เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย มิสเตอร์พี
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2830021
https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=636&language=th
กลายเป็นเรื่องสะดุดขาตัวเอง หลังนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ประกาศว่าจะมีการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ภายใต้สูตร 15:15:15 หรือเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเดียวที่ 15% เท่ากันหมด
ส่งผลให้มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนที่ ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น คือ คนชั้นกลาง และมนุษย์เงินเดือน ขณะที่คนรายได้สูงกลับจ่ายภาษีลดลง และเมื่อหักลบกลบกันแล้ว “ไม่แน่ใจว่า ภาษีที่ลดลงจากที่เคยเก็บคนมีรายได้สูงกับที่เก็บเพิ่มได้จากคนมีรายได้น้อย ก้อนไหนจะมากกว่ากัน”
และอีกประเด็นหนึ่งที่คัดค้านกันมาก คือ การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% ที่เก็บอยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับคนไทยทั้งประเทศ ในเวลาที่รายได้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เพิ่มขึ้น แค่ลำพัง “ค่าครองชีพ” ที่สูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้ รายได้คนไทยก็ไม่พอกับรายจ่าย ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินอีนุงตุงนัง
จากประเด็นนี้ ทำให้มีคนตั้งคำถามว่า แล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน!!! ซึ่งพบความจริงที่น่าสนใจว่า 1 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นเพียงหลักร้อยบาทเท่านั้น
ทั้งนี้ จากตารางเผยแพร่ในหัวข้อ “ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยจำแนกตามประเภทธุรกิจ” ซึ่งเผยแพร่โดยแบงก์ชาติ โดยใช้ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดมีข้อมูลถึงเดือน ต.ค.67 ที่ผ่านมา พบว่าค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานไทยอยู่ที่เฉลี่ย 15,821.24 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.66 ที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 15,602.91 บาทต่อคนต่อเดือนแล้ว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 218.33 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
แยกเป็นค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานภาคเอกชน ในเดือน ต.ค.67 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 14,541.47 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของภาคเอกชน ในเดือน ต.ค.66 ซึ่งมีค่าจ้างที่ 14,315.37 บาทต่อคนต่อเดือนเพียง 226.10 บาท ขณะที่ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานภาครัฐ เดือน ต.ค.67 อยู่ที่ 21,329.30 บาทต่อคนต่อเดือน จากเดือน ต.ค.66 ที่มีรายได้อยู่ที่ 20,924.28 บาทต่อคนต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 396.02 บาท
ขณะที่หากแยกตามการศึกษา (ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 67) แรงงานที่ไม่มีการศึกษาเลย ได้รับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 9,284.95 บาท แรงงานที่จบประถมศึกษาได้ค่าจ้าง เฉลี่ย 10,291.18 บาทต่อเดือน มัธยมศึกษาตอนต้นได้ค่าจ้างเฉลี่ย 11,280.45 บาทต่อเดือน มัธยมศึกษาตอนปลาย 13,016.60 บาทต่อเดือน แรงงานที่จบอนุปริญญาได้ค่าจ้างเฉลี่ยที่ 15,788.71 บาทต่อเดือน ขณะที่หากจบปริญญาตรีจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย 23,168.59 บาทต่อเดือน จบปริญญาโทเฉลี่ย 41,464.62 บาทต่อเดือน และจบปริญญาเอกค่าจ้างเฉลี่ยจะอยู่ที่ 57,202.07 บาทต่อเดือน
1 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นแค่ 218.33 บาทต่อเดือนเท่านั้น
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2830021
https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=636&language=th
กลายเป็นเรื่องสะดุดขาตัวเอง หลังนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ประกาศว่าจะมีการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ภายใต้สูตร 15:15:15 หรือเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเดียวที่ 15% เท่ากันหมด
ส่งผลให้มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนที่ ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น คือ คนชั้นกลาง และมนุษย์เงินเดือน ขณะที่คนรายได้สูงกลับจ่ายภาษีลดลง และเมื่อหักลบกลบกันแล้ว “ไม่แน่ใจว่า ภาษีที่ลดลงจากที่เคยเก็บคนมีรายได้สูงกับที่เก็บเพิ่มได้จากคนมีรายได้น้อย ก้อนไหนจะมากกว่ากัน”
และอีกประเด็นหนึ่งที่คัดค้านกันมาก คือ การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% ที่เก็บอยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับคนไทยทั้งประเทศ ในเวลาที่รายได้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เพิ่มขึ้น แค่ลำพัง “ค่าครองชีพ” ที่สูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้ รายได้คนไทยก็ไม่พอกับรายจ่าย ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินอีนุงตุงนัง
จากประเด็นนี้ ทำให้มีคนตั้งคำถามว่า แล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน!!! ซึ่งพบความจริงที่น่าสนใจว่า 1 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นเพียงหลักร้อยบาทเท่านั้น
ทั้งนี้ จากตารางเผยแพร่ในหัวข้อ “ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยจำแนกตามประเภทธุรกิจ” ซึ่งเผยแพร่โดยแบงก์ชาติ โดยใช้ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดมีข้อมูลถึงเดือน ต.ค.67 ที่ผ่านมา พบว่าค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานไทยอยู่ที่เฉลี่ย 15,821.24 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.66 ที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 15,602.91 บาทต่อคนต่อเดือนแล้ว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 218.33 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
แยกเป็นค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานภาคเอกชน ในเดือน ต.ค.67 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 14,541.47 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของภาคเอกชน ในเดือน ต.ค.66 ซึ่งมีค่าจ้างที่ 14,315.37 บาทต่อคนต่อเดือนเพียง 226.10 บาท ขณะที่ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมของแรงงานภาครัฐ เดือน ต.ค.67 อยู่ที่ 21,329.30 บาทต่อคนต่อเดือน จากเดือน ต.ค.66 ที่มีรายได้อยู่ที่ 20,924.28 บาทต่อคนต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 396.02 บาท
ขณะที่หากแยกตามการศึกษา (ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 67) แรงงานที่ไม่มีการศึกษาเลย ได้รับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 9,284.95 บาท แรงงานที่จบประถมศึกษาได้ค่าจ้าง เฉลี่ย 10,291.18 บาทต่อเดือน มัธยมศึกษาตอนต้นได้ค่าจ้างเฉลี่ย 11,280.45 บาทต่อเดือน มัธยมศึกษาตอนปลาย 13,016.60 บาทต่อเดือน แรงงานที่จบอนุปริญญาได้ค่าจ้างเฉลี่ยที่ 15,788.71 บาทต่อเดือน ขณะที่หากจบปริญญาตรีจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย 23,168.59 บาทต่อเดือน จบปริญญาโทเฉลี่ย 41,464.62 บาทต่อเดือน และจบปริญญาเอกค่าจ้างเฉลี่ยจะอยู่ที่ 57,202.07 บาทต่อเดือน