ปิดเล่ม พ.ร.บ.ทรมานฯ กมธ.ยื่น ‘ชวน’ บรรจุเข้าวาระประชุม
https://www.dailynews.co.th/news/754153/
ประธาน กมธ. แถลงปิดเล่ม‘ร่าง พ.ร.บ.ทรมานฯ’ ยื่น‘ชวน’ พิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุมสภาฯให้ทัน ก่อนสิ้นก.พ.นี้
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา ณ ห้องแถลงข่าวรัฐสภา นาย
ชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะ กมธ. ร่วมกันแถลงข่าวความคืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับดังกล่าวว่า เป็นการประชุมนัดสุดท้ายของ กมธ. และร่าง พ.ร.บ.ตอนนี้เป็นรูปเล่ม ตนได้ลงนามเรียบร้อยแล้ว และได้นำเรียนนาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุเป็นวาระประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 พร้อมจะเร่งผลักดันให้เข้าวาระการประชุม ก่อนมีการปิดสมัยประชุมสภา
จับตา ‘ร่างพ.ร.บ.ทรมาน-อุ้ม’ ประเด็นสำคัญที่ขาดหายไป
ประธาน กมธ. ระบุว่า สำหรับสาระภาพรวมของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งป้องกันดูแลเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตาม ดูแลกฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่แค่ตรวจสอบฝ่ายมีอำนาจเท่านั้น ถ้าฝ่ายมีอำนาจปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก็เป็นการป้องกันตัวเอง ประการต่อมา คือการมุ่งปราบปรามเจ้าหน้าที่ ที่กระทำผิดกฎหมายเสียเอง เช่น กรณีอดีตนายตำรวจผู้กำกับโรงพักจังหวัดนครสวรรค์ ซ้อมทรมานผู้ต้องหาจนเสียชีวิต และการอุ้มหายหลายกรณี หวังว่า กฎหมายฉบับนี้ จะยุติการอุ้มหายไม่ให้เกิดในประเทศไทย
ด้าน นาย
รังสิมันต์ โรม รองประธาน กมธ. และ ส.ส.ก้าวไกล กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะเพิ่มความผิดใหม่ 3 เรื่อง ได้แก่ ความผิดในเรื่องของการอุ้มหายบุคคล ความผิดในเรื่องของการทรมาน และความผิดในเรื่องของการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยความผิดการอุ้มหายบุคคล หรือความผิดการซ้อมทรมาน อัตราโทษจำคุกจะอยู่ระหว่าง 5-15 ปี และความผิดจากการทรมานจนถึงแก่ความตาย อัตราโทษจะสูงถึงจำคุกตลอดชีวิต ส่วนความผิดการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อัตราโทษคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี
“ผมเชื่อว่าในคณะกรรมาธิการทั้งหมดยืนยันว่านี่คือกฎหมายที่มีความสำคัญจริง ๆ ต่อระบบกฎหมายไทย เป็นหลักประกันให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ต้องการกระทำความดี และเป็นหลักประกันให้กับบุคคลที่ถูกกระทำ เป็นเหยื่อการอุ้มหายซ้อมทรมาน และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผมคิดว่านี่เป็นนิมิตหมายที่ดีของกฎหมายไทย” รังสิมันต์ โรม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีการประชุมร่วมกับ นาย
วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีความสำคัญและเร่งด่วน และรับฟังข้อห่วงกังวลของกรรมมาธิการฯ ที่เป็นตัวแทนจากหลายภาคส่วน และเข้าใจดีที่มีข้อกังวล เช่น เรื่องการสรรหากรรมการ อย่าให้ยุ่งยากเกินไป, เรื่องอายุความ ให้กำหนดให้เหมาะสม เป็นต้น สำหรับร่าง พ.ร.บ.ฯดังกล่าว ถูกสังคมจับตามานาน หลังมีการต่อสู้ผลักดันมานานกว่า 10 ปี กระทั่ง กมธ. ปิดเล่มได้สำเร็จ ก็ต้องตามลุ้นต่อเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร.
