วิจัยกรุงศรีเผยวิกฤตยูเครนกระทบเศรษฐกิจไทยปีนี้ โตชะลอลงจากเดิมที่เคยประมาณการไว้ที่ 3.7% เหลือแค่ 2.8%
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6955746
ธปท.ชี้ไทยยังไม่เผชิญ Stagflation ขณะที่วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เติบโตเหลือ 2.8% นาย
ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. ระบุว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเงินเฟ้อสูง (Stagflation) เพราะจะเกิดภาวะนั้นได้เศรษฐกิจไทยต้องชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ในระยะข้างหน้าอาจชะลอตัวลงบ้างจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นจากราคาน้ำมันซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวและเฉลี่ยทั้งปีมีโอกาสเกินกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3%
วิจัยกรุงศรีประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนมีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีการห้ามนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียไปจนถึงกลางปีหน้า กระทบการผลิตและการค้าของโลกลดลง ซึ่งจะเชื่อมโยงมาสู่การส่งออก การผลิต และภาคท่องเที่ยวของไทย
ล่าสุดวิจัยกรุงศรีจึงปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% โดยปรับลดมูลค่าการส่งออก (รูปดอลลาร์) ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาด 5% นอกจากนี้ ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง จึงอาจนำไปสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในปีนี้
อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเร่งขึ้นโดยทั้งปีคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% อาจบั่นทอนกำลังซื้อและทำให้การบริโภคของผู้มีรายได้ในแต่ละกลุ่มฟื้นตัวได้แตกต่างกัน การคาดการณ์อัตราการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จึงปรับลดลงเหลือ 3.0% จากเดิมคาด 3.8% แม้การใช้จ่ายอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับดีขึ้นของรายได้เกษตรกรที่ได้อานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่บ้างก็ตาม
ทางการผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศเพิ่มเติม ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวยังเผชิญหลายแรงกดดัน การประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.) วันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่ของสถานการณ์การระบาดเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยปรับพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) เหลือ 20 จังหวัด (จาก 44 จังหวัด) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) เป็น 47 จังหวัด (จาก 25 จังหวัด) พื้นที่สีฟ้า (นำร่องการท่องเที่ยว) เป็น 10 จังหวัด (จาก 8 จังหวัด)
นอกจากนี้ ยังมีการผ่อนคลายมาตรการ Test & Go เพิ่มเติม โดยปรับเกณฑ์ไม่ต้องแสดงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง แต่ให้ตรวจ RT-PCR ในวันแรกที่เดินทางถึงไทย และตรวจแบบ ATK ในวันที่ 5 ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.
แม้ทางการไทยจะมีการปรับปรุงมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวอาจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยลบ อาทิ 1) จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการยกระดับไทยเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (ระดับ 4) จากสหรัฐฯเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว 2) การสู้รบระหว่างรัสเชีย-ยูเครน ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงไตรมาส 2 ซึ่งนอกจากจะส่งผลทางตรงต่อนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางมาไทยในช่วงที่เหลือของปีแล้ว ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้
ขณะที่วิกฤตราคาพลังงานส่งผลต่อต้นทุนการเดินทางขยับขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวอาจชะลอการเดินทางออกไป ล่าสุดวิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
“สภาพัฒน์” ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเป้า
https://www.matichon.co.th/economy/news_3246309
“สภาพัฒน์” ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเป้า
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นาย
วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง
“ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี2565” ในงานสัมมนา
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพ-ปริมณฑล” ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2564 ฟื้นตัวในระดับที่น่าพอใจภายใต้สถานการณ์การระบาดองโรคโควิดสายพันธ์ุเดลต้าที่กลับมารุนแรงเป็นระลอก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐและการขยายตัวในเกณฑ์สูงของภาคการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจทั้งปีกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ 1.6% สูงกว่าการคาดการณ์ของสภาพัฒน์ฯ และของหลายหน่ายงานที่คาดว่าจะขยายตัว 1%
