ข่าวร้ายมาแล้ว! ผลสำรวจภาคธุรกิจ จ่อปรับราคาใน 3-6 เดือนข้างหน้า
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/168263
ภาคธุรกิจเตรียมปรับราคายกแผงในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะเอสเอ็มอี เนื่องจากแบกรับต้นทุนไม่ไหว โดบเฉพาะภาคการผลิตและการค้า
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการสำรวจภาคธุรกิจ เกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าและบริการ พบว่าผู้ประกอบการในหลายธุรกิจเตรียมปรับราคาสินค้าใน 3-6 เดือนข้างหน้า จากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แม้ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มสามารถปรับได้ เนื่องจากกำลังซื้อชะลอตัวและการแข่งขันยังสูง
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ในปี 2564 ต้นทุนสินค้าและบริการของธุรกิจส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้นจากสาเหตุสำคัญ ได้แก่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ค่าขนส่งทางเรือที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปัญหา Global supply disruption รวมทั้งต้นทุนทางสาธารณสุข ส่งผลให้สัดส่วนของธุรกิจที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูงขึ้นปรับเพิ่มขึ้นมากในเกือบทุกภาคธุรกิจเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีก่อนหน้า (2561-2563) ยกเว้นในภาคบริการที่สัดส่วนใกล้เคียงเดิม
พตติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการไทยที่พบจากการสำรวจในปี 2561 คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตั้งราคาสินค้าและบริการโดยพิจารณาจากต้นทุนและกำไรเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยปรับสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงน่าจะมีแนวโน้มจะตัดสินใจปรับขึ้นราคาเพื่อรักษาอัตรากำไรไว้ แต่ในความเป็นจริง ภาคธุรกิจอาจปรับราคาได้ไม่ง่ายนัก
ผลสำรวจล่าสุดของ ธปท. พบว่าตั้งแต่ปี 2564-ก.พ. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ธุรกิจในภาคการผลิต และภาคบริการส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับราคาสินค้า ขณะที่ธุรกิจภาคการค้ามีสัดส่วนผู้ที่ปรับราคาไปแล้วและมีแนวโน้มจะปรับราคามากกว่าภาคการผลิตและภาคบริการ หากพิจารณาในเชิงขนาดของธุรกิจกลับพบว่าผลไม่ต่างกันอย่างมีนัย คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME ไม่มีการปรับราคาและไม่มีแนวโน้มจะปรับใน 12 เดือนข้างหน้า สาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันที่สูงและกำลังซื้อที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสาเหตุที่ยังไม่มีการปรับราคาในปี 2561
การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในปี 2564 ได้ข้อสรุปที่คล้ายกันว่าผู้ประกอบการไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ทันทีหรือทั้งหมด โดยส่วนใหญ่สามารถปรับราคาสินค้าได้เพียงบางส่วน โดยเฉพาะธุรกิจในภาคบริการที่ร้อยละ 65 เห็นว่าไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ เนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงมาก อาทิ ธุรกิจ โรงแรมและร้านอาหาร ขณะที่ธุรกิจภาคการผลิตและภาคการค้า ทยอยปรับราคาได้ตามรอบสัญญาซื้อขายและการเจรจาต่อรองกับลูกค้าและบางธุรกิจปรับได้เร็วตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
ผลสำรวจพฤติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 อธิบายได้ว่าการปรับราคาของผู้ประกอบการไทยค่อนข้างมีความหนืด (Price stickiness) โดยการตัดสินใจปรับราคาแต่ละครั้ง นอกจากส่วนใหญ่จะพิจารณาราคาของคู่แข่ง(Coordination failure) และต้นทุน (Cost-based pricing) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงด้วย เช่น การตกลงราคาซื้อขายกับลูกค้าไว้ล่วงหน้า (Explicit contracts) รวมถึงการบริหารความคาดหวังของลูกค้าที่ไม่ต้องการให้ปรับราคา (Implicit contracts) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ท าให้การปรับราคาของธุรกิจทำไม่ได้ทันทีและบ่อยนัก อีกทั้งบางธุรกิจอาจเลือกใช้วิธีอื่นเพื่อรักษา Profit marginแทนการปรับราคาด้วย เช่น เพิ่มการผลิต ลดคุณภาพ ลดระยะเวลาการรับประกันสินค้า เป็นต้น
กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่ง SME ส่วนมากคาดว่าจะแบกรับต้นทุนโดยไม่ปรับราคาได้อีกเพียง 3-6 เดือนเท่านั้น โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ต้องปรับราคา คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนขนส่ง
หากประเมินจากประเภทธุรกิจ พบว่าธุรกิจในภาคการผลิตและการค้ามีโอกาสปรับราคาได้มากกว่าภาคบริการ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจพตติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 ที่สะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคการค้าสามารถปรับราคาสินค้าได้ถี่กว่า อาทิ ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมและพลาสติกซึ่งสินค้ามีความเกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายเดือน ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
รวมถึงภาคการค้า ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายไตรมาสถึงครึ่งปี ในขณะที่ธุรกิจภาคบริการ อาทิ ก่อสร้างและอสังหาฯ โรงแรมร้านอาหารและขนส่งมีความถี่ในการปรับราคาสินค้าและบริการเป็นรายปี
แม้ว่าในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่ปรับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนได้มากกว่า และใช้วิธีอื่นแทนการปรับราคา เช่น ลดโปรโมชั่น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจกดดันให้ผู้ประกอบการปรับเพิ่มราคาสินค้าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี พลาสติกกลุ่มผู้ผลิตอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์และภาคการค้า
อวสานอาชีพชาวนา? ไทยอาจนำเข้าข้าวแทนส่งออก ถ้ารัฐไม่เร่งแก้ปัญหาหนี้
https://brandinside.asia/the-reason-why-thai-farmers-need-government-help/
นี่อาจเป็นยุคสุดท้ายของการทำนา?
ถ้ารัฐไม่เร่งแก้ปัญหา ต่อไป ไทยอาจต้องนำเข้าข้าวเพราะไม่มีชาวนาทำนาอีกต่อไปแล้ว ไม่มีทายาทสืบทอด ไม่มีลูกหลานอยากสานต่อ
ใครจะอยากทำงานที่รายได้ต่ำกว่าต้นทุน มีเรื่องเดือดร้อนก็ปล่อยให้เรียกร้องยาวนานจนน่าประหลาดใจ เหตุใดรัฐจึงเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาชนที่เป็นคนสูงวัยกลุ่มใหญ่ที่ออกมาเรียกร้องนอนรอความช่วยเหลือ อยู่ริมถนน ตากแดด ตากลม ตากฝน ทนป่วย ทนต่อการใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเช่นนี้ได้อย่างไร?
ต้องบอกว่าเสียงจากชาวนาที่รอคอยให้รัฐเร่งแก้ปัญหา กว่าความช่วยเหลือจะมาถึง มันช่างยาวนานเหลือเกิน รอบล่าสุดที่กลุ่มชาวนาออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ ช่วยโอนหนี้จากธนาคารให้เป็นของรัฐ เพื่อจะได้ไม่มีการคิดดอกเบี้ย ในปัจจุบันนี้แม้ช่วงใดที่ประสบภัยแล้ง ไม่มีผลผลิต ชาวนาไม่มีรายได้ แต่ก็ยังต้องก้มหน้าหาเงินจากทางอื่นเพื่อใช้ดอกเบี้ยต่อไป เมื่อไม่มีรายได้ จะหาเงินที่ไหนมาใช้หนี้? เมื่อหยุดจ่ายหนี้ ดอกก็เพิ่มสูงขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
หนำซ้ำ เมื่อใดที่ได้ผลผลิต ก็ไม่ได้หมายความว่า ผลผลิตที่ได้ จะได้รับกลับมาแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีสิ่งใดการันตีได้เลยว่า ชาวนาจะทำนาได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย เหนือสิ่งอื่นใด ต้นทุนการผลิตยังแพงกว่ารายได้จากผลผลิตเสียอีก รัฐทำไมยังปล่อยให้ชาวนาต้องตกที่นั่งลำบากยาวนานขนาดนี้ การที่เขาออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วย เพราะเขาไม่เหลือหนทางสู้แล้ว ถ้าปล่อยเวลานานไป สถาบันการเงินทั้งหลายอาจฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดอีก
ถ้านับจากวันที่เริ่มเดินทางมาเรียกร้องให้รัฐโอนหนี้รอบนี้ เริ่มเมื่อคืน 23 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา นับถึงเวลานี้เป็นเวลายาวนานถึง 52 วันแล้ว
ข้อเรียกร้องที่ชาวนาต้องการให้รัฐช่วยเหลือ
หนึ่ง ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ชะลอการฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก ให้ช่วยเร่งโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้สินของ กฟก. หรือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และขยายวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาท ขยายเป็น 5 ล้านบาท เสนอเรื่องเข้าสู่มติ ครม.