"หมอธีระ" ชี้โควิดในไทยขณะนี้ระบาดรุนแรง กระจายไปทั่วเป็นขาขึ้นอย่างรวดเร็ว การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดนั้นจำเป็นอย่างมาก
วันนี้ (11ก.พ.65) รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า
11 กุมภาพันธ์ 2565 ทะลุ 405 ล้านแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,313,924 คน ตายเพิ่ม 9,891 คน รวมแล้วติดไปรวม 405,967,025 คน เสียชีวิตรวม 5,806,444 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล ฝรั่งเศส และอเมริกา
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.6 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.93
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.37 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.68
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
..."รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง"
วลีข้างต้นสะท้อนความเคลื่อนไหวเชิงนโยบายของบางประเทศในยุโรป ที่ตัดสินใจยุติข้อจำกัดต่างๆ ในการป้องกันโรคโควิด-19 เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และอื่นๆ
ทั้งนี้หากลองวิเคราะห์โดยดูข้อมูลต่างๆ จะเห็นว่ายุโรปนั้นโดน Omicron ระบาดอย่างหนักหน่วง แม้ปัจจุบันจะมีแนวโน้มเป็นขาลงกว่าเดิม แต่แต่ละวันก็ยังติดเชื้อใหม่กว่า 2 ล้านคน และตายกว่า 3 พันคน ลักษณะการระบาดดังกล่าวสะท้อนความยาวนานของการระบาดที่ยากจะกดลงในเวลาอันสั้น
เหลียวมองอัตราการตาย หรือป่วยรุนแรงของ Omicron ดูลดลงกว่าระลอกเดลต้า โดยมีการศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าลดลงราว 30-70% (แต่ต้องย้ำว่า แม้ลดลงกว่าเดิม แต่ก็ยังมีโอกาสป่วยรุนแรงและตายได้ดังตัวเลขที่เห็นในแต่ละวัน) ทำให้การมองของกลุ่มนโยบายที่ห่วงเรื่องสังคมและเศรษฐกิจด้วยนั้นจึงมองแบบให้น้ำหนักเชิง relative หรือเชิงสัมพัทธ์กับระลอกก่อน แล้วแปลผลว่า Omicron สร้างผลกระทบเรื่องนี้น้อยกว่าเดลต้าอย่างมาก
สุดท้ายคือ มองอาวุธที่ใช้สู้อยู่ในปัจจุบัน (ดังแสดงในตาราง) ได้แก่ วัคซีน ทั้งนี้งานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นว่า วัคซีนที่ใช้อยู่นั้นแม้จะฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว โอกาสที่จะป้องกันการติดเชื้อแบบไม่มีอาการนั้นยาก โอกาสที่จะป้องกันการติดเชื้อแล้วป่วย/มีอาการก็มีประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก (ราว 60+%) แต่ยังป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ดี แปลผลตามข้อมูลที่มีคือ "ป้องกันติดเชื้อได้ยาก ป้องกันป่วยได้ไม่มาก แต่ป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ดี (แต่ไม่ทราบระยะเวลาว่าจะคงประสิทธิภาพนี้ได้นานเพียงใด)"
พอพิจารณาข้อมูลข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่บางประเทศที่ยกตัวอย่างมานั้น จึงมีแนวโน้มจะตัดสินใจเปิดเสรีการใช้ชีวิต เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยหวังว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบอาจไม่มาก
