ยอดดับนิวไฮ โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 96 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 28,029 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/covid19-alert/news_3266861
ยอดดับนิวไฮ โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 96 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 28,029 ราย
เมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด ประจำวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565 รวม 28,029 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 27,993 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 36 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,461,320 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ติดเชื้อ ATK 14,229 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 23,352 ราย หายป่วยสะสม 1,235,148 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 255,795 ราย เสียชีวิต 96 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,827 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 24 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.9
เงินเฟ้อโจทย์ใหม่เศรษฐกิจไทย ทุบกำลังซื้อ-บั่นทอนจีดีพีโตต่ำศักยภาพ
https://www.prachachat.net/finance/news-901318
อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น กลายเป็นปัญหาสำคัญของโลก เพราะประเทศเศรษฐกิจหลักต่างต้องเผชิญความท้าทายนี้ โดยเฉพาะปัจจัยการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เข้ามาซ้ำเติม โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ขณะที่ล่าสุด ตัวเลขเงินเฟ้อเยอรมนีและสเปนก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลถึงแนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจโลก
ครัวเรือนอ่วมเงินเฟ้อดันราคาสินค้า
สำหรับประเทศไทยล่าสุด “วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล” ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 2565 อยู่ที่ 5.28% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.8% อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี
ขณะที่ “ดร.ยรรยง ไทยเจริญ” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เงินเฟ้อของไทยที่สูงขึ้นได้ส่งผลต่อราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นอีก 260 รายการ จากเดิมปรับขึ้นแล้ว 430 รายการ ซึ่งจะกระทบต่อการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ EIC คาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีน่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.9%
แห่หั่นเป้าจีดีพีรับ “สงคราม-เงินเฟ้อ”
“วชิรวัฒน์ บานชื่น” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า EIC ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปี 2565 ลงเหลือ 2.7% จากเดิมคาดที่ 3.2% จากกำลังซื้อของครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงขึ้น
ขณะที่ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ผลกำไร (profit margin) ลดลง และอาจชะลอการลงทุนจากเดิม
“แม้ EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยทั้งปี มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 4.9% แต่เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ปัจจัยด้านอุปสงค์ยังไม่เร่งตัวมากนัก แม้อาจมีการทยอยส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมายังผู้บริโภคบ้างบางส่วน นอกจากนี้ EIC คาดว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงและเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ได้ในปีหน้า”
ด้านศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวที่ 3.0% ซึ่งเป็นทิศทางฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ช้าลงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม รวมถึงมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
หากสถานการณ์ความขัดแย้งในยุโรปยืดเยื้อบานปลายและเกิดการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานในตลาดโลกและตลาดในประเทศทรงตัวระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ กิจกรรมภาคธุรกิจไทยก็อาจลดลงมากกว่าที่คาดจากสาเหตุการปรับต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับการจ้างงานในอนาคต
ฟากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทบทวนประมาณการจีดีพีใหม่ มาอยู่ที่ 2.5% จากเดิมคาดว่า ปีนี้จีดีพีจะขยายตัว 3.7%กนง.คงดอกเบี้ยประคองเศรษฐกิจ
“
ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ได้มีการปรับลดประมาณการจีดีพีปี 2565 และปี 2566 ลงเหลือ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ
เงินเฟ้อหลุดกรอบ ธปท.เร่งชี้แจงคลัง
โดย ธปท.คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ 4.9% ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล และปีหน้าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.7% บนสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบที่ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ ในปีนี้เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5% ในไตรมาส 2 และ 3 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก
“ธปท.มองว่า เงินเฟ้อจะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ในปีหน้า แต่ในระยะสั้นจะหลุดกรอบ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของ ธปท. ในการดูแลที่จะทำให้อยู่ในกรอบระยะปานกลาง”
ทั้งนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศ ต่างก็ต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกัน คือ เงินเฟ้อปีนี้จะเพิ่มขึ้นสูง แล้วปีหน้าจะลดลงมากกว่าครึ่ง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากฐานที่สูง และราคาพลังงานและอาหารเร่งขึ้นในปีนี้
“ธปท.อยู่ระหว่างการทำหนังสือเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังเพื่อชี้แจงกรณีอัตราเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายระยะปานกลางที่ ธปท.เซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับกระทรวงการคลังไว้”
ยัน ศก.ไทยไม่ใช่ “Stagflation”
“ปิติ” กล่าวด้วยว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้ไม่เข้าข่าย “stagflation” แม้ว่าแรงกระแทกของการช็อกจากราคาพลังงาน อาจทำให้เศรษฐกิจสะดุดเล็กน้อย เพราะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จีดีพีไทยปีนี้จะยังขยายตัวได้ในระดับ 3.2% และปีหน้า 4.4% เป็นการเติบโตเพิ่มขึ้น และเร็วกว่าระดับศักยภาพที่อยู่ที่ 3%
ขุนคลังยันดูแลผลกระทบระยะสั้น
นาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า หากเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมายแค่ระยะสั้น โดยทั้งปีเฉลี่ยไม่ถึง 3% ก็ไม่จำเป็นต้องปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ โดยสิ่งที่จะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นไม่สูงเกินไป คือ มาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน
แต่หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปอีกถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทุกประเทศก็จะเจอปัญหาเดียวกัน ซึ่งหากสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นอาจจะต้องขอให้ประชาชนช่วยแบ่งเบาภาระราคาค่าน้ำมันคนละครึ่งหนึ่งกับรัฐบาล
นอกจากนี้ การช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพทั้งเรื่องราคาค่าก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า รวมถึงช่วยค่าน้ำมันเบนซินกลุ่มคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะช่วยให้ราคาสินค้าที่สูงขึ้นในปัจจุบันทุเลาลง
“พิพัฒน์” เตือนระวัง “เงินเฟ้อค้างนาน”
ด้าน “
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของไทย คือ เงินเฟ้อมาจากฝั่งต้นทุน ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยก็คงไม่ช่วยอะไร แต่ความเสี่ยงก็คือ หากไม่ทำอะไรเลย ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะค้างในระดับสูงนาน
และจะยิ่งทำให้มีผลกระทบรอบสองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ จากผลกระทบรอบแรกที่มาจากราคาน้ำมัน ก็จะไปกระทบพวกราคาสินค้า ราคาอาหาร และอาจจะเลยไปถึงการเรียกร้องปรับค่าแรง
ทั้งนี้ ตนก็เห็นด้วยว่ายังไม่ควรรีบขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้ เพราะเศรษฐกิจยังไม่พร้อมรับมือ แต่ก็ต้องระวัง เพราะสุดท้าย หากไม่ทำอะไรเลย เงินเฟ้อจะค้างนาน ซึ่งสถานการณ์แบบนี้จัดการยากมาก เพราะไม่ได้มาจากการที่เศรษฐกิจร้อนแรง
“ถ้าผลกระทบรอบสองมากขึ้นเรื่อย ๆ จะยิ่งน่ากังวล ซึ่งธนาคารกลางทุกประเทศก็กังวลตรงนี้ ว่าจะจัดการเงินเฟ้อก่อนที่การคาดการณ์เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะมีบทเรียนจากกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปีที่แล้วมองว่าไม่ต้องทำอะไร เนื่องจากมองเงินเฟ้อแค่ชั่วคราว
แต่มาปีนี้เงินเฟ้อพุ่งมากกว่าที่คาด ดังนั้น ธปท.ก็ต้องบริหารความเสี่ยงตรงนี้ด้วย ต้องมี scenario ว่าถ้าเงินเฟ้อไม่ลงจะทำอย่างไร ต้องติดตามดูสถานการณ์ หากการคาดการณ์เงินเฟ้อเริ่มสูง ก็ต้องส่งสัญญาณแรง ๆ เพราะหากปล่อยไว้จะยิ่งจัดการยาก”
หวั่นเศรษฐกิจไทยโตต่ำศักยภาพยาวนาน
สำหรับผลกระทบเงินเฟ้อต่อจีดีพีนั้น ดร.
