เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.prachachat.net/finance/news-1514733
สภาพัฒน์ เผย จับตาสินเชื่อรถยนต์ ยอดยึดรถพุ่ง 25,000-30,000 คันต่อเดือน ตัวการสำคัญทำหนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง 16.2 ล้านล้านบาท
วันที่ 4 มีนาคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ในไตรมาส 3/2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 90.9% ทรงตัวจากไตรมาส 2/2566 โดยครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล
ทั้งนี้ ส่วนคุณภาพสินเชื่อพบว่าด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ จากข้อมูลธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3/2566 พบยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ 2.71% ขยายตัว 7.9% จาก 2.7% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน เมื่อแยกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อบัตรเครดิตอยู่ที่ 3.34% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 3.24% สินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ 2.38% และสินเชื่อยานยนต์ 2.1%
ส่วนหนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SMLs) พบว่าภาพรวมสัดส่วน SMLs ต่อสินเชื่อรวมยังทรงตัวที่ 6.7% แต่หนี้ SMLs ของสินเชื่อยานยนต์ยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์คุณภาพหนี้ยานยนต์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลการยึดรถยนต์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นเป็น 25,000-30,000 คันต่อเดือน เพิ่มจากปี 65 ที่มียอดยึดรถ 20,000 คันต่อเดือน
“ดังนั้น ส่วนของสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ที่อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย โดยสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ 14.55% และสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.45% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต 4.50% และสินเชื่อส่วนบุคคล 4.48 ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องติดตาม และนำเอากลุ่มเสี่ยงเร่งทำการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนจะเป็นหนี้เสีย” นายดนุชากล่าว
สำหรับด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง และมีการเสนอผ่อนปรนมาตรการกํากับดูแลสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) มองว่าเป็นเหรียญสองด้าน ต้องดูข้อมูลละเอียดพอสมควร ถ้าจะนํามาใช้จะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้ที่มากขึ้นจะส่งผลต่อหนี้เสียหรือไม่ แม้จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องดูในรายละเอียดจริง ๆ ประเด็นตอนนี้ พยายามทําให้การให้สินเชื่อ รับผิดชอบ ให้คนคิดก่อนที่จะก่อหนี้
“ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังมีการขยายตัวที่ 15.6% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18% แม้จะชะลอตัวลง แต่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องมีการเข้าไปดูแลทั้งระบบเพื่อลดการก่อนหนี้ลง” นายดนุชากล่าว
โดยที่ผ่านมา คาดว่าเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการที่ออกหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)ได้เร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อที่จะสร้างวินัยและความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อ ตามความต้องการลดปัญหาหนี้ครัวเรือนลง
อีกทั้งการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งรายงานการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทย ในปี 2565 ของ ธปท. ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบกลุ่มดังกล่าวยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ สาเหตุมาจากฐานะทางการเงิน หรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อหนี้นอกระบบได้ในอนาคต
สภาพัฒน์ ชี้รถยึด 3 หมื่นคัน/เดือน ดันหนี้ครัวเรือนกระฉูด 16.2 ล้านล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-1514733
สภาพัฒน์ เผย จับตาสินเชื่อรถยนต์ ยอดยึดรถพุ่ง 25,000-30,000 คันต่อเดือน ตัวการสำคัญทำหนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง 16.2 ล้านล้านบาท
วันที่ 4 มีนาคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ในไตรมาส 3/2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 90.9% ทรงตัวจากไตรมาส 2/2566 โดยครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล
ทั้งนี้ ส่วนคุณภาพสินเชื่อพบว่าด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ จากข้อมูลธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3/2566 พบยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ 2.71% ขยายตัว 7.9% จาก 2.7% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน เมื่อแยกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อบัตรเครดิตอยู่ที่ 3.34% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 3.24% สินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ 2.38% และสินเชื่อยานยนต์ 2.1%
ส่วนหนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SMLs) พบว่าภาพรวมสัดส่วน SMLs ต่อสินเชื่อรวมยังทรงตัวที่ 6.7% แต่หนี้ SMLs ของสินเชื่อยานยนต์ยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์คุณภาพหนี้ยานยนต์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลการยึดรถยนต์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นเป็น 25,000-30,000 คันต่อเดือน เพิ่มจากปี 65 ที่มียอดยึดรถ 20,000 คันต่อเดือน
“ดังนั้น ส่วนของสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ที่อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย โดยสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ 14.55% และสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.45% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต 4.50% และสินเชื่อส่วนบุคคล 4.48 ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องติดตาม และนำเอากลุ่มเสี่ยงเร่งทำการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนจะเป็นหนี้เสีย” นายดนุชากล่าว
สำหรับด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง และมีการเสนอผ่อนปรนมาตรการกํากับดูแลสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) มองว่าเป็นเหรียญสองด้าน ต้องดูข้อมูลละเอียดพอสมควร ถ้าจะนํามาใช้จะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้ที่มากขึ้นจะส่งผลต่อหนี้เสียหรือไม่ แม้จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องดูในรายละเอียดจริง ๆ ประเด็นตอนนี้ พยายามทําให้การให้สินเชื่อ รับผิดชอบ ให้คนคิดก่อนที่จะก่อหนี้
“ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังมีการขยายตัวที่ 15.6% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18% แม้จะชะลอตัวลง แต่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องมีการเข้าไปดูแลทั้งระบบเพื่อลดการก่อนหนี้ลง” นายดนุชากล่าว
โดยที่ผ่านมา คาดว่าเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการที่ออกหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)ได้เร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อที่จะสร้างวินัยและความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อ ตามความต้องการลดปัญหาหนี้ครัวเรือนลง
อีกทั้งการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งรายงานการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทย ในปี 2565 ของ ธปท. ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบกลุ่มดังกล่าวยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ สาเหตุมาจากฐานะทางการเงิน หรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อหนี้นอกระบบได้ในอนาคต