จึงนำไปสู่สถานการณ์ที่ขอเรียกว่า "รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง"
ถัดจากการประกาศนโยบายดังกล่าว จึงมีแนวโน้มสูงที่ในประเทศเหล่านั้นจะมีการระบาดทวีความรุนแรงขึ้น เพราะธรรมชาติของโรคนั้นไม่มีทางเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่ยังมีโรคอย่างชุกชุม การมีคนหนาแน่นแออัด (crowdedness) พบปะติดต่อกันมาก (frequency) ใกล้ชิดคลุกคลีกันมาก (closeness) และใช้เวลายาวนาน (long duration) รวมถึงการไม่ป้องกันตัว ทั้งเรื่องการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง (no personal protective behaviors) ยังไงก็ตามไม่ช้าก็เร็ว ต้องมีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันมากขึ้น
ผลกระทบที่จะตามมาคือ การป่วยการเสียชีวิตย่อมต้องมากขึ้น รวมถึงเรื่องภาวะอาการคงค้างระยะยาว หรือ Long COVID ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน และเรื่องภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวต่อตัวบุคคล ครอบครัว และประเทศ
ย่างก้าวของประเทศอื่นนั้น ดูไว้เป็นกรณีศึกษา ไม่ได้หมายความว่าต้องทำตาม เพราะจุดหมายอาจไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาก็เป็นได้
...อัพเดตงานวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID
ล่าสุด Cohen K และคณะ ได้เผยแพร่งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ใน British Medical Journal เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ กลุ่มคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นมีถึง 1/3 ที่จะมีอาการคงค้าง หรือ Long COVID โดยมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อหลายเท่าอย่างมีนัยสำคัญ
อาการคงค้างเกิดขึ้นได้ในหลายระบบ หลายอวัยวะ ตั้งแต่สมอง หัวใจและหลอดเลือด การแข็งตัวของเลือด ต่อมไร้ท่อ ทางเดินอาหาร รวมถึงผิวหนัง
...สำหรับไทยเรา
การระบาดขณะนี้รุนแรง กระจายไปทั่ว เป็นขาขึ้นอย่างรวดเร็ว
บางรพ.ประสบปัญหาการติดเชื้อในบุคลากรจำนวนมาก และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจนกระทบต่อระบบบริการแล้ว
การตระหนักรู้ถึงสถานการณ์จริง และป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดนั้นจำเป็นอย่างมาก
ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น
หากไม่สบาย แม้เล็กน้อย ก็ควรแจ้งคนใกล้ชิดและที่ทำงาน หยุดเรียนหยุดงาน และไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
การประคับประคองให้พ้นวิกฤติระยะนี้ "ต้องพึ่งตนเอง"
เน้นการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก
กิจการห้างร้านก็จำเป็นต้องดูแลตนเองให้ดี ถ้าเคร่งครัด ความเสี่ยงก็จะลดลง กิจการก็จะยังพอดำเนินไปได้ แต่หากโลภ ไม่แคร์ ไม่สนใจ ปัญหาก็จะตามมาตามวัฏจักรธรรมชาติของโรค
เครดิตตาราง: Topol E.
อ้างอิง
Cohen K et al. Risk of persistent and new clinical sequelae among adults aged 65 years and older during the post-acute phase of SARS-CoV-2 infection: retrospective cohort study. BMJ 2022;376:e068414.
