ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 14,373 ราย ยังไม่รวม ATK คร่า 27 ชีวิต นิวไฮ
https://www.matichon.co.th/local/news_3184306
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 14,373 ราย ยังไม่รวม ATK คร่า 27 ชีวิต นิวไฮ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เปิดเผยยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 15 ก.พ. จำนวนรวม 14,373 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 14,177 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 196 ราย ผู้ป่วยสะสม 399,165 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 11,551 ราย หายป่วยสะสม 298,889 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 132,728 ราย และเสียชีวิต 27 ราย
ผู้เชี่ยวชาญเตือน 'โอมิครอน' อาจจะไม่ใช่ตัวสุดท้าย แถมตัวถัดไปอาจร้ายแรงกว่า
https://ch3plus.com/news/category/279053
หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษรายงาน โดยอ้างผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ออกโรงเตือนว่า แม้ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนจะก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงลดลง แต่บางทีมันอาจไม่เป็นกรณีเช่นนั้นกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆ ที่อาจจะปรากฏขึ้นมาในอนาคต
โดย นาย
เดวิด นาบาร์โร ทูตพิเศษโควิด ขององค์การอนามัยโลก เตือนว่า ในอนาคตจะมีตัวกลายพันธุ์เพิ่มเติมอีกต่อจากโอมิครอน และหากว่ามันแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า มันจะกลายเป็นสายพันธุ์หลัก ยิ่งไปกว่านั้น มันอาจก่อรูปแบบอาการเจ็บป่วยที่ต่างออกไป หรืออีกคำพูดหนึ่งก็คือ มันอาจร้ายแรงกว่า หรือก่อผลกระทบในระยะยาวมากกว่า
ส่วน ทางด้าน
ลอว์เรนซ์ ยัง ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวาร์วิค ปฏิเสธข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการในแนวตรงไล่ตั้งแต่อัลฟา เบตา เดลตา ไปจนถึงโอมิครอน "
แนวคิดที่ว่าตัวกลายพันธุ์ของไวรัสจะค่อยๆ เบาลงนั้น เป็นความคิดที่ผิด ตัวกลายพันธุ์ใหม่อาจก่อโรครุนแรงกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตา"
ขณะที่ทางด้าน ศาสตราจารย์
มาร์ค วูลเฮาส์ จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ กล่าวว่า ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาว่า ตัวกลายพันธุ์ใหม่จะโผล่มาจากไหน รวมไปถึงลักษณะเฉพาะของมันว่าจะเป็นอย่างไร โดยเห็นได้ชัดว่า ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้มาจากตัวกลายพันธุ์เดลตา มันมาจากส่วนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่า ไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่จะก่อโรคอย่างไร มันอาจก่อโรคเบากว่า แต่มันก็อาจก่อโรครุนแรงกว่า
คำเตือนของพวกผู้เชี่ยวชาญมีขึ้น หลังจากนายแพทย์
แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี
โจ ไบเดน เผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า สหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดจบของขั้นระบาดเต็มกำลังของโรคระบาดใหญ่แล้ว และข้อจำกัดสกัดไวรัสอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป
โควิดคลี่คลายซัด “ขิง” ราคาดิ่ง
https://www.thairath.co.th/business/economics/2316155
นาย
วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยการแก้ไขปัญหาขิงราคาตกต่ำ ว่า กรมได้ประสานผู้รวบรวมรับซื้อผลผลิตขิงสด (เกรดคละ) จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขิงในจังหวัดตาก เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ โดยจะนำไปจำหน่ายปลายทาง ได้แก่ ตลาดสดและโมบายพาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน 50 เขต ในกรุงเทพฯปริมณฑล กำหนดส่งมอบขิงครั้งแรกวันที่ 11-13 ก.พ.นี้ 30,000 กิโลกรัม (กก.) ราคา กก.ละ 4 บาท รวม 120,000 บาท ซึ่งเป็นราคานำตลาด กก.ละ 1 บาท และจะร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก ไปรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ 30,000 กก.ต่อสัปดาห์
“
ขิงในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ได้ประสานพาณิชย์จังหวัดให้เข้าไปช่วยเหลือและเชื่อมโยงการทำตลาดแล้ว ส่วนเพชรบูรณ์ ให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดไปแก้ไขปัญหา เช่น สนับสนุนการจัดเก็บเพื่อรอจำหน่าย ซึ่งจะช่วยดึงราคาขิงให้ปรับตัวสูงขึ้น”.