พิพัฒน์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยถือว่ามีฐานต่ำค่อนข้างมาก เพราะเมื่อ 2 ปีก่อนติดลบไป 6% มาปีที่แล้วกลับมาโตแค่ 1.5% ซึ่งปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่เข้ามา ทำให้มีความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะโตต่ำกว่าศักยภาพไปเป็นเวลานาน ๆ ได้
คงต้องติดตามกันว่า หากสถานการณ์เงินเฟ้อไม่ใช่ผลกระทบแค่สั้น ๆ ทาง ธปท.จะปรับแผนรับมืออย่างไรต่อไป
“ชัชชาติ” ลุยหาเสียง 5 ตลาดยกเป็นหัวใจสำคัญศก.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_316496/
“ชัชชาติ” ลุยหาเสียง 5 ตลาด สำรวจสภาพเศรษฐกิจการค้า ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง ยกเป็นหัวใจของชุมชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภารกิจหาเสียงของ นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 8 วันนี้ ลงพื้นที่ ลงพื้นหาเสียง 5 ตลาด คือ ตลาดประชานิเวศน์ ตลาด อ.ต.ก. ตลาดนัดจตุจักร ตลาดเจเจมอลล์ และ FLEA MARKET สวนหลวงสแควร์ เพื่อสำรวจสภาพเศรษฐกิจการค้า ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง การปรับตัวของผู้ค้าในวิกฤตโควิด รวมถึงโอกาสพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์และการฟื้นฟูตลาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ กทม. อีกครั้ง
โดยนาย
ชัชชาติ ระบุว่า ตลาดเป็นหัวใจของชุมชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตลาดประชานิเวศน์เป็นตลาดของ กทม. มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมา กทม. มีโครงการจะปรับปรุง งบอยู่ที่ 800 กว่าล้านบาท ซึ่งการลงพื้นที่ตลาด เพื่อรับฟังปัญหา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจมาอันดันดับ 1 รองลงมา ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาด้านการจราจร เช่น การเดินทางเชื่อมรถไฟฟ้า ระบบนถเมล์ โดย กทม.จะพัฒนาอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์ หากสามารถทำได้ จะทำให้พ่อค้าแม่ค้า ได้พื้นที่ขายในราคาที่ไม่แพง เปิดโอกาสให้พ่อค้า แม่ค้ารายย่อย ดังนั้น การเป็นผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่แค่ลอกท่อ แต่ต้องแก้ปัญหาปากท้องด้วย กระตุ้นเศรษฐกิจ ให้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งกทม. มีหลายเรื่องที่ทำได้
ส่วนจะเป็นข้อได้เปรียบหรือไม่ ที่ลงพื้นที่หาเสียงมานานกว่าผู้สมัครคนอื่น นาย
ชัชชาติ มองว่า มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ เพราะการลงสมัครแบบอิสระ ไม่ได้สังกัดพรรค ก็ไม่มีหัวคะแนนหรือฐานเสียงในพื้นที่ ซึ่งการลงพื้นที่ก็เป็นอาสาสมัคร มือใหม่ที่มาช่วย พร้อมเปิดเผยด้วยว่า วันนี้รู้สึก มีความสุข บรรยากาศอบอุ่น เป็นมิตร มีการทักทายให้กำลังใจ หลายคนบอกไม่เคยเจอตัวจริง ก็ทำให้มีกำลังใจ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการลงพื้นที่ทำให้มีประสบการณ์และมองเห็นปัญหามากขึ้นนั้น จึงเป็นที่มาของการกำหนด 200 นโยบาย ที่สามารถขับเคลื่อนได้ตั้งแต่วันแรก หลังได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยจะทำงานร่วมกับข้าราชการลูกจ้างกว่า 8 หมื่นคน 16 สำนัก 50 เขต พร้อมย้ำหากมีแผนพร้อม ก็เดินหน้าไปด้วยกันในการ บริการประชาชน ที่จะทำให้ชีวิตคน กทม. เปลี่ยนได้ เชื่อว่า ทำแล้วเห็นผล ไม่ต้องมาเสียเวลารับฟังปัญหา
JJNY : ดับนิวไฮ96 ติดเชื้อ28,029│เงินเฟ้อโจทย์ใหม่ศก.ไทย│“ชัชชาติ” ลุยหาเสียง 5 ตลาด│มาแล้ว โอมิครอนลูกผสมน้องใหม่ XE
https://www.matichon.co.th/covid19/covid19-alert/news_3266861
ยอดดับนิวไฮ โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 96 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 28,029 ราย
เมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด ประจำวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565 รวม 28,029 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 27,993 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 36 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,461,320 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ติดเชื้อ ATK 14,229 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 23,352 ราย หายป่วยสะสม 1,235,148 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 255,795 ราย เสียชีวิต 96 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,827 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 24 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.9
เงินเฟ้อโจทย์ใหม่เศรษฐกิจไทย ทุบกำลังซื้อ-บั่นทอนจีดีพีโตต่ำศักยภาพ
https://www.prachachat.net/finance/news-901318
อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น กลายเป็นปัญหาสำคัญของโลก เพราะประเทศเศรษฐกิจหลักต่างต้องเผชิญความท้าทายนี้ โดยเฉพาะปัจจัยการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เข้ามาซ้ำเติม โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ขณะที่ล่าสุด ตัวเลขเงินเฟ้อเยอรมนีและสเปนก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลถึงแนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจโลก
ครัวเรือนอ่วมเงินเฟ้อดันราคาสินค้า
สำหรับประเทศไทยล่าสุด “วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล” ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 2565 อยู่ที่ 5.28% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.8% อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี
ขณะที่ “ดร.ยรรยง ไทยเจริญ” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เงินเฟ้อของไทยที่สูงขึ้นได้ส่งผลต่อราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นอีก 260 รายการ จากเดิมปรับขึ้นแล้ว 430 รายการ ซึ่งจะกระทบต่อการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ EIC คาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีน่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.9%
แห่หั่นเป้าจีดีพีรับ “สงคราม-เงินเฟ้อ”
“วชิรวัฒน์ บานชื่น” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า EIC ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปี 2565 ลงเหลือ 2.7% จากเดิมคาดที่ 3.2% จากกำลังซื้อของครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงขึ้น
ขณะที่ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ผลกำไร (profit margin) ลดลง และอาจชะลอการลงทุนจากเดิม
“แม้ EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยทั้งปี มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 4.9% แต่เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ปัจจัยด้านอุปสงค์ยังไม่เร่งตัวมากนัก แม้อาจมีการทยอยส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมายังผู้บริโภคบ้างบางส่วน นอกจากนี้ EIC คาดว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงและเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ได้ในปีหน้า”
ด้านศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวที่ 3.0% ซึ่งเป็นทิศทางฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ช้าลงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม รวมถึงมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
หากสถานการณ์ความขัดแย้งในยุโรปยืดเยื้อบานปลายและเกิดการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานในตลาดโลกและตลาดในประเทศทรงตัวระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ กิจกรรมภาคธุรกิจไทยก็อาจลดลงมากกว่าที่คาดจากสาเหตุการปรับต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับการจ้างงานในอนาคต
ฟากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทบทวนประมาณการจีดีพีใหม่ มาอยู่ที่ 2.5% จากเดิมคาดว่า ปีนี้จีดีพีจะขยายตัว 3.7%กนง.คงดอกเบี้ยประคองเศรษฐกิจ
“ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ได้มีการปรับลดประมาณการจีดีพีปี 2565 และปี 2566 ลงเหลือ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ
เงินเฟ้อหลุดกรอบ ธปท.เร่งชี้แจงคลัง
โดย ธปท.คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ 4.9% ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล และปีหน้าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.7% บนสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบที่ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ ในปีนี้เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5% ในไตรมาส 2 และ 3 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก
“ธปท.มองว่า เงินเฟ้อจะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ในปีหน้า แต่ในระยะสั้นจะหลุดกรอบ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของ ธปท. ในการดูแลที่จะทำให้อยู่ในกรอบระยะปานกลาง”
ทั้งนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศ ต่างก็ต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกัน คือ เงินเฟ้อปีนี้จะเพิ่มขึ้นสูง แล้วปีหน้าจะลดลงมากกว่าครึ่ง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากฐานที่สูง และราคาพลังงานและอาหารเร่งขึ้นในปีนี้
“ธปท.อยู่ระหว่างการทำหนังสือเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังเพื่อชี้แจงกรณีอัตราเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายระยะปานกลางที่ ธปท.เซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับกระทรวงการคลังไว้”
ยัน ศก.ไทยไม่ใช่ “Stagflation”
“ปิติ” กล่าวด้วยว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้ไม่เข้าข่าย “stagflation” แม้ว่าแรงกระแทกของการช็อกจากราคาพลังงาน อาจทำให้เศรษฐกิจสะดุดเล็กน้อย เพราะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จีดีพีไทยปีนี้จะยังขยายตัวได้ในระดับ 3.2% และปีหน้า 4.4% เป็นการเติบโตเพิ่มขึ้น และเร็วกว่าระดับศักยภาพที่อยู่ที่ 3%
ขุนคลังยันดูแลผลกระทบระยะสั้น
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า หากเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมายแค่ระยะสั้น โดยทั้งปีเฉลี่ยไม่ถึง 3% ก็ไม่จำเป็นต้องปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ โดยสิ่งที่จะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นไม่สูงเกินไป คือ มาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน
แต่หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปอีกถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทุกประเทศก็จะเจอปัญหาเดียวกัน ซึ่งหากสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นอาจจะต้องขอให้ประชาชนช่วยแบ่งเบาภาระราคาค่าน้ำมันคนละครึ่งหนึ่งกับรัฐบาล
นอกจากนี้ การช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพทั้งเรื่องราคาค่าก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า รวมถึงช่วยค่าน้ำมันเบนซินกลุ่มคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะช่วยให้ราคาสินค้าที่สูงขึ้นในปัจจุบันทุเลาลง
“พิพัฒน์” เตือนระวัง “เงินเฟ้อค้างนาน”
ด้าน “ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของไทย คือ เงินเฟ้อมาจากฝั่งต้นทุน ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยก็คงไม่ช่วยอะไร แต่ความเสี่ยงก็คือ หากไม่ทำอะไรเลย ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะค้างในระดับสูงนาน
และจะยิ่งทำให้มีผลกระทบรอบสองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ จากผลกระทบรอบแรกที่มาจากราคาน้ำมัน ก็จะไปกระทบพวกราคาสินค้า ราคาอาหาร และอาจจะเลยไปถึงการเรียกร้องปรับค่าแรง
ทั้งนี้ ตนก็เห็นด้วยว่ายังไม่ควรรีบขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้ เพราะเศรษฐกิจยังไม่พร้อมรับมือ แต่ก็ต้องระวัง เพราะสุดท้าย หากไม่ทำอะไรเลย เงินเฟ้อจะค้างนาน ซึ่งสถานการณ์แบบนี้จัดการยากมาก เพราะไม่ได้มาจากการที่เศรษฐกิจร้อนแรง
