กิจกรรมทางเศรษฐกิจรอบพระพรหมฯ 'ซบเซา'
https://www.nationtv.tv/news/378863524
สำรวจบรรยากาศไหว้สักการะขอพรที่ศาลพระพรหม เอราวัณ ที่วันนี้บรรยากาศไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว แต่ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังเดินทางมาสักการะขอพร
ศาลพระพรหม เอราวัณ หรือ ศาลท้าวมหาพรหม ตั้งอยู่บริเวณแยกราชประสงค์ ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพมหานคร ภาพที่คุ้นตาในช่วงสถานการณ์ปกติ จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาสักการะขอพรเป็นจำนวนมาก แต่หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอก ทำให้คนลดลงอย่างมากเหลือประมาณ 10% เนื่องจาก 90% จะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนที่ตอนนี้ยังเดินทางออกมาท่องเที่ยวไม่ได้ ทำให้บรรยากาศไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน
บรรยากาศที่ศาลพระพรหม เอราวัณวันนี้มีประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาไหว้สักการะขอพรค่อนข้างบางตา แต่ยังมีคนไทยทยอยมาเรื่อยๆ ตลอดทั้งวันจากการสอบถามคนขายเครื่องสักการะบอกว่า คนนิยมมาไหว้ขอพรและแก้บนในช่วงวันพฤหัส วันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนใหญ่ยังเป็นคนไทยมีชาวต่างชาติบ้างเล็กน้อย
แม่ค้าขายพวงมาลัยหน้าศาลบอกว่าก่อนการระบาดโควิดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสักการะขอพรไม่ขาดสาย ปัจจุบันยอดขายลดลง จากเดิมขายได้วันละ 2-3 พันบาท เหลือเพียง 2-3 ร้อยบาทเท่านั้น รายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ต้องหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ขณะที่คณะนางรำหน้าศาลยอดคนทำบุญถวายลดลงมาก จากเดิมรายได้วันละหลักหมื่นบาท ตอนนี้เหลือเพียงหลักพันบาทเท่านั้น ต้องอาศัยการปรับตัวไปช่องทางออนไลน์ควบคู่กันไป โดยผู้ที่มาไหว้สักการะขอพรบอกว่ามาขอพรเรื่องการเรียน การงาน ให้ประสบความสำเร็จ
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ศาสนา ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ การเดินทางไปทำบุญของประชาชนสามารถสร้างรายได้หมุนเวียน 10,800 ล้านบาทต่อปี แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 ที่มีการทำสำรวจ ชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ มีโอกาสต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศควบคู่ไปกับภาคบริการการท่องเที่ยว รวมทั้งช่วยการกระจายรายได้เชิงพื้นที่ได้อย่างดี เนื่องจากศาสนสถานและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของไทยมีอยู่กระจายทั่วทุกจังหวัด
เรียกร้องทบทวน 'ควบรวม-ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก' หวั่นเด็กเสียโอกาส-กระทบรากฐานชุมชน
https://prachatai.com/journal/2022/02/97211
รองประธาน กมธ.วิสามัญร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ รับหนังสือจากเครือข่ายชมรมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (ชลท.) ขอให้ทบทวนการควบรวมหรือยุบโรงเรียนขนาดเล็ก หวั่นเด็กเสียโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทบต่อรากฐานชุมชน
12 ก.พ. 2565
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า นาย
