เพื่อไทย ฟาดหนัก “ประยุทธ์” รำลึก รัฐประหาร 22 พฤษภา 2557 ปล้นอำนาจประชาชน
https://www.matichon.co.th/clips/news_3992696
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เพจพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความ รำลึกเหตุการณ์ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้นำคณะทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการปล้นอำนาจประชาชน ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ติดตามรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
“หมอธีระ” คาดติดเชื้อโควิดพุ่งวันละ 2.6 หมื่นคน ตายเพิ่ม 3 เท่า ปอดอักเสบกว่า 400%
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3992939
‘หมอธีระ’ คาดติดเชื้อโควิดพุ่งวันละ 2.6 หมื่นคน สูงสุดตั้งแต่ปลายปี’65 เชื่อของจริงมีมากกว่านี้ อัตราตายพุ่งเกือบ 3 เท่า ส่วนปอดอักเสบกว่า 400 ราย พุ่งกว่า 449%
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยมีรายละเอียดว่า
วิเคราะห์สถานการณ์ระบาดไทย สถิติรายสัปดาห์ล่าสุด 14-20 พ.ค.2566 จำนวนป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 2,632 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 11.7% หรือ 1.12 เท่า แต่สูงกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 141.9% หรือ 2.42 เท่า จำนวนเสียชีวิต 64 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 190% หรือ 2.9 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 1,180% หรือ 12.8 เท่า
จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 226 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 38.6% หรือ 1.39 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 545.7% หรือ 6.46 เท่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ 401 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 24.5% หรือ 1.24 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 449.3% หรือ 5.49 เท่า
“คาดประมาณติดใหม่รายวันอย่างน้อย 18,800-26,112 คน” ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2565 ที่ผ่านมา
แต่เชื่อว่าตัวเลขในระบบจะน้อยกว่าสถานการณ์จริงครับ ที่ควรตระหนักคือ จำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า
ความใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทย ที่ต้องการสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและครอบครัว เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน รักษาความสะอาดบริเวณที่ใช้งานร่วมกับผู้อื่น ไม่สบายควรแยกตัวจากผู้อื่น 7-10 วันจนไม่มีอาการและตรวจ ATK ซ้ำได้ผลลบ แสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเสมอ จะช่วยลดเสี่ยงลงไปได้มาก ติดเชื้อแต่ละครั้งไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ รุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ด้วย ป้องกันตัวไม่ให้ติด หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid02uGPc9ubSNDZrsExLjxX9h5SYk6TBhDevJkv6a5L2JkPTdiztupxiFX8vYHLj85BJl
หนี้รถยนต์พุ่ง คนทำงานผ่อนไม่ไหว หนี้ครัวเรือน ทะลุ 15 ล้านล้านบาท
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/197011
หนี้รถยนต์พุ่ง คนทำงานผ่อนไม่ไหว สภาพัฒน์ กังวลหนี้ครัวเรือนยังสูง มูลหนี้ ทะลุ 15 ล้านล้านบาท ขณะที่ธปท. เกาะติดความสามารถในการผ่อนชำระฟื้นตัวช้า
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4/2565 ยังอยู่ในระดับสูงมูลค่าแตะ 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% แต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาส 3/2565 ซึ่งขยายตัว 4% ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี อยู่ที่ 86.9 %
นอกจากนั้นแล้วยังต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือ สินเชื่อยานยนต์ที่พบว่ามูลหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 13.1% ไตรมาส 2/2565 เพิ่มเป็น 13.6 %ในไตรมาส 3 เพิ่มเป็น 13.7 %ในไตรมาส 4 ปี 2565
นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สินเชื่อยานยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี หรือวัยทำงานที่มีปัญหาการชำระ ซึ่งคนกลุ่มนี้กำลังอยู่ในช่วงการสร้างเนื้อสร้างตัว
ขณะที่ สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 7.6% ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขยายตัวค่อนข้างสูง และ หนี้เสียต่อบัญชีประมาณ 77,000 บาท ส่วนหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งอาจมีผลฉุดรั้งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการเร่งรัดแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะสินเชื่อยานยนต์ ที่เสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด หนี้ครัวเรือนอาจเป็นระเบิดเวลาของสังคมไทย หากหนี้พุ่งขึ้นมากก็ยากต่อการทำให้ลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น : นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สอดคล้องกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท.ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนเปราะบางที่รายได้ ฟื้นตัวช้าและมีหนี้สูง โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ จีดีพี ยังทรงตัวจาก 87.0 % ในไตรมาสก่อน เป็น 86.9% ในไตรมาส 4/65
ส่วนภาคธุรกิจ สัดส่วนหนี้สินภาคธุรกิจต่อ GDP ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยความสามารถในการทำกำไรปรับลดลง ทำให้ยังต้องติดตามผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง และบางธุรกิจที่อ่อนไหวต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ ( NPL ) ไตรมาส 1/66 ลดลงมาอยู่ที่ 498,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.68%
ส่วนสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/66 ขยายตัว 0.51% ชะลอลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ และ Soft loans รวมทั้งการบริหารจัดการคุณภาพหนี้
โดยธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งระดมทุนผ่านตราสารหนี้ โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
