ผวาเกิดหนี้เสียพุ่ง หวั่นรายได้ครัวเรือนกระทบหนักจากวิกฤต เผยยอดสินเชื่อค้างชำระเริ่มพุ่งสูง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3207137
สภาพัฒน์ เผย หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 3 ปี 64 ขยายตัวชะลอลง สัดส่วนต่อจีดีพีคงที่ หวั่นการเกิดหนี้เสียพุ่ง หากรายได้ครัวเรือนถูกกระทบจากวิกฤต
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. น.ส.
จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับหนี้สินครัวเรือนในไตรสามปี 2564 มีการขยายตัวชะลอลง โดยหนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% ในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ที่เพิ่มขึ้น 5.1% ซึ่งเป็นการชะลอลงในทุกประเภทสินเชื่อ โดยคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 89.3% คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
น.ส.
จินางค์กูร กล่าวว่า ด้านความสามารถในการชำระหนี้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.89% ลดลงจาก 2.92% ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงินส่วนคุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
“อย่างไรก็ตาม ต้องเฝ้าระวังการเกิดหนี้เสีย เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มีมูลค่าถึง 3.6 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมสูงถึง 7.05% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อน และเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกประเภทสินเชื่อยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งหากมีปัจจัยอื่นที่กระทบต่อรายได้ครัวเรือนอาจส่งผลให้ หนี้เสียปรับตัวเพิ่มขึ้น” น.ส.
จินางค์กูร กล่าว
น.ส.
จินางค์กูร กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มในระยะถัดไป คาดว่าหนี้สินครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก ครัวเรือนรายได้สูงหรือที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยังมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะในสินเชื่อเพื่อยานยนต์ ที่ยอดจองรถจักรยานยนต์และรถยนต์ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 เกินเป้าหมายที่ 3 หมื่นคัน และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีความต้องการสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพื่อนำมาชดเชยสภาพคล่องจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว
น.ส.
จินางค์กูร กล่าวว่า ทั้งนี้ สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน อาจเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป จึงต้องให้ความสำคัญกับ
1. การเร่งดำเนินมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งยังมีปัญหาในกลุ่มลูกหนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ที่ได้รับการช่วยเหลือเพียงการชะลอการชำระหนี้แก่ลูกหนี้แบบชั่วคราว อาทิ การขยายระยะเวลา การพักชำระหนี้ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. การส่งเสริมให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แต่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน เพื่อไม่ให้ครัวเรือนมีภาระหนี้มากเกินไป
และ 3. การส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการจ้างงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการยกระดับทักษะแรงงาน
เพื่อไทย ชี้ ปชช.เข้าไม่ถึงการรักษา ทำอาการเบาเป็นหนัก แนะ รบ.ไม่ควรปรับเป็นโรคประจำถิ่นตอนนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3207550
“โฆษกเพื่อไทย” ประชาชนเข้าไม่ถึงการรักษา จากอาการเบากลายเป็นหนัก แนะรัฐทบทวน-ไม่ควรปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นตอนนี้
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.โฆษกพรรค พท. แถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ ว่า จากการลงพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 ทุกระดับสี ยังประสบปัญหาในการเข้าสู่ระบบการรักษาจำนวนมาก ทั้งการติดต่อหมายเลข 1330 ที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการติดต่อกลับอย่างทันท่วงที ประชาชนไม่รับทราบถึงวิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นและไม่ได้รับยาสามัญ ทำให้อาการติดเชื้อจากเบากลายเป็นหนัก ส่งผลต่อจำนวนเตียงในระบบโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ที่ต้องกลับเข้าสู่สภาพที่เรียกว่า ‘คัดเคส’ ผู้ที่สามารถเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้จะต้องมีประกันชีวิตที่ทำไว้กับบริษัทเอกชนเท่านั้น แต่หากจะต้องกักตัวใน Hospitel จะต้องจ่ายมัดจำก่อนเข้าพักถึง 80,000 หมื่นบาท เพื่อกันไว้สำหรับการใช้บริการ เพราะภาคเอกชนไม่วางใจรัฐบาลโดย สปสช.อาจจะไม่มีเงินจ่ายให้กับเอกชนแล้ว
