“เวิลด์แบงก์” หั่นจีดีพีปี’66 เหลือ 3.6% จากเดิม 4.3% แนะเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3724637
“ธนาคารโลก” หั่นจีดีพีปี’66 เหลือ 3.6% จากเดิม 4.3% แนะเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ นาย
เกรียติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (World Bank) กล่าวในงานเปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ฉบับธันวาคม 2565 (THAILAND ECONOMIC MONITOR) หัวข้อนโยบายการคลังเพื่ออนาคตที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าเทียม จัดโดยธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)
นาย
เกรียติพงศ์ กล่าวว่า ปี 2565 เวิลด์แบงก์ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากขยายตัว 2.9% เป็น 3.1% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวดีขึ้นจากภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ แต่ตรงข้ามกับปี 2566 ที่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอย่างต่อเนื่อง จากขยายตัว 4.3% เป็น 4.1% และลดลงเหลือ 3.6% เมื่อเทียบประมาณการเศรษฐกิจไทยล่าสุดในปี 2565 และปี 2566 ถือว่าเป็นการเร่งตัวขึ้นเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น
นาย
เกรียติพงศ์ กล่าวว่า สาเหตุหลักเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์โลกที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยไทยส่งออกสินค้าชะลอตัวลง ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สะท้อนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัว 2.1% ในปี 2566 ลดลงอย่างมากจากที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 8.1% ในปี 2565 โดยการปรับลดสะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ยูโรโซน และสหรัฐ
“
ถ้าดูความสัมพันธ์ระหว่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกับเศรษฐกิจไทยจะเห็นว่าถ้าเกิดมีการชะลอตัวลง 1% ของกลุ่มประเทศ G7 (Group of Seven) มีสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี และแคนาดา ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงประมาณ 0.4-0.6% ซึ่งถือเป็นผลกระทบที่มากพอสมควร จึงเป็นสาเหตุที่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงมาในปีหน้า” นาย
เกรียติพงศ์ กล่าว
นาย
ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) กล่าวว่า สำหรับรายงานนโยบายการคลังเพื่ออนาคตที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าเทียม พบว่านโยบายการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันการออกแบบนโยบายที่ทั้งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เร่งบรรเทาปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันครัวเรือนจากผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายภายใต้พื้นที่ทางการคลังที่จำกัด
นาย
ฟาบริซิโอ กล่าวว่า จึงมีข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง ประกอบด้วย 1.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสังคม โดยการปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายของการให้ความช่วยเหลือทางสังคมในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ 2.ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการให้บริการสาธารณะสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และ 3.เพิ่มรายได้เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบก้าวหน้า ทั้งนี้ การปฏิรูปเพื่อเพิ่มรายได้ภาษี ควรคำนึงถึงการลดผลกระทบทางลบที่มีต่อครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และควรมาพร้อมกับมาตรการเฉพาะที่ช่วยปกป้องรายได้ของครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวด้วย
“
ไทยกำลังกลับเข้าสู่เส้นทางของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดโควิด การเพิ่มพื้นที่การคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและเพื่อรองรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการ” นาย
ฟาบริซิโอ กล่าว
นาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยสามารถรองรับผลกระทบจากภายนอกได้ดี เห็นได้จากไตรมาส 3/2565 เศรษฐกิจเติบโตถึง 4.5% และหวังว่าปีนี้ จะโตได้อย่างน้อย 3% ถือเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2565 ไว้ที่ 3.4% และปี 2566 ขยายตัว 3.8% จากภาคการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยถึง 10 ล้านคนปีนี้ และคาดว่าปี 2566 จะมีเพิ่มขึ้นที่ 21.5 ล้านคน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้อย่างไรบ้าง อาจเสริมในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวหลัก อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ สมุย เป็นต้น
“
อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 ยังมีความท้าทายอยู่มากจากความผันผวนตลาดการเงิน เงินเฟ้อ การดำเนินนโยบายการเงินรัดตัว การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดโควิดที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนที่คลุมเครือ แต่ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับไทยที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากภาคท่องเที่ยว” นาย
