คอคาร์บอน เป็นอาการหนึ่งที่แสดงว่าร่างกายดื้ออินซูลิน
เรื่องจากfacebook หมอหล่อคอเล่า
#ดื้อต่ออินซูลิน : ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลที่ทำให้เราอ้วนง่ายแต่ลดได้ยาก [Updated 2022]
1️⃣ "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)" ปัจจุบันนี้ พบว่าเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน และ โรคกลุ่ม NCDs ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
.
2️⃣ สาเหตุของการเกิดภาวะนี้ส่วนใหญ่นั้น เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป (Over Carbohydrate consumption) โดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตแปรรูป (Refined Carbohydrates or Fattening Carbohydrate) นอกจากนี้ ยังรวมถึง อาหารที่ผ่านการแปรรูป (Processed Foods) ที่รับประทานเข้ามามาก เป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกันอีกด้วย
.
3️⃣ การที่เรากินอาหารเหล่านี้มาก ๆ บ่อย ๆ นั้น จะส่งผลทำให้ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ถูกหลั่งออกมาจากตับอ่อน (เบต้าเซลล์) เข้ามาสู่กระแสเลือดมากขึ้น
เมื่ออินซูลินในเลือดสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ เพิ่มกระบวนการเร่งการสะสมสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นพลังงานสำรองในร่างกาย (Anabolic effect) เช่น เร่งการสะสมแป้ง (Glycogen) สะสมไขมัน (Fat storage) เป็นต้น
หากระดับอินซูลินในเลือดนั้น ยังสูงต่อเนื่องเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลจากการกินของเราที่ยังคงกินคาร์บสูงอยู่ตลอด ก็ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่โหมดการสะสมพลังงานที่มากเกินไป เช่น การเร่งกระบวนการเก็บสะสมแป้งในร่างกาย โดยเฉพาะ Glycogen ที่ตับ เมื่อเก็บจนเต็มขีดจำกัดแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการสะสมไขมันมากขึ้น (Increased Lipogenesis/ de novo Lipogenesis)
เมื่อไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นจะถูกขนส่งนำออกจากตับสู่กระแสเลือด และเก็บสะสมตามเซลล์ไขมันที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย (Ectopic fat/lipid accumulation) นั่นเอง ดังนั้น คนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ อ้วนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
.
4️⃣ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยังส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถนำเอาไขมันที่สะสมในเซลล์ (Intracellular fat storages) ออกมาใช้ในกระบวนการเผาผลาญในเซลล์ที่ไมโตรคอนเดรีย (Mitochondria) ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น เราเรียกว่าเกิดภาวะ "Metabolic inflexibility หรือ ระบบเผาผลาญพัง"
ส่งผลให้ร่างกายมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และ ไขมันที่สะสมมากขึ้นนี้ จะเกิดการอักเสบมากขึ้น เมื่ออักเสบสูง ร่วมกับเซลล์ไขมันทำงานผิดปกติ ไขมันที่สะสมก็จะถูกสลายออกมาในรูปกรดไขมัน #NEFA (Non-esterified fatty acids) ที่ต่อเนื่องและมากจนเกินไป เข้าสู่กระแสเลือด และ มักเก็บสะสมที่ตับ และ กล้ามเนื้อ
การมีกรดไขมันนี้มากในเซลล์นั้น จะทำให้ส่งเสริมการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นไปอีกนั่นเอง ทั้งการลดการนำน้ำตาลกลูโคสสู่เซลล์ และ การทำลายเตาเผาผลังงานในเซลล์ หรือ #MitochondriaDysfunction นั่นเอง
.
5️⃣ ในขณะเดียวกัน หากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว ในช่วงที่ไม่ได้รับประทานอะไร (Fasting period) หรือ ช่วงที่ออกกำลังกาย (Exercise) ร่างกายก็ไม่สามารถดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้ (Fat storages - TGs) ออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
.
6️⃣ การลดลงของการใช้น้ำตาลในเซลล์ การเผาผลาญไขมันในเซลล์ที่ลดลง รวมถึงการสะสมไขมันในเซลล์เพิ่มมากขึ้น เกิดการอักเสบเรื้อรังมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก การมีภาวะดื้อต่ออินซูลินที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ที่บริเวณเซลล์กล้ามเนื้อ ตับ และ เนื้อเยื่อไขมัน นั่นเอง
.