JJNY : เพื่อไทยฟาดหนัก│“หมอธีระ”คาดติดโควิดพุ่งวันละ2.6หมื่นคน│หนี้ครัวเรือน ทะลุ15ล.ล.│เซเลนสกีแซะปูติน“ได้ไม่คุ้มเสีย”
https://www.matichon.co.th/clips/news_3992696
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เพจพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความ รำลึกเหตุการณ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้นำคณะทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการปล้นอำนาจประชาชน ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ติดตามรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
“หมอธีระ” คาดติดเชื้อโควิดพุ่งวันละ 2.6 หมื่นคน ตายเพิ่ม 3 เท่า ปอดอักเสบกว่า 400%
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3992939
‘หมอธีระ’ คาดติดเชื้อโควิดพุ่งวันละ 2.6 หมื่นคน สูงสุดตั้งแต่ปลายปี’65 เชื่อของจริงมีมากกว่านี้ อัตราตายพุ่งเกือบ 3 เท่า ส่วนปอดอักเสบกว่า 400 ราย พุ่งกว่า 449%
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยมีรายละเอียดว่า
วิเคราะห์สถานการณ์ระบาดไทย สถิติรายสัปดาห์ล่าสุด 14-20 พ.ค.2566 จำนวนป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 2,632 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 11.7% หรือ 1.12 เท่า แต่สูงกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 141.9% หรือ 2.42 เท่า จำนวนเสียชีวิต 64 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 190% หรือ 2.9 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 1,180% หรือ 12.8 เท่า
จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 226 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 38.6% หรือ 1.39 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 545.7% หรือ 6.46 เท่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ 401 ราย มากกว่าสัปดาห์ก่อน 24.5% หรือ 1.24 เท่า แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 449.3% หรือ 5.49 เท่า
“คาดประมาณติดใหม่รายวันอย่างน้อย 18,800-26,112 คน” ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2565 ที่ผ่านมา
แต่เชื่อว่าตัวเลขในระบบจะน้อยกว่าสถานการณ์จริงครับ ที่ควรตระหนักคือ จำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า
ความใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทย ที่ต้องการสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและครอบครัว เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน รักษาความสะอาดบริเวณที่ใช้งานร่วมกับผู้อื่น ไม่สบายควรแยกตัวจากผู้อื่น 7-10 วันจนไม่มีอาการและตรวจ ATK ซ้ำได้ผลลบ แสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเสมอ จะช่วยลดเสี่ยงลงไปได้มาก ติดเชื้อแต่ละครั้งไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ รุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ด้วย ป้องกันตัวไม่ให้ติด หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid02uGPc9ubSNDZrsExLjxX9h5SYk6TBhDevJkv6a5L2JkPTdiztupxiFX8vYHLj85BJl
หนี้รถยนต์พุ่ง คนทำงานผ่อนไม่ไหว หนี้ครัวเรือน ทะลุ 15 ล้านล้านบาท
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/197011
หนี้รถยนต์พุ่ง คนทำงานผ่อนไม่ไหว สภาพัฒน์ กังวลหนี้ครัวเรือนยังสูง มูลหนี้ ทะลุ 15 ล้านล้านบาท ขณะที่ธปท. เกาะติดความสามารถในการผ่อนชำระฟื้นตัวช้า
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4/2565 ยังอยู่ในระดับสูงมูลค่าแตะ 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% แต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาส 3/2565 ซึ่งขยายตัว 4% ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี อยู่ที่ 86.9 %
นอกจากนั้นแล้วยังต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือ สินเชื่อยานยนต์ที่พบว่ามูลหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 13.1% ไตรมาส 2/2565 เพิ่มเป็น 13.6 %ในไตรมาส 3 เพิ่มเป็น 13.7 %ในไตรมาส 4 ปี 2565
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สินเชื่อยานยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี หรือวัยทำงานที่มีปัญหาการชำระ ซึ่งคนกลุ่มนี้กำลังอยู่ในช่วงการสร้างเนื้อสร้างตัว
ขณะที่ สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 7.6% ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขยายตัวค่อนข้างสูง และ หนี้เสียต่อบัญชีประมาณ 77,000 บาท ส่วนหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งอาจมีผลฉุดรั้งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการเร่งรัดแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะสินเชื่อยานยนต์ ที่เสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด หนี้ครัวเรือนอาจเป็นระเบิดเวลาของสังคมไทย หากหนี้พุ่งขึ้นมากก็ยากต่อการทำให้ลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น : นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สอดคล้องกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท.ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนเปราะบางที่รายได้ ฟื้นตัวช้าและมีหนี้สูง โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ จีดีพี ยังทรงตัวจาก 87.0 % ในไตรมาสก่อน เป็น 86.9% ในไตรมาส 4/65
ส่วนภาคธุรกิจ สัดส่วนหนี้สินภาคธุรกิจต่อ GDP ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยความสามารถในการทำกำไรปรับลดลง ทำให้ยังต้องติดตามผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง และบางธุรกิจที่อ่อนไหวต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ ( NPL ) ไตรมาส 1/66 ลดลงมาอยู่ที่ 498,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.68%
ส่วนสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/66 ขยายตัว 0.51% ชะลอลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ และ Soft loans รวมทั้งการบริหารจัดการคุณภาพหนี้
โดยธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งระดมทุนผ่านตราสารหนี้ โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง