จี้รัฐเยียวยาช่วงค่าไฟพุ่ง สินค้าแพง สวนทางรายได้ ซ้ำเติมกำลังซื้อครัวเรือน
https://www.dailynews.co.th/news/750750/
ครัวเรือนกังวลเพิ่มทุกด้าน ฉุดดัชนีการครองชีพต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จี้รัฐเร่งเยียวยาช่วงค่าไฟพุ่ง ราคาสินค้าแพง สวนทางรายได้ไม่ฟื้น ยิ่งซ้ำเติมกำลังซื้อ
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เปิดผลสำรวจดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 30.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกือบทุกด้านโดยเฉพาะราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และพลังงาน ซึ่งในหมวดนี้ดัชนีได้ปรับลดลงหรือกังวลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก สอดคล้องกับเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่สูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ 3.23% มาจากราคาพลังงานปรับสูงขึ้นและราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการมาตรการบรรเทาค่าครองชีพอย่างตรงจุด เช่น ตั้งแต่ช่วงต้นปี 65 มีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าขึ้น (ค่าเอฟที) ในช่วงแรกที่ปรับเพิ่มขึ้นแต่รายได้ครัวเรือนยังไม่กลับมา อาจต้องมีมาตรการเยียวยาออกมาควบคู่ด้วย ตัวอย่างในสหราชอาณาจักรที่กำลังจะมีการปรับขึ้นค่าไฟครั้งใหญ่พร้อมเตรียมมาตรการเพื่อเยียวยาผลกระทบ นอกจากการตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของครัวเรือนจึงมีความจำเป็นอย่างมากในช่วงที่รายได้และการจ้างงานอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว
“สถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจึงเหมือนเข้ามาซ้ำเติมกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เดิมมีความเปราะบางอยู่แล้ว แม้ว่าล่าสุดภาครัฐจะมีมาตรการบางส่วนออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การขยายเวลาตรึงราคาแก๊สหุงต้ม(แอลพีจี) จากเดิมที่จะสิ้นสุด 15 ม.ค.65 รวมถึงเลื่อนเวลาการใช้มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 เข้ามาเร็วขึ้นในเดือนก.พ. 65 แต่มาตรการต่าง ๆ สามารถเข้ามาประคับประคองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าปรับขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19”
ในระยะข้างหน้าระดับราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงจะยังเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่องไปอีกสักระยะ หรือจนกว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเริ่มปรับเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งคาดว่าอย่างน้อยจนกว่าจะถึงช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยในวันที่ 1 ก.พ. 65 ที่ผ่านมาได้มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระบบเทสท์ แอนด์ โก อีกครั้ง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ทยอยกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะช่วยให้ฝั่งรายได้ของครัวเรือนกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้บางส่วน
นอกจากนี้ครัวเรือนมีความกังวลต่อมุมมองด้านรายได้และการมีงานทำปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดัชนีรายได้และการจ้างงานปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ติดลบ 4% แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นแต่แรงงานบางส่วนยังมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 45.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่าภาวะปกติ ทำให้รายได้ของแรงงานที่ลดลงจะกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนต่อเนื่องไป ด้านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงเช่นกันอยู่ที่ 33.2 จาก 36.0 ในเดือนธ.ค.64 สะท้อนว่าในระยะข้างหน้าครัวเรือนยังคงมีความกังวลต่อเนื่องโดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านอาหารและพลังงาน
อย่างไรก็ตามหากครัวเรือนมีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน วิธีการรับมือที่ถูกนำมาใช้จะเป็นการนำเงินออมออกมาใช้เพื่อชดเชยระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น แต่ถ้ามีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าจะปรับสูงขึ้นเป็นระยะเวลานานขึ้น ครัวเรือนจะลดค่าใช้จ่ายรายการที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งในภาพรวมครัวเรือน 41.4% มีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะยาวนานมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น การจับจ่ายใช้จ่ายสอยจะยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนจะยังมีแนวโน้มเปราะบางต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
“ดัชนีเชื่อมั่นฯ” มกราคม “ปรับลง” ในรอบ 5 เดือน
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_289662/
หอการค้า เผย โอไมครอนฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ม ค.ปรับลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือนแตะ 44.8 ขณะ ก.พ.ทรุดอีกตามตัวเลขติดเชื้อพุ่ง
