'หมอธีระ' เปิดตัวเลขผู้ติดเชื้อ-ตาย ระลอกแรก-ปัจจุบัน ชี้ผลลัพธ์การจัดการต่างกันสิ้นเชิง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3269601
‘หมอธีระ’ เปิดตัวเลขผู้ติดเชื้อ-ตาย ระลอกแรก-ปัจจุบัน ชี้ผลลัพธ์การจัดการแตกต่างกันสิ้นเชิง
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดในขณะนี้ว่า
ดูภาพรวมตั้งแต่เริ่มระบาดปี พ.ศ.2563 จนถึงวันนี้ ยอดติดเชื้อที่รายงานทางการ 3,711,595 คน แต่หากรวมข้อมูล ATK ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา อีก 1,517,131 คน จะมียอดรวมทั้งสิ้น 5,228,726 คน จำนวนเสียชีวิตจากรายงานทางการรวม 25,415 คน
แต่…หากเอาผลลัพธ์ตั้งแต่ระลอกสาม ตั้งแต่เมษายน 2564 เป็นต้นมา พบว่าทำให้เกิดการติดเชื้อไปแล้ว 3,682,732 คน ถ้ารวมยอด ATK ด้วย จะติดเชื้อไปทั้งสิ้น 5,199,863 คน เสียชีวิตรวม 25,321 คน
เทียบผลลัพธ์กับการจัดการในปีแรกแล้ว แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224117908807955
เทศกาลสงกรานต์ เช็งเม้ง ดันราคาสินค้า หมู กุ้ง โค พุ่งขึ้นต่อ
https://www.dailynews.co.th/news/920758/
เทศกาลสงกรานต์ เช็งเม้ง ดันความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น เดือน เม.ย. ราคาหมู กุ้ง โคพุ่งต่อ ชี้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มต่อเนื่อง
นาย
สมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรเดือน เม.ย.65 มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้นหลายชนิดกุ้งขาวแวนนาไม 169.64-171.93 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.58-2.95% เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ทำให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย และบริโภคกุ้งสูงขึ้น เช่นเดียวกับมีการส่งออกเพิ่ม
ขณะที่สุกรหน้าฟาร์มราคา 88.79-91.19 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 1.13-3.87% โคเนื้อ 100-110 บาทต่อ กก. พุ่งขึ้น 0.54-10.60% เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มจากการท่องเที่ยวเทศกาลสงกรานต์และเช็งเม้ง ประกอบกับต้นทุนค่าอาหารสัตว์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้าวหอมมะลิ ข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพาราที่มีแนวโน้มเพิ่ม
ด้านรายงานข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยราคา สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ประจำวันพระที่ 1 เม.ย.65 มีการปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนทั่วทุกภาค โดยจำหน่าย กก.ละ 88-91 บาท เป็น 92-96 บาท หรือขึ้นราคาตั้งแต่ กก.ละ 2-5 บาทตามแต่ละภูมิภาค เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์
เกษตรกรเศร้าฝนหลงฤดูถล่มน้ำท่วมไร่"มันนา"เสียหายหลายพื้นที่
https://www.posttoday.com/social/local/679769
สุรินทร์-ชาวนาที่หันมาปลูกมันสำปะหลังหลังฤดูเก็บเกี่ยวช้ำหนัก ฝนหลงฤดูถล่มน้ำท่วมมันนาจนรากเน่าเดือดร้อนหลายพื้นที่เสียหายหนัก
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. จากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน พบว่าในพื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรนิยมหันมาปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “มันนา” เพื่อเป็นรายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ส่งผลน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกไว้เน่าเสียหายรวมแล้วหลายร้อยไร่ เกษตรบางรายเสียหายบางส่วนแต่มีบางรายเสียหายทั้งหมด
สำหรับ พื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ถือเป็นพื้นที่มีการทำการเกษตรอย่างหลากหลาย มีทั้ง อ้อย นาข้าว มันสำปะหลัง สวนยางพารา สวนปาล์ม ฯลฯ แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาอย่างเดียว หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวก็จะหันมาปลูกมันสำปะหลังต่อ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา มันสำปะหลังมีราคาดี สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ทำให้ปีนี้มีเกษตรกรหันมาลงทุนปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นามากขึ้น โดยปกติมันสำปะหลังที่ปลูกในนาข้าวก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณเดือนพ.ค. แต่ปีนี้สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้มีฝนตกลงมาก่อนฤดูกาล ทำให้หัวมันมันสำปะหลังที่กำลังเติบโตในพื้นดิน เน่าเสียหายเป็นจำนวนมาก คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังได้รับผลกระทบในหลายพี้นที่ด้วยเช่นกัน
นาย
ชำ สมานมิตร อายุ 62 ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ 30 ม.6 ต.โคกกลาง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากเห็นสภาพมันที่ถูกน้ำท่วมหนักจนเน่าเสียหายรู้สึกเสียดายทำใจไม่ได้เลย ตนเองปลูกเต็มพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่ทุกๆปีก็จะได้ผลผลิตประมาณ 20 กว่าตัน ขายได้ตันละประมาณ 2,000 บาท แต่เท่าที่ดูปีนี้มันสำปะหลังน่าจะเสียหายมากกว่าครึ่ง หากฝนยังตกลงมาอีกก็คงต้องทำใจและน่าจะเสียหายทั้งหมด เงินที่ลงทุนไปคงเป็นสูญ
