ชาวสวนแปดริ้วโอด มะม่วงราคาตกต่ำหนัก สวนทางราคาปุ๋ยพุ่ง 200%
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/284599
ปัญหาปุ๋ยแพง และเสี่ยงขาดตลาด ล่าสุด กรมการค้าภายใน เตรียมหารือกับผู้ประกอบการปุ๋ย ในสัปดาห์นี้
นาย
วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ จะหารือร่วมกับผู้ประกอบการปุ๋ย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ถึงแนวทางในการนำเข้าปุ๋ย ให้ทันกับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการอนุญาตให้ขึ้นราคาขายปุ๋ยเคมีนั้น จะพิจารณาให้เป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละรายมีต้นทุนแตกต่างกัน ไม่ใช่อนุญาตให้ปรับขึ้นเท่ากันหมด นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดให้ผู้ค้าปุ๋ย เร่งนำเข้าปุ๋ยเข้ามาให้ทันกับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนนี้
ขณะที่สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย แสดงความเป็นห่วงว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกที่จะถึงในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคมนี้ อาจเผชิญวิกฤตขาดแคลนปุ๋ยสำหรับเพาะปลูก หลังพบว่าสต็อกปุ๋ยบางชนิด มีปริมาณลดลง และอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผู้ค้าปุ๋ยเคมีบางราย มีการชะลอนำเข้า เพราะประสบปัญหาขาดทุน จากราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับสูงขึ้น 100 % แต่ราคาในประเทศกลับถูกรัฐบาลตรึงไว้ไม่ให้ขึ้นราคา
ทางด้าน นาย
มานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานวิสากิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวสวนมะม่วงแปดริ้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ปลุกมะม่วงส่งออก แหล่งใหญ่ของประเทศ กำลังประสบปัญหาราคามะม่วงตกต่ำ ผลผลิตมะม่วงตกค้างในสวน ไม่สามารถเก็บขายสู่ตลาดได้ เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลดลงจากวิกฤตเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของโควิด ขณะที่ตลาดส่งออกก็ไม่สามารถส่งออกได้ โดยในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานี้ ราคามะม่วงตกต่ำอย่างหนัก
ก่อนโควิด ส่งออกได้ราคากิโลฯ ละ 60-70 บาท แต่ล่าสุด ร่วงเหลือ 30 บาท หายไปเท่าตัว ขณะที่ราคาขายในประเทศ จากกิโลฯละ 70-80 บาท ตอนนี้เหลือ 30-40 บาท แถมยอดขายหาย 30-40 % สวนทางกับต้นทุน ที่เพิ่มสูงมากๆ โดยเฉพาะราคาปุ๋ย จากเดิมช่วงก่อนโควิด ซื้อได้ตันละ 10,000 บาทท ตอนนี้ราคาพุ่งไปถึง 30,000 บาทแล้ว ทำให้ขณะนี้ชาวสวนไม่มีเงินซื้อปุ๋ย-ซื้อยากันแล้ว ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
โดยอยากให้รัฐฐาล เข้ามาช่วยโดยเร่งด่วน ทั้งหาตลาดให้ชาวสวน เนื่องจากผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด บางพื้นที่ อย่างที่พิจิตร ประสบปัญหาไม่มีพ่อค้าเข้าไปรับซื้อ เนื่องจากขายไม่ได้ และให้เข้าควบคุมราคาปุ๋ย ไม่เช่นนั้น ชาวสวนอยู่ไม่ได้ ถึงขั้นต้องเลิกทำสวน และไปทำอย่างอื่นแทน เนื่องจากทนภาวะขาดทุนไม่ไหว
รับชมผ่านยูทูบ :
https://youtu.be/R9XFyXYX-BE
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหั่นเป้าส่งออกปี 65 โต 3.4%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_313527/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการส่งออกปี 65 เหลือขยายตัว 3.4% จากเดิม 4.3% ลุ้น รัสเซีย-ยูเครนเจรจาได้เร็ว ผลักดันโตได้ 3.7%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการส่งออกไทยปี 2565 จากร้อยละ 4.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เนื่องจากความท้าทายของ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้บรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงกว่าในกรณีที่ไม่มีวิกฤตดังกล่าว แต่หากการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน สามารถมีข้อตกลงได้เร็วกว่าที่คาด อาจช่วยคลี่คลายแรงกดดันทาง เศรษฐกิจ และผลักดันให้การส่งออกขยับตัวสูงขึ้นไปขยายตัว 3.7% ได้ ทั้งนี้การประมาณการส่งออกดังกล่าว ได้คำนึงถึงปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อน ค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องจับตา คือ
1)
ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนในปีนี้จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น บวกกับค่าเงินรูเบิ้ลอ่อนค่าเป็นประวัติการณ์ยิ่งซ้ำเติมความต้องการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะสงครามจึงยากที่สินค้าไทยจะทำตลาดได้ในปีนี้ โดยเฉพาะการส่งออกไปรัสเซียที่น่าจะหดตัวรุนแรงอันเป็นผลพวงจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกและอุปสรรคในการชำระเงิน โดยรวมทำให้ไทยสูญเสียโอกาสส่งออกสินค้าไปทั้งสองประเทศรวมเป็นมูลค่าราว 600-800 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2565 แต่ผลดังกล่าวก็กระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยค่อนข้างจำกัดคิดเป็นร้อยละ 0.2-0.3 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย
