” ธาตุรู้ “
ตัวรู้หรือธาตุรู้ก็คือใจ ธาตุที่ ๖ ก็คืออากาศธาตุ อากาศก็คือความว่าง พื้นที่ว่างๆนี้เรียกว่าอากาศธาตุ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้องตั้งอยู่ในอากาศ โลกเรานี่ก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลอยอยู่ในอากาศหรืออวกาศ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ต่างๆ ก็ลอยอยู่เหมือนกัน ส่วนใจของเราที่เป็นธาตุรู้ ก็มาครอบครองร่างกายที่ทำมาจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง เป็นเนื้อ เป็นเอ็น เป็นกระดูก ฯลฯ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ มันก็เป็นเหมือนร่างกายที่ทำมาจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนคลื่นวิทยุที่เข้าไปหรือออกมาก็เป็นเหมือนใจ พอมีคลื่นวิทยุเข้าไปในเครื่อง มันก็ส่งเสียงดังออกมา มีเสียงคนพูดออกมา เป็นเหมือนตัวจิตกำลังพูดผ่านร่างกาย เครื่องมือถือก็เป็นเหมือนกับร่างกาย คลื่นวิทยุก็เป็นเหมือนใจ ตัวเครื่องมันไม่รู้เรื่อง ตัวรู้เรื่องก็คือตัวกระแสคลื่น เมื่อเครื่องเสีย ก็ไปหาเครื่องใหม่ จะได้เครื่องที่ดีกว่าเก่าหรือไม่ก็อยู่ที่เงินในกระเป๋า เวลาร่างกายตายไปใจก็ไปหาร่างกายใหม่ จะได้ร่างกายที่ดีกว่าเก่าหรือไม่ ก็อยู่ที่บุญกุศลหรือบาปกรรมที่ทำไว้ ถ้าทำบุญมากกว่าบาป ก็จะได้ร่างกายที่ดีกว่าเก่า ถ้าทำบาปมากกว่าบุญ ก็จะได้ร่างกายที่เลวกว่าเก่า แทนที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่นสุนัขเป็นต้น
อย่างในสมัยพุทธกาลมีเศรษฐีตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นสุนัขในบ้านของตนเอง พระพุทธเจ้าทรงรู้ แต่พวกๆลูกของเศรษฐีไม่รู้ว่าพ่อมาเกิดเป็นสุนัขในบ้าน พระพุทธเจ้าจึงทรงบอกว่า สุนัขตัวนี้เป็นพ่อของพวกเธอ เดี๋ยวมันจะพาไปขุดสมบัติที่พ่อเธอฝังซ่อนไว้ ต่อมามันก็ไปขุดคุ้ยสมบัติที่พ่อฝังไว้ จิตเป็นของไม่ตาย ที่ตายก็คือร่างกาย ร่างกายก็ไม่รู้ว่ามันตาย ร่างกายก็เป็นเหมือนกับศาลาหลังนี้ เวลาพังไปมันก็ไม่รู้ว่ามันพัง แต่เจ้าของศาลาซิร้องห่มร้องไห้เสียอกเสียใจเสียดาย สังเกตดูถ้าชอบอะไรมากๆ เวลามันเสียไปหรือถูกขโมยไปนี่ มันเสียใจมาก เพราะใจไปยึดไปหลงว่าเป็นของเรา ไปหลงไปคิดว่าควรจะอยู่กับเราไปเรื่อยๆ ปัญหาของเราจึงอยู่ที่ใจ ที่ไปยึดไปติดกับสิ่งต่างๆนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า ความทุกข์ก็คืออุปาทานในขันธ์ ๕ ในอริยสัจ ๔ ทรงแสดงว่า ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ โดยสรุปก็คือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือกายกับใจนี้เอง ถ้าไม่ต้องการความทุกข์ ก็ต้องเข้าใจว่าร่างกายเป็นเหมือนกับรถยนต์คันหนึ่ง เหมือนบ้านหลังหนึ่ง ดูแลมันไป ใช้ให้มันเป็นประโยชน์ เมื่อถึงเวลาที่มันจะเป็นอะไรไป ถ้าไม่สามารถป้องกันหรือหักห้ามมันได้ ก็ต้องปล่อยไปตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปวุ่นวาย
