Hachikō ไดัพบกับ Hidesaburō Ueno และ Yaeko Sakano เจ้าของแล้ว


1




สุนัขญี่ปุ่นชื่อ Hachikō  สายพันธุ์ Akita
ฮาจิโกะ เฝ้ารอคอยเจ้าของกลับบ้านทุกวัน
นานกว่า 10 ปี แต่เจ้าของไม่เคยกลับมาอีกเลย
โดยมันไม่รู้เลยว่า เจ้าของเสียชีวิตไปแล้ว
จากเส้นโลหิตในสมองแตกและหัวใจวาย

Hachikō เกิดในช่วงปี 1923
ตอนอายุได้ 18 เดือน (ช่วงวัยรุ่น)
ก็เริ่มไปรอเจ้าของที่สถานีรถไฟ
ทั้งนี้บ้านของทั้งคู่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ
รออยู่ทุก ๆ วันร่วม 10 ปี จนกระทั่งตาย

(ประมาณการอายุ Hachikō อยู่ในช่วงวัยรุ่น
ที่มา การคำนวณอายุสุนัข

ในปี 1932
Hirokichi Saito
ประธาน Nihon Ken Hozonkai
(The Association for the Preservation of the Japanese Dog
สมาคมอนุรักษ์สายพันธุ์สุนัขญี่ปุ่น)
ทราบเรื่อง Hachikō เฝ้ารอเจ้าของนานนับปี
จึงได้เฝ้าติดตามดู Hachikō ไปจนถึง
บ้านพักคนที่ดูแล Hachikō ในตอนนั้น
ในอดีตคือคนทำสวนบ้าน Hidesaburō Ueno
จึงได้ลงเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ Asahi Shimbun
กลายเป็นข่าวดังทั่วประเทศในเวลานั้น
พร้อมกับเรื่องราวคนรถไฟบางคน
ที่ไม่ชอบ Hachikō หาว่าไปเกะกะทางเข้าออก


ทุกวันนี้อนุสรณ์สถานของ Hachikō
ตั้งเด่นเป็นสง่าที่สถานีรถไฟ Tokyo's Shiubya
แสดงอาการสุนัขที่เผ้ารอคอยเจ้าของอย่างสงบ
เพราะทุก ๆ วัน หลัง 16.00 น.
Hachikō จะเจอเจ้าของกลับจากที่ทำงาน
แล้วทั้งคู่ต่างเดินทางกลับบ้านอย่างมีความสุข

สถานที่นี้ ถ้าเป็นที่นัดหมายของคู่รัก
ถ้าใครมาสาย จะถูกอีกฝ่ายมองไปที่อนุสาวรีย์
เป็นนัยว่า ไม่ตรงต่อเวลา ไม่ซื่อสัตย์


2



3





การรอคอยที่แสนยาวนานร่วม 80 ปีจบลงแล้ว
เพราะมีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นมาใหม่
แสดงอาการลิงโลดดีใจของ Hachikō
ที่ได้พบกับ Hidesaburō Ueno อีกครั้ง
ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ ตำแหน่ง ศาสตราจารย์
ที่ University ot Tokyo (Tokyo Imperial University)
โดยท่านได้ทำงานที่นี่ยาวนานกว่า 20 ปี
หลังจากจบวิศวกรรมศาสตร์-เกษตรกรรม
ตามข้อมูลเอกสารประกอบการสอนของท่าน

ในปี 1925
Hidesaburō Ueno ล้มลงและเสียชีวิตในปีนั้น
ทำให้ Hachikō ต้องรอคอยท่านนานร่วม 10 ปี

เพื่อเฉลิมฉลองในปี 2015 
วันครบรอบวันตาย 90 ปีของ Hidesaburō Ueno (21 พฤษภาคม 1925)
และวันครบรอบการตาย 80 ปี
ของ Hachikō (8 มีนาคม 1935)

คณะเกษตรกรรมของ University ot Tokyo
จึงได้สร้างรูปหล่อ สำริด/สัมฤทธิ์
การกลับมาพบกันอีกครั้งของทั้งคู่





Yaeko Sakano/Yaeko Ueno
คือ ภริยานอกสมรสของ Hidesaburō Ueno
ร่วม 10 ปี จนกระทั่งสามีเสียชีวิตในปี 1925
มีรายงานว่า Hachikō  แสดงอาการลิงโลดใจ
มีความสุขและแสดงความรักต่อเธอทุกครั้ง
ที่เธอมาเยี่ยมเยือนหลังการตายของสามี
และเธอยังอยู่ร่วมในวันทำพิธีศพ Hachikō ด้วย