2)
ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรชะลอตัวลงจากปัญหาเงินเฟ้อจากอุปทานตึงตัวในกลุ่มสินค้าพลังงาน ธัญพืช และวัตถุดิบสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบของรัสเซียถึง 1 ใน 3 นำเข้าก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 40 ซึ่งการลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในด้านหนึ่งก็ส่งผลต่อเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวสูง กำลังซื้อของชาวยุโรปถูกจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยคิดเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกไปยุโรป เป็นสินค้ากลุ่มแรกอาจทำตลาดได้จำกัดในปีนี้ อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์ และ เครื่องประดับ ขณะที่สินค้าจำเป็นอย่างอาหารและปัจจัยการผลิตยังมีโอกาสเติบโต อาทิ ยางพารา เม็ดพลาสติก อาหารทะเล ข้าว ไก่แปรรูป ผลไม้กระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง
3)
การซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลกทำให้ประเทศที่มีห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงกับรัสเซียอาจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นหรืออาจเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้ โดยไม่เพียงสินค้าโภคภัณฑ์ธัญพืช ปุ๋ยเคมีที่มีสัญญาณราคาปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังคงต้องจับตามาตรการอื่นที่จะตามมาหลังจากนี้อาจมีผลเกี่ยวพันถึงต้นทุนการนำเข้าสินค้าในทุกกลุ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำที่มีรัสเซียอยู่ในห่วงโซ่การผลิตด้วย อาจทำให้การนำเข้าของไทยเร่งตัวสูงขึ้นในปีนี้ และมีโอกาสที่ไทยจะขาดดุลการค้ากับต่างประเทศครั้งแรกในรอบ 9 ปี
‘ผู้นำฝ่ายค้าน’ เปิดเวทีรับฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมดันนโยบายคนอยู่ร่วมป่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3258082
‘ผู้นำฝ่ายค้าน’ เปิดเวทีรับฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมดันนโยบายคนอยู่ร่วมป่า
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพบประชาชนประจำปี 2565
“ผู้นำฝ่ายค้านพบกลุ่มชาติพันธุ์” ณ โรงแรมสเตย์ วิท นิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นาย
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ นาย
ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย น.ส.
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ นาย
ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.เชียงใหม่ นาย
สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นาย
วิทยา ทรงคำ ส.ส.เชียงใหม่ นาย
จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ นาย
นพคุณ รัฐผไท อดีต ส.ส.เชียงใหม่ น.ส.
วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีต ส.ส.เชียงราย นาย
ณัฏฐ์พัฒน์ รัฐผไท และ นาย
วิกรม เตชะธีราวัฒน์ ร่วมรับฟังปัญหาด้วย
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า โครงการผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน เกิดขึ้นเพื่อลงพื้นที่รับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนในทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นบทบาทโดยตรงของฝ่ายค้าน ทั้งการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายที่ได้ประกาศไว้นั้นได้เข้าถึงประชาชนจริงหรือไม่ และลงพื้นที่มาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขกฎหมาย สำหรับเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนในครั้งนี้ได้รับฟังเสียงสะท้อนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้าร่วมกว่า 50 คน โดยเฉพาะเสนอให้มีการกำหนดนโยบายเพื่อกลุ่มคนชาติพันธุ์อย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการคนอยู่ร่วมกับป่าและป่าอยู่ร่วมกับคน ไม่ใช่เป็นการผลักดันคนออกจากพื้นที่ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม เพื่อให้กลุ่มคนชาติพันธุ์สามารถลืมตาอ้าปากได้
JJNY : 4in1 โอดมะม่วงราคาตกต่ำ│กสิกรไทยหั่นเป้าส่งออก│เปิดเวทีรับฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์│ก.ก.จัดอบรมว่าที่ผู้สมัครส.ส.