7️⃣ การดื้อต่ออินซูลินส่งผลให้เกิดหลากหลายอาการและอาการแสดง ตามมา เช่น
- ไขมันในร่างกายทุกส่วนสะสมมากขึ้น อ้วนมากขึ้น ลงพุงมากขึ้น
- ไขมันเกาะตับ ชนิด NAFLD
- ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง HDL-C ในเลือดต่ำ
- ร่างกายเกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง
- มีรอยดำบริเวณลำคอ ข้อพับ แขน ขา (Acanthocis nigricans)
- ตับอักเสบจากไขมันเกาะตับ
- หิวบ่อย กินจุ อิ่มยาก หิวของหวาน คาร์บ
- ฮอร์โมนเพศมีปัญหา ส่งผลต่อประจำเดือนในผู้หญิง เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เกิดภาวะ PCOS รวมถึง ปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้ เป็นต้น
.
8️⃣ #ทราบได้อย่างไรว่าเรามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน?
(1) การมีโรคอ้วน (ดัวชนีมวลกาย BMI>25, เส้นรอบเอว WC>80,90 cm)/ มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินค่าปกติ (High %BF)/ มีไขมันเกาะตับ (Fatty liver) ให้เห็นจากการตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง (High Visceral Fat/ High VFA)
.
(2) ตรวจพบ ระดับฮอร์โมนอินซูลินขณะงดกิน 8 ชม.ขึ้นไป สูงเกิน 10.0 uU/mL หรือ ดัชนีการดื้อต่ออินซูลิน (HOMA-IR) มากกว่า 2.0 ขึ้นไป (HOMA-IR = FBG x Insulin / 405)
.
(3) ตรวจพบ ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (>150) ร่วมกับ เอชดีแอล (HDL-c) คอเลสเตอรอลต่ำ + อัตราส่วนของ TG : HDL-C > 2.0 (Surrogate marker of Insulin Resistance)
.
(4) ตรวจพบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ว่าจะเป็น Fasting Blood Glucose (FBG) & HbA1C จากการตรวจเลือดในช่วงที่เว้นจากการกินอาหารอย่างน้อย 8 ชม. หรือ ตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เป็นต้น
.
9️⃣ #เรามีวิธีรักษาฟื้นฟูภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างไร?
(1) #ลดการกินอาหารเครื่องดื่มที่มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตสูง
✅️ โดยเฉพาะการลด #คาร์โบไฮเดรตแปรรูปต่างๆ หรือ น้ำตาล ของหวานต่าง ๆ ลดการกินคาร์บ/วัน ให้ต่ำลง หรือ เรียกว่า Low Carb diet ทั้งนี้ รูปแบบอาหารที่กินควรเป็น Real foods Healthy diet ไม่กินอาหารแปรรูปมากเกินไป เน้นอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติไม่ผ่านหลากหลายกระบวนการปรุงแต่ง แปรรูปมามากมายหลายขั้นตอน
✅️ กินโปรตีนในปริมาณที่พอดี เน้นรับจากอาการธรรมชาติ มากกว่าโปรตีนแปรรูป สำเร็จรูป
✅️ เน้นกินไขมันดีจากธรรมชาติมากขึ้น
✅️ เน้นการกินเส้นใยอาหารมากขึ้น
***กรณีร่างกายมีการดื้อต่ออินซูลินมาก ๆ เช่น อ้วนมาก เบาหวาน สามารถปรับ รูปแบบมาทานแบบ VLCKD / Ketogenic Diet (KD) ได้ ภายใต้การดูแลโดยแพทย์***
.
(2) #ฝึกทำIntermittent_Fasting (IF)
อย่างน้อย Fasting ในแต่ละวันให้ได้ > 16 hr ขึ้นไป หากต้องการแก้ปัญหาดื้อต่ออินซูลิน เพราะการ Fasting เพียง 12-14 hrs อาจไม่เพียงพอต่อการปรับระบบการเผาผลาญของร่างกาย หรือ Reset การทำ IF ไม่มีเกณฑ์ตายตัว สามาถปรับได้ตามบริบทของชีวิตเรา
.
(3) #ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตั้งใจ ปรับ Mindset เราใหม่ให้รักตัวเอง รักสุขภาพ ด้วยการหันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เริ่มออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (Weight training Exercise / Resistance Exercise) เพราะจะช่วยแก้ปัญหาดื้ออินซูลินที่กล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับ ออกแบบคาร์ดิโอ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น เพื่อความยืดหยุ่น ความ Balance ของร่างกาย การออกกำลังกาย ช่วยให้ลดภาวะดื้อต่ออินซูลินที่กล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
.