ขจิตร ชัยนิคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... รัฐสภา รับหนังสือจาก นายศราวุธ วามะกัน ประธานเครือข่ายชมรมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (ชลท.) เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. มาตรา 14 (9) เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยควบรวม หรือยุบ โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะมีผลกระทบกับโรงเรียนกว่า 15,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางเครือข่าย ช.ล.ท. ทั้ง 4 ภูมิภาค จึงได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากมีการยุบ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก หรือการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพที่เป็นงานนโยบายยากแก่การปฏิบัติ และอาจส่งผลกระทบต่อรากฐานของชุมชน บ้าน วัด และโรงเรียนที่มีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะขับเคลื่อนพัฒนา จึงขอให้ กมธ. พิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร่งด่วน
ด้าน รองประธาน กมธ. กล่าวว่าการยุบหรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น มีปัญหาและมีผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งยังขัดกับสิ่งที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถือเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคน ถึงแม้ว่าขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็ก จะยังไม่ได้ถูกยุบไปทั้งหมด แต่ก็มีเพียงบางส่วนที่ถูกยุบไปแล้ว เชื่อว่าการควบรวมให้เด็กต้องไปเรียนในโรงเรียนขนาดกลาง โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กๆ จะยิ่งห่างไกลมากขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกกฎหมายด้านการศึกษาต่อไป
'โฆษก กมธ. พ.ร.บ.อุ้มหาย' วาน 'ส.ส.' เข้าประชุมสภาทำหน้าที่พิจารณากฎหมาย
https://voicetv.co.th/read/e0l-E5FtE
'พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ' ขอ ส.ส. เข้าประชุม - สภาไม่ล่มอีก หวัง พ.ร.บ.อุ้มหายเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 และ 3
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และโฆษกกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย เปิดเผยว่า ภายในช่วงเวลา 2 สัปดาห์นี้ จะเป็นช่วงที่มีการพิจารณา พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … (พ.ร.บ.อุ้มหาย) จึงอยากให้ทุกคนช่วยสะกิด ส.ส.ของทุกคนเข้าสภาฯ ด้วย พวกเราจะได้ปลอดภัยจากการซ้อมทรมาน และการอุ้มหาย
ย้ำว่า จากปรากฎการณ์ที่เห็นว่า สภาฯ ใช้อำนาจเสียงข้างมาพยายามทำให้กฎหมายที่พรรคฝ่ายค้าน และกฎหมายของประชาชน เข้าสู่การพิจารณาอย่างล้าช้า โดยส่งให้นายกรัฐมนตรีหรือ ครม. พิจารณาก่อนทั้งๆ ที่ผ่านกระบวนการเหล่านั้นมาแล้ว และอีกรูปแบบหนึ่งคือไม่เข้าสภาฯ ทำให้สภาล่มไม่สามารถพิจารณากฎหมายหรือญัตติใดใดได้
โดยในสัปดหา์หน้า หรือภายในสิ้นเดือน ก.พ. จะมีร่าง พ.ร.บ.อุ้มหายฉบับแก้ไขปรับปรุงโดยคณะกรรมการวิสามัญฯ ที่มีภาคประชาชน และนักกฎหมายฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลเข้าร่วมด้วยเข้าสู่การพิจารณาวาระสองและสาม ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้ายที่จำทำให้ประเทศไทยมีฐานความผิดทรมาน อุ้มหายเป็นความผิดอาญา และมีมาตราการป้องกัน และปราบปราม รวมทั้งการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ มีกรรมการฯ ที่มีสัดส่วนของรัฐและภาคเอกชนรวมทั้งญาติผู้เสียหายเข้าร่วมทำงานภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ถ้าเข้าสู่สภาฯ ได้โดยสภาไม่ล่ม ไม่สามารถที่จะทำให้ล่าช้าได้อีก เพราะต้นเรื่องเป็นกฎหมายที่รัฐบาลนำเสนอเข้ามาโดยกระทรวงยุติธรรม และมีร่างของ ส.ส. 3 ร่างประกบ ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงร่างเดียวคือร่างของ กมธ.วิสามัญที่ส่งให้ประธานชวน หลีกภัยไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ก.พ.