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565 พบว่า ดัชนีมีการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 44.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นในประเทศ และมีการเกิดของสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนที่มีการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก
ทำให้กังวลต่อการใช้ชีวิต การทำธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและภาคบริการ หลังจากมีการยกเลิกระบบ Test&Go ผู้บริโภคยังมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคมปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ยังมองว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องแต่จะลดลงอยู่ในระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศ เนื่องจากประชาชนจะรับรู้ถึงจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ และสถานการณ์ราคาสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ แต่จากมาตรการคนละครึ่งของรัฐบาลทำให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยทางศูนย์พยากรณ์ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.5-4
เล็งขึ้นค่าโดยสาร! หลังน้ำมันขึ้นต่อเนื่อง
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_289665/
วินมอเตอร์ไซค์ เล็งปรับขึ้นค่าโดยสาร หลังน้ำมันแพง จี้ รัฐบาลดูแล กระทบต้นทุน
จากการสอบถามวินรถจักรยานยนต์รับจ้างย่านถนนบรมราชชนนี พบว่าส่วนใหญ่ยังคงราคาอัตราค่าโดยสารตามเดิม ในขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินจะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ
ทั้งนี้จากการสอบถามผู้ประกอบอาชีพต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารเนื่องจากกังวลว่าผู้โดยสารอาจจะไม่ใช้บริการหากอัตราค่าโดยสารสูงจนเกินไป โดยปัจจุบันจะขับรถรับจ้างแค่ช่วงเช้าและช่วงเย็นที่มีการเข้าออกของประชาชนช่วงเวลาทำงานในชั่วโมงเร่งด่วน ส่วนช่วงกลางวันอาศัยขับรถผ่านแอพเดลิเวอรี่แทน เพื่อหารายได้เพิ่มอีกช่องทางเนื่องจากยอมรับว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถือเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้อยากฝากไปยังรัฐบาลให้ดูแลราคาน้ำมันเนื่องจากบอกว่าหากปรับตัวสูงขึ้นมากกว่านี้คงจะต้องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
JJNY : จี้เยียวยาค่าไฟพุ่ง สินค้าแพงสวนทางรายได้│ดัชนีเชื่อมั่นฯมค.ปรับลง│เล็งขึ้นค่าโดยสาร!│ยื่น‘ปธ.ชวน’ทวงถามปฏิรูปตร.
https://www.dailynews.co.th/news/750750/
ครัวเรือนกังวลเพิ่มทุกด้าน ฉุดดัชนีการครองชีพต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จี้รัฐเร่งเยียวยาช่วงค่าไฟพุ่ง ราคาสินค้าแพง สวนทางรายได้ไม่ฟื้น ยิ่งซ้ำเติมกำลังซื้อ
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เปิดผลสำรวจดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 30.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกือบทุกด้านโดยเฉพาะราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และพลังงาน ซึ่งในหมวดนี้ดัชนีได้ปรับลดลงหรือกังวลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก สอดคล้องกับเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่สูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ 3.23% มาจากราคาพลังงานปรับสูงขึ้นและราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการมาตรการบรรเทาค่าครองชีพอย่างตรงจุด เช่น ตั้งแต่ช่วงต้นปี 65 มีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าขึ้น (ค่าเอฟที) ในช่วงแรกที่ปรับเพิ่มขึ้นแต่รายได้ครัวเรือนยังไม่กลับมา อาจต้องมีมาตรการเยียวยาออกมาควบคู่ด้วย ตัวอย่างในสหราชอาณาจักรที่กำลังจะมีการปรับขึ้นค่าไฟครั้งใหญ่พร้อมเตรียมมาตรการเพื่อเยียวยาผลกระทบ นอกจากการตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของครัวเรือนจึงมีความจำเป็นอย่างมากในช่วงที่รายได้และการจ้างงานอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว
“สถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจึงเหมือนเข้ามาซ้ำเติมกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เดิมมีความเปราะบางอยู่แล้ว แม้ว่าล่าสุดภาครัฐจะมีมาตรการบางส่วนออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การขยายเวลาตรึงราคาแก๊สหุงต้ม(แอลพีจี) จากเดิมที่จะสิ้นสุด 15 ม.ค.65 รวมถึงเลื่อนเวลาการใช้มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 เข้ามาเร็วขึ้นในเดือนก.พ. 65 แต่มาตรการต่าง ๆ สามารถเข้ามาประคับประคองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าปรับขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19”