(4) #ปรับชีวิตเราให้พอดีแบบสมดุลในทุกด้าน
โดยการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ให้สมดุล ได้แก่ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ลดความเครียด จัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้ดียิ่งขึ้น เสริมวิตามิน แร่ธาตุ อาหารเสริมตามเหมาะสม เพื่อช่วยลดอักเสบในร่างกาย ส่งเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย เช่น วิตามินดี ซี บีรวม โอเมก้า 3 Probiotics รวมถึง หมั่นดูแลสุขภาพลำไส้ การขับถ่ายให้ดีอยู่เสมอ เป็นต้น
.
👨⚕️📝 หากใครที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ เริ่มมีโรคอ้วน เป็นเบาหวาน หรือ ยังไม่มีแต่อยากป้องกันไว้ก่อน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองหาภาวะดื้อต่ออินซูลินกันนะครับ เพื่อป้องกัน รักษา และฟื้นฟูได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองครับ
.
#InsulinResistance #Insulin
#ดื้อต่ออินซูลิน #อินซูลิน
#Metabolism #MetabolicInflexibility
#หมอหล่อคอเล่า
#DoctorWeightWellnessClinic
.
#References :
Freeman AM, Pennings N. Insulin Resistance. [Updated 2021 Jul 10]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Available from:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507839/
da Silva Rosa SC, Nayak N, Caymo AM, Gordon JW. Mechanisms of muscle insulin resistance and the cross-talk with liver and adipose tissue. Physiol Rep. 2020 Oct;8(19):e14607. doi: 10.14814/phy2.14607. PMID: 33038072; PMCID: PMC7547588.
Petersen MC, Shulman GI. Mechanisms of Insulin Action and Insulin Resistance. Physiol Rev. 2018 Oct 1;98(4):2133-2223. doi: 10.1152/physrev.00063.2017. PMID: 30067154; PMCID: PMC6170977.
Ahmed B, Sultana R, Greene MW. Adipose tissue and insulin resistance in obese. Biomed Pharmacother. 2021 May;137:111315. doi: 10.1016/j.biopha.2021.111315. Epub 2021 Feb 6. PMID: 33561645.
คอดำ วัยรุ่นเรียกว่าคอคาร์บอน
เรื่องจากfacebook หมอหล่อคอเล่า
#ดื้อต่ออินซูลิน : ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลที่ทำให้เราอ้วนง่ายแต่ลดได้ยาก [Updated 2022]
1️⃣ "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)" ปัจจุบันนี้ พบว่าเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน และ โรคกลุ่ม NCDs ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
.
2️⃣ สาเหตุของการเกิดภาวะนี้ส่วนใหญ่นั้น เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป (Over Carbohydrate consumption) โดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตแปรรูป (Refined Carbohydrates or Fattening Carbohydrate) นอกจากนี้ ยังรวมถึง อาหารที่ผ่านการแปรรูป (Processed Foods) ที่รับประทานเข้ามามาก เป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกันอีกด้วย
.
3️⃣ การที่เรากินอาหารเหล่านี้มาก ๆ บ่อย ๆ นั้น จะส่งผลทำให้ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ถูกหลั่งออกมาจากตับอ่อน (เบต้าเซลล์) เข้ามาสู่กระแสเลือดมากขึ้น
เมื่ออินซูลินในเลือดสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ เพิ่มกระบวนการเร่งการสะสมสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นพลังงานสำรองในร่างกาย (Anabolic effect) เช่น เร่งการสะสมแป้ง (Glycogen) สะสมไขมัน (Fat storage) เป็นต้น
หากระดับอินซูลินในเลือดนั้น ยังสูงต่อเนื่องเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลจากการกินของเราที่ยังคงกินคาร์บสูงอยู่ตลอด ก็ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่โหมดการสะสมพลังงานที่มากเกินไป เช่น การเร่งกระบวนการเก็บสะสมแป้งในร่างกาย โดยเฉพาะ Glycogen ที่ตับ เมื่อเก็บจนเต็มขีดจำกัดแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการสะสมไขมันมากขึ้น (Increased Lipogenesis/ de novo Lipogenesis)
เมื่อไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นจะถูกขนส่งนำออกจากตับสู่กระแสเลือด และเก็บสะสมตามเซลล์ไขมันที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย (Ectopic fat/lipid accumulation) นั่นเอง ดังนั้น คนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ อ้วนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
.