ทั้งนี้
พรเพ็ญ เสนอให้สภาเลื่อนลำดับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย ให้เป็นเรื่องเร่งด่วนลำดับแรก ก่อนปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสิ้นเดือน กพ. 2565 นี้
JJNY : ศก.รอบพระพรหมฯ'ซบเซา'│ร้องทบทวน'ควบรวม-ยุบรร.ขนาดเล็ก''│โฆษกกมธ.พ.ร.บ.อุ้มหาย'วาน'ส.ส.'│คนแห่ขายทองหลังพุ่ง400บ.
https://www.nationtv.tv/news/378863524
สำรวจบรรยากาศไหว้สักการะขอพรที่ศาลพระพรหม เอราวัณ ที่วันนี้บรรยากาศไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว แต่ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังเดินทางมาสักการะขอพร
ศาลพระพรหม เอราวัณ หรือ ศาลท้าวมหาพรหม ตั้งอยู่บริเวณแยกราชประสงค์ ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพมหานคร ภาพที่คุ้นตาในช่วงสถานการณ์ปกติ จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาสักการะขอพรเป็นจำนวนมาก แต่หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอก ทำให้คนลดลงอย่างมากเหลือประมาณ 10% เนื่องจาก 90% จะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนที่ตอนนี้ยังเดินทางออกมาท่องเที่ยวไม่ได้ ทำให้บรรยากาศไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน
บรรยากาศที่ศาลพระพรหม เอราวัณวันนี้มีประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาไหว้สักการะขอพรค่อนข้างบางตา แต่ยังมีคนไทยทยอยมาเรื่อยๆ ตลอดทั้งวันจากการสอบถามคนขายเครื่องสักการะบอกว่า คนนิยมมาไหว้ขอพรและแก้บนในช่วงวันพฤหัส วันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนใหญ่ยังเป็นคนไทยมีชาวต่างชาติบ้างเล็กน้อย
แม่ค้าขายพวงมาลัยหน้าศาลบอกว่าก่อนการระบาดโควิดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสักการะขอพรไม่ขาดสาย ปัจจุบันยอดขายลดลง จากเดิมขายได้วันละ 2-3 พันบาท เหลือเพียง 2-3 ร้อยบาทเท่านั้น รายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ต้องหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ขณะที่คณะนางรำหน้าศาลยอดคนทำบุญถวายลดลงมาก จากเดิมรายได้วันละหลักหมื่นบาท ตอนนี้เหลือเพียงหลักพันบาทเท่านั้น ต้องอาศัยการปรับตัวไปช่องทางออนไลน์ควบคู่กันไป โดยผู้ที่มาไหว้สักการะขอพรบอกว่ามาขอพรเรื่องการเรียน การงาน ให้ประสบความสำเร็จ
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ศาสนา ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ การเดินทางไปทำบุญของประชาชนสามารถสร้างรายได้หมุนเวียน 10,800 ล้านบาทต่อปี แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 ที่มีการทำสำรวจ ชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ มีโอกาสต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศควบคู่ไปกับภาคบริการการท่องเที่ยว รวมทั้งช่วยการกระจายรายได้เชิงพื้นที่ได้อย่างดี เนื่องจากศาสนสถานและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของไทยมีอยู่กระจายทั่วทุกจังหวัด
เรียกร้องทบทวน 'ควบรวม-ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก' หวั่นเด็กเสียโอกาส-กระทบรากฐานชุมชน
https://prachatai.com/journal/2022/02/97211
รองประธาน กมธ.วิสามัญร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ รับหนังสือจากเครือข่ายชมรมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (ชลท.) ขอให้ทบทวนการควบรวมหรือยุบโรงเรียนขนาดเล็ก หวั่นเด็กเสียโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทบต่อรากฐานชุมชน