JJNY : ติดเชื้อ14,373 คร่า27 นิวไฮ│เตือน 'โอมิครอน' อาจจะไม่ใช่ตัวสุดท้าย│“ขิง” ราคาดิ่ง│ลุ้น ลดภาษี-แก้ ‘น้ำมันแพง’
https://www.matichon.co.th/local/news_3184306
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 14,373 ราย ยังไม่รวม ATK คร่า 27 ชีวิต นิวไฮ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เปิดเผยยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 15 ก.พ. จำนวนรวม 14,373 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 14,177 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 196 ราย ผู้ป่วยสะสม 399,165 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 11,551 ราย หายป่วยสะสม 298,889 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 132,728 ราย และเสียชีวิต 27 ราย
ผู้เชี่ยวชาญเตือน 'โอมิครอน' อาจจะไม่ใช่ตัวสุดท้าย แถมตัวถัดไปอาจร้ายแรงกว่า
https://ch3plus.com/news/category/279053
หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษรายงาน โดยอ้างผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ออกโรงเตือนว่า แม้ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนจะก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงลดลง แต่บางทีมันอาจไม่เป็นกรณีเช่นนั้นกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆ ที่อาจจะปรากฏขึ้นมาในอนาคต
โดย นาย เดวิด นาบาร์โร ทูตพิเศษโควิด ขององค์การอนามัยโลก เตือนว่า ในอนาคตจะมีตัวกลายพันธุ์เพิ่มเติมอีกต่อจากโอมิครอน และหากว่ามันแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า มันจะกลายเป็นสายพันธุ์หลัก ยิ่งไปกว่านั้น มันอาจก่อรูปแบบอาการเจ็บป่วยที่ต่างออกไป หรืออีกคำพูดหนึ่งก็คือ มันอาจร้ายแรงกว่า หรือก่อผลกระทบในระยะยาวมากกว่า
ส่วน ทางด้าน ลอว์เรนซ์ ยัง ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวาร์วิค ปฏิเสธข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการในแนวตรงไล่ตั้งแต่อัลฟา เบตา เดลตา ไปจนถึงโอมิครอน "แนวคิดที่ว่าตัวกลายพันธุ์ของไวรัสจะค่อยๆ เบาลงนั้น เป็นความคิดที่ผิด ตัวกลายพันธุ์ใหม่อาจก่อโรครุนแรงกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตา"
ขณะที่ทางด้าน ศาสตราจารย์มาร์ค วูลเฮาส์ จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ กล่าวว่า ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาว่า ตัวกลายพันธุ์ใหม่จะโผล่มาจากไหน รวมไปถึงลักษณะเฉพาะของมันว่าจะเป็นอย่างไร โดยเห็นได้ชัดว่า ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้มาจากตัวกลายพันธุ์เดลตา มันมาจากส่วนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่า ไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่จะก่อโรคอย่างไร มันอาจก่อโรคเบากว่า แต่มันก็อาจก่อโรครุนแรงกว่า
คำเตือนของพวกผู้เชี่ยวชาญมีขึ้น หลังจากนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า สหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดจบของขั้นระบาดเต็มกำลังของโรคระบาดใหญ่แล้ว และข้อจำกัดสกัดไวรัสอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป
โควิดคลี่คลายซัด “ขิง” ราคาดิ่ง
https://www.thairath.co.th/business/economics/2316155
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยการแก้ไขปัญหาขิงราคาตกต่ำ ว่า กรมได้ประสานผู้รวบรวมรับซื้อผลผลิตขิงสด (เกรดคละ) จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขิงในจังหวัดตาก เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ โดยจะนำไปจำหน่ายปลายทาง ได้แก่ ตลาดสดและโมบายพาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน 50 เขต ในกรุงเทพฯปริมณฑล กำหนดส่งมอบขิงครั้งแรกวันที่ 11-13 ก.พ.นี้ 30,000 กิโลกรัม (กก.) ราคา กก.ละ 4 บาท รวม 120,000 บาท ซึ่งเป็นราคานำตลาด กก.ละ 1 บาท และจะร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก ไปรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ 30,000 กก.ต่อสัปดาห์
“ขิงในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ได้ประสานพาณิชย์จังหวัดให้เข้าไปช่วยเหลือและเชื่อมโยงการทำตลาดแล้ว ส่วนเพชรบูรณ์ ให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดไปแก้ไขปัญหา เช่น สนับสนุนการจัดเก็บเพื่อรอจำหน่าย ซึ่งจะช่วยดึงราคาขิงให้ปรับตัวสูงขึ้น”.