอีกว่า สนับสนุนการกระจายอำนาจ อาทิ การเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วประเทศ การจัดเก็บภาษีให้ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม พร้อมเสริมสร้างประสิทธิภาพท้องถิ่นให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ที่สำคัญต้องจัดสรรงบอุดหนุนแก่ท้องถิ่นอย่างเพียงพอจากเดิม 27-28% เป็น 30% ตามฐานะการเงิน การคลัง และหนี้สาธารณะประเทศ เพื่อจัดทำงบประมาณแบบสมดุลได้

นายบุญโสตกล่าวว่า นอกจากนี้ เห็นด้วยกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จ.เชียงใหม่ 89 แห่ง ที่เรียกร้องยกฐานะ อบต.เป็นเทศบาลทั้งหมด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับเทศบาล มีความเท่าเทียมและเสมอภาคกันเป็นการยกระดับบริการประชาชน ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ มีเอกภาพ เพราะใช้กฎหมายและโครงสร้างเดียวกัน ทำให้การบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปทิศทางเดียวกันได้



ภาคเอกชนพิจิตร จี้ สว.กิตติศักดิ์ ฟังเสียงประชาชน ขออย่าอคติ บ้านเมืองเดินต่อไม่ไหว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7676318

ภาคเอกชนพิจิตร จี้ สว.กิตติศักดิ์ ต้องรับฟังเสียงประชาชน อยากให้ พิธา เป็นนายกฯ ชี้ลองให้บริหารประเทศก่อน เผื่ออะไรจะดีขึ้น แนะอย่าอคติ บ้านเมืองเดินต่อไม่ไหว
 
วันที่ 22 พ.ค.2566 นายตระการ คุณาวุฒิ อดีตรองประธานหอการค้าจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงกรณี นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เตรียมจัดตั้งรัฐบาลด้วย 313 เสียงแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะต้องมีเสียง ส.ส. สนับสนุนให้ถึง 376 เสียง ปรากฏว่า นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สว. ออกมาประกาศจุดยืนว่า จะไม่โหวตให้นายพิธา เนื่องจาก ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112
 
นายตระการ กล่าวว่า ในฐานะคนพิจิตร ตนอยากให้ นายกิตติศักดิ์ คำนึงถึงเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ ที่เขาเลือกพรรคก้าวไกลด้วยคะแนนบริสุทธิ์ เพื่ออยากให้เป็นนายก คนที่ 30 เพราะว่าประชาชนเลือกกันมาแล้ว มีอะไร ที่ยังไม่เข้าใจ ควรพูดจากัน
 
นายตระการ กล่าวอีกว่า พรรครัฐบาลเตรียมทำเอ็มโอยู โดยไม่มีประเด็นมาตรา 112 ดังนั้น นายกิตติศักดิ์ หมดเงื่อนไข ที่จะออกมาไม่ยกมือให้ ดังนั้นอยาก ให้นายกิตติศักดิ์ ทำความเข้าใจเสียงประชามติประชาชนด้วย จะผิดจะถูกอย่างไร มีเวลา 4 ปี เผื่ออะไรจะดีขึ้น ถ้าทำอะไรไม่ดีตนเองมองว่าประชาชน เขาต้องตรวจสอบอยู่แล้ว ดังนั้นอย่าไปอคติ จะทำให้บ้านเมืองเดินต่อไม่ไหว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่