12 ก.พ. 2565 เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า นายขจิตร ชัยนิคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... รัฐสภา รับหนังสือจาก นายศราวุธ วามะกัน ประธานเครือข่ายชมรมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (ชลท.) เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. มาตรา 14 (9) เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยควบรวม หรือยุบ โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะมีผลกระทบกับโรงเรียนกว่า 15,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางเครือข่าย ช.ล.ท. ทั้ง 4 ภูมิภาค จึงได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากมีการยุบ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก หรือการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพที่เป็นงานนโยบายยากแก่การปฏิบัติ และอาจส่งผลกระทบต่อรากฐานของชุมชน บ้าน วัด และโรงเรียนที่มีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะขับเคลื่อนพัฒนา จึงขอให้ กมธ. พิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร่งด่วน
ด้าน รองประธาน กมธ. กล่าวว่าการยุบหรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น มีปัญหาและมีผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งยังขัดกับสิ่งที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถือเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคน ถึงแม้ว่าขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็ก จะยังไม่ได้ถูกยุบไปทั้งหมด แต่ก็มีเพียงบางส่วนที่ถูกยุบไปแล้ว เชื่อว่าการควบรวมให้เด็กต้องไปเรียนในโรงเรียนขนาดกลาง โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กๆ จะยิ่งห่างไกลมากขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกกฎหมายด้านการศึกษาต่อไป
'โฆษก กมธ. พ.ร.บ.อุ้มหาย' วาน 'ส.ส.' เข้าประชุมสภาทำหน้าที่พิจารณากฎหมาย
https://voicetv.co.th/read/e0l-E5FtE
'พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ' ขอ ส.ส. เข้าประชุม - สภาไม่ล่มอีก หวัง พ.ร.บ.อุ้มหายเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 และ 3
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และโฆษกกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย เปิดเผยว่า ภายในช่วงเวลา 2 สัปดาห์นี้ จะเป็นช่วงที่มีการพิจารณา พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … (พ.ร.บ.อุ้มหาย) จึงอยากให้ทุกคนช่วยสะกิด ส.ส.ของทุกคนเข้าสภาฯ ด้วย พวกเราจะได้ปลอดภัยจากการซ้อมทรมาน และการอุ้มหาย
ย้ำว่า จากปรากฎการณ์ที่เห็นว่า สภาฯ ใช้อำนาจเสียงข้างมาพยายามทำให้กฎหมายที่พรรคฝ่ายค้าน และกฎหมายของประชาชน เข้าสู่การพิจารณาอย่างล้าช้า โดยส่งให้นายกรัฐมนตรีหรือ ครม. พิจารณาก่อนทั้งๆ ที่ผ่านกระบวนการเหล่านั้นมาแล้ว และอีกรูปแบบหนึ่งคือไม่เข้าสภาฯ ทำให้สภาล่มไม่สามารถพิจารณากฎหมายหรือญัตติใดใดได้
โดยในสัปดหา์หน้า หรือภายในสิ้นเดือน ก.พ. จะมีร่าง พ.ร.บ.อุ้มหายฉบับแก้ไขปรับปรุงโดยคณะกรรมการวิสามัญฯ ที่มีภาคประชาชน และนักกฎหมายฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลเข้าร่วมด้วยเข้าสู่การพิจารณาวาระสองและสาม ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้ายที่จำทำให้ประเทศไทยมีฐานความผิดทรมาน อุ้มหายเป็นความผิดอาญา และมีมาตราการป้องกัน และปราบปราม รวมทั้งการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ มีกรรมการฯ ที่มีสัดส่วนของรัฐและภาคเอกชนรวมทั้งญาติผู้เสียหายเข้าร่วมทำงานภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ถ้าเข้าสู่สภาฯ ได้โดยสภาไม่ล่ม ไม่สามารถที่จะทำให้ล่าช้าได้อีก เพราะต้นเรื่องเป็นกฎหมายที่รัฐบาลนำเสนอเข้ามาโดยกระทรวงยุติธรรม และมีร่างของ ส.ส. 3 ร่างประกบ ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงร่างเดียวคือร่างของ กมธ.วิสามัญที่ส่งให้ประธานชวน หลีกภัยไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ก.พ.
ทั้งนี้พรเพ็ญ เสนอให้สภาเลื่อนลำดับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย ให้เป็นเรื่องเร่งด่วนลำดับแรก ก่อนปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสิ้นเดือน กพ. 2565 นี้