ไทยพาณิชย์มอง กนง.เริ่มขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า เหตุเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐในปีที่ผ่านมาฟื้นตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ปรับลดลงสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับก่อน COVID-19 และเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงสุดในรอบ 39 ปี จากทั้งปัจจัยด้านอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและปัญหาอุปทานขาดตอน ส่งผลให้ EIC คาดว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5 ครั้งในปีนี้ โดย terminal Fed funds rate จะอยู่ที่ราว 2.5-2.75% ในปี 2567-2568 และอาจเริ่มลดขนาดงบดุล (QT) ในช่วงกลางปีนี้ โดยการทำ QT ในรอบนี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นเร็วกว่าและมีปริมาณมากกว่ารอบก่อนถึง 2 เท่า ทำให้สภาพคล่องในระบบที่มีแนวโน้มลดลง และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มปรับแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลเข้ากลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (emerging markets) ชะลอลงจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่อาจไหลออกได้ในบางช่วง โดยประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเปราะบางอาจมีความเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกมากกว่าประเทศ ที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารกลางบางแห่งจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอไม่ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออก และไม่ให้ค่าเงินอ่อนค่าเร็วเกินไป
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐ และไทยแตกต่างกันค่อนข้างมาก
JJNY : ปิดเล่ม พ.ร.บ.ทรมานฯ│"หมอธีระ" ชี้โควิดในไทยระบาดรุนแรง│ไทยพาณิชย์มอง กนง.เริ่มขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า│น้ำมูลแห้งขอด
https://www.dailynews.co.th/news/754153/
ประธาน กมธ. แถลงปิดเล่ม‘ร่าง พ.ร.บ.ทรมานฯ’ ยื่น‘ชวน’ พิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุมสภาฯให้ทัน ก่อนสิ้นก.พ.นี้
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา ณ ห้องแถลงข่าวรัฐสภา นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะ กมธ. ร่วมกันแถลงข่าวความคืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับดังกล่าวว่า เป็นการประชุมนัดสุดท้ายของ กมธ. และร่าง พ.ร.บ.ตอนนี้เป็นรูปเล่ม ตนได้ลงนามเรียบร้อยแล้ว และได้นำเรียนนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุเป็นวาระประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 พร้อมจะเร่งผลักดันให้เข้าวาระการประชุม ก่อนมีการปิดสมัยประชุมสภา
จับตา ‘ร่างพ.ร.บ.ทรมาน-อุ้ม’ ประเด็นสำคัญที่ขาดหายไป
ประธาน กมธ. ระบุว่า สำหรับสาระภาพรวมของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งป้องกันดูแลเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตาม ดูแลกฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่แค่ตรวจสอบฝ่ายมีอำนาจเท่านั้น ถ้าฝ่ายมีอำนาจปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก็เป็นการป้องกันตัวเอง ประการต่อมา คือการมุ่งปราบปรามเจ้าหน้าที่ ที่กระทำผิดกฎหมายเสียเอง เช่น กรณีอดีตนายตำรวจผู้กำกับโรงพักจังหวัดนครสวรรค์ ซ้อมทรมานผู้ต้องหาจนเสียชีวิต และการอุ้มหายหลายกรณี หวังว่า กฎหมายฉบับนี้ จะยุติการอุ้มหายไม่ให้เกิดในประเทศไทย
ด้าน นายรังสิมันต์ โรม รองประธาน กมธ. และ ส.ส.ก้าวไกล กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะเพิ่มความผิดใหม่ 3 เรื่อง ได้แก่ ความผิดในเรื่องของการอุ้มหายบุคคล ความผิดในเรื่องของการทรมาน และความผิดในเรื่องของการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยความผิดการอุ้มหายบุคคล หรือความผิดการซ้อมทรมาน อัตราโทษจำคุกจะอยู่ระหว่าง 5-15 ปี และความผิดจากการทรมานจนถึงแก่ความตาย อัตราโทษจะสูงถึงจำคุกตลอดชีวิต ส่วนความผิดการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อัตราโทษคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี
“ผมเชื่อว่าในคณะกรรมาธิการทั้งหมดยืนยันว่านี่คือกฎหมายที่มีความสำคัญจริง ๆ ต่อระบบกฎหมายไทย เป็นหลักประกันให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ต้องการกระทำความดี และเป็นหลักประกันให้กับบุคคลที่ถูกกระทำ เป็นเหยื่อการอุ้มหายซ้อมทรมาน และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผมคิดว่านี่เป็นนิมิตหมายที่ดีของกฎหมายไทย” รังสิมันต์ โรม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีการประชุมร่วมกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีความสำคัญและเร่งด่วน และรับฟังข้อห่วงกังวลของกรรมมาธิการฯ ที่เป็นตัวแทนจากหลายภาคส่วน และเข้าใจดีที่มีข้อกังวล เช่น เรื่องการสรรหากรรมการ อย่าให้ยุ่งยากเกินไป, เรื่องอายุความ ให้กำหนดให้เหมาะสม เป็นต้น สำหรับร่าง พ.ร.บ.ฯดังกล่าว ถูกสังคมจับตามานาน หลังมีการต่อสู้ผลักดันมานานกว่า 10 ปี กระทั่ง กมธ. ปิดเล่มได้สำเร็จ ก็ต้องตามลุ้นต่อเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร.