สอง ลดหนี้ ปลดหนี้สำหรับเกษตกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วย เป็นโรค เหลือไม่เกิน 25% ตาม พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ
สาม ขอให้ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นพร้อมปฏิรูปการบริหารงานของ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ราคาพืชผลเกษตรถูกลงทุกวัน แต่ราคาปุ๋ย แพงขึ้น แพงขึ้น รัฐบาลควรช่วยเหลือและเยียวยารวมทั้งพักชำระหนี้
เสียงของคุณมีค่า ใช้เสียงให้เป็นประโยชน์ ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของชาวนาได้ที่นี่:
Change.org แก้ปัญหา #ม็อบชาวนา เร่งโอนหนี้ชาวนาจากธนาคารมาเป็นของรัฐ อย่าปล่อยให้ชาวนาล่มสลาย
อ่านบทสัมภาษณ์ของเกษตรกรผู้ออกมาเรียกร้องได้ด้านล่างนี้ ออกไปเยี่ยมกลุ่มผู้เรียกร้องเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุน ฟังเสียงเรียกร้องของพวกเขาได้ที่บริเวณหน้ากระทรวงการคลัง อย่าปล่อยให้เขาต้องสู้เพียงลำพัง
‘ไม่มีแล้ววันอังคาร
รัฐบอกจะเอาเรื่องเข้าประชุม ครม. รัฐบอกหลายอังคารแล้ว
หลานถาม เมื่อไรย่าจะกลับ อังคารของย่ามาช้าจังเลย
ย่าก็ตอบไป ไม่มีอังคารแล้ว จันทร์แล้วพุธเลย อังคารมานาน มาช้าเหลือเกิน’
เจ๊หน่อย อายุ 63 ปี มาจากจังหวัดนครสวรรค์ อ.บรรพตพิสัย ทำนาตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษๆ ทำนามาตลอดเลย มีรายได้บ้างขาดทุนบ้าง ถ้าเป็นยุคยิ่ง
ลักษณ์นี่ค่อนข้างบูม ยุคหลังนี้ ต้องใช้น้ำมันเพื่อไปสูบน้ำลงนาเพื่อทำนาถึง 3 ต่อ ถังละ 5,700 บาท ใช้ประมาณ 2 ถังกว่าจะจบนา กว่าจะได้เกี่ยว ใช้ทั้งปุ๋ยและยา ฉีดคราวละ 1,000 กว่าบาท 4 หน กว่าจะได้เก็บเกี่ยวได้เกวียนละ 6,000 กว่าบาท เท่านี้ก็ไม่มีเงินใช้หนี้ใช้สิน ต้องพยายามเข้ากองทุนฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลยังไม่ยอมเอาหนี้เข้ากองทุนให้เลย
หนี้ยังอยู่ ธกส. กลัวเขาจะเอาขายทอดตลาดเพราะเราไปกู้เขามาทำทุน
ทำนา 25 ไร่ ทำมาตลอด เป็นที่ดินของพ่อปู่ แม่ย่าตัวเอง ได้เอาที่นาไปไว้กับ ธกส. เพื่อกู้เงินมาใช้หรือเรียกว่าจำนองนั่นแหละ ดอกเบี้ยร้อยละ 7-8 บาท ปีหนึ่งถ้าเราไม่ได้ส่ง ดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นหนี้ 3 แสน ตอนนี้ทั้งต้น ทั้งดอกเพิ่มเป็น 6 แสนบาทแล้วเพราะไม่มีรายได้ไปใช้หนี้
ตอนที่ไม่มีรายได้จากนา ก็เอารถพ่วงไปขายของ ไปรับไข่ไก่มาขาย ปลูกผักกินในบ้าน สภาพของที่ดินก็ทำนาได้อย่างเดียว ทำถั่ว ทำข้าวโพดไม่ได้ นาอยู่ในพื้นที่สูง ไม่มีน้ำ ต้องดึงน้ำมาใช้เยอะถึงสี่ทอดกว่าจะถึง อยู่ที่นี่มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคมแล้ว ไม่เคยกลับเลย ปีก่อนหน้านี้ที่ไม่มีโควิด น้ำก็ต้องไปซื้อกิน ห้องน้ำก็ต้องไปอาบคราวละ 15 บาท เดี๋ยวนี้มีขนม มีข้าวมาแจกบ้าง
อยากฝากถึงรัฐบาล สงสารชาวนาบ้างเถ๊อะ ชาวนาทำนายากเข็น ลำบาก ซื้อเรือดำน้ำได้ ช่วยชาวนาบ้างไม่ได้เลยเหรอ ซื้อมาทำไมเรือดำน้ำ? ช่วยชาวนาดีกว่าไหม? ทำนายุคตู่ อะไรก็แพงหมด หมูก็แพง ไข่พี่ตู่แพงจังเลย ทุกอย่างราคาขึ้นหมดเลย น้ำมันก็ขึ้น จะกินอะไรกันได้บ้าง
อยากฝากถึงคนทั่วไป ให้กำลังใจพวกชาวนาหน่อย มาอยู่ตั้งสองเดือนแล้ว รากหญ้าจนๆ มาลำบากอยู่เนี่ย อยากให้รัฐนำเรื่องเข้า ครม. ไวๆ ค่ะ เขาบอกวันอังคารนี้ อังคารนี้หรืออังคารหน้าก็ไม่รู้ หลายอังคารจัง ป้าเลยบอกหลานที่อยู่บ้านว่า
