ค่าจ้างขั้นต่ำควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศมะ

ตอนนี้เรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถือว่าเป็นกระแสที่สังคมสนใจ ซึ้งมีการใช้วาทะกรรมตั้งคำถามต่อการเสนอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยต้องเท่ากันทั่วประเทศ ดังนี้

1. ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น กระทบต่อผู้คนในสังคม ?
2. ปรับขึ้นค่าจ้างนายจ้างจะปิดโรงงาน ส่งผลกระทบทำให้แรงงานต้องตกงาน ?
3. หากค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นแรงงานข้ามชาติจะเข้ามาทำงานให้ประเทศจนส่งผลกระทบกับสังคม?
4. หากปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศจะเกิดการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมไปยังประเทศ ที่มีค่าแรงที่ถูกกว่า?

คำตอบจากนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์มีดังนี้
ศาสตราพิชาน รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่สังคมและคนทั่วไปไม่เข้าใจเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั้งที่เป็นเพียงการปรับขึ้นค่าจ้างพื้นฐานเท่านั้น และค่าจ้างแรงงานถือเป็นเพียงเซี่ยวเดียวหรือร้อยละ 1 ของต้นทุนการผลิตของค่าใช้จ่ายของนายจ้าง แต่ว่าทุนผูกขาดด้านสินค้าอุปโภคบริโภคมองว่า เมื่อต้นทุนขยับขึ้นเพียงหนึ่งในร้อย ค่าครองชีพต้องปรับขึ้นด้วย ซึ่งเป็นวาทกรรมของกลุ่มทุน รัฐที่สร้างขึ้น และสังคมรวมถึงคนชั้นกลางชันล่างก็มองว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแบบปรับขึ้นค่าจ้างเท่าไรก็ไม่ทันค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น โดยไม่ได้คิดว่าถึงไม่ปรับขึ้นค่าจ้างราคาสินค้าก็ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันหรือองค์ประกอบอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานเพียงแค่เสี่ยวหนึ่งของต้นทุน สิ่งที่น่าแปลกใจคือทำไมไม่มีใครบ่นเมื่อรัฐประกาศปรับขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเมื่อประกาศปรับค่าครองชีพก็ปรับขึ้นเช่นกัน และดูว่าการปรับขึ้นค่าจ้างข้าราชการจะดูง่ายมากกว่าการที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำแรงงาน เพราะค่าจ้างของราชการ รัฐวิสาหกิจไม่เกี่ยวกับต้นทุนทางธุรกิจ

การที่มีการแยกจังหวัดด้านการปกครอง ไม่ได้มีการแบ่งเขตเศรษฐกิจหรืออัตราค่าครองชีพ ราคาสินค้าเลย คือ หากินอาหาร หาปู ปลา ไข่มดแดง พืชผักได้ตามบ้านของชาวบ้าน รัฐมองว่าแรงงานคงหากินแบบนี้ได้ก็ให้ขั้นค่าจ้างต่ำหน่อยตามศักยภาพพื้นที่ หากในเมืองก็ค่าจ้างสูงหน่อยเพราะหากินแบบชนบทไม่ได้ รัฐมองว่าต้องดูเป็นรายจังหวัดไปเพราะค่าครองชีพต่ำ สูงต่างกัน การที่แรงงานมีค่าจ้างต่ำจะจูงใจให้เกิดการลงทุนอันนี้ก็คงไม่ใช่ตามที่รัฐคาดหวังแน่นอน เพราะมีต้นทุนอย่างอื่นที่สูงกว่าเรื่องค่าจ้างในท้องถิ่นเป็นมุมมองของผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริงคือวิถีชีวิตของแรงงานไม่ใช่ชาวบ้านอีกต่อไป วิถีชีวิตแรงงานคือทำงานในโรงงาน ทำงานล่วงเวลาเหมือนกันทุกจังหวัด คงไม่มีเวลาที่จะไปหาไข่มดแดง หักฟืนปลูกข้าวกิน วันหยุดก็คงเข้าห้างซื้อข้าวปลาอาหารไว้กินไว้ใช้เหมือนกัน ซึ่งต้นทุนของแรงงานจึงเท่ากัน ค่าครองชีพเท่ากัน การที่จะใช้ค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อการจูงใจการลงทุน การพูดถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการลงทุนค่าจ้างต่ำ การลดภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน ก็เป็นอีกมาตรการของรัฐนอกจากกดค่าจ้างให้ต่ำ

อีกวาทะกรรมของการมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานจะขึ้นหรือไม่อยู่ที่องค์กรไตรภาคี คือนายจ้าง และลูกจ้าง แต่ปัญหาคือความเป็นตัวแทนลูกจ้างมาจากไหนกัน หากเป็นจังวัดที่ไม่มีสหภาพแรงงาน เพราะว่าความเป็นตัวแทนต้องรู้ถึงความต้องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพราะว่า รู้ถึงคุณภาพชีวิตของแรงงานจะดีไม่ได้เพราะค่าจ้างต่ำเกินไป แต่ว่าตัวแทนที่อ้างว่าเป็นแรงงานกลับมีมติไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอันนี้คงต้องไปดูว่าเป็นตัวแทนของใคร เป็นตัวแทนแรงงานจริงหรือไม่ คิดว่า ค่าจ้างขั้นต่ำก็พอกับที่คำว่าคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ต้องดำรงอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรี และค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ตัวแปรในการลงทุน หรือการย้ายฐานการผลิต เพราะว่าจะอยู่หรือไปนายจ้างตัดสินใจบนพื้นฐานอย่างอื่น เช่นความสะดวกของถนนหนทาง การขนส่ง ปัจจัยอื่นๆที่ถือเป็นต้นทุนการผลิต ซึ่งค่าจ้างเพียงร้อยละ1เท่านั้นของต้นทุน จะปิดหรือเปิดไม่เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้ยินเป็นเพียงวาทกรรม และเห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ค่าจ้างในการต่อลมหายใจแรงงาน แต่ต้องอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

รัฐมองการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงงาน และค่าจ้างก็จะสูงไปด้วย และการวัดคุณภาพผลงานการทำงาน ซึ่งนายจ้างนำประเด็นนี้มาวัดอยู่แล้ว และบอกว่าต่ำเสมอแล้วใครจะเป็นคนประเมินเรื่องฝีมือ และส่งเสริมเรื่องการพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นนายจ้างก็ต้องลงทุนรัฐบาลก็ต้องสนับสนุน

ร.ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอว่า การปรับค่าจ้างใช้รูปแบบของระบบตัวแทน นายจ้าง 5 คน ลูกจ้าง 5 คน และภาครัฐ 5 คน รวม 15 คน ทั้งคณะกรรมการค่าจ้างกลาง และคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ที่เห็นคือ ใครเป็นตัวแทน ในเมื่อสหภาพแรงงานมีน้อย ไม่ครบทุกจังหวัด  เช่น ตัวอย่างภาคเหนือมีสหภาพแรงงาน 9 แห่ง แล้วจังหวัดมีเท่าไรใครเป็นตัวแทนที่จะบอกปรับขึ้นหรือไม่ขึ้นค่าจ้าง