นาย
วิชญายุทธ กล่าวว่า ส่วนในด้านการใช้จ่าย การขยายตัวทั้งปี มีปัจจัยสนับสนุนจากแรงขับเคลื่อนของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ และการขยายตัวสูงของการส่งออกสินค้า ขณะที่การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ และการท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัดในการขยายตัวต่อเนื่อง จากข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของโควิด ในด้านการผลิต ขยายตัวในเกณฑ์ดีสาขาอุตสาหกรรม การเกษตร การก่อสร้าง การเงิน บริการสุขภาพ แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวจากปี2563 แต่ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งปียังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดระบาดในปี 2562 หรือกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกันหรือ k shape recovery
ทั้งนี้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าคาดการณ์ของราคาน้ำมัน ราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก รวมถึงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่ลุกลามไปมากกว่าคาดการณ์ ส่วนใหญ่ถูกระบุไว้เป็นปัจจัยเสี่ยงด้านต่ำต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจแล้ว ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีนัยสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลาง ซึ่งสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง คาดว่ากลางปีนี้สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนน่าจะยุติได้ แต่ว่าสหรัฐ-รัสเซียที่มีการแซงก์ชั่นอาจจะยืดเยื้อทั้งปี
“ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทางตรงคือการค้าส่งออกสินค้าไทย-รัสเซียและไทย-ยูเครน แต่คงไม่มากเพราะส่งออกไปค่อนข้างน้อย แต่ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นเพราะปัจจุบันเราพึ่งพิงนักท่องเที่ยวยุโรป เพราะจีนยังไม่เข้ามา รวมถึงราคาพลังงานและน้ำมันที่กระทบทางอ้อม ถ้าเฉลี่ยราคาน้ำมันทั้งปีอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กระทบต่อจีดีพีลดลง 0.5% สิ่งที่กังวลคือผลกระทบจะผ่านมาทางเศรษฐกิจโลก ทั้งเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบ” นายวิชญายุทธกล่าว
นาย
วิชญายุทธกล่าวว่า ก่อนเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ทางสภาพัฒน์ฯคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี2565 จะขยายตัว 3.5-4.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.5-2.5% มีปัจจัยสนับสนุนคือ
1. การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศตามแนวโน้มลดลงของความรุนแรงของโควิดสายพันธ์ุเดลต้า รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มีเปิดรับนักท่องเที่ยงต่างชาติและยกเลิกมาตรการคุมการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น ในปี 2564 มีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 4 แสนคนและช่วง3 เดือนแรกของปีนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องและคาดหวังเดือนพฤศจิกายนนี้อาจจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเข้ามา
3. การขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่อยู่ในเกณฑ์ดีจะสนับสนุนให้ภาคการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง และ4.กรอบเม็ดเงินงบประมาณด้านการลงทุนของภาครัฐ ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และพรก.เงินกู้
นาย
วิชญายุทธกล่าวว่า ภายใต้ปัจจัยบวกยังมีปัจจัยเสี่ยง
1. การกลายพันธุ์โอมิครอน
2. ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ได้แก่ ความเสี่ยงที่ราคาสินค้า เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศเศรษฐกิจหลักเพิ่มขึ้นแรงกว่าคาดการณ์ นำไปสู่การชะลอตัรุนแรงของเศรษฐกิจ ,ปัญหาอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จีน-ไต้หวัน อิสราเอล-อิหร่าน
3. ปัญหาอุปสรรคในห่วงโซ่อุปทานโลกที่อาจมีความยือเยื้อและทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
4. ข้อจำกัดด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในะระยะต่อไป
และ 5. ระดับราคาสินค้า เงินเฟ้อ ในประเทศ ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์ ตามแรงกดดันเงินเฟ้อของประเทศเศรษฐกิจหลัก
กมธ.กฎหมายลูก เตรียมโหวตใช้บัตรลต. 2 ใบเบอร์เดียว-คนละเบอร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3247021
กมธ.กฎหมายลูก เตรียมโหวตใช้บัตร ลต. 2 ใบเบอร์เดียว-คนละเบอร์ ‘ธีรัจชัย’ ชี้ อยากให้ฟังเหตุผลมากกว่าใบสั่ง เหตุจะทำให้กฎหมายเป็นธรรม-ตอบสนองความต้องการ ปชช.มากกว่า
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นาย
ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่. …) พ.ศ. … ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นที่จะมีการลงมติในวันที่ 30 มีนาคมนี้ว่า เป็นการลงมติเรื่องบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ว่าจะใช้บัตรเบอร์เดียวทั้งประเทศหรือคนละเบอร์ ซึ่งจากการอภิปรายมีความเห็นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งอยากให้เป็นบัตรเบอร์เดียว เนื่องจากเป็นความสะดวกของประชาชนที่จะได้เลือกง่าย เพราะไม่ต้องกาแยกพรรคและคน แต่อีกฝ่ายก็กลัวเทคนิค เกรงว่าจะขัดกฎหมาย ซึ่งในการอภิปรายก็เห็นว่าสามารถร่างกฎหมายให้ไม่ขัดกันได้ แต่ทั้งนี้เจตจำนงที่จะให้ประชาชนเลือกง่ายย่อมเหนือกว่า เพราะเทคนิคเราใช้วิธีการร่างกฎหมายได้ โดยขณะนี้พรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลบางส่วนเห็นไปในทิศทางบัตรเบอร์เดียว แต่ก็มี ส.ว.และรัฐบาลบางส่วนที่อยากได้บัตรคนละเบอร์
เมื่อถามว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการลงมติของ กมธ.ชุดนี้ และภาพจะสะท้อนหรือชี้วัดหลายอย่างต่อจากนี้ ส่วนตัวมองประเด็นนี้อย่างไร นาย
ธีรัจชัยกล่าวว่า การพิจารณาตอนนี้ นาย
สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน กมธ.ก็รับฟังทุกคน ไม่มีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และเปิดให้มีการพิจารณาอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่สำหรับการลงมติต้องดูว่าจะมีการฟังเหตุผลมากกว่าการตั้งธงและใบสั่งมาแล้วหรือไม่ ส่วนตัวตนอยากให้พิจารณาด้วยเหตุและผลมากกว่าเป็นใบสั่ง ซึ่งหากเห็นว่าเหตุผลอะไรดีที่สุดก็โหวตไปตามนั้น เพราะจะทำให้กฎหมายที่ออกมามีความเป็นธรรมมากกว่า แต่หากดูแล้วว่าแม้อภิปรายเยอะแต่สุดท้ายก็มีคำสั่งว่าให้ลงมติตามนี้ กฎหมายที่ออกมาก็จะไม่เป็นธรรมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
เมื่อถามถึงกรณีที่ กมธ.ติดโควิด นาย
ธีรัจชัยกล่าวว่า คงจะหายทัน ซึ่งในไลน์ของ กมธ.ก็มีการตรวจเอทีเคส่งมารายงานผลกันตลอด และสัปดาห์หน้าน่าจะมาประชุมกันได้หมด ทั้งนี้ ยังไม่มี กมธ.คนใดติดเพิ่ม
JJNY : 4in1 วิจัยกรุงศรีเผยศก.โตเหลือ2.8%│“สภาพัฒน์”ชี้ศก.ไทยขยายตัวต่ำเป้า│กมธ.เตรียมโหวตบัตรลต.│"ป.ป.ช."ฟันเอ๋ ปารีณา
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6955746
ธปท.ชี้ไทยยังไม่เผชิญ Stagflation ขณะที่วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เติบโตเหลือ 2.8% นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. ระบุว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเงินเฟ้อสูง (Stagflation) เพราะจะเกิดภาวะนั้นได้เศรษฐกิจไทยต้องชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ในระยะข้างหน้าอาจชะลอตัวลงบ้างจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นจากราคาน้ำมันซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวและเฉลี่ยทั้งปีมีโอกาสเกินกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3%
วิจัยกรุงศรีประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนมีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีการห้ามนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียไปจนถึงกลางปีหน้า กระทบการผลิตและการค้าของโลกลดลง ซึ่งจะเชื่อมโยงมาสู่การส่งออก การผลิต และภาคท่องเที่ยวของไทย
ล่าสุดวิจัยกรุงศรีจึงปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% โดยปรับลดมูลค่าการส่งออก (รูปดอลลาร์) ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาด 5% นอกจากนี้ ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง จึงอาจนำไปสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในปีนี้
อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเร่งขึ้นโดยทั้งปีคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% อาจบั่นทอนกำลังซื้อและทำให้การบริโภคของผู้มีรายได้ในแต่ละกลุ่มฟื้นตัวได้แตกต่างกัน การคาดการณ์อัตราการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จึงปรับลดลงเหลือ 3.0% จากเดิมคาด 3.8% แม้การใช้จ่ายอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับดีขึ้นของรายได้เกษตรกรที่ได้อานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่บ้างก็ตาม
ทางการผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศเพิ่มเติม ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวยังเผชิญหลายแรงกดดัน การประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.) วันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่ของสถานการณ์การระบาดเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยปรับพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) เหลือ 20 จังหวัด (จาก 44 จังหวัด) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) เป็น 47 จังหวัด (จาก 25 จังหวัด) พื้นที่สีฟ้า (นำร่องการท่องเที่ยว) เป็น 10 จังหวัด (จาก 8 จังหวัด)
นอกจากนี้ ยังมีการผ่อนคลายมาตรการ Test & Go เพิ่มเติม โดยปรับเกณฑ์ไม่ต้องแสดงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง แต่ให้ตรวจ RT-PCR ในวันแรกที่เดินทางถึงไทย และตรวจแบบ ATK ในวันที่ 5 ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.