4️⃣ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยังส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถนำเอาไขมันที่สะสมในเซลล์ (Intracellular fat storages) ออกมาใช้ในกระบวนการเผาผลาญในเซลล์ที่ไมโตรคอนเดรีย (Mitochondria) ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น เราเรียกว่าเกิดภาวะ "Metabolic inflexibility หรือ ระบบเผาผลาญพัง"
ส่งผลให้ร่างกายมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และ ไขมันที่สะสมมากขึ้นนี้ จะเกิดการอักเสบมากขึ้น เมื่ออักเสบสูง ร่วมกับเซลล์ไขมันทำงานผิดปกติ ไขมันที่สะสมก็จะถูกสลายออกมาในรูปกรดไขมัน #NEFA (Non-esterified fatty acids) ที่ต่อเนื่องและมากจนเกินไป เข้าสู่กระแสเลือด และ มักเก็บสะสมที่ตับ และ กล้ามเนื้อ
การมีกรดไขมันนี้มากในเซลล์นั้น จะทำให้ส่งเสริมการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นไปอีกนั่นเอง ทั้งการลดการนำน้ำตาลกลูโคสสู่เซลล์ และ การทำลายเตาเผาผลังงานในเซลล์ หรือ #MitochondriaDysfunction นั่นเอง
.
5️⃣ ในขณะเดียวกัน หากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว ในช่วงที่ไม่ได้รับประทานอะไร (Fasting period) หรือ ช่วงที่ออกกำลังกาย (Exercise) ร่างกายก็ไม่สามารถดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้ (Fat storages - TGs) ออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
.
6️⃣ การลดลงของการใช้น้ำตาลในเซลล์ การเผาผลาญไขมันในเซลล์ที่ลดลง รวมถึงการสะสมไขมันในเซลล์เพิ่มมากขึ้น เกิดการอักเสบเรื้อรังมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก การมีภาวะดื้อต่ออินซูลินที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ที่บริเวณเซลล์กล้ามเนื้อ ตับ และ เนื้อเยื่อไขมัน นั่นเอง
.
7️⃣ การดื้อต่ออินซูลินส่งผลให้เกิดหลากหลายอาการและอาการแสดง ตามมา เช่น
- ไขมันในร่างกายทุกส่วนสะสมมากขึ้น อ้วนมากขึ้น ลงพุงมากขึ้น
- ไขมันเกาะตับ ชนิด NAFLD
- ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง HDL-C ในเลือดต่ำ
- ร่างกายเกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง
- มีรอยดำบริเวณลำคอ ข้อพับ แขน ขา (Acanthocis nigricans)
- ตับอักเสบจากไขมันเกาะตับ
- หิวบ่อย กินจุ อิ่มยาก หิวของหวาน คาร์บ
- ฮอร์โมนเพศมีปัญหา ส่งผลต่อประจำเดือนในผู้หญิง เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เกิดภาวะ PCOS รวมถึง ปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้ เป็นต้น
.
8️⃣ #ทราบได้อย่างไรว่าเรามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน?
(1) การมีโรคอ้วน (ดัวชนีมวลกาย BMI>25, เส้นรอบเอว WC>80,90 cm)/ มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินค่าปกติ (High %BF)/ มีไขมันเกาะตับ (Fatty liver) ให้เห็นจากการตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง (High Visceral Fat/ High VFA)
.
(2) ตรวจพบ ระดับฮอร์โมนอินซูลินขณะงดกิน 8 ชม.ขึ้นไป สูงเกิน 10.0 uU/mL หรือ ดัชนีการดื้อต่ออินซูลิน (HOMA-IR) มากกว่า 2.0 ขึ้นไป (HOMA-IR = FBG x Insulin / 405)
.
(3) ตรวจพบ ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (>150) ร่วมกับ เอชดีแอล (HDL-c) คอเลสเตอรอลต่ำ + อัตราส่วนของ TG : HDL-C > 2.0 (Surrogate marker of Insulin Resistance)
.
(4) ตรวจพบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ว่าจะเป็น Fasting Blood Glucose (FBG) & HbA1C จากการตรวจเลือดในช่วงที่เว้นจากการกินอาหารอย่างน้อย 8 ชม. หรือ ตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เป็นต้น
.
9️⃣ #เรามีวิธีรักษาฟื้นฟูภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างไร?