“ถ้าผลกระทบรอบสองมากขึ้นเรื่อย ๆ จะยิ่งน่ากังวล ซึ่งธนาคารกลางทุกประเทศก็กังวลตรงนี้ ว่าจะจัดการเงินเฟ้อก่อนที่การคาดการณ์เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะมีบทเรียนจากกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปีที่แล้วมองว่าไม่ต้องทำอะไร เนื่องจากมองเงินเฟ้อแค่ชั่วคราว
แต่มาปีนี้เงินเฟ้อพุ่งมากกว่าที่คาด ดังนั้น ธปท.ก็ต้องบริหารความเสี่ยงตรงนี้ด้วย ต้องมี scenario ว่าถ้าเงินเฟ้อไม่ลงจะทำอย่างไร ต้องติดตามดูสถานการณ์ หากการคาดการณ์เงินเฟ้อเริ่มสูง ก็ต้องส่งสัญญาณแรง ๆ เพราะหากปล่อยไว้จะยิ่งจัดการยาก”
หวั่นเศรษฐกิจไทยโตต่ำศักยภาพยาวนาน
สำหรับผลกระทบเงินเฟ้อต่อจีดีพีนั้น ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยถือว่ามีฐานต่ำค่อนข้างมาก เพราะเมื่อ 2 ปีก่อนติดลบไป 6% มาปีที่แล้วกลับมาโตแค่ 1.5% ซึ่งปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่เข้ามา ทำให้มีความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะโตต่ำกว่าศักยภาพไปเป็นเวลานาน ๆ ได้
คงต้องติดตามกันว่า หากสถานการณ์เงินเฟ้อไม่ใช่ผลกระทบแค่สั้น ๆ ทาง ธปท.จะปรับแผนรับมืออย่างไรต่อไป
“ชัชชาติ” ลุยหาเสียง 5 ตลาดยกเป็นหัวใจสำคัญศก.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_316496/
“ชัชชาติ” ลุยหาเสียง 5 ตลาด สำรวจสภาพเศรษฐกิจการค้า ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง ยกเป็นหัวใจของชุมชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภารกิจหาเสียงของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 8 วันนี้ ลงพื้นที่ ลงพื้นหาเสียง 5 ตลาด คือ ตลาดประชานิเวศน์ ตลาด อ.ต.ก. ตลาดนัดจตุจักร ตลาดเจเจมอลล์ และ FLEA MARKET สวนหลวงสแควร์ เพื่อสำรวจสภาพเศรษฐกิจการค้า ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง การปรับตัวของผู้ค้าในวิกฤตโควิด รวมถึงโอกาสพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์และการฟื้นฟูตลาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ กทม. อีกครั้ง
โดยนายชัชชาติ ระบุว่า ตลาดเป็นหัวใจของชุมชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตลาดประชานิเวศน์เป็นตลาดของ กทม. มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมา กทม. มีโครงการจะปรับปรุง งบอยู่ที่ 800 กว่าล้านบาท ซึ่งการลงพื้นที่ตลาด เพื่อรับฟังปัญหา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจมาอันดันดับ 1 รองลงมา ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาด้านการจราจร เช่น การเดินทางเชื่อมรถไฟฟ้า ระบบนถเมล์ โดย กทม.จะพัฒนาอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์ หากสามารถทำได้ จะทำให้พ่อค้าแม่ค้า ได้พื้นที่ขายในราคาที่ไม่แพง เปิดโอกาสให้พ่อค้า แม่ค้ารายย่อย ดังนั้น การเป็นผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่แค่ลอกท่อ แต่ต้องแก้ปัญหาปากท้องด้วย กระตุ้นเศรษฐกิจ ให้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งกทม. มีหลายเรื่องที่ทำได้
ส่วนจะเป็นข้อได้เปรียบหรือไม่ ที่ลงพื้นที่หาเสียงมานานกว่าผู้สมัครคนอื่น นายชัชชาติ มองว่า มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ เพราะการลงสมัครแบบอิสระ ไม่ได้สังกัดพรรค ก็ไม่มีหัวคะแนนหรือฐานเสียงในพื้นที่ ซึ่งการลงพื้นที่ก็เป็นอาสาสมัคร มือใหม่ที่มาช่วย พร้อมเปิดเผยด้วยว่า วันนี้รู้สึก มีความสุข บรรยากาศอบอุ่น เป็นมิตร มีการทักทายให้กำลังใจ หลายคนบอกไม่เคยเจอตัวจริง ก็ทำให้มีกำลังใจ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการลงพื้นที่ทำให้มีประสบการณ์และมองเห็นปัญหามากขึ้นนั้น จึงเป็นที่มาของการกำหนด 200 นโยบาย ที่สามารถขับเคลื่อนได้ตั้งแต่วันแรก หลังได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยจะทำงานร่วมกับข้าราชการลูกจ้างกว่า 8 หมื่นคน 16 สำนัก 50 เขต พร้อมย้ำหากมีแผนพร้อม ก็เดินหน้าไปด้วยกันในการ บริการประชาชน ที่จะทำให้ชีวิตคน กทม. เปลี่ยนได้ เชื่อว่า ทำแล้วเห็นผล ไม่ต้องมาเสียเวลารับฟังปัญหา