“มันไม่มีวันอังคารหรอกลูก” หลานถาม
“ย่า วันไหนจะกลับ ทำไมอังคารย่านานจัง” ป้าบอก
“ไม่มีวันอังคารแล้วลูก วันจันทร์แล้วก็พุธเลย อังคารหลายอังคารเหลือเกิน..ไม่มีอังคารแล้ว”
JJNY : ข่าวร้ายมาแล้ว!│อวสานอาชีพชาวนา?│ผู้เลี้ยงไก่ไทยท้อใจรัฐ│รัสเซียโจมตีโดนลูกหลง13ศพ│โปแลนด์ยื่นนาโตส่งทหารไปยูเครน
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/168263
ภาคธุรกิจเตรียมปรับราคายกแผงในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะเอสเอ็มอี เนื่องจากแบกรับต้นทุนไม่ไหว โดบเฉพาะภาคการผลิตและการค้า
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการสำรวจภาคธุรกิจ เกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าและบริการ พบว่าผู้ประกอบการในหลายธุรกิจเตรียมปรับราคาสินค้าใน 3-6 เดือนข้างหน้า จากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แม้ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มสามารถปรับได้ เนื่องจากกำลังซื้อชะลอตัวและการแข่งขันยังสูง
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ในปี 2564 ต้นทุนสินค้าและบริการของธุรกิจส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้นจากสาเหตุสำคัญ ได้แก่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ค่าขนส่งทางเรือที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปัญหา Global supply disruption รวมทั้งต้นทุนทางสาธารณสุข ส่งผลให้สัดส่วนของธุรกิจที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูงขึ้นปรับเพิ่มขึ้นมากในเกือบทุกภาคธุรกิจเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีก่อนหน้า (2561-2563) ยกเว้นในภาคบริการที่สัดส่วนใกล้เคียงเดิม
พตติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการไทยที่พบจากการสำรวจในปี 2561 คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตั้งราคาสินค้าและบริการโดยพิจารณาจากต้นทุนและกำไรเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยปรับสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงน่าจะมีแนวโน้มจะตัดสินใจปรับขึ้นราคาเพื่อรักษาอัตรากำไรไว้ แต่ในความเป็นจริง ภาคธุรกิจอาจปรับราคาได้ไม่ง่ายนัก
ผลสำรวจล่าสุดของ ธปท. พบว่าตั้งแต่ปี 2564-ก.พ. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ธุรกิจในภาคการผลิต และภาคบริการส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับราคาสินค้า ขณะที่ธุรกิจภาคการค้ามีสัดส่วนผู้ที่ปรับราคาไปแล้วและมีแนวโน้มจะปรับราคามากกว่าภาคการผลิตและภาคบริการ หากพิจารณาในเชิงขนาดของธุรกิจกลับพบว่าผลไม่ต่างกันอย่างมีนัย คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME ไม่มีการปรับราคาและไม่มีแนวโน้มจะปรับใน 12 เดือนข้างหน้า สาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันที่สูงและกำลังซื้อที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสาเหตุที่ยังไม่มีการปรับราคาในปี 2561
การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในปี 2564 ได้ข้อสรุปที่คล้ายกันว่าผู้ประกอบการไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ทันทีหรือทั้งหมด โดยส่วนใหญ่สามารถปรับราคาสินค้าได้เพียงบางส่วน โดยเฉพาะธุรกิจในภาคบริการที่ร้อยละ 65 เห็นว่าไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ เนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงมาก อาทิ ธุรกิจ โรงแรมและร้านอาหาร ขณะที่ธุรกิจภาคการผลิตและภาคการค้า ทยอยปรับราคาได้ตามรอบสัญญาซื้อขายและการเจรจาต่อรองกับลูกค้าและบางธุรกิจปรับได้เร็วตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
ผลสำรวจพฤติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 อธิบายได้ว่าการปรับราคาของผู้ประกอบการไทยค่อนข้างมีความหนืด (Price stickiness) โดยการตัดสินใจปรับราคาแต่ละครั้ง นอกจากส่วนใหญ่จะพิจารณาราคาของคู่แข่ง(Coordination failure) และต้นทุน (Cost-based pricing) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงด้วย เช่น การตกลงราคาซื้อขายกับลูกค้าไว้ล่วงหน้า (Explicit contracts) รวมถึงการบริหารความคาดหวังของลูกค้าที่ไม่ต้องการให้ปรับราคา (Implicit contracts) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ท าให้การปรับราคาของธุรกิจทำไม่ได้ทันทีและบ่อยนัก อีกทั้งบางธุรกิจอาจเลือกใช้วิธีอื่นเพื่อรักษา Profit marginแทนการปรับราคาด้วย เช่น เพิ่มการผลิต ลดคุณภาพ ลดระยะเวลาการรับประกันสินค้า เป็นต้น
กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่ง SME ส่วนมากคาดว่าจะแบกรับต้นทุนโดยไม่ปรับราคาได้อีกเพียง 3-6 เดือนเท่านั้น โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ต้องปรับราคา คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนขนส่ง
หากประเมินจากประเภทธุรกิจ พบว่าธุรกิจในภาคการผลิตและการค้ามีโอกาสปรับราคาได้มากกว่าภาคบริการ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจพตติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 ที่สะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคการค้าสามารถปรับราคาสินค้าได้ถี่กว่า อาทิ ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมและพลาสติกซึ่งสินค้ามีความเกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายเดือน ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
รวมถึงภาคการค้า ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายไตรมาสถึงครึ่งปี ในขณะที่ธุรกิจภาคบริการ อาทิ ก่อสร้างและอสังหาฯ โรงแรมร้านอาหารและขนส่งมีความถี่ในการปรับราคาสินค้าและบริการเป็นรายปี
แม้ว่าในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่ปรับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนได้มากกว่า และใช้วิธีอื่นแทนการปรับราคา เช่น ลดโปรโมชั่น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจกดดันให้ผู้ประกอบการปรับเพิ่มราคาสินค้าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี พลาสติกกลุ่มผู้ผลิตอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์และภาคการค้า
อวสานอาชีพชาวนา? ไทยอาจนำเข้าข้าวแทนส่งออก ถ้ารัฐไม่เร่งแก้ปัญหาหนี้
https://brandinside.asia/the-reason-why-thai-farmers-need-government-help/
นี่อาจเป็นยุคสุดท้ายของการทำนา?