วันที่ 30 เมษายน 1961
Yaeko Ueno ถึงแก่กรรม ตอนอายุ 76 ปี
แม้ว่า เธอจะขอร้องให้ฝังเถ้ากระดูกเธอ
ร่วมกับสามี/สุนัขที่ล่วงลับไปก่อนหน้านี้แล้ว
แต่เถ้ากระดูกเธอถูกฝังไว้ที่สุสาน Taitō
ซึ่งอยู่ห่างไกลไปมากจากหลุมศพของ
Hidesaburō Ueno และ Hachikō
(การมีสามีนอกสมรส ยุคนั้นถือว่า ผิดประเพณี
เป็นเรื่องยอมรับกันไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นฝ่ายผู้หญิง)


ในปี 2013
ประวัติส่วนตัวของ Yaeko Ueno ถูกค้นพบโดย
Prof. Sho Shiozawa มหาวิทยาลัยโตเกียว
ซึ่งเป็นประธาน Japanese Society of Irrigation Drainage and Rural Engineering
ผู้มีหน้าที่ดูแลหลุมศพ(ที่ฝังเถ้ากระดูก)
ของ Hidesaburō Ueno กับ  Hachikō
ที่สุสาน Aoyama

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2013
ใกล้วาระเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี กับ 80 ปี
ของ Hidesaburō Ueno กับ  Hachikō
Sho Shiozawa กับ Keita Matsui
ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
Shibuya Folk and Literary Shirane Memorial Musuem
รู้สึกว่า  จำเป็น/สมควรที่ต้องฝัง Yaeko Ueno 
ร่วมกับ Hidesaburō Ueno กับ  Hachikō
ตามความประสงค์ก่อนตายที่เธอเคยขอร้องไว้

Sho Shiozawa  คือ หนึ่งในแกนนำคนสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปปั้นทองสัมฤทธิ์
ของ Hidesaburō Ueno กับ  Hachikō
ที่ตั้งแสดงในบริเวณมหาวิทยาลัยโตเกียว
ในโอกาสครบรอบ 80 ปี
การเสียชีวิตของ Hachikō
และครบรอบ 90 ปี
การตายของ Hidesaburō Ueno

แม้ว่าเรื่องการย้ายที่ฝังศพ
จะได้รับความยินยอมจากครอบครัว
ทั้งสองตระกูล Ueno กับ Sakano
(ต่างทำใจและยอมรับเรื่องผิดประเพณีเก่าได้)
แต่กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี
เพราะติดขัดเรื่องกฎระเบียบ/ระบบราชการ

วันที่ 19 พฤษภาคม 2016
ที่สุสาน Aoyama
สมาชิกของครอบครัว Ueno กับ Sakano
ต่างมาเข้าร่วมพิธีฝังเถ้ากระดูกร่วมกันครั้งนี้
เถ้ากระดูกบางส่วนของ Yaeko Sakano/Ueno
ถูกฝังร่วมกับ Hidesaburō Ueno กับ Hachikō
ชื่อและวันที่เสียชีวิตของเธอ
ถูกจารึกไว้ที่ด้านข้างของหลุมฝังศพของ
Hidesaburō  Ueno กับ  Hachikō
ทำให้ครอบครัวของ Hachikō  ได้มารวมกัน
อีกครั้งหลังการรอคอยแสนยาวนาน
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3G8074X
https://bit.ly/30ZnA9S
https://bit.ly/3CXguPS
https://bit.ly/3lgo0Q2





เรื่องเล่าไร้สาระ

การสร้างรูปปั้นการพบกันอีกครั้งของ
Hidesaburō Ueno กับ  Hachikō
และการฝังเถ้ากระดูก Yaeko Sakano
ไว้ในสุสานเดียวกัน แม้จะเป็นเรื่องจินตนาการ
การพบกันในโลกหน้า การได้กลับมาอยู่ร่วมกัน