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/104598/
11 กุมภาพันธ์ 2565 ทะลุ 405 ล้านแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,313,924 คน ตายเพิ่ม 9,891 คน รวมแล้วติดไปรวม 405,967,025 คน เสียชีวิตรวม 5,806,444 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล ฝรั่งเศส และอเมริกา
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.6 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.93
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.37 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.68
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
..."รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง"
วลีข้างต้นสะท้อนความเคลื่อนไหวเชิงนโยบายของบางประเทศในยุโรป ที่ตัดสินใจยุติข้อจำกัดต่างๆ ในการป้องกันโรคโควิด-19 เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และอื่นๆ
ทั้งนี้หากลองวิเคราะห์โดยดูข้อมูลต่างๆ จะเห็นว่ายุโรปนั้นโดน Omicron ระบาดอย่างหนักหน่วง แม้ปัจจุบันจะมีแนวโน้มเป็นขาลงกว่าเดิม แต่แต่ละวันก็ยังติดเชื้อใหม่กว่า 2 ล้านคน และตายกว่า 3 พันคน ลักษณะการระบาดดังกล่าวสะท้อนความยาวนานของการระบาดที่ยากจะกดลงในเวลาอันสั้น
เหลียวมองอัตราการตาย หรือป่วยรุนแรงของ Omicron ดูลดลงกว่าระลอกเดลต้า โดยมีการศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าลดลงราว 30-70% (แต่ต้องย้ำว่า แม้ลดลงกว่าเดิม แต่ก็ยังมีโอกาสป่วยรุนแรงและตายได้ดังตัวเลขที่เห็นในแต่ละวัน) ทำให้การมองของกลุ่มนโยบายที่ห่วงเรื่องสังคมและเศรษฐกิจด้วยนั้นจึงมองแบบให้น้ำหนักเชิง relative หรือเชิงสัมพัทธ์กับระลอกก่อน แล้วแปลผลว่า Omicron สร้างผลกระทบเรื่องนี้น้อยกว่าเดลต้าอย่างมาก
สุดท้ายคือ มองอาวุธที่ใช้สู้อยู่ในปัจจุบัน (ดังแสดงในตาราง) ได้แก่ วัคซีน ทั้งนี้งานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นว่า วัคซีนที่ใช้อยู่นั้นแม้จะฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว โอกาสที่จะป้องกันการติดเชื้อแบบไม่มีอาการนั้นยาก โอกาสที่จะป้องกันการติดเชื้อแล้วป่วย/มีอาการก็มีประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก (ราว 60+%) แต่ยังป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ดี แปลผลตามข้อมูลที่มีคือ "ป้องกันติดเชื้อได้ยาก ป้องกันป่วยได้ไม่มาก แต่ป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ดี (แต่ไม่ทราบระยะเวลาว่าจะคงประสิทธิภาพนี้ได้นานเพียงใด)"
พอพิจารณาข้อมูลข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่บางประเทศที่ยกตัวอย่างมานั้น จึงมีแนวโน้มจะตัดสินใจเปิดเสรีการใช้ชีวิต เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยหวังว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบอาจไม่มาก
จึงนำไปสู่สถานการณ์ที่ขอเรียกว่า "รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง"
ถัดจากการประกาศนโยบายดังกล่าว จึงมีแนวโน้มสูงที่ในประเทศเหล่านั้นจะมีการระบาดทวีความรุนแรงขึ้น เพราะธรรมชาติของโรคนั้นไม่มีทางเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่ยังมีโรคอย่างชุกชุม การมีคนหนาแน่นแออัด (crowdedness) พบปะติดต่อกันมาก (frequency) ใกล้ชิดคลุกคลีกันมาก (closeness) และใช้เวลายาวนาน (long duration) รวมถึงการไม่ป้องกันตัว ทั้งเรื่องการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง (no personal protective behaviors) ยังไงก็ตามไม่ช้าก็เร็ว ต้องมีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันมากขึ้น
ผลกระทบที่จะตามมาคือ การป่วยการเสียชีวิตย่อมต้องมากขึ้น รวมถึงเรื่องภาวะอาการคงค้างระยะยาว หรือ Long COVID ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน และเรื่องภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวต่อตัวบุคคล ครอบครัว และประเทศ