ถ้ารัฐไม่เร่งแก้ปัญหา ต่อไป ไทยอาจต้องนำเข้าข้าวเพราะไม่มีชาวนาทำนาอีกต่อไปแล้ว ไม่มีทายาทสืบทอด ไม่มีลูกหลานอยากสานต่อ
ใครจะอยากทำงานที่รายได้ต่ำกว่าต้นทุน มีเรื่องเดือดร้อนก็ปล่อยให้เรียกร้องยาวนานจนน่าประหลาดใจ เหตุใดรัฐจึงเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาชนที่เป็นคนสูงวัยกลุ่มใหญ่ที่ออกมาเรียกร้องนอนรอความช่วยเหลือ อยู่ริมถนน ตากแดด ตากลม ตากฝน ทนป่วย ทนต่อการใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเช่นนี้ได้อย่างไร?
ต้องบอกว่าเสียงจากชาวนาที่รอคอยให้รัฐเร่งแก้ปัญหา กว่าความช่วยเหลือจะมาถึง มันช่างยาวนานเหลือเกิน รอบล่าสุดที่กลุ่มชาวนาออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ ช่วยโอนหนี้จากธนาคารให้เป็นของรัฐ เพื่อจะได้ไม่มีการคิดดอกเบี้ย ในปัจจุบันนี้แม้ช่วงใดที่ประสบภัยแล้ง ไม่มีผลผลิต ชาวนาไม่มีรายได้ แต่ก็ยังต้องก้มหน้าหาเงินจากทางอื่นเพื่อใช้ดอกเบี้ยต่อไป เมื่อไม่มีรายได้ จะหาเงินที่ไหนมาใช้หนี้? เมื่อหยุดจ่ายหนี้ ดอกก็เพิ่มสูงขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
หนำซ้ำ เมื่อใดที่ได้ผลผลิต ก็ไม่ได้หมายความว่า ผลผลิตที่ได้ จะได้รับกลับมาแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีสิ่งใดการันตีได้เลยว่า ชาวนาจะทำนาได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย เหนือสิ่งอื่นใด ต้นทุนการผลิตยังแพงกว่ารายได้จากผลผลิตเสียอีก รัฐทำไมยังปล่อยให้ชาวนาต้องตกที่นั่งลำบากยาวนานขนาดนี้ การที่เขาออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วย เพราะเขาไม่เหลือหนทางสู้แล้ว ถ้าปล่อยเวลานานไป สถาบันการเงินทั้งหลายอาจฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดอีก
ถ้านับจากวันที่เริ่มเดินทางมาเรียกร้องให้รัฐโอนหนี้รอบนี้ เริ่มเมื่อคืน 23 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา นับถึงเวลานี้เป็นเวลายาวนานถึง 52 วันแล้ว
ข้อเรียกร้องที่ชาวนาต้องการให้รัฐช่วยเหลือ
หนึ่ง ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ชะลอการฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก ให้ช่วยเร่งโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้สินของ กฟก. หรือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และขยายวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาท ขยายเป็น 5 ล้านบาท เสนอเรื่องเข้าสู่มติ ครม.
สอง ลดหนี้ ปลดหนี้สำหรับเกษตกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วย เป็นโรค เหลือไม่เกิน 25% ตาม พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ
สาม ขอให้ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นพร้อมปฏิรูปการบริหารงานของ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ราคาพืชผลเกษตรถูกลงทุกวัน แต่ราคาปุ๋ย แพงขึ้น แพงขึ้น รัฐบาลควรช่วยเหลือและเยียวยารวมทั้งพักชำระหนี้