นอกจากนี้ สถานการณ์ที่ผู้ป่วยโควิดไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐที่เป็นไปแบบต่างคนต่างทำ มีระบบการจับคู่ที่หน่วยงานภาครัฐ จัดให้ประชาชนในพื้นที่หนึ่ง สามารถเข้ารับการรักษาในคลินิกชุมชนแห่งนั้น แต่ไม่มีระบบการส่งตัวไปยังโรงพยาบาล โดยทั้งหมดไม่ได้มีการประสานกับโรงพยาบาล ทำให้เกิดความสับสนทั้งในส่วนของประชาชนและผู้ปฏิบัติทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน จนในท้ายที่สุดผู้ป่วยไม่มีสถานที่เข้าพักรักษาตัวจำนวนมาก ขณะที่การพักรักษาตัวที่บ้านด้วยวิธี Home isolation สามารถทำได้ในบางครอบครัวเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมีคนยากจนที่หาเช้ากินค่ำเป็นจำนวนมาก หลายครอบครัวเป็นคนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร พักอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวในห้องเช่าเดียว เมื่อติดโควิดเพียงหนึ่งคน จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ทั้งครอบครัวจะติดเชื้อด้วย หรือบางรายอยู่ตัวคนเดียวต้องกักตัวลำพัง แต่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปดูแลการยังชีพเบื้องต้น ดังนั้นประชาชนกลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐเข้าไปดูแลเป็นอย่างมาก เช่น ต้องส่งยารักษาตามอาการ ข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้จำเป็นสำหรับทั้งครอบครัว สำหรับการกักตัวในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากรัฐบาลเข้าไปดูแลในส่วนนี้ไม่ดีพอจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่านี้
น.ส.
ธีรรัตน์กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนฝากคำถามมาถึงรัฐบาลว่า รัฐบาลกำลังทำให้โรคโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นก่อนเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ รัฐบาลกำลังใช้วิธีการสร้างความเชื่อให้ประชาชนเข้าใจไปว่า ทุกคนต้องติดเชื้อโควิด และในที่สุดโควิดจะกลายเป็นโรคทั่วไปที่สามารถรักษาให้หายได้ และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ใช่หรือไม่ ซึ่งในทางการแพทย์กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่า โควิดสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงและกระทบกับสุขภาพของประชาชนในระยะยาว หรือ Long Covid ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตของประชาชน ประกอบกับระบบการบริหารจัดการของรัฐบาลยังล้มเหลวซ้ำซาก ดังนั้นจึงยังไม่ถึงเวลาที่โควิดจะเป็นโรคประจำถิ่นในตอนนี้ ทั้งนี้ ในบริบทของประเทศไทย ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ จึงยังไม่ใช่เวลาที่โควิดจะเป็นโรคประจำถิ่น แม้บางประเทศจะปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่อยู่ภายใต้บริบทที่ว่า ประชาชนของเขาสามารถเข้าถึงการบริการพื้นฐานของภาครัฐได้ หยุดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลต้องปรับระบบการบริหารจัดการการรักษาให้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ก่อนจะดีกว่า
‘จาตุรนต์’ อัด ‘ดอน’ รักสงบ ต้องประกาศให้ชัดว่า ไม่เอาสงคราม ไม่ใช่ไม่เลือกข้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3208328
จาตุรนต์’ อัด ‘ดอน’ รักสงบ ต้องประกาศให้ชัดว่า ไม่เอาสงคราม ไม่ใช่ไม่เลือกข้าง
จากกรณีนาย
ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรี ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามรัสเซีย กับยูเครน โดยยืนยันจุดยืนไทยว่า รัฐบาลไทย รักสงบ ไม่ชอบวุ่นวาย พร้อมระบุด้วยว่า การไม่เลือกข้างได้เป็นเรื่องดีที่สุด เพราะเราต้องการให้สถานการณ์สงบโดยเร็วโดยทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ถ้าทั้งสองฝ่ายคุยกันรู้เรื่องก็จะสงบอย่างแน่นอน
ล่าสุด นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากพรรคเพื่อไทย ได้วิจารณ์คำสัมภาษณ์ของนายดอนดังกล่าว ผ่านทวิตเตอร์ โดยระบุว่า
“พูดอย่างนี้ ไม่พูดเสียจะดีกว่า เรียกสงครามรุกรานว่า ความวุ่นวาย ? เราต้องการความสงบ รักความสงบ? ทำไมไม่พูดว่า ว่าไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังความรุนแรงกับประเทศใดประเทศหนึ่ง”
https://twitter.com/chaturon/status/1498245261302272000
ทูตสวีเดนในไทย ฟาด! สิ่งที่เกิดในยูเครน ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกให้สองฝ่ายยอมลดลาวาศอก!
