▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
มหาสติปัฏฐาน 4
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ศาสนาพุทธ
ปฏิบัติธรรม
...แสงส่องใจ... จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 184 - 187 , 220 ค่ะ โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก) ค่ะ
โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก) ค่ะ
สมถะ 2 วิธี
ได้แสดงวิธีปฏิบัติฝ่ายสมถะ คือ ให้ทำจิตใจให้สงบตั้งมั่นมาแล้ว 2 ประการ คือ อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง กายคตาสติ สติที่ไปในกายอย่างหนึ่ง การทำสมาธิด้วยวิธีทั้ง 2 ดังกล่าวมานั้น อานาปานสติ มุ่งรวมจิตไว้เป็นหนึ่งให้รู้หายใจเข้าหายใจออก ส่วนกายคตาสติ สติที่ไปในกาย มุ่งพิจารณาไปตามอาการของกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น เพื่อให้ความปฏิกูลปรากฏตามเป็นจริง
ธาตุกรรมฐาน
จะแสดงอีกวิธีหนึ่ง อันเรียกว่า ธาตุกรรมฐาน คือการกำหนดพิจารณาโดยความเป็นธาตุ คำว่า ธาตุ ในที่นี้ คือส่วนซึ่งเป็นที่รวมโดยลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ไม่ใช่ความหมายว่าเป็นธาตุคือเป็นต้นเดิม กล่าวคือในกายนี้ ส่วนที่แข้นแข็งก็สมมติเรียกว่า ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ส่วนที่เอิบอาบก็สมมติเรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำ ส่วนที่อบอุ่นก็สมมติเรียกว่า เตโชธาตุ ธาตุไฟ ส่วนที่พัดไหวก็สมมติเรียกว่า วาโยธาตุ ธาตุลม การพิจารณากายโดยอาการ 31 หรือ 32 ดังที่ได้แสดงแล้วในวันก่อน เป็นการจำแนกออกไปตามอวัยวะภายนอกอวัยวะภายใน ส่วนในการพิจารณาโดยความเป็นธาตุนี้ก็สรุปอาการเหล่านั้นเข้ามา กล่าวคือ :
ธาตุดิน
เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน ตโจ หนัง มํสํ เนื้อ นหารู เอ็น อฏฺฐิ กระดูก อฏฺฐิมิญชํ เยื่อในกระดูก วกฺกํ ไต หทยํ หัวใจ ยกนํ ตับ กิโลมกํ พังผืด ปิหกํ ม้าม ปปฺผาสํ ปอด อนฺตํ ไส้ใหญ่ อนฺตคุณํ ไส้เล็ก อุทริยํ อาหารใหม่ กรีสํ อาหารเก่า และส่วนใดส่วนหนึ่งที่แข้นแข็งในร่างกายนี้ ก็สมมติเรียกว่า เป็น ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน
ธาตุน้ำ
ปิตฺตํ ดี เสมฺหํ เสลด ปุพฺโพ น้ำหนอง โลหิตํ น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท มันข้น อสฺสุ น้ำตา วสา มันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฺฆานิกา น้ำมูก ลสิกา ไขข้อ มุตฺตํ มูตร และส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายนี้เป็นส่วนเหลวเอิบอาบ ก็สมมติเรียกว่าเป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ
เยน สนฺตปฺปติ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เยน ชิริยติ ไฟที่ทำให้ร่างกายชำรุดทรุดโทรม เยน ปริฑยฺหติ ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เยน อสิตปีตขายิตสายิตํ สมฺมา ปริณามํ คจฺฉติ ไฟที่ทำให้อาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มย่อย และส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายนี้ที่มีลักษณะอบอุ่น ก็สมมติเรียกว่า เป็น เตโชธาตุ ธาตุไฟ
ธาตุลม
อุทฺธงฺคมา วาตา ลมพัดขึ้นเบื้องบน อโธคมา วาตา ลมพัดลงเบื้องต่ำ กุจฺฉิสยา วาตา ลมในท้อง โกฏฺฐสยา วาตา ลมในไส้ องฺคมงฺคานุสาริโน วาตา ลมพัดไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ อสฺสาโส ปสฺสาโส ลมหายใจเข้าลมหายใจออก และส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายนี้มีลักษณะพัดไหวได้ ก็สมมติเรียกว่า เป็น วาโยธาตุ ธาตุลม
ธาตุอากาศ
อนึ่ง ได้มีแสดงธาตุที่ห้าในพระสูตรอื่น คือ อากาศธาตุ ธาตุคือช่องว่างในร่างกายอันนี้ ได้แก่ กณฺณจฺฉิทฺทํ ช่องหู นาสจฺฉิทฺทํ ช่องจมูก มุขทฺวารํ ช่องปาก เยน จ อสิตปิตขายิตสายิตํ ช่องที่อาหารล่วงล้ำลำคอลงไป ยตฺถ จ สนฺติฏฐติ และช่องที่อาหารเก็บอยู่ เยน จ อโธภาคา นิกฺขมติ และช่องที่อาหารออกไปในภายนอก หรือช่องว่างเหล่าอื่นในร่างกายอันนี้ สมมติเรียกว่าเป็น อากาศธาตุ อากาศธาตุ คือช่องว่าง