การเรียกร้องปรับขึ้นค่าจ้าง กระทบกับใครบ้าง และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบจากสังคม ซึ่งกังวลเรื่องค่าครองชีพที่ปรับตัวขึ้นสูงหลังจากที่แค่มีการเสนอปรับขึ้นค่าจ้างราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตามเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างคือต้นทุน หากไม่ปรับขึ้นค่าจ้างราคาสินค้าไม่ปรับขึ้นจริงหรือหากปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานข้ามชาติจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้นเป็นอีกประเด็นที่มีการอ้างถึง ยังมีเรื่องขึ้นค่าจ้างนายจ้างจะปิดกิจการ ย้ายฐานการผลิต ซึ่งจากผลสำรวจ จากรายงาน 2 ปีหลังปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ สิ่งที่คาดว่าจะเกิด และมโนกันมาตลอด ทางสถาบันอนาคตไทยศึกษาได้เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2557 พบว่าหลังขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ปีมีการคาดการว่าเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 7 แต่ความจริงปี 2554-2556 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยกลับอยู่ที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ช่วงปี 2551-2553 ซึ่งช่วงก่อนมีนโยบาย นั่นหมายความว่า แม้ราคาข้าวของขึ้นแต่ก็ไม่ได้รุนแรงเท่าที่คาดการณ์

ในเรื่องสถานประกอบการ รายงานดังกล่าวพบว่า แม้จะมีสถานประกอบการปิดตัวลงเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า คือประมาณ 7,000 รายในช่วงปี 2551-2553 เป็นประมาณ 16,000 รายในช่วงปี 2554-2556 ก็พบว่าในด้านของการย้ายกิจการออกจากจังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมาก สัดส่วนการจ้างงานในกลุ่มจังหวัดดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงลดลงมากแต่อย่างใด โดยเฉพาะใน 20 จังหวัดที่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มสูงสุด จังหวัดที่มีการจ้างงานลดลงมากที่สุดก็ยังลดลงเพียงร้อยละ 0.5  และในส่วนของความกังวลว่าจะตกงานเพิ่มขึ้น พบว่าในความจริงแล้ว อัตราคนว่างงานเฉลี่ยกลับลดลง คือรากร้อยละ 1.1 ในช่วงปี 2551-2553 กลายเป็นร้อยละ 0.7 ช่วงปี 2554-2556

หลายส่วนจึงสวนทางกับที่มีการมโน หรือกังวลกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าการขึ้นค่าจ้างครั้งนั้นไม่มีปัญหาเลย คือนอกจากเรื่องสถานประกอบการที่ปิดกิจการมากขึ้นดังกล่าวไปแล้ว รายงานยังพบว่ามีแรงงานที่ได้ค่าจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ จากร้อยละ 22 ในช่วงปี 2551-2553 และเป็นร้อยละ 30 ช่วงปี 2554-2556 และถูกลดสวัสดิการลงร้อยละ 20 ซึ่งอยู่ในร้อยละ 2 ของค่าจ้างทั้งหมด และรายได้อื่นๆเช่นค่าทำงานล่วงเวลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตได้เท่าเดิม แต่แบกต้นทุนส่วนค่าจ้างเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างใครเดือดร้อน นายจ้างเดือดร้อนบ้างแต่เล็กน้อย แต่หากไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างคนที่เดือดร้องคือระดับมหาภาคในส่วนของประชาชน เพราะแรงงานต้องเลี้ยงดูคนทั้งครอบครัว ค่าจ้าง 300 บาททำให้แรงงานมีเงินเพียงพอในการดำรงชีวิต และเข้าถึงชีวิตที่ในระดับพื้นฐานหรือไม่

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า รายจ่ายครัวเรือนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2558 มีค่าเฉลี่ยทั่วประเทศที่ครัวเรือนละ 12,410 บาทต่อเดือน คิดเป็นเฉลี่ยคนละ 4,000 บาทต่อเดือนข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2559 แต่การสำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือนปี 2557 รอบ 6 เดือนปี2558 พบว่ามีค่าใช้จ่ายควรเรือนละ 20,818 บาท และ21,892 ตามลำดับในขณะที่ค่าจ้าง เดือนละ 9,000 บาทคิดแบบทำงานไม่มีวันหยุด พบว่ารายจ่ายของคนไทยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.4 หมายความว่าค่าจ้างแรงงานในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และหากจะมีการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมควรมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ และหากต้องการให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่แค่พออยู่ได้ควรปรับค่าจ้างขึ้นเท่าไร