ถ้ารู้จักปล่อยวาง รู้จักทำใจให้สงบ ก็จะไม่เดือดร้อนอะไร เวลามันจะไปก็เข้าสมาธิ ภาวนาพุทโธๆไป สวดมนต์ไป เหมือนนอนหลับไป เวลาตายมันแค่ขณะเดียวเท่านั้น หายใจเข้าไปแล้วไม่หายใจออกมาก็ตาย ถ้ายังหายใจอยู่ก็ยังไม่ตาย ความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือความหลง หลงคิดว่าตายแล้วทุกอย่างจะสูญหมด จะหายไปหมด จะต้องสูญเสียสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป ก็เกิดความว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวใจ หมดอาลัยตายอยาก แต่ความจริงมันไม่หมดหรอก ใจก็ต้องไปเกิดใหม่ เวลามาก็ไม่ได้เอาอะไรติดตัวมาแม้แต่ชิ้นเดียว มาแล้วก็มาหาใหม่ เริ่มต้นจากศูนย์แล้วก็กลับไปสู่ศูนย์อีก แล้วก็ไปเริ่มต้นที่ศูนย์อีก ก็วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้จนกว่าจะหยุด จนกว่าจะตัดความอยากต่างๆได้ ตัดความหลงได้ ตัวอยากนี้เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ด้วยการทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา เช่นมีเงินร้อยบาท อยากจะไปดูหนัง ก็เอาเงินร้อยบาทมาทำบุญแทน ทำไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่อยากจะไปดูหนังก็เอาเงินที่จะไปดูหนังมาทำบุญ ต่อไปมันก็ไม่ไปดู ทุกครั้งที่อยากจะซื้อรองเท้าคู่ใหม่ก็เอามาทำบุญ อยากจะไปเที่ยวที่ไหนก็เอามาทำบุญ ถ้าอยากจะไปเที่ยวก็อาศัยการไปทำบุญ เป็นการเที่ยวไปในตัวก็แล้วกัน ได้นั่งรถเที่ยวและทำบุญควบคู่กันไป ดีกว่าบินไปเที่ยวไปกินที่ฮ่องกง มันก็เท่านั้นแหละ สู้ไปวัดไม่ได้ ไปเที่ยววัดกันดีกว่า
ทุกครั้งอยากได้สิ่งที่ไม่จำเป็น สิ่งที่ฟุ่มเฟือย ก็เอาเงินที่จะไปซื้อไปกินเหล่านี้มาทำบุญ นี่คือวิธีดับกิเลส วิธีที่จะระงับความอยากต่างๆ เมื่อได้ทำบุญแล้วจะมีความอิ่มอยู่ในใจ มีความสุข ทำไปเรื่อยๆต่อไปก็จะติดเป็นนิสัยเอง ความอยากที่จะใช้เงินฟุ่มเฟือย ไปเที่ยว ไปกินอะไร ก็จะเบาบางลงไป ความอยากจะทำบุญก็มีมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อได้ทำบุญบ่อยๆแล้วก็อยากจะรักษาศีล เพราะคนที่ทำบุญจะไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น ชอบสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเรื่องอะไรจะไปเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อที่จะเอาเงินเอาทองมา สู้หามาด้วยความสุจริตจะดีกว่า สบายใจกว่า จิตก็จะมีความสงบ คนที่มีศีลจิตจะสงบมากกว่าคนที่ไม่มีศีล คนที่ไม่มีศีลจะวุ่นวายอยู่เรื่อย กังวลห่วงหน้าห่วงหลัง ไปทำอะไรมิดีมิร้ายกับใครไว้ที่ไหนบ้าง ไปโกหกใครไว้ที่ไหนบ้าง จำไม่ได้ กลัวจะถูกจับผิดเข้าสักวันหนึ่ง แต่คนที่ไม่เคยโกหกใคร พูดร้อยครั้งก็เป็นความจริงร้อยครั้ง ไม่ต้องกังวล ก็จะเห็นความสุขที่เกิดจากความสงบของจิตใจว่าดีอย่างไร