เพราะไม่มีใครรู้ หรือยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า
ชาติหน้า ชาติก่อน มีอยู่จริงหรือไม่
แต่วันนี้มี พรุ่งนี้มี เมื่อวันก่อน ๆ มี
แต่ไม่มีใครพาไปดูวันข้างหน้า กับวันก่อน ๆ ได้
จัดว่าเป็นเรื่องอจินไตยทางพุทธศาสนา
(อจินไตย ไม่ควรรับรู้ ไม่ควรสนใจ) หรือ
ถ้าเชื่อในพระอัลเลาะห์ เราคงพบกันในโลกหน้า
มีอยู่ในบทหนึ่งของหนังสือ ผีเสื้อและดอกไม้

บทสรุปการอยู่ร่วมกันของครอบครัว Hachikō
คือ จบเรื่องราวทั้งหมดด้วยจินตนาการที่แสนสุข
แบบภาพยนตร์ที่ประทับใจ/รำลึกได้หลายเรื่อง
มักจะมีตอนจบแบบ Happy Ending
ที่สร้างความสุขและรอยยิ้มให้หลายคนได้มาก

เพราะจินตนาการสำคัญกว่าความรู้
แต่จินตนาการไร้ความรู้อันตรายยิ่งนัก นิรนาม


ข้อมูลเพิ่มเติม

งานศพของญี่ปุ่น

สตรีผู้ทำความสะอาดบ้านคนตายที่แสนโดดเดี่ยวในญี่ปุ่น

อสุภงานศิลป์ของญี่ปุ่น



4



5



6



7



8



9



10



11



12



13



14



ไม่ทราบสถานที่ตั้ง

15



อวัยวะภายในบางส่วนของ Hachikō
ที่ต้องชำแหละออกในช่วงการสตัฟฟ์ศพ
บางส่วนก็ดองแอลกอฮอล์เพื่อการศึกษา
บางส่วนก็เผาแล้วฝังเคียงข้างเจ้าของ
ที่สุสาน Aoyama  เขต Minato มหานคร Tokyo

16



ป้ายชื่อ Hachikō

17



สถานีรถไฟ Shibuya ช่วงปี 1912-1945

18



Hachikō กับ Yaeko Sakano หรือ Yaeko Ueno 
คนที่สองจากขวามือของภาพถ่ายร่วมกับ
พนักงานสถานีรถไฟกรุงโตเกียว
ในพิธีศพที่ 8 มีนาคม 1935

19




Hachikō ถูกทำการรักษาไม่ให้เน่าเปื่อย
หลังจากการชัณสูตรศพพบสาเหตุการตาย
จากโรคมะเร็ง/หนอนพยาธิ Filaria
ก่อนตายได้กิน Yakitori  (ไก่ย่างแบบญี่ปุ่น) 
พบจำนวน 4 ชิ้นในท้อง
ศพ Hachikō ได้จัดแสดงไว้
Ueno National Museum of Nature and Science
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

ที่มา
หมาเฝ้าหลุมศพเจ้าของนานกว่า 6 ปี


20



21



8 มีนาคม 1936 หนึ่งปีหลังการตายของ Hachiko


รูปสำริด Hachikō นี้เป็นรูปที่ 2
รูปแรกมีการสร้างขึ้นในช่วงเมษายน 1934
ต่อมาถูกนำไปหลอมละลายไป
เพื่อใช้เป็นยุทธภัณฑ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในเดือนสิงหาคมปี 1948
Hachikō ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยฝีมือของ
บุตรชายปฏิมากรคนแรก Takeshi Ando

Hachikō-guchi อยู่ที่ทางเข้า/ออก
เป็น 1 ใน 5 ประตูทางเข้าออก
ชานชาลาสถานีรถไฟ Shibuya
สถานที่แห่งนี้มักจะใช้เป็นที่นัดหมาย/นัดพบ
ของคนหนุ่มสาวและผู้คนต่าง ๆ
เมื่อถึงเวลานัดหมาย  ถ้ามีใครมาสาย 
อีกฝ่ายจะหันไปมองที่ Hachikō
เป็นการบอกนัยแทนคำพูดว่า 
ไม่ซื่อสัตย์และไม่ตรงต่อเวลา


22



23



Vladimir Putin กับ Yume สุนัข Akita
ที่ได้รับมอบจากรัฐบาลญี่ปุ่น

24



Alina Zagitova แชมเปี้ยนสเก็ต Olympic   
ได้รับมอบสุนัข  Akita จากนายกรัฐมนตรี Shinzō Abe


25

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Hatchi: A Dog's Tale
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่