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/284599
ปัญหาปุ๋ยแพง และเสี่ยงขาดตลาด ล่าสุด กรมการค้าภายใน เตรียมหารือกับผู้ประกอบการปุ๋ย ในสัปดาห์นี้
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ จะหารือร่วมกับผู้ประกอบการปุ๋ย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ถึงแนวทางในการนำเข้าปุ๋ย ให้ทันกับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการอนุญาตให้ขึ้นราคาขายปุ๋ยเคมีนั้น จะพิจารณาให้เป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละรายมีต้นทุนแตกต่างกัน ไม่ใช่อนุญาตให้ปรับขึ้นเท่ากันหมด นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดให้ผู้ค้าปุ๋ย เร่งนำเข้าปุ๋ยเข้ามาให้ทันกับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนนี้
ขณะที่สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย แสดงความเป็นห่วงว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกที่จะถึงในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคมนี้ อาจเผชิญวิกฤตขาดแคลนปุ๋ยสำหรับเพาะปลูก หลังพบว่าสต็อกปุ๋ยบางชนิด มีปริมาณลดลง และอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผู้ค้าปุ๋ยเคมีบางราย มีการชะลอนำเข้า เพราะประสบปัญหาขาดทุน จากราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับสูงขึ้น 100 % แต่ราคาในประเทศกลับถูกรัฐบาลตรึงไว้ไม่ให้ขึ้นราคา
ทางด้าน นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานวิสากิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวสวนมะม่วงแปดริ้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ปลุกมะม่วงส่งออก แหล่งใหญ่ของประเทศ กำลังประสบปัญหาราคามะม่วงตกต่ำ ผลผลิตมะม่วงตกค้างในสวน ไม่สามารถเก็บขายสู่ตลาดได้ เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลดลงจากวิกฤตเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของโควิด ขณะที่ตลาดส่งออกก็ไม่สามารถส่งออกได้ โดยในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานี้ ราคามะม่วงตกต่ำอย่างหนัก
ก่อนโควิด ส่งออกได้ราคากิโลฯ ละ 60-70 บาท แต่ล่าสุด ร่วงเหลือ 30 บาท หายไปเท่าตัว ขณะที่ราคาขายในประเทศ จากกิโลฯละ 70-80 บาท ตอนนี้เหลือ 30-40 บาท แถมยอดขายหาย 30-40 % สวนทางกับต้นทุน ที่เพิ่มสูงมากๆ โดยเฉพาะราคาปุ๋ย จากเดิมช่วงก่อนโควิด ซื้อได้ตันละ 10,000 บาทท ตอนนี้ราคาพุ่งไปถึง 30,000 บาทแล้ว ทำให้ขณะนี้ชาวสวนไม่มีเงินซื้อปุ๋ย-ซื้อยากันแล้ว ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
โดยอยากให้รัฐฐาล เข้ามาช่วยโดยเร่งด่วน ทั้งหาตลาดให้ชาวสวน เนื่องจากผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด บางพื้นที่ อย่างที่พิจิตร ประสบปัญหาไม่มีพ่อค้าเข้าไปรับซื้อ เนื่องจากขายไม่ได้ และให้เข้าควบคุมราคาปุ๋ย ไม่เช่นนั้น ชาวสวนอยู่ไม่ได้ ถึงขั้นต้องเลิกทำสวน และไปทำอย่างอื่นแทน เนื่องจากทนภาวะขาดทุนไม่ไหว
รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/R9XFyXYX-BE
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหั่นเป้าส่งออกปี 65 โต 3.4%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_313527/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการส่งออกปี 65 เหลือขยายตัว 3.4% จากเดิม 4.3% ลุ้น รัสเซีย-ยูเครนเจรจาได้เร็ว ผลักดันโตได้ 3.7%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการส่งออกไทยปี 2565 จากร้อยละ 4.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เนื่องจากความท้าทายของ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้บรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงกว่าในกรณีที่ไม่มีวิกฤตดังกล่าว แต่หากการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน สามารถมีข้อตกลงได้เร็วกว่าที่คาด อาจช่วยคลี่คลายแรงกดดันทาง เศรษฐกิจ และผลักดันให้การส่งออกขยับตัวสูงขึ้นไปขยายตัว 3.7% ได้ ทั้งนี้การประมาณการส่งออกดังกล่าว ได้คำนึงถึงปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อน ค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องจับตา คือ
1) ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนในปีนี้จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น บวกกับค่าเงินรูเบิ้ลอ่อนค่าเป็นประวัติการณ์ยิ่งซ้ำเติมความต้องการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะสงครามจึงยากที่สินค้าไทยจะทำตลาดได้ในปีนี้ โดยเฉพาะการส่งออกไปรัสเซียที่น่าจะหดตัวรุนแรงอันเป็นผลพวงจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกและอุปสรรคในการชำระเงิน โดยรวมทำให้ไทยสูญเสียโอกาสส่งออกสินค้าไปทั้งสองประเทศรวมเป็นมูลค่าราว 600-800 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2565 แต่ผลดังกล่าวก็กระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยค่อนข้างจำกัดคิดเป็นร้อยละ 0.2-0.3 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย
2) ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรชะลอตัวลงจากปัญหาเงินเฟ้อจากอุปทานตึงตัวในกลุ่มสินค้าพลังงาน ธัญพืช และวัตถุดิบสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบของรัสเซียถึง 1 ใน 3 นำเข้าก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 40 ซึ่งการลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในด้านหนึ่งก็ส่งผลต่อเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวสูง กำลังซื้อของชาวยุโรปถูกจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยคิดเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกไปยุโรป เป็นสินค้ากลุ่มแรกอาจทำตลาดได้จำกัดในปีนี้ อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์ และ เครื่องประดับ ขณะที่สินค้าจำเป็นอย่างอาหารและปัจจัยการผลิตยังมีโอกาสเติบโต อาทิ ยางพารา เม็ดพลาสติก อาหารทะเล ข้าว ไก่แปรรูป ผลไม้กระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง
3) การซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลกทำให้ประเทศที่มีห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงกับรัสเซียอาจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นหรืออาจเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้ โดยไม่เพียงสินค้าโภคภัณฑ์ธัญพืช ปุ๋ยเคมีที่มีสัญญาณราคาปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังคงต้องจับตามาตรการอื่นที่จะตามมาหลังจากนี้อาจมีผลเกี่ยวพันถึงต้นทุนการนำเข้าสินค้าในทุกกลุ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำที่มีรัสเซียอยู่ในห่วงโซ่การผลิตด้วย อาจทำให้การนำเข้าของไทยเร่งตัวสูงขึ้นในปีนี้ และมีโอกาสที่ไทยจะขาดดุลการค้ากับต่างประเทศครั้งแรกในรอบ 9 ปี
‘ผู้นำฝ่ายค้าน’ เปิดเวทีรับฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมดันนโยบายคนอยู่ร่วมป่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3258082
‘ผู้นำฝ่ายค้าน’ เปิดเวทีรับฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมดันนโยบายคนอยู่ร่วมป่า
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพบประชาชนประจำปี 2565 “ผู้นำฝ่ายค้านพบกลุ่มชาติพันธุ์” ณ โรงแรมสเตย์ วิท นิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.เชียงใหม่ นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นายวิทยา ทรงคำ ส.ส.เชียงใหม่ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ นายนพคุณ รัฐผไท อดีต ส.ส.เชียงใหม่ น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีต ส.ส.เชียงราย นายณัฏฐ์พัฒน์ รัฐผไท และ นายวิกรม เตชะธีราวัฒน์ ร่วมรับฟังปัญหาด้วย
นพ.ชลน่านกล่าวว่า โครงการผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน เกิดขึ้นเพื่อลงพื้นที่รับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนในทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นบทบาทโดยตรงของฝ่ายค้าน ทั้งการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายที่ได้ประกาศไว้นั้นได้เข้าถึงประชาชนจริงหรือไม่ และลงพื้นที่มาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขกฎหมาย สำหรับเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนในครั้งนี้ได้รับฟังเสียงสะท้อนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้าร่วมกว่า 50 คน โดยเฉพาะเสนอให้มีการกำหนดนโยบายเพื่อกลุ่มคนชาติพันธุ์อย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการคนอยู่ร่วมกับป่าและป่าอยู่ร่วมกับคน ไม่ใช่เป็นการผลักดันคนออกจากพื้นที่ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม เพื่อให้กลุ่มคนชาติพันธุ์สามารถลืมตาอ้าปากได้