JJNY : 4in1 หมอธีระเปิดตัวเลขชี้ผลลัพธ์│สงกรานต์ เช็งเม้งดันราคาสินค้าพุ่งต่อ│น้ำท่วมไร่"มันนา"เสียหาย│เยอรมนีจวกรัสเซีย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3269601
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดในขณะนี้ว่า
ดูภาพรวมตั้งแต่เริ่มระบาดปี พ.ศ.2563 จนถึงวันนี้ ยอดติดเชื้อที่รายงานทางการ 3,711,595 คน แต่หากรวมข้อมูล ATK ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา อีก 1,517,131 คน จะมียอดรวมทั้งสิ้น 5,228,726 คน จำนวนเสียชีวิตจากรายงานทางการรวม 25,415 คน
แต่…หากเอาผลลัพธ์ตั้งแต่ระลอกสาม ตั้งแต่เมษายน 2564 เป็นต้นมา พบว่าทำให้เกิดการติดเชื้อไปแล้ว 3,682,732 คน ถ้ารวมยอด ATK ด้วย จะติดเชื้อไปทั้งสิ้น 5,199,863 คน เสียชีวิตรวม 25,321 คน
เทียบผลลัพธ์กับการจัดการในปีแรกแล้ว แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224117908807955
เทศกาลสงกรานต์ เช็งเม้ง ดันราคาสินค้า หมู กุ้ง โค พุ่งขึ้นต่อ
https://www.dailynews.co.th/news/920758/
เทศกาลสงกรานต์ เช็งเม้ง ดันความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น เดือน เม.ย. ราคาหมู กุ้ง โคพุ่งต่อ ชี้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มต่อเนื่อง
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรเดือน เม.ย.65 มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้นหลายชนิดกุ้งขาวแวนนาไม 169.64-171.93 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.58-2.95% เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ทำให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย และบริโภคกุ้งสูงขึ้น เช่นเดียวกับมีการส่งออกเพิ่ม
ขณะที่สุกรหน้าฟาร์มราคา 88.79-91.19 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 1.13-3.87% โคเนื้อ 100-110 บาทต่อ กก. พุ่งขึ้น 0.54-10.60% เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มจากการท่องเที่ยวเทศกาลสงกรานต์และเช็งเม้ง ประกอบกับต้นทุนค่าอาหารสัตว์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้าวหอมมะลิ ข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพาราที่มีแนวโน้มเพิ่ม
ด้านรายงานข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยราคา สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ประจำวันพระที่ 1 เม.ย.65 มีการปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนทั่วทุกภาค โดยจำหน่าย กก.ละ 88-91 บาท เป็น 92-96 บาท หรือขึ้นราคาตั้งแต่ กก.ละ 2-5 บาทตามแต่ละภูมิภาค เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์
เกษตรกรเศร้าฝนหลงฤดูถล่มน้ำท่วมไร่"มันนา"เสียหายหลายพื้นที่
https://www.posttoday.com/social/local/679769
สุรินทร์-ชาวนาที่หันมาปลูกมันสำปะหลังหลังฤดูเก็บเกี่ยวช้ำหนัก ฝนหลงฤดูถล่มน้ำท่วมมันนาจนรากเน่าเดือดร้อนหลายพื้นที่เสียหายหนัก
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. จากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน พบว่าในพื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรนิยมหันมาปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “มันนา” เพื่อเป็นรายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ส่งผลน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกไว้เน่าเสียหายรวมแล้วหลายร้อยไร่ เกษตรบางรายเสียหายบางส่วนแต่มีบางรายเสียหายทั้งหมด
สำหรับ พื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ถือเป็นพื้นที่มีการทำการเกษตรอย่างหลากหลาย มีทั้ง อ้อย นาข้าว มันสำปะหลัง สวนยางพารา สวนปาล์ม ฯลฯ แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาอย่างเดียว หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวก็จะหันมาปลูกมันสำปะหลังต่อ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา มันสำปะหลังมีราคาดี สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ทำให้ปีนี้มีเกษตรกรหันมาลงทุนปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นามากขึ้น โดยปกติมันสำปะหลังที่ปลูกในนาข้าวก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณเดือนพ.ค. แต่ปีนี้สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้มีฝนตกลงมาก่อนฤดูกาล ทำให้หัวมันมันสำปะหลังที่กำลังเติบโตในพื้นดิน เน่าเสียหายเป็นจำนวนมาก คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังได้รับผลกระทบในหลายพี้นที่ด้วยเช่นกัน
นายชำ สมานมิตร อายุ 62 ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ 30 ม.6 ต.โคกกลาง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากเห็นสภาพมันที่ถูกน้ำท่วมหนักจนเน่าเสียหายรู้สึกเสียดายทำใจไม่ได้เลย ตนเองปลูกเต็มพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่ทุกๆปีก็จะได้ผลผลิตประมาณ 20 กว่าตัน ขายได้ตันละประมาณ 2,000 บาท แต่เท่าที่ดูปีนี้มันสำปะหลังน่าจะเสียหายมากกว่าครึ่ง หากฝนยังตกลงมาอีกก็คงต้องทำใจและน่าจะเสียหายทั้งหมด เงินที่ลงทุนไปคงเป็นสูญ