ย่างก้าวของประเทศอื่นนั้น ดูไว้เป็นกรณีศึกษา ไม่ได้หมายความว่าต้องทำตาม เพราะจุดหมายอาจไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาก็เป็นได้
...อัพเดตงานวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID
ล่าสุด Cohen K และคณะ ได้เผยแพร่งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ใน British Medical Journal เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ กลุ่มคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นมีถึง 1/3 ที่จะมีอาการคงค้าง หรือ Long COVID โดยมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อหลายเท่าอย่างมีนัยสำคัญ
อาการคงค้างเกิดขึ้นได้ในหลายระบบ หลายอวัยวะ ตั้งแต่สมอง หัวใจและหลอดเลือด การแข็งตัวของเลือด ต่อมไร้ท่อ ทางเดินอาหาร รวมถึงผิวหนัง
...สำหรับไทยเรา
การระบาดขณะนี้รุนแรง กระจายไปทั่ว เป็นขาขึ้นอย่างรวดเร็ว
บางรพ.ประสบปัญหาการติดเชื้อในบุคลากรจำนวนมาก และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจนกระทบต่อระบบบริการแล้ว
การตระหนักรู้ถึงสถานการณ์จริง และป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดนั้นจำเป็นอย่างมาก
ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น
หากไม่สบาย แม้เล็กน้อย ก็ควรแจ้งคนใกล้ชิดและที่ทำงาน หยุดเรียนหยุดงาน และไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
การประคับประคองให้พ้นวิกฤติระยะนี้ "ต้องพึ่งตนเอง"
เน้นการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก
กิจการห้างร้านก็จำเป็นต้องดูแลตนเองให้ดี ถ้าเคร่งครัด ความเสี่ยงก็จะลดลง กิจการก็จะยังพอดำเนินไปได้ แต่หากโลภ ไม่แคร์ ไม่สนใจ ปัญหาก็จะตามมาตามวัฏจักรธรรมชาติของโรค
เครดิตตาราง: Topol E.
อ้างอิง
Cohen K et al. Risk of persistent and new clinical sequelae among adults aged 65 years and older during the post-acute phase of SARS-CoV-2 infection: retrospective cohort study. BMJ 2022;376:e068414.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3178347
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐในปีที่ผ่านมาฟื้นตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ปรับลดลงสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับก่อน COVID-19 และเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงสุดในรอบ 39 ปี จากทั้งปัจจัยด้านอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและปัญหาอุปทานขาดตอน ส่งผลให้ EIC คาดว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5 ครั้งในปีนี้ โดย terminal Fed funds rate จะอยู่ที่ราว 2.5-2.75% ในปี 2567-2568 และอาจเริ่มลดขนาดงบดุล (QT) ในช่วงกลางปีนี้ โดยการทำ QT ในรอบนี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นเร็วกว่าและมีปริมาณมากกว่ารอบก่อนถึง 2 เท่า ทำให้สภาพคล่องในระบบที่มีแนวโน้มลดลง และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มปรับแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลเข้ากลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (emerging markets) ชะลอลงจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่อาจไหลออกได้ในบางช่วง โดยประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเปราะบางอาจมีความเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกมากกว่าประเทศ ที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารกลางบางแห่งจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอไม่ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออก และไม่ให้ค่าเงินอ่อนค่าเร็วเกินไป
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐ และไทยแตกต่างกันค่อนข้างมาก