อาคม กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับนโยบายในอนาคตที่ช่วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต้องเป็นนโยบายการคลังช่วยเรื่องเติบโต ตรงจุด และต้องควบคู่กับเพิ่มรายได้ ในเรื่องการเก็บภาษี เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายการคลังด้านงบประมาณ ต้องให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ในระยะต่อไป ซึ่งเป้าหมายคือต้องการลดขนาดการขาดดุลของงบประมาณ หลังจากขาดดุลมานาน ก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะระยะยาว ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาภาครัฐใช้เงินไปมากเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด แต่ต่อไปต้องดูแลทั้งคนสูงวัยที่จะมีมากขึ้น เป็นต้น
ข้ามคืนพุ่งพรวด! น้ำมันปาล์ม ขึ้นขวดละ 2 บาท ผักยังแพงไม่หยุด ผักชีทะลุ 250
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7413706
ข้ามคืนพุ่งพรวด! น้ำมันปาล์ม ขึ้นขวดละ 2 บาท แตะขวดละ 52 บาท ผักยังแพงไม่หยุด ผักชีทะลุ กก.ละ 250 บาท
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป บรรจุขวด 1 ลิตร ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร ว่า ช่วงสัปดาห์นี้ราคามีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบราคาช่วงต้นสัปดาห์วันที่ 12 ธ.ค. 2565 กับวันที่ 13 ธ.ค. ปรากฏว่าราคาปรับเพิ่มขึ้นขวดละ 2 บาท คือปรับจากขวดละ 48-50 บาท เป็นขวดละ 50-52 บาท
ส่วนราคาผักสดในตลาดกรุงเทพมหานครยังมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดย ต้นหอม คละ วันที่ 12 ธ.ค.ราคา 100-110บาท/ก.ก. และวันที่ 13 ธ.ค. ปรับขึ้น ก.ก.ละ 10 บาท เป็น 110-120 บาท/ก.ก., ต้นหอม คัด ปรับขึ้น ก.ก.ละ 10 บาท จาก 120-130 บาท/ก.ก. เป็น 130-140 บาท/ก.ก., ผักกาดขาว (ลุ้ย) คัด ราคาปรับขึ้น ก.ก.ละ 5 บาท จาก 35-40 บาท/ก.ก. เป็น 40-45บาท/ก.ก., ผักชี คัด ปรับขึ้น ก.ก.ละ 20 บาท จาก 210-230 บาท/ก.ก. เป็น 210-250 บาท/ก.ก.
ADB ปรับลดการเติบโต ศก. ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ไทยเหลือ 4.0%
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3725208
ADB ปรับลดการเติบโต ศก. ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ไทยเหลือ 4.0%
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน อุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย
เอดีบีปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2565 ลงเหลือ 4.2% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 4.3% ในเดือนกันยายน ขณะที่แนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2566 ก็ยังคงมืดมน โดยมีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงจาก 4.9% เหลือ 4.6%
ขณะที่ในส่วนของประเทศไทย เอดีบีก็มีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงจาก 4.2% เหลือ 4.0% โดยในภาพรวมเอดีบีระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาในเอเชีย 46 แห่ง ได้สูญเสียพลังบางส่วนไป จากเดิมที่มีตัวเลขการเติบโตถึง 7% ในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มในทางบวกว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะเติบโตเร็วกว่าพื้นที่อื่นๆ ของโลกทั้งในปีนี้และปีหน้า และเอเชียยังเป็นภูมิภาคที่เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อน้อยที่สุดอีกด้วย
เอดีบีได้ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อในเอเชียปีนี้ลดลงเหลือ 4.4% จาก 4.5% ในเดือนกันยายน แต่ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จาก 4.0% ขึ้นเป็น 4.2%
'สุชาติ' สั่งปิดสภาเฉย ทำมาตรา 3 'กม.กัญชา' ค้างเติ่ง ต้องมาโหวตใหม่ครั้งหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3725470
เมื่อเวลา 10.50 น.วันที่ 14 ธันวาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ.… ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะประธาน กมธ.
จากนั้น เวลา 15.13 น.ที่ประชุมสภาได้กลับมาประชุมอีกครั้งหลัง กมธ.ไปหารือกัน โดยนาย
ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่2 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ผลการหารือของ กมธ.ให้มีการตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตรา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร แม้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ. …. จะตัดมาตรา 3 ที่ระบุว่ากัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ออกไป แต่ยังเปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็น จนกระทั่ง เวลา 17.15 น. ขณะที่ นาย
สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมนั้น นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ในห้องประชุมมีคนน้อย และไม่มีสมาชิกสนใจฟัง จึงอยากให้สมาชิกรีบเข้ามาให้ห้องประชุมด้วย ดังนั้น ตนจึงขอตรวจสอบองค์ประชุม นาย
สุชาติ จึงเริ่มตรวจสอบองค์ประชุม สุดท้ายนับได้ 243 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จากนั้นจึงเปิดให้สมาชิกอภิปรายในมาตรา 3 ต่อ และกมธ.ฯ ชี้แจงเหตุผลในการตัดมาตรา 3 ทั้งมาตรา
จนกระทั่ง เวลา 18.30 น. นาย
สุชาติ เรียกสมาชิกเข้าห้องประชุมว่าจะเห็นด้วยกับกมธ.ฯ ที่ให้ตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตราหรือไม่ แต่ยังไม่ทันลงมติ นาย
สุชาติ ได้กล่าวว่า ขอเลื่อนการลงมติออกไปครั้งหน้า และสั่งปิดประชุมทันที
