JJNY : ธุรกิจกังวล “ต้นทุนเพิ่ม-กำลังซื้อลด”│ศุภณัฐท้าเศรษฐา│ข้อต่อสู้ก้าวไกลสร้างกระเพื่อม│“ซูแน็ก”ยอมรับความพ่ายแพ้

ธุรกิจกลาง-เล็ก กังวล “ต้นทุนเพิ่ม-กำลังซื้อลด” หวังรัฐบาลกระตุ้นคนใช้จ่าย ระบายของค้างสต๊อก
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2798396
 
 
“Summary“
SME D Bank เผยผลสำรวจ ผู้ประกอบการ SME ความเชื่อมั่นลดในไตรมาส 2/67 กังวลต้นทุนธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น สินค้าเหลือขาย จากกำลังซื้อที่แผ่วลง ผู้รับเหมาก่อสร้างความเชื่อมั่นต่ำที่สุด หวังรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าระบบ กระตุ้นกำลังซื้อ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต
ธุรกิจ SME ยังเผชิญแรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกำลังซื้อที่แผ่วลง จากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าจากปัญหาโครงสร้าง กดดันให้ต้นทุนการประกอบการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงาน ในขณะที่ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ต้องประสบปัญหาสภาพคล่องจากการเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ โดยในไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมา สินเชื่อ SME หดตัวมากถึง 5.1%
 
พิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank โดยศูนย์วิจัยและข้อมูล ธพว. ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยผลสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs ต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ ไตรมาส 2/2567 และคาดการณ์อนาคต” จากการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกประเภทอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 500 ตัวอย่าง
 
พบว่า ภาพรวมดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ระดับ 52.06 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 52.36 เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความกังวลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านต้นทุนการประกอบการและปริมาณสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันสำคัญ ได้แก่ 
 
1. ด้านต้นทุนการประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น 
2. ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก 
3. นโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน
4. กำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลง และประเด็นอื่นๆ เช่น ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น  
 
เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรม เอสเอ็มอีด้านการผลิต ประมาณ 55% มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากไตรมาส 2/2567 เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทำให้ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่าผลประกอบการและสภาพคล่องของธุรกิจการผลิตจะดีขึ้น และเชื่อมั่นจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจการผลิตในภาคการเกษตร มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มรับเหมาก่อสร้างยังคงมีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด และต่ำกว่าธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ผ่านมา
 
ส่วนคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 3/2567) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 58.60 โดยเพิ่มขึ้นในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลประกอบการ จำนวนคำสั่งซื้อ ราคาขายของสินค้า สภาพคล่องของธุรกิจ และปริมาณการผลิต เนื่องจากคาดการณ์เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับเดิม 
 
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการ ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) ต้องการมากที่สุด คือ มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ในขณะที่ กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ต้องการมาตรการเงินลงทุนยกระดับมาตรฐาน หรือปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
นายพิชิต กล่าวสรุปว่า จากผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจยังไม่สนับสนุนให้เอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นมากนัก และยังมีความกังวลด้านต้นทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอสเอ็มอียังต้องการมาตรการสนับสนุน เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อและส่งเสริมต่อการประกอบธุรกิจให้เติบโต.


 
ศุภณัฐ ท้าเศรษฐา ประกาศเลยว่างเข้าสภา ตอบกระทู้ก้าวไกลวันไหน รอถามมาร่วมปีแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4664908

ศุภณัฐ โวยเศรษฐา ไม่เคยทำตัวว่าง เข้าสภาตอบกระทู้ฝ่ายค้าน ท้าประกาศเลยมาวันไหน ก้าวไกลรอมาร่วม 1 ปีแล้ว
 
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล กรณีที่ฝ่ายค้านเสนอให้เพิ่มวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลักดันกฎหมายสำคัญได้เร็วและมากขึ้นว่า ขึ้นอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพร้อมปฏิบัติอยู่แล้ว และเห็นด้วยที่ต้องพยายามช่วยกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติในการผลักดันกฎหมายให้ออกมาเร็วๆ

เมื่อถามถึงการตอบกระทู้ในสภา นายกฯจะกำชับรัฐมนตรีอย่างไรหรือไม่ โดยเฉพาะนายกฯที่อาจมีภารกิจวันที่ตรงกับการประชุมสภา แล้วไม่สามารถไปได้ นายเศรษฐากล่าวว่า เรื่องนี้เราให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการไปตอบด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปตอบ ซึ่งต้องมีการคุยกัน
 
ประเด็นนี้ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า 

แต่ท่านนายก “ไม่เคยทำตัวให้ว่าง เพื่อมาตอบคำถามประชาชน”

‼️ท่านนายกฯ ประกาศมาเลย จะว่างมาตอบกระทู้ “ของ ส.ส.ก้าวไกล” สัปดาห์ไหน วันที่เท่าไร
📌 สภามีกระทู้สด ทุกวันพฤหัส ช่วง 10.30-12.30 / วันละ 3 กระทู้ ฝ่ายค้าน 2 กระทู้-รัฐบาล 1 กระทู้ กระทู้ละ 30นาที
พรรคก้าวไกล รอถามกระทู้สด ท่านนายกฯ แทนพี่น้องประชาชน มาร่วม 1 ปีแล้วครับ

https://x.com/SuphanatMFP/status/1809097497085948270


 
ข้อต่อสู้ก้าวไกลสร้างกระเพื่อม แรงกดดันนานาชาติ อาจรอดคดียุบพรรค หลุดพ้นแดนสนธยา สว.
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4664305

The Politics ข่าวบ้าน การเมือง สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วิเคราะห์เกมสภาสูง สว.สีน้ำเงินทะลุ 130 คน ชี้ราตรีกำลังผ่านไป รุ่งอรุณกำลังจะเข้ามา แต่มีความขมุกขมัว ไม่ชัดเจน เสนอให้ สว.ประชาชนจับกลุ่มกัน ภายใต้ศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อตรวจสอบ สว.ด้วยกันเอง ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตรวจสอบองค์กรอิสระ สร้างสิ่งใหม่ๆ สร้างมิติใหม่ๆ เหมือน สส.พรรคก้าวไกล ทำให้เห็นในสภา ข้อต่อสู้ของก้าวไกลสร้างแรงกระเพื่อม มีโอกาสยกฟ้อง ถ้าศาลรัฐธรรมนูญอธิบายไม่ได้ ความชอบธรรมจะยิ่งถดถอยลง คนในสังคมไม่ได้มองเรื่องกฏหมายแล้ว แต่มองว่าน่าจะมีธงอยู่ โดยที่ไม่ได้ดูข้อพิจารณา และศาลเจอแรงกดดันจากนานาชาติ อาทิ องค์การสหประชาชาติ และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่