แม้ทางการไทยจะมีการปรับปรุงมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวอาจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยลบ อาทิ 1) จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการยกระดับไทยเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (ระดับ 4) จากสหรัฐฯเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว 2) การสู้รบระหว่างรัสเชีย-ยูเครน ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงไตรมาส 2 ซึ่งนอกจากจะส่งผลทางตรงต่อนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางมาไทยในช่วงที่เหลือของปีแล้ว ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้
ขณะที่วิกฤตราคาพลังงานส่งผลต่อต้นทุนการเดินทางขยับขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวอาจชะลอการเดินทางออกไป ล่าสุดวิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน
“สภาพัฒน์” ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเป้า
https://www.matichon.co.th/economy/news_3246309
“สภาพัฒน์” ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเป้า
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี2565” ในงานสัมมนา สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพ-ปริมณฑล” ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2564 ฟื้นตัวในระดับที่น่าพอใจภายใต้สถานการณ์การระบาดองโรคโควิดสายพันธ์ุเดลต้าที่กลับมารุนแรงเป็นระลอก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐและการขยายตัวในเกณฑ์สูงของภาคการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจทั้งปีกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ 1.6% สูงกว่าการคาดการณ์ของสภาพัฒน์ฯ และของหลายหน่ายงานที่คาดว่าจะขยายตัว 1%
นายวิชญายุทธ กล่าวว่า ส่วนในด้านการใช้จ่าย การขยายตัวทั้งปี มีปัจจัยสนับสนุนจากแรงขับเคลื่อนของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ และการขยายตัวสูงของการส่งออกสินค้า ขณะที่การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ และการท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัดในการขยายตัวต่อเนื่อง จากข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของโควิด ในด้านการผลิต ขยายตัวในเกณฑ์ดีสาขาอุตสาหกรรม การเกษตร การก่อสร้าง การเงิน บริการสุขภาพ แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวจากปี2563 แต่ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งปียังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดระบาดในปี 2562 หรือกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกันหรือ k shape recovery
ทั้งนี้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าคาดการณ์ของราคาน้ำมัน ราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก รวมถึงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่ลุกลามไปมากกว่าคาดการณ์ ส่วนใหญ่ถูกระบุไว้เป็นปัจจัยเสี่ยงด้านต่ำต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจแล้ว ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีนัยสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลาง ซึ่งสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง คาดว่ากลางปีนี้สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนน่าจะยุติได้ แต่ว่าสหรัฐ-รัสเซียที่มีการแซงก์ชั่นอาจจะยืดเยื้อทั้งปี
“ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทางตรงคือการค้าส่งออกสินค้าไทย-รัสเซียและไทย-ยูเครน แต่คงไม่มากเพราะส่งออกไปค่อนข้างน้อย แต่ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นเพราะปัจจุบันเราพึ่งพิงนักท่องเที่ยวยุโรป เพราะจีนยังไม่เข้ามา รวมถึงราคาพลังงานและน้ำมันที่กระทบทางอ้อม ถ้าเฉลี่ยราคาน้ำมันทั้งปีอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กระทบต่อจีดีพีลดลง 0.5% สิ่งที่กังวลคือผลกระทบจะผ่านมาทางเศรษฐกิจโลก ทั้งเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบ” นายวิชญายุทธกล่าว
นายวิชญายุทธกล่าวว่า ก่อนเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ทางสภาพัฒน์ฯคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี2565 จะขยายตัว 3.5-4.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.5-2.5% มีปัจจัยสนับสนุนคือ
1. การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศตามแนวโน้มลดลงของความรุนแรงของโควิดสายพันธ์ุเดลต้า รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มีเปิดรับนักท่องเที่ยงต่างชาติและยกเลิกมาตรการคุมการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น ในปี 2564 มีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 4 แสนคนและช่วง3 เดือนแรกของปีนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องและคาดหวังเดือนพฤศจิกายนนี้อาจจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเข้ามา
3. การขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่อยู่ในเกณฑ์ดีจะสนับสนุนให้ภาคการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง และ4.กรอบเม็ดเงินงบประมาณด้านการลงทุนของภาครัฐ ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และพรก.เงินกู้
นายวิชญายุทธกล่าวว่า ภายใต้ปัจจัยบวกยังมีปัจจัยเสี่ยง
1. การกลายพันธุ์โอมิครอน
2. ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ได้แก่ ความเสี่ยงที่ราคาสินค้า เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศเศรษฐกิจหลักเพิ่มขึ้นแรงกว่าคาดการณ์ นำไปสู่การชะลอตัรุนแรงของเศรษฐกิจ ,ปัญหาอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จีน-ไต้หวัน อิสราเอล-อิหร่าน
3. ปัญหาอุปสรรคในห่วงโซ่อุปทานโลกที่อาจมีความยือเยื้อและทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
4. ข้อจำกัดด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในะระยะต่อไป
และ 5. ระดับราคาสินค้า เงินเฟ้อ ในประเทศ ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์ ตามแรงกดดันเงินเฟ้อของประเทศเศรษฐกิจหลัก
กมธ.กฎหมายลูก เตรียมโหวตใช้บัตรลต. 2 ใบเบอร์เดียว-คนละเบอร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3247021
กมธ.กฎหมายลูก เตรียมโหวตใช้บัตร ลต. 2 ใบเบอร์เดียว-คนละเบอร์ ‘ธีรัจชัย’ ชี้ อยากให้ฟังเหตุผลมากกว่าใบสั่ง เหตุจะทำให้กฎหมายเป็นธรรม-ตอบสนองความต้องการ ปชช.มากกว่า
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่. …) พ.ศ. … ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นที่จะมีการลงมติในวันที่ 30 มีนาคมนี้ว่า เป็นการลงมติเรื่องบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ว่าจะใช้บัตรเบอร์เดียวทั้งประเทศหรือคนละเบอร์ ซึ่งจากการอภิปรายมีความเห็นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งอยากให้เป็นบัตรเบอร์เดียว เนื่องจากเป็นความสะดวกของประชาชนที่จะได้เลือกง่าย เพราะไม่ต้องกาแยกพรรคและคน แต่อีกฝ่ายก็กลัวเทคนิค เกรงว่าจะขัดกฎหมาย ซึ่งในการอภิปรายก็เห็นว่าสามารถร่างกฎหมายให้ไม่ขัดกันได้ แต่ทั้งนี้เจตจำนงที่จะให้ประชาชนเลือกง่ายย่อมเหนือกว่า เพราะเทคนิคเราใช้วิธีการร่างกฎหมายได้ โดยขณะนี้พรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลบางส่วนเห็นไปในทิศทางบัตรเบอร์เดียว แต่ก็มี ส.ว.และรัฐบาลบางส่วนที่อยากได้บัตรคนละเบอร์
เมื่อถามว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการลงมติของ กมธ.ชุดนี้ และภาพจะสะท้อนหรือชี้วัดหลายอย่างต่อจากนี้ ส่วนตัวมองประเด็นนี้อย่างไร นายธีรัจชัยกล่าวว่า การพิจารณาตอนนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน กมธ.ก็รับฟังทุกคน ไม่มีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และเปิดให้มีการพิจารณาอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่สำหรับการลงมติต้องดูว่าจะมีการฟังเหตุผลมากกว่าการตั้งธงและใบสั่งมาแล้วหรือไม่ ส่วนตัวตนอยากให้พิจารณาด้วยเหตุและผลมากกว่าเป็นใบสั่ง ซึ่งหากเห็นว่าเหตุผลอะไรดีที่สุดก็โหวตไปตามนั้น เพราะจะทำให้กฎหมายที่ออกมามีความเป็นธรรมมากกว่า แต่หากดูแล้วว่าแม้อภิปรายเยอะแต่สุดท้ายก็มีคำสั่งว่าให้ลงมติตามนี้ กฎหมายที่ออกมาก็จะไม่เป็นธรรมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
เมื่อถามถึงกรณีที่ กมธ.ติดโควิด นายธีรัจชัยกล่าวว่า คงจะหายทัน ซึ่งในไลน์ของ กมธ.ก็มีการตรวจเอทีเคส่งมารายงานผลกันตลอด และสัปดาห์หน้าน่าจะมาประชุมกันได้หมด ทั้งนี้ ยังไม่มี กมธ.คนใดติดเพิ่ม