การที่จะปรับค่าจ้างให้ได้แบบWin Win คือต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ เช่นมาตรฐานทางภาษี รวมถึงสร้างมาตรการสนับสนุนผุ้ผลิตขนาดเล็ก SME  มีการสร้างผลิตภาพ ผ่านนโยบายต่างๆ โดยต้องมีหน่วยงานหลักในการดูแล ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ การพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการอบรมเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขา เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาด และสร้างหน่วยงานในการดูแลตืดตามในเรื่องการคำนวณค่าครองชีพที่เหมาะสม เพื่อในมีการสร้างมาตรฐานค่าครองชีพ เป็นบานข้อมูลสำหรับปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ให้เป็นเส้นทางเดียวกัน และหากการสร้างแรงงานก็ต้องให้เป็นความต้องการของตลาดหากไม่เช่นนั้นก็จะเป็นแรงงานฝีมือทีไม่ต้องการของตลาด

การที่จะมีการสร้างมาตรฐานค่าจ้าง หรือค่าครองชีพที่เป็นมาตรฐานก่อน เพราะไม่ใช่แค่การใช้เรื่องอำนาจต่อรองซึ่งตอนนี้ไม่มีอำนาจในการต่อรองของแรงงานทุกกลุ่ม และต้องคุยกับเพื่อหาตัวกลางมาเพื่อดูแลในการเริ่มทำงานในส่วนกำหนดมาตรฐานค่าครองชีพเพื่อให้เกิดมาตรฐานค่าจ้าง

ผศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่แค่เรื่องข้อมูล แต่เป็นเรื่องจุดยืนของผู้บริหารประเทศที่เหลือแล้วว่าจะยืนข้างนายจ้าง หรือว่าจะยืนข้างแรงงาน เป็นเรื่องอำนาจการต่อรองทางการเมืองด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องคณะกรรมการค่าจ้างกลาง หรืออนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างหรือไม่ขึ้นคนที่ตัดสินใจสุดท้ายยังคงเป็นอำนาจรัฐบาล ซึ่งเลือกที่ยืนแล้วว่าจะข้างไหน และนายจ้างก็ต้องการที่จะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ต้องการผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพและสร้างกำไรสูงสุด ซึ่งในส่วนของลูกจ้างต้องการที่จะมีค่าจ้างที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และเพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัวด้วย แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน จากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศ พบว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผลิตภาพแรงงาน หรือ Labour Productivityในช่วงปี  2544-2553 ค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.2 น้อยกว่าผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.9 โดยที่ ผลิตภาพแรงงานในที่นี้คือ ผลิตภาพแรงงานรวม เพราะไม่ได้มีการแยกออกเป็นผลิตภาพแรงงานขั้นต่ำเอาไว้ แต่เมื่อเทียบค่าจ้างทั่วไปเฉลี่ยกับผลิตภาพแรงงานก็พบว่าค่าจ้างทั่วไปเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นต่ำกว่าผลิตภาพแรงงานเช่นกัน จึงสรุปได้ว่าแรงงานทั่วไปและแรงงานขั้นต่ำยังได้รับผลตอบแทนของค่าจ้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ข้อเสนอ จึงควรสนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น เพื่อจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ การบริโภคและการลงทุนในประเทศ การขึ้นค่าแรงย่อมกระตุ้นอำนาจซื้อ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก กำลังซื้อของเศรษฐกิจภายในของไทยร้อยละ 42 มาจากเงินเดือนและค่าจ้าง หากยกระดับกำลังซื้อนี้ด้วยการเพิ่มค่าจ้างได้ ก็จะมีผลไปต่อคนทุกกลุ่มด้านรายได้เพิ่มขึ้น การกำหนดนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต้องพิจารณาให้เกิดดุลยภาพระหว่าง ความสามารถในการแข่งขัน และ ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจนอกจากนี้

http://voicelabour.org/?p=24408
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่