JJNY : 5in1 “เวิลด์แบงก์”หั่นจีดีพีปี’66| ข้ามคืนพุ่งพรวด!| ADB ปรับลดการเติบโตศก.| 'สุชาติ'สั่งปิดสภาเฉย|เคียฟโวสอยโดรน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3724637
“ธนาคารโลก” หั่นจีดีพีปี’66 เหลือ 3.6% จากเดิม 4.3% แนะเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ นายเกรียติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (World Bank) กล่าวในงานเปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ฉบับธันวาคม 2565 (THAILAND ECONOMIC MONITOR) หัวข้อนโยบายการคลังเพื่ออนาคตที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าเทียม จัดโดยธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)
นายเกรียติพงศ์ กล่าวว่า ปี 2565 เวิลด์แบงก์ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากขยายตัว 2.9% เป็น 3.1% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวดีขึ้นจากภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ แต่ตรงข้ามกับปี 2566 ที่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอย่างต่อเนื่อง จากขยายตัว 4.3% เป็น 4.1% และลดลงเหลือ 3.6% เมื่อเทียบประมาณการเศรษฐกิจไทยล่าสุดในปี 2565 และปี 2566 ถือว่าเป็นการเร่งตัวขึ้นเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น
นายเกรียติพงศ์ กล่าวว่า สาเหตุหลักเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์โลกที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยไทยส่งออกสินค้าชะลอตัวลง ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สะท้อนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัว 2.1% ในปี 2566 ลดลงอย่างมากจากที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 8.1% ในปี 2565 โดยการปรับลดสะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ยูโรโซน และสหรัฐ
“ถ้าดูความสัมพันธ์ระหว่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกับเศรษฐกิจไทยจะเห็นว่าถ้าเกิดมีการชะลอตัวลง 1% ของกลุ่มประเทศ G7 (Group of Seven) มีสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี และแคนาดา ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงประมาณ 0.4-0.6% ซึ่งถือเป็นผลกระทบที่มากพอสมควร จึงเป็นสาเหตุที่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงมาในปีหน้า” นายเกรียติพงศ์ กล่าว
นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) กล่าวว่า สำหรับรายงานนโยบายการคลังเพื่ออนาคตที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าเทียม พบว่านโยบายการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันการออกแบบนโยบายที่ทั้งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เร่งบรรเทาปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันครัวเรือนจากผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายภายใต้พื้นที่ทางการคลังที่จำกัด
นายฟาบริซิโอ กล่าวว่า จึงมีข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง ประกอบด้วย 1.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสังคม โดยการปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายของการให้ความช่วยเหลือทางสังคมในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ 2.ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการให้บริการสาธารณะสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และ 3.เพิ่มรายได้เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบก้าวหน้า ทั้งนี้ การปฏิรูปเพื่อเพิ่มรายได้ภาษี ควรคำนึงถึงการลดผลกระทบทางลบที่มีต่อครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และควรมาพร้อมกับมาตรการเฉพาะที่ช่วยปกป้องรายได้ของครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวด้วย
“ไทยกำลังกลับเข้าสู่เส้นทางของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดโควิด การเพิ่มพื้นที่การคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและเพื่อรองรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการ” นายฟาบริซิโอ กล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยสามารถรองรับผลกระทบจากภายนอกได้ดี เห็นได้จากไตรมาส 3/2565 เศรษฐกิจเติบโตถึง 4.5% และหวังว่าปีนี้ จะโตได้อย่างน้อย 3% ถือเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2565 ไว้ที่ 3.4% และปี 2566 ขยายตัว 3.8% จากภาคการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยถึง 10 ล้านคนปีนี้ และคาดว่าปี 2566 จะมีเพิ่มขึ้นที่ 21.5 ล้านคน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้อย่างไรบ้าง อาจเสริมในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวหลัก อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ สมุย เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 ยังมีความท้าทายอยู่มากจากความผันผวนตลาดการเงิน เงินเฟ้อ การดำเนินนโยบายการเงินรัดตัว การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดโควิดที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนที่คลุมเครือ แต่ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับไทยที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากภาคท่องเที่ยว” นายอาคม กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับนโยบายในอนาคตที่ช่วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต้องเป็นนโยบายการคลังช่วยเรื่องเติบโต ตรงจุด และต้องควบคู่กับเพิ่มรายได้ ในเรื่องการเก็บภาษี เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายการคลังด้านงบประมาณ ต้องให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ในระยะต่อไป ซึ่งเป้าหมายคือต้องการลดขนาดการขาดดุลของงบประมาณ หลังจากขาดดุลมานาน ก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะระยะยาว ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาภาครัฐใช้เงินไปมากเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด แต่ต่อไปต้องดูแลทั้งคนสูงวัยที่จะมีมากขึ้น เป็นต้น