https://www.matichon.co.th/politics/news_3208039
ทูตสวีเดนในไทย ฟาด! สิ่งที่เกิดในยูเครน ไม่ใช่วิกฤติการณ์ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกให้สองฝ่ายยอมลดลาวาศอก! แต่คือสงครามที่ก่อโดยรัสเซีย
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. นายยูน โอสตร็อม เกรินดอล (H.E. Mr. Jon Åström Gröndahl) เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย โพสต์ทวิตเตอร์ ถึงกรณีความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน โดยระบุว่า “ถึงเพื่อน ๆ ชาวไทยของเราทุกคน ภาษามีความสำคัญ สิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนไม่ใช่ “วิกฤตการณ์” ไม่ใช่เรื่องการที่จะให้ 2 ฝ่ายต้องลดระดับความขัดแย้ง ยอมลดลาวาศอก แต่มันคือการบุกรุกรุกราน มันคือสงคราม อย่าปล่อยให้คนเข้าใจว่าอยู่ในระดับเดียวกันในสิ่งมันไม่มีอยู่จริง รัสเซียเท่านั้น และรัสเซียเพียงผู้เดียวที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
“To all our THAI friends. Language matters. What is happening in Ukraine is not a crisis, not two parties that need to de-escalate. It is an aggression, a war. Let us not imply a parity that does not exist Russia, and Russia alone, is responsible.”
ขณะที่วันนี้ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ทวิตภาพระบุว่า เอกอัครราชทูตจากหลายประเทศของสหภาพยุโรป ในประเทศไทย เข้าพบ พาฟโล โอเรล อุปทูตฯ ยูเครนประจำประเทศไทย ในวันนี้ เพื่อยืนยันว่าสหภาพยุโรปยืนหยัดอย่างมั่นคงเคียงข้างประชาชนและประเทศยูเครน เราขอประณามการรุกรานของรัสเซียต่อความบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยของยูเครน สหภาพยุโรปจะ ยังคงสนับสนุนยูเครนต่อไป
เช่นเดียวกับ มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศ ก็โพสต์คลิปกล่าวแสดงการประณามการใช้กำลังทางทหารของรัสเซีย และขอยืนอยู่ข้างชาวยูเครน
JJNY : 5in1 ผวาเกิดหนี้เสียพุ่ง│พท.ชี้ปชช.เข้าไม่ถึงการรักษา│‘จาตุรนต์’อัด‘ดอน’│ทูตสวีเดนในไทยฟาด!│หมีขาวปลุกพญาอินทรีดำ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3207137
สภาพัฒน์ เผย หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 3 ปี 64 ขยายตัวชะลอลง สัดส่วนต่อจีดีพีคงที่ หวั่นการเกิดหนี้เสียพุ่ง หากรายได้ครัวเรือนถูกกระทบจากวิกฤต
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับหนี้สินครัวเรือนในไตรสามปี 2564 มีการขยายตัวชะลอลง โดยหนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% ในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ที่เพิ่มขึ้น 5.1% ซึ่งเป็นการชะลอลงในทุกประเภทสินเชื่อ โดยคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 89.3% คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
น.ส.จินางค์กูร กล่าวว่า ด้านความสามารถในการชำระหนี้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.89% ลดลงจาก 2.92% ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงินส่วนคุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
“อย่างไรก็ตาม ต้องเฝ้าระวังการเกิดหนี้เสีย เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มีมูลค่าถึง 3.6 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมสูงถึง 7.05% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อน และเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกประเภทสินเชื่อยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งหากมีปัจจัยอื่นที่กระทบต่อรายได้ครัวเรือนอาจส่งผลให้ หนี้เสียปรับตัวเพิ่มขึ้น” น.ส.จินางค์กูร กล่าว
น.ส.จินางค์กูร กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มในระยะถัดไป คาดว่าหนี้สินครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก ครัวเรือนรายได้สูงหรือที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยังมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะในสินเชื่อเพื่อยานยนต์ ที่ยอดจองรถจักรยานยนต์และรถยนต์ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 เกินเป้าหมายที่ 3 หมื่นคัน และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีความต้องการสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพื่อนำมาชดเชยสภาพคล่องจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว
น.ส.จินางค์กูร กล่าวว่า ทั้งนี้ สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน อาจเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป จึงต้องให้ความสำคัญกับ
1. การเร่งดำเนินมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งยังมีปัญหาในกลุ่มลูกหนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ที่ได้รับการช่วยเหลือเพียงการชะลอการชำระหนี้แก่ลูกหนี้แบบชั่วคราว อาทิ การขยายระยะเวลา การพักชำระหนี้ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. การส่งเสริมให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แต่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน เพื่อไม่ให้ครัวเรือนมีภาระหนี้มากเกินไป
และ 3. การส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการจ้างงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการยกระดับทักษะแรงงาน
เพื่อไทย ชี้ ปชช.เข้าไม่ถึงการรักษา ทำอาการเบาเป็นหนัก แนะ รบ.ไม่ควรปรับเป็นโรคประจำถิ่นตอนนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3207550
“โฆษกเพื่อไทย” ประชาชนเข้าไม่ถึงการรักษา จากอาการเบากลายเป็นหนัก แนะรัฐทบทวน-ไม่ควรปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นตอนนี้
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.โฆษกพรรค พท. แถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ ว่า จากการลงพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 ทุกระดับสี ยังประสบปัญหาในการเข้าสู่ระบบการรักษาจำนวนมาก ทั้งการติดต่อหมายเลข 1330 ที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการติดต่อกลับอย่างทันท่วงที ประชาชนไม่รับทราบถึงวิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นและไม่ได้รับยาสามัญ ทำให้อาการติดเชื้อจากเบากลายเป็นหนัก ส่งผลต่อจำนวนเตียงในระบบโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ที่ต้องกลับเข้าสู่สภาพที่เรียกว่า ‘คัดเคส’ ผู้ที่สามารถเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้จะต้องมีประกันชีวิตที่ทำไว้กับบริษัทเอกชนเท่านั้น แต่หากจะต้องกักตัวใน Hospitel จะต้องจ่ายมัดจำก่อนเข้าพักถึง 80,000 หมื่นบาท เพื่อกันไว้สำหรับการใช้บริการ เพราะภาคเอกชนไม่วางใจรัฐบาลโดย สปสช.อาจจะไม่มีเงินจ่ายให้กับเอกชนแล้ว
นอกจากนี้ สถานการณ์ที่ผู้ป่วยโควิดไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐที่เป็นไปแบบต่างคนต่างทำ มีระบบการจับคู่ที่หน่วยงานภาครัฐ จัดให้ประชาชนในพื้นที่หนึ่ง สามารถเข้ารับการรักษาในคลินิกชุมชนแห่งนั้น แต่ไม่มีระบบการส่งตัวไปยังโรงพยาบาล โดยทั้งหมดไม่ได้มีการประสานกับโรงพยาบาล ทำให้เกิดความสับสนทั้งในส่วนของประชาชนและผู้ปฏิบัติทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน จนในท้ายที่สุดผู้ป่วยไม่มีสถานที่เข้าพักรักษาตัวจำนวนมาก ขณะที่การพักรักษาตัวที่บ้านด้วยวิธี Home isolation สามารถทำได้ในบางครอบครัวเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมีคนยากจนที่หาเช้ากินค่ำเป็นจำนวนมาก หลายครอบครัวเป็นคนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร พักอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวในห้องเช่าเดียว เมื่อติดโควิดเพียงหนึ่งคน จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ทั้งครอบครัวจะติดเชื้อด้วย หรือบางรายอยู่ตัวคนเดียวต้องกักตัวลำพัง แต่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปดูแลการยังชีพเบื้องต้น ดังนั้นประชาชนกลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐเข้าไปดูแลเป็นอย่างมาก เช่น ต้องส่งยารักษาตามอาการ ข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้จำเป็นสำหรับทั้งครอบครัว สำหรับการกักตัวในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากรัฐบาลเข้าไปดูแลในส่วนนี้ไม่ดีพอจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่านี้