ทีนี้ก็อยากจะภาวนา อยากจะไปอยู่วัด อยากจะไปหาที่สงบ แล้วก็ไปฟังเทศน์ฟังธรรม ก็จะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์ต่างๆ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาถ้าได้พิจารณาก็จะเห็นว่าเราอยู่ท่ามกลางของปลอมทั้งนั้น ไม่มีอะไรจริงแท้แน่นอน อยู่วันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นอะไรไปแล้ว เหมือนไอศกรีม เหมือนน้ำแข็งที่เราเอามาตั้งไว้ข้างนอกตู้เย็น เวลาตั้งไว้ใหม่ๆมันก็เป็นก้อน พอเผลอแป๊บเดียวไปดูกลายเป็นน้ำไปหมดแล้ว ชีวิตของเราก็เป็นแบบนั้น ตอนนี้เป็นก้อน เป็นรูปเป็นร่าง เดี๋ยวเผลออีกทีก็กลายเป็นขี้เถ้าไปแล้ว แต่เราไม่คิดกัน ไม่พิจารณากัน ก็เลยหลงสะสมสร้างกันไปเรื่อย จึงต้องเจริญไตรลักษณ์อยู่เรื่อยๆ พิจารณาความไม่เที่ยงอยู่เรื่อยๆ แล้วมันจะไม่อยาก อยากไปทำไม ได้อะไรมาเดี๋ยวมันก็หมดไป เดี๋ยวก็กลายเป็นอะไรไปหมด กลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน ของใหม่ๆเวลาได้มานี้ ดูสวยงามไปหมด พอใช้ไปๆเดี๋ยวมันก็เก่า เดี๋ยวมันก็เสีย เดี๋ยวก็ล้าสมัยแล้ว ก็อยากจะโยนทิ้งไป อยากจะได้ใหม่อีก.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
จุลธรรมนำใจ ๕ กัณฑ์ที่ ๒๔๐
วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๙
ต
ธาตุรู้
ตัวรู้หรือธาตุรู้ก็คือใจ ธาตุที่ ๖ ก็คืออากาศธาตุ อากาศก็คือความว่าง พื้นที่ว่างๆนี้เรียกว่าอากาศธาตุ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้องตั้งอยู่ในอากาศ โลกเรานี่ก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลอยอยู่ในอากาศหรืออวกาศ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ต่างๆ ก็ลอยอยู่เหมือนกัน ส่วนใจของเราที่เป็นธาตุรู้ ก็มาครอบครองร่างกายที่ทำมาจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง เป็นเนื้อ เป็นเอ็น เป็นกระดูก ฯลฯ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ มันก็เป็นเหมือนร่างกายที่ทำมาจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนคลื่นวิทยุที่เข้าไปหรือออกมาก็เป็นเหมือนใจ พอมีคลื่นวิทยุเข้าไปในเครื่อง มันก็ส่งเสียงดังออกมา มีเสียงคนพูดออกมา เป็นเหมือนตัวจิตกำลังพูดผ่านร่างกาย เครื่องมือถือก็เป็นเหมือนกับร่างกาย คลื่นวิทยุก็เป็นเหมือนใจ ตัวเครื่องมันไม่รู้เรื่อง ตัวรู้เรื่องก็คือตัวกระแสคลื่น เมื่อเครื่องเสีย ก็ไปหาเครื่องใหม่ จะได้เครื่องที่ดีกว่าเก่าหรือไม่ก็อยู่ที่เงินในกระเป๋า เวลาร่างกายตายไปใจก็ไปหาร่างกายใหม่ จะได้ร่างกายที่ดีกว่าเก่าหรือไม่ ก็อยู่ที่บุญกุศลหรือบาปกรรมที่ทำไว้ ถ้าทำบุญมากกว่าบาป ก็จะได้ร่างกายที่ดีกว่าเก่า ถ้าทำบาปมากกว่าบุญ ก็จะได้ร่างกายที่เลวกว่าเก่า แทนที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่นสุนัขเป็นต้น