ข้ามคืนพุ่งพรวด! น้ำมันปาล์ม ขึ้นขวดละ 2 บาท ผักยังแพงไม่หยุด ผักชีทะลุ 250
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7413706
ข้ามคืนพุ่งพรวด! น้ำมันปาล์ม ขึ้นขวดละ 2 บาท แตะขวดละ 52 บาท ผักยังแพงไม่หยุด ผักชีทะลุ กก.ละ 250 บาท
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป บรรจุขวด 1 ลิตร ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร ว่า ช่วงสัปดาห์นี้ราคามีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบราคาช่วงต้นสัปดาห์วันที่ 12 ธ.ค. 2565 กับวันที่ 13 ธ.ค. ปรากฏว่าราคาปรับเพิ่มขึ้นขวดละ 2 บาท คือปรับจากขวดละ 48-50 บาท เป็นขวดละ 50-52 บาท
ส่วนราคาผักสดในตลาดกรุงเทพมหานครยังมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดย ต้นหอม คละ วันที่ 12 ธ.ค.ราคา 100-110บาท/ก.ก. และวันที่ 13 ธ.ค. ปรับขึ้น ก.ก.ละ 10 บาท เป็น 110-120 บาท/ก.ก., ต้นหอม คัด ปรับขึ้น ก.ก.ละ 10 บาท จาก 120-130 บาท/ก.ก. เป็น 130-140 บาท/ก.ก., ผักกาดขาว (ลุ้ย) คัด ราคาปรับขึ้น ก.ก.ละ 5 บาท จาก 35-40 บาท/ก.ก. เป็น 40-45บาท/ก.ก., ผักชี คัด ปรับขึ้น ก.ก.ละ 20 บาท จาก 210-230 บาท/ก.ก. เป็น 210-250 บาท/ก.ก.
ADB ปรับลดการเติบโต ศก. ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ไทยเหลือ 4.0%
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3725208
ADB ปรับลดการเติบโต ศก. ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ไทยเหลือ 4.0%
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน อุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย
เอดีบีปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2565 ลงเหลือ 4.2% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 4.3% ในเดือนกันยายน ขณะที่แนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2566 ก็ยังคงมืดมน โดยมีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงจาก 4.9% เหลือ 4.6%
ขณะที่ในส่วนของประเทศไทย เอดีบีก็มีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงจาก 4.2% เหลือ 4.0% โดยในภาพรวมเอดีบีระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาในเอเชีย 46 แห่ง ได้สูญเสียพลังบางส่วนไป จากเดิมที่มีตัวเลขการเติบโตถึง 7% ในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มในทางบวกว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะเติบโตเร็วกว่าพื้นที่อื่นๆ ของโลกทั้งในปีนี้และปีหน้า และเอเชียยังเป็นภูมิภาคที่เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อน้อยที่สุดอีกด้วย
เอดีบีได้ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อในเอเชียปีนี้ลดลงเหลือ 4.4% จาก 4.5% ในเดือนกันยายน แต่ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จาก 4.0% ขึ้นเป็น 4.2%
'สุชาติ' สั่งปิดสภาเฉย ทำมาตรา 3 'กม.กัญชา' ค้างเติ่ง ต้องมาโหวตใหม่ครั้งหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3725470
เมื่อเวลา 10.50 น.วันที่ 14 ธันวาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ.… ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะประธาน กมธ.
จากนั้น เวลา 15.13 น.ที่ประชุมสภาได้กลับมาประชุมอีกครั้งหลัง กมธ.ไปหารือกัน โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่2 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ผลการหารือของ กมธ.ให้มีการตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตรา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร แม้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ. …. จะตัดมาตรา 3 ที่ระบุว่ากัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ออกไป แต่ยังเปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็น จนกระทั่ง เวลา 17.15 น. ขณะที่ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมนั้น นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ในห้องประชุมมีคนน้อย และไม่มีสมาชิกสนใจฟัง จึงอยากให้สมาชิกรีบเข้ามาให้ห้องประชุมด้วย ดังนั้น ตนจึงขอตรวจสอบองค์ประชุม นายสุชาติ จึงเริ่มตรวจสอบองค์ประชุม สุดท้ายนับได้ 243 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จากนั้นจึงเปิดให้สมาชิกอภิปรายในมาตรา 3 ต่อ และกมธ.ฯ ชี้แจงเหตุผลในการตัดมาตรา 3 ทั้งมาตรา
จนกระทั่ง เวลา 18.30 น. นายสุชาติ เรียกสมาชิกเข้าห้องประชุมว่าจะเห็นด้วยกับกมธ.ฯ ที่ให้ตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตราหรือไม่ แต่ยังไม่ทันลงมติ นายสุชาติ ได้กล่าวว่า ขอเลื่อนการลงมติออกไปครั้งหน้า และสั่งปิดประชุมทันที