น.ส.ธีรรัตน์กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนฝากคำถามมาถึงรัฐบาลว่า รัฐบาลกำลังทำให้โรคโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นก่อนเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ รัฐบาลกำลังใช้วิธีการสร้างความเชื่อให้ประชาชนเข้าใจไปว่า ทุกคนต้องติดเชื้อโควิด และในที่สุดโควิดจะกลายเป็นโรคทั่วไปที่สามารถรักษาให้หายได้ และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ใช่หรือไม่ ซึ่งในทางการแพทย์กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่า โควิดสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงและกระทบกับสุขภาพของประชาชนในระยะยาว หรือ Long Covid ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตของประชาชน ประกอบกับระบบการบริหารจัดการของรัฐบาลยังล้มเหลวซ้ำซาก ดังนั้นจึงยังไม่ถึงเวลาที่โควิดจะเป็นโรคประจำถิ่นในตอนนี้ ทั้งนี้ ในบริบทของประเทศไทย ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ จึงยังไม่ใช่เวลาที่โควิดจะเป็นโรคประจำถิ่น แม้บางประเทศจะปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่อยู่ภายใต้บริบทที่ว่า ประชาชนของเขาสามารถเข้าถึงการบริการพื้นฐานของภาครัฐได้ หยุดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลต้องปรับระบบการบริหารจัดการการรักษาให้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ก่อนจะดีกว่า
‘จาตุรนต์’ อัด ‘ดอน’ รักสงบ ต้องประกาศให้ชัดว่า ไม่เอาสงคราม ไม่ใช่ไม่เลือกข้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3208328
จาตุรนต์’ อัด ‘ดอน’ รักสงบ ต้องประกาศให้ชัดว่า ไม่เอาสงคราม ไม่ใช่ไม่เลือกข้าง
จากกรณีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรี ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามรัสเซีย กับยูเครน โดยยืนยันจุดยืนไทยว่า รัฐบาลไทย รักสงบ ไม่ชอบวุ่นวาย พร้อมระบุด้วยว่า การไม่เลือกข้างได้เป็นเรื่องดีที่สุด เพราะเราต้องการให้สถานการณ์สงบโดยเร็วโดยทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ถ้าทั้งสองฝ่ายคุยกันรู้เรื่องก็จะสงบอย่างแน่นอน
ล่าสุด นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากพรรคเพื่อไทย ได้วิจารณ์คำสัมภาษณ์ของนายดอนดังกล่าว ผ่านทวิตเตอร์ โดยระบุว่า
“พูดอย่างนี้ ไม่พูดเสียจะดีกว่า เรียกสงครามรุกรานว่า ความวุ่นวาย ? เราต้องการความสงบ รักความสงบ? ทำไมไม่พูดว่า ว่าไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังความรุนแรงกับประเทศใดประเทศหนึ่ง”
https://twitter.com/chaturon/status/1498245261302272000
ทูตสวีเดนในไทย ฟาด! สิ่งที่เกิดในยูเครน ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกให้สองฝ่ายยอมลดลาวาศอก!
https://www.matichon.co.th/politics/news_3208039
ทูตสวีเดนในไทย ฟาด! สิ่งที่เกิดในยูเครน ไม่ใช่วิกฤติการณ์ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกให้สองฝ่ายยอมลดลาวาศอก! แต่คือสงครามที่ก่อโดยรัสเซีย
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. นายยูน โอสตร็อม เกรินดอล (H.E. Mr. Jon Åström Gröndahl) เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย โพสต์ทวิตเตอร์ ถึงกรณีความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน โดยระบุว่า “ถึงเพื่อน ๆ ชาวไทยของเราทุกคน ภาษามีความสำคัญ สิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนไม่ใช่ “วิกฤตการณ์” ไม่ใช่เรื่องการที่จะให้ 2 ฝ่ายต้องลดระดับความขัดแย้ง ยอมลดลาวาศอก แต่มันคือการบุกรุกรุกราน มันคือสงคราม อย่าปล่อยให้คนเข้าใจว่าอยู่ในระดับเดียวกันในสิ่งมันไม่มีอยู่จริง รัสเซียเท่านั้น และรัสเซียเพียงผู้เดียวที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
“To all our THAI friends. Language matters. What is happening in Ukraine is not a crisis, not two parties that need to de-escalate. It is an aggression, a war. Let us not imply a parity that does not exist Russia, and Russia alone, is responsible.”
ขณะที่วันนี้ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ทวิตภาพระบุว่า เอกอัครราชทูตจากหลายประเทศของสหภาพยุโรป ในประเทศไทย เข้าพบ พาฟโล โอเรล อุปทูตฯ ยูเครนประจำประเทศไทย ในวันนี้ เพื่อยืนยันว่าสหภาพยุโรปยืนหยัดอย่างมั่นคงเคียงข้างประชาชนและประเทศยูเครน เราขอประณามการรุกรานของรัสเซียต่อความบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยของยูเครน สหภาพยุโรปจะ ยังคงสนับสนุนยูเครนต่อไป
เช่นเดียวกับ มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศ ก็โพสต์คลิปกล่าวแสดงการประณามการใช้กำลังทางทหารของรัสเซีย และขอยืนอยู่ข้างชาวยูเครน