ในระยะข้างหน้าระดับราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงจะยังเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่องไปอีกสักระยะ หรือจนกว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเริ่มปรับเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งคาดว่าอย่างน้อยจนกว่าจะถึงช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยในวันที่ 1 ก.พ. 65 ที่ผ่านมาได้มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระบบเทสท์ แอนด์ โก อีกครั้ง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ทยอยกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะช่วยให้ฝั่งรายได้ของครัวเรือนกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้บางส่วน
นอกจากนี้ครัวเรือนมีความกังวลต่อมุมมองด้านรายได้และการมีงานทำปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดัชนีรายได้และการจ้างงานปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ติดลบ 4% แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นแต่แรงงานบางส่วนยังมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 45.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่าภาวะปกติ ทำให้รายได้ของแรงงานที่ลดลงจะกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนต่อเนื่องไป ด้านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงเช่นกันอยู่ที่ 33.2 จาก 36.0 ในเดือนธ.ค.64 สะท้อนว่าในระยะข้างหน้าครัวเรือนยังคงมีความกังวลต่อเนื่องโดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านอาหารและพลังงาน
อย่างไรก็ตามหากครัวเรือนมีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน วิธีการรับมือที่ถูกนำมาใช้จะเป็นการนำเงินออมออกมาใช้เพื่อชดเชยระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น แต่ถ้ามีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าจะปรับสูงขึ้นเป็นระยะเวลานานขึ้น ครัวเรือนจะลดค่าใช้จ่ายรายการที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งในภาพรวมครัวเรือน 41.4% มีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะยาวนานมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น การจับจ่ายใช้จ่ายสอยจะยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนจะยังมีแนวโน้มเปราะบางต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
“ดัชนีเชื่อมั่นฯ” มกราคม “ปรับลง” ในรอบ 5 เดือน
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_289662/
หอการค้า เผย โอไมครอนฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ม ค.ปรับลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือนแตะ 44.8 ขณะ ก.พ.ทรุดอีกตามตัวเลขติดเชื้อพุ่ง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565 พบว่า ดัชนีมีการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 44.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นในประเทศ และมีการเกิดของสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนที่มีการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก
ทำให้กังวลต่อการใช้ชีวิต การทำธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและภาคบริการ หลังจากมีการยกเลิกระบบ Test&Go ผู้บริโภคยังมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคมปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ยังมองว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องแต่จะลดลงอยู่ในระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศ เนื่องจากประชาชนจะรับรู้ถึงจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ และสถานการณ์ราคาสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ แต่จากมาตรการคนละครึ่งของรัฐบาลทำให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยทางศูนย์พยากรณ์ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.5-4
เล็งขึ้นค่าโดยสาร! หลังน้ำมันขึ้นต่อเนื่อง
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_289665/
วินมอเตอร์ไซค์ เล็งปรับขึ้นค่าโดยสาร หลังน้ำมันแพง จี้ รัฐบาลดูแล กระทบต้นทุน
จากการสอบถามวินรถจักรยานยนต์รับจ้างย่านถนนบรมราชชนนี พบว่าส่วนใหญ่ยังคงราคาอัตราค่าโดยสารตามเดิม ในขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินจะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ
ทั้งนี้จากการสอบถามผู้ประกอบอาชีพต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารเนื่องจากกังวลว่าผู้โดยสารอาจจะไม่ใช้บริการหากอัตราค่าโดยสารสูงจนเกินไป โดยปัจจุบันจะขับรถรับจ้างแค่ช่วงเช้าและช่วงเย็นที่มีการเข้าออกของประชาชนช่วงเวลาทำงานในชั่วโมงเร่งด่วน ส่วนช่วงกลางวันอาศัยขับรถผ่านแอพเดลิเวอรี่แทน เพื่อหารายได้เพิ่มอีกช่องทางเนื่องจากยอมรับว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถือเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้อยากฝากไปยังรัฐบาลให้ดูแลราคาน้ำมันเนื่องจากบอกว่าหากปรับตัวสูงขึ้นมากกว่านี้คงจะต้องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้