อย่างในสมัยพุทธกาลมีเศรษฐีตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นสุนัขในบ้านของตนเอง พระพุทธเจ้าทรงรู้ แต่พวกๆลูกของเศรษฐีไม่รู้ว่าพ่อมาเกิดเป็นสุนัขในบ้าน พระพุทธเจ้าจึงทรงบอกว่า สุนัขตัวนี้เป็นพ่อของพวกเธอ เดี๋ยวมันจะพาไปขุดสมบัติที่พ่อเธอฝังซ่อนไว้ ต่อมามันก็ไปขุดคุ้ยสมบัติที่พ่อฝังไว้ จิตเป็นของไม่ตาย ที่ตายก็คือร่างกาย ร่างกายก็ไม่รู้ว่ามันตาย ร่างกายก็เป็นเหมือนกับศาลาหลังนี้ เวลาพังไปมันก็ไม่รู้ว่ามันพัง แต่เจ้าของศาลาซิร้องห่มร้องไห้เสียอกเสียใจเสียดาย สังเกตดูถ้าชอบอะไรมากๆ เวลามันเสียไปหรือถูกขโมยไปนี่ มันเสียใจมาก เพราะใจไปยึดไปหลงว่าเป็นของเรา ไปหลงไปคิดว่าควรจะอยู่กับเราไปเรื่อยๆ ปัญหาของเราจึงอยู่ที่ใจ ที่ไปยึดไปติดกับสิ่งต่างๆนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า ความทุกข์ก็คืออุปาทานในขันธ์ ๕ ในอริยสัจ ๔ ทรงแสดงว่า ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ โดยสรุปก็คือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือกายกับใจนี้เอง ถ้าไม่ต้องการความทุกข์ ก็ต้องเข้าใจว่าร่างกายเป็นเหมือนกับรถยนต์คันหนึ่ง เหมือนบ้านหลังหนึ่ง ดูแลมันไป ใช้ให้มันเป็นประโยชน์ เมื่อถึงเวลาที่มันจะเป็นอะไรไป ถ้าไม่สามารถป้องกันหรือหักห้ามมันได้ ก็ต้องปล่อยไปตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปวุ่นวาย
ถ้ารู้จักปล่อยวาง รู้จักทำใจให้สงบ ก็จะไม่เดือดร้อนอะไร เวลามันจะไปก็เข้าสมาธิ ภาวนาพุทโธๆไป สวดมนต์ไป เหมือนนอนหลับไป เวลาตายมันแค่ขณะเดียวเท่านั้น หายใจเข้าไปแล้วไม่หายใจออกมาก็ตาย ถ้ายังหายใจอยู่ก็ยังไม่ตาย ความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือความหลง หลงคิดว่าตายแล้วทุกอย่างจะสูญหมด จะหายไปหมด จะต้องสูญเสียสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป ก็เกิดความว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวใจ หมดอาลัยตายอยาก แต่ความจริงมันไม่หมดหรอก ใจก็ต้องไปเกิดใหม่ เวลามาก็ไม่ได้เอาอะไรติดตัวมาแม้แต่ชิ้นเดียว มาแล้วก็มาหาใหม่ เริ่มต้นจากศูนย์แล้วก็กลับไปสู่ศูนย์อีก แล้วก็ไปเริ่มต้นที่ศูนย์อีก ก็วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้จนกว่าจะหยุด จนกว่าจะตัดความอยากต่างๆได้ ตัดความหลงได้ ตัวอยากนี้เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ด้วยการทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา เช่นมีเงินร้อยบาท อยากจะไปดูหนัง ก็เอาเงินร้อยบาทมาทำบุญแทน ทำไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่อยากจะไปดูหนังก็เอาเงินที่จะไปดูหนังมาทำบุญ ต่อไปมันก็ไม่ไปดู ทุกครั้งที่อยากจะซื้อรองเท้าคู่ใหม่ก็เอามาทำบุญ อยากจะไปเที่ยวที่ไหนก็เอามาทำบุญ ถ้าอยากจะไปเที่ยวก็อาศัยการไปทำบุญ เป็นการเที่ยวไปในตัวก็แล้วกัน ได้นั่งรถเที่ยวและทำบุญควบคู่กันไป ดีกว่าบินไปเที่ยวไปกินที่ฮ่องกง มันก็เท่านั้นแหละ สู้ไปวัดไม่ได้ ไปเที่ยววัดกันดีกว่า