(1) #ลดการกินอาหารเครื่องดื่มที่มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตสูง
✅️ โดยเฉพาะการลด #คาร์โบไฮเดรตแปรรูปต่างๆ หรือ น้ำตาล ของหวานต่าง ๆ ลดการกินคาร์บ/วัน ให้ต่ำลง หรือ เรียกว่า Low Carb diet ทั้งนี้ รูปแบบอาหารที่กินควรเป็น Real foods Healthy diet ไม่กินอาหารแปรรูปมากเกินไป เน้นอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติไม่ผ่านหลากหลายกระบวนการปรุงแต่ง แปรรูปมามากมายหลายขั้นตอน
✅️ กินโปรตีนในปริมาณที่พอดี เน้นรับจากอาการธรรมชาติ มากกว่าโปรตีนแปรรูป สำเร็จรูป
✅️ เน้นกินไขมันดีจากธรรมชาติมากขึ้น
✅️ เน้นการกินเส้นใยอาหารมากขึ้น
***กรณีร่างกายมีการดื้อต่ออินซูลินมาก ๆ เช่น อ้วนมาก เบาหวาน สามารถปรับ รูปแบบมาทานแบบ VLCKD / Ketogenic Diet (KD) ได้ ภายใต้การดูแลโดยแพทย์***
.
(2) #ฝึกทำIntermittent_Fasting (IF)
อย่างน้อย Fasting ในแต่ละวันให้ได้ > 16 hr ขึ้นไป หากต้องการแก้ปัญหาดื้อต่ออินซูลิน เพราะการ Fasting เพียง 12-14 hrs อาจไม่เพียงพอต่อการปรับระบบการเผาผลาญของร่างกาย หรือ Reset การทำ IF ไม่มีเกณฑ์ตายตัว สามาถปรับได้ตามบริบทของชีวิตเรา
.
(3) #ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตั้งใจ ปรับ Mindset เราใหม่ให้รักตัวเอง รักสุขภาพ ด้วยการหันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เริ่มออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (Weight training Exercise / Resistance Exercise) เพราะจะช่วยแก้ปัญหาดื้ออินซูลินที่กล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับ ออกแบบคาร์ดิโอ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น เพื่อความยืดหยุ่น ความ Balance ของร่างกาย การออกกำลังกาย ช่วยให้ลดภาวะดื้อต่ออินซูลินที่กล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
.
(4) #ปรับชีวิตเราให้พอดีแบบสมดุลในทุกด้าน
โดยการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ให้สมดุล ได้แก่ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ลดความเครียด จัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้ดียิ่งขึ้น เสริมวิตามิน แร่ธาตุ อาหารเสริมตามเหมาะสม เพื่อช่วยลดอักเสบในร่างกาย ส่งเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย เช่น วิตามินดี ซี บีรวม โอเมก้า 3 Probiotics รวมถึง หมั่นดูแลสุขภาพลำไส้ การขับถ่ายให้ดีอยู่เสมอ เป็นต้น
.
👨⚕️📝 หากใครที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ เริ่มมีโรคอ้วน เป็นเบาหวาน หรือ ยังไม่มีแต่อยากป้องกันไว้ก่อน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองหาภาวะดื้อต่ออินซูลินกันนะครับ เพื่อป้องกัน รักษา และฟื้นฟูได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองครับ
.
#InsulinResistance #Insulin
#ดื้อต่ออินซูลิน #อินซูลิน
#Metabolism #MetabolicInflexibility
#หมอหล่อคอเล่า
#DoctorWeightWellnessClinic
.
#References :
Freeman AM, Pennings N. Insulin Resistance. [Updated 2021 Jul 10]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507839/
da Silva Rosa SC, Nayak N, Caymo AM, Gordon JW. Mechanisms of muscle insulin resistance and the cross-talk with liver and adipose tissue. Physiol Rep. 2020 Oct;8(19):e14607. doi: 10.14814/phy2.14607. PMID: 33038072; PMCID: PMC7547588.
Petersen MC, Shulman GI. Mechanisms of Insulin Action and Insulin Resistance. Physiol Rev. 2018 Oct 1;98(4):2133-2223. doi: 10.1152/physrev.00063.2017. PMID: 30067154; PMCID: PMC6170977.
Ahmed B, Sultana R, Greene MW. Adipose tissue and insulin resistance in obese. Biomed Pharmacother. 2021 May;137:111315. doi: 10.1016/j.biopha.2021.111315. Epub 2021 Feb 6. PMID: 33561645.