JJNY : โควิดดันหนี้ครัวเรือนสูงสุดรอบ12ปี/แพทย์ชนบทเผยเบิกงบอืด/พท.เสนอแพ็กเกจกู้วิกฤต!/จาตุรนต์โพสต์สะท้อนเสียงเยาวราช

หอการค้าไทย เผยโควิด-19 ดันหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดรอบ 12 ปี
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/916639

 
“หอการค้าไทย” ชี้โควิด-19 พ่นพิษเศรษฐกิจ กระทบหนี้ครัวเรือนสูง 4.8 แสนบาทต่อครัวเรือน ขยายตัว 42% สูงสุดในรอบ 12 ปี แนะรัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คุมการแพร่ระบาด และวางมาตรการเยียวยา ด้านดัชนีความเชื่อมั่น ธ.ค.ปรับลดเหลือ 23.7
 
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือน ธ.ค. 2563 และสถานภาพหนี้ครัวเรือนปี 2563 และแนวโน้ม โดยระบุว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 1 พันราย พบว่าจำนวนหนี้เฉลี่ยของครัวเรือนและการผ่อนชำระในปี 2563 พบว่ามีสุงถึง 483,950.84 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งขยายตัวสูงถึง 42.3%
 
โดยปัจจัยที่ทำให้ก่อหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ขาดรายได้เนื่องจากถูกออกจากงาน และรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งหอการค้าไทยประเมินการสำรวจกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว พบว่ายังเป็นการก่อหนี้ใหม่สูงมากกว่า 70% เป็นผลมาจากการเกิดโรคโควิด -19 เศรษฐกิจไม่ดี และมีหนี้เพิ่มเยอะขึ้น
 
สำหรับปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาชำระหนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าจะมาจากปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี สูงถึง 72.1% รองลงมาคือ ค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ 59.4% รายได้ที่รับลดลง 54.8% และการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 สูงถึง 55%
 
อย่างไรก็ดี การก่อหนี้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น แม้ว่าส่วนใหญ่กว่า 70% จะเป็นหนี้ก้อนใหม่และรวมถึงหนี้ก้อนเก่าและก้อนใหม่ แต่ยังพบว่าหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้ในระบบ มีสัดส่วนอยู่ที่ 75.3% ขณะที่หนี้นอกระบบ มีสัดส่วนอยู่ที่ 24.7%
 
หอการค้าไทยมีความเป็นห่วงในปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนที่มีอยู่ 4.8 แสนบาทต่อครัวเรือนนั้น ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 12 ปี นับจากปี 2552 และยังขยายตัวสูงถึง 42% ซึ่งในปีอื่นไม่เคยสูงเช่นนี้มาก่อน แต่แม้ว่าหอการค้าไทยจะห่วงภาวะหนี้ครัวเรือน แต่ก็ยังเชื่อว่าตะสามารถคุมได้ เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้ในระบบ
 
นายธนวรรธน์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่รัฐบาลควรเข้ามาทำการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประชาชน คือ การวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่เอกชนเสนอแนะ รวมทั้งควรเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 อีกทั้งหากมีวามจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลต้องเยียวยาผู้มีอาชีพอิสระ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ และมีการก่อหนี้ครัวเรือนสูง
 
ด้านผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือน ธ.ค. 2563 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงจากระดับ 33.7 มาอยู่ที่ 31.8 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องมีการยกเลิกการจัดงานปีใหม่ รวมถึงความไม่แน่นอนในเรื่องของการใช้มาตรการล็อกดาวน์พื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวและใช้บริการร้านอาหารรวมถึงโรงแรมต่างๆ ได้อย่างเป็นปกติ
 

 
แพทย์ชนบท เผย ระบบราชการล่าช้า เบิกงบสู้โควิด อืด ขอซื้อเครื่องช่วยหายใจ 2 สัปดาห์ ไม่คืบ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_5711364
 
แพทย์ชนบท เผย ระบบราชการล่าช้า ทำเบิกงบสู้โควิด อืด ขอซื้อเครื่องช่วยหายใจ มา 2 สัปดาห์ ยังไม่มีความคืบหน้า จี้ 'บิ๊กตู่' โปรดทราบ
 
เพจ ชมรมแพทย์ชนบท เผยถึงความล่าช้าของระบบราชการ ที่ทำให้ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ล่าช้า ความว่า
 
ข้อเท็จจริงการรับมือโควิดแบบราชการไทย ว่าด้วยงบและการจัดซื้อจัดจ้าง
 
วงเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทสำหรับรับมือโควิดนั้น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อนุมัติไปแล้ว 5.25 แสนล้านบาท ยังเหลืออีก 4.71 แสนล้านบาท ในส่วนของแผนงานเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท อนุมัติไปเพียง 2.5 พันล้านบาท คงเหลือ 4.24 หมื่นล้านบาท ที่เหลือมากเพราะพอสถานการณ์ระบาดรอบแรกดีขึ้น การอนุมัติงบก็พับชะลอไป ซึ่งเป็นการพับชะลอที่ผิดพลาดมาก เพราะทำให้การเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลต่างๆหยุดชะงัก
 
พอระบาดรอบสอง กระทรวงสาธารณสุข สภาพัฒน์ฯ ได้ข้อสรุปร่วมกัน ชง ครม.ในวันที่ 29 ธันวาคม 2563 อนุมัตเร่งด่วนใน 2 รายการคือ การจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจและการปรับปรุงห้องหรือหอผู้ป่วยในให้มีระบบระบายอากาศเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในโรงพยาบาล ส่วนรายการอื่นๆเช่นรถพยาบาล เครื่องมือแพทย์อื่นๆได้ถูกแขวนไว้ก่อน
 
บัดนี้เวลาล่วงเลยจากการอนุมัติงบ 2 รายการสำคัญมาแล้ว 2 สัปดาห์ แต่ด้วยระบบราชการอืดอาดมาก ยังไม่เห็นอนาคต เพราะยังต้องรอสำนักงบแจ้งการจัดสรรงบมาที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจึงจะแจ้งลงมาที่โรงพยาบาลที่ได้รับงบ แล้วโรงพยาบาลจึงจะสามารถเริ่มทำการจัดซื้อจัดจ้างได้ ซึ่งตามกระบวนการปกติกว่าสำนักงบจะแจ้งมาบางครั้งใช้เวลาถึง 1-2 เดือน กว่าจะทำการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุก็อีก 1-2 เดือนอยู่ที่วงเงินการมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด ถ้าจบที่โรงพยาบาลหรือนายแพทย์ สสจ.ก็ไม่นานมาก แต่ถ้าต้องไปศาลากลาง เวลาก็ช้าไปอีกขั้นตอน กว่าจะมีการส่งมอบสินค้าหรือปรับปรุงห้องเสร็จก็อาจจะอีก 1-3 เดือน เช่นนี้แล้วงบนี้จะทันสู้ภัยโควิดไหม
 
ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดจัดการอย่างด่วน เครื่องช่วยหายใจและการปรับปรุงระบบระบายอากาศของห้องและหอผู้ป่วยนั้นสำคัญยิ่งครับ เรารองบมานานมากแล้ว สัปดาห์หน้าขอให้จบขั้นตอนราชการ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้โดยเร็วนะครับ
 
ความชักช้าในการจัดสรรงบเพื่อเป็นอาวุธให้บุคลากรทางการแพทย์ไปสู้รบกับโควิดนั้นไม่ work นะครับลุงตู่โปรดทราบ
 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4268304519863339&id=142436575783508
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่