ทุกครั้งอยากได้สิ่งที่ไม่จำเป็น สิ่งที่ฟุ่มเฟือย ก็เอาเงินที่จะไปซื้อไปกินเหล่านี้มาทำบุญ นี่คือวิธีดับกิเลส วิธีที่จะระงับความอยากต่างๆ เมื่อได้ทำบุญแล้วจะมีความอิ่มอยู่ในใจ มีความสุข ทำไปเรื่อยๆต่อไปก็จะติดเป็นนิสัยเอง ความอยากที่จะใช้เงินฟุ่มเฟือย ไปเที่ยว ไปกินอะไร ก็จะเบาบางลงไป ความอยากจะทำบุญก็มีมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อได้ทำบุญบ่อยๆแล้วก็อยากจะรักษาศีล เพราะคนที่ทำบุญจะไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น ชอบสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเรื่องอะไรจะไปเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อที่จะเอาเงินเอาทองมา สู้หามาด้วยความสุจริตจะดีกว่า สบายใจกว่า จิตก็จะมีความสงบ คนที่มีศีลจิตจะสงบมากกว่าคนที่ไม่มีศีล คนที่ไม่มีศีลจะวุ่นวายอยู่เรื่อย กังวลห่วงหน้าห่วงหลัง ไปทำอะไรมิดีมิร้ายกับใครไว้ที่ไหนบ้าง ไปโกหกใครไว้ที่ไหนบ้าง จำไม่ได้ กลัวจะถูกจับผิดเข้าสักวันหนึ่ง แต่คนที่ไม่เคยโกหกใคร พูดร้อยครั้งก็เป็นความจริงร้อยครั้ง ไม่ต้องกังวล ก็จะเห็นความสุขที่เกิดจากความสงบของจิตใจว่าดีอย่างไร
ทีนี้ก็อยากจะภาวนา อยากจะไปอยู่วัด อยากจะไปหาที่สงบ แล้วก็ไปฟังเทศน์ฟังธรรม ก็จะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์ต่างๆ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาถ้าได้พิจารณาก็จะเห็นว่าเราอยู่ท่ามกลางของปลอมทั้งนั้น ไม่มีอะไรจริงแท้แน่นอน อยู่วันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นอะไรไปแล้ว เหมือนไอศกรีม เหมือนน้ำแข็งที่เราเอามาตั้งไว้ข้างนอกตู้เย็น เวลาตั้งไว้ใหม่ๆมันก็เป็นก้อน พอเผลอแป๊บเดียวไปดูกลายเป็นน้ำไปหมดแล้ว ชีวิตของเราก็เป็นแบบนั้น ตอนนี้เป็นก้อน เป็นรูปเป็นร่าง เดี๋ยวเผลออีกทีก็กลายเป็นขี้เถ้าไปแล้ว แต่เราไม่คิดกัน ไม่พิจารณากัน ก็เลยหลงสะสมสร้างกันไปเรื่อย จึงต้องเจริญไตรลักษณ์อยู่เรื่อยๆ พิจารณาความไม่เที่ยงอยู่เรื่อยๆ แล้วมันจะไม่อยาก อยากไปทำไม ได้อะไรมาเดี๋ยวมันก็หมดไป เดี๋ยวก็กลายเป็นอะไรไปหมด กลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน ของใหม่ๆเวลาได้มานี้ ดูสวยงามไปหมด พอใช้ไปๆเดี๋ยวมันก็เก่า เดี๋ยวมันก็เสีย เดี๋ยวก็ล้าสมัยแล้ว ก็อยากจะโยนทิ้งไป อยากจะได้ใหม่อีก.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
จุลธรรมนำใจ ๕ กัณฑ์ที่ ๒๔๐
วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๙
ต