แรงงานเรียกร้องค่าแรง 464.30 บาทต่อวัน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จากกลุ่มตัวอย่าง 600 ตัวอย่าง พบว่า ค่าแรงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 10.2 หากไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 3 เดือน จะทำให้ต้นทุนเพิ่มถึงร้อยละ 12.8 โดยจะเริ่มปรับราคาสินค้าขึ้นอีกร้อยละ 13.6

ทั้งนี้ จะเริ่มเห็นการปิดกิจการในไตรมาสที่ 2 หากยังไม่ได้รับการช่วยเหลือในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะมีผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.3 และปรับขึ้นราคาสินค้าถึงร้อยละ 17.9

ขณะที่ความคิดเห็นของแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท พบว่า ร้อยละ 57 อยากให้ปรับค่าแรงให้เหมาะสม อยู่ที่วันละ 464 บาท 30 สตางค์เนื่องจากรายจ่ายยังเท่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และต้องการให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำทุกปีหรือปรับขึ้นตามค่าครองชีพ

นอกจากนี้ แรงงานร้อยละ 59.5 กังวลว่านายจ้างจะแบกรับภาระไม่ไหวจนต้องเลิกจ้าง จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการและหาช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับแรงงาน

ล่าสุด พบว่าโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปางที่ได้รับผลกระทบ ขึ้นป้ายประกาศขายที่ดินและโรงงานแล้ว  4 แห่ง โดยบางแห่งยังประกอบกิจการอยู่จนกว่าจะมีผู้มาซื้อ ในขณะที่บางแห่งขึ้นป้ายประกาศขายทั้งโรงงานและอุปกรณ์ผลิตเซรามิกทั้งหมด


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359020375&grpid=&catid=05&subcatid=0501

สรุปแล้วค่าแรงที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันควรเท่าไรดีครับ

และค่าตอบแทนแต่ละอาชีพแต่ละระดับที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร

ทำไมไม่ลงตัวสักที

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่