เสียงของคุณมีค่า ใช้เสียงให้เป็นประโยชน์ ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของชาวนาได้ที่นี่: Change.org แก้ปัญหา #ม็อบชาวนา เร่งโอนหนี้ชาวนาจากธนาคารมาเป็นของรัฐ อย่าปล่อยให้ชาวนาล่มสลาย
อ่านบทสัมภาษณ์ของเกษตรกรผู้ออกมาเรียกร้องได้ด้านล่างนี้ ออกไปเยี่ยมกลุ่มผู้เรียกร้องเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุน ฟังเสียงเรียกร้องของพวกเขาได้ที่บริเวณหน้ากระทรวงการคลัง อย่าปล่อยให้เขาต้องสู้เพียงลำพัง
‘ไม่มีแล้ววันอังคาร
รัฐบอกจะเอาเรื่องเข้าประชุม ครม. รัฐบอกหลายอังคารแล้ว
หลานถาม เมื่อไรย่าจะกลับ อังคารของย่ามาช้าจังเลย
ย่าก็ตอบไป ไม่มีอังคารแล้ว จันทร์แล้วพุธเลย อังคารมานาน มาช้าเหลือเกิน’
เจ๊หน่อย อายุ 63 ปี มาจากจังหวัดนครสวรรค์ อ.บรรพตพิสัย ทำนาตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษๆ ทำนามาตลอดเลย มีรายได้บ้างขาดทุนบ้าง ถ้าเป็นยุคยิ่งลักษณ์นี่ค่อนข้างบูม ยุคหลังนี้ ต้องใช้น้ำมันเพื่อไปสูบน้ำลงนาเพื่อทำนาถึง 3 ต่อ ถังละ 5,700 บาท ใช้ประมาณ 2 ถังกว่าจะจบนา กว่าจะได้เกี่ยว ใช้ทั้งปุ๋ยและยา ฉีดคราวละ 1,000 กว่าบาท 4 หน กว่าจะได้เก็บเกี่ยวได้เกวียนละ 6,000 กว่าบาท เท่านี้ก็ไม่มีเงินใช้หนี้ใช้สิน ต้องพยายามเข้ากองทุนฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลยังไม่ยอมเอาหนี้เข้ากองทุนให้เลย
หนี้ยังอยู่ ธกส. กลัวเขาจะเอาขายทอดตลาดเพราะเราไปกู้เขามาทำทุน
ทำนา 25 ไร่ ทำมาตลอด เป็นที่ดินของพ่อปู่ แม่ย่าตัวเอง ได้เอาที่นาไปไว้กับ ธกส. เพื่อกู้เงินมาใช้หรือเรียกว่าจำนองนั่นแหละ ดอกเบี้ยร้อยละ 7-8 บาท ปีหนึ่งถ้าเราไม่ได้ส่ง ดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นหนี้ 3 แสน ตอนนี้ทั้งต้น ทั้งดอกเพิ่มเป็น 6 แสนบาทแล้วเพราะไม่มีรายได้ไปใช้หนี้
ตอนที่ไม่มีรายได้จากนา ก็เอารถพ่วงไปขายของ ไปรับไข่ไก่มาขาย ปลูกผักกินในบ้าน สภาพของที่ดินก็ทำนาได้อย่างเดียว ทำถั่ว ทำข้าวโพดไม่ได้ นาอยู่ในพื้นที่สูง ไม่มีน้ำ ต้องดึงน้ำมาใช้เยอะถึงสี่ทอดกว่าจะถึง อยู่ที่นี่มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคมแล้ว ไม่เคยกลับเลย ปีก่อนหน้านี้ที่ไม่มีโควิด น้ำก็ต้องไปซื้อกิน ห้องน้ำก็ต้องไปอาบคราวละ 15 บาท เดี๋ยวนี้มีขนม มีข้าวมาแจกบ้าง
อยากฝากถึงรัฐบาล สงสารชาวนาบ้างเถ๊อะ ชาวนาทำนายากเข็น ลำบาก ซื้อเรือดำน้ำได้ ช่วยชาวนาบ้างไม่ได้เลยเหรอ ซื้อมาทำไมเรือดำน้ำ? ช่วยชาวนาดีกว่าไหม? ทำนายุคตู่ อะไรก็แพงหมด หมูก็แพง ไข่พี่ตู่แพงจังเลย ทุกอย่างราคาขึ้นหมดเลย น้ำมันก็ขึ้น จะกินอะไรกันได้บ้าง
อยากฝากถึงคนทั่วไป ให้กำลังใจพวกชาวนาหน่อย มาอยู่ตั้งสองเดือนแล้ว รากหญ้าจนๆ มาลำบากอยู่เนี่ย อยากให้รัฐนำเรื่องเข้า ครม. ไวๆ ค่ะ เขาบอกวันอังคารนี้ อังคารนี้หรืออังคารหน้าก็ไม่รู้ หลายอังคารจัง ป้าเลยบอกหลานที่อยู่บ้านว่า “มันไม่มีวันอังคารหรอกลูก” หลานถาม “ย่า วันไหนจะกลับ ทำไมอังคารย่านานจัง” ป้าบอก “ไม่มีวันอังคารแล้วลูก วันจันทร์แล้วก็พุธเลย อังคารหลายอังคารเหลือเกิน..ไม่มีอังคารแล้ว”