อสุภในงานศิลปะของญี่ปุ่น

.

.
.

มีในคำสอนของศาสนาพุทธ
ในเรื่องการไตร่ตรองเกี่ยวกับความตาย
เป็นส่วนสำคัญของการทำสมาธิ

พระบรมศาสดาเคยตรัสเองว่า
ความตายเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะสอนให้คนเรารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน
ทำลายตัวตน ลดความหยิ่งยะโสโอหัง
ความตายพังทลายอุปสรรคชนชั้นวรรณะ
ความเชื่อในเรื่องเผ่าพันธุ์ที่ดีกว่า
การแบ่งแยกชนชั้นมนุษย์ที่มีอยู่
(เพราะตายหมดทุกคนแน่นอน)

วัฒนธรรมชาวพุทธในบางแห่ง
เช่น ธิเขต จะใช้ฟากฟ้าเป็นสุสาน
โดยศพมนุษย์จะถูกปล่อยทิ้งไว้ในที่โล่ง
เช่น ยอดภูเขา ป่าไม้ ทุ่งนา
เพื่อให้เป็นอาหารของสัตว์ป่า
สิ่งเหล่านี้อาจดูน่าขยะแขยงและน่ากลัว
สำหรับผู้คนในวัฒนธรรมอื่น
แต่สำหรับชาวพุทธที่ผ่านการฝึกฝนแล้ว
ฟากฟ้าฝังศพเป็นอีกวิธีหนึ่ง
ในการยอมรับความไม่เที่ยงของชีวิต

แนวทางเชิงปฏิบัติด้านงานศิลปะ
ที่ตอบรับความยิ่งใหญ่ของมรณกรรม
คือ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบศิลปะญี่ปุ่น
ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจและน่าเศร้าหมอง
เรียกว่า kusôzu  เริ่มมีผลงานแบบนี้
ปรากฏขึ้นในศตวรรษที่ 13
และต่อเนื่องจนถึงปลายศตวรรษที่ 19

Kusôzu  หมายถึง  ภาพวาดของ
9  ขั้นตอนของซากศพที่เน่าเปื่อย
แสดงภาพการสลายตัวตามลำดับ
ของซากศพโดยทั่วไปเป็นเพศหญิง
แนวศิลปะที่น่าสะพึงกลัวได้ปรากฏขึ้น
เป็นระยะเวลานานกว่า 500 ปีในรูปแบบต่าง ๆ
รวมถึงม้วนหนังสือ/หนังสือที่พิมพ์ภาพต่าง ๆ
.
.

.
.

หนึ่งในตัวอย่างภาพที่เก่าแก่ที่สุด
ของงานศิลปะประเภทนี้คือ
ม้วนกระดาษภาพเขียน
ในศตวรรษที่ 14 ชื่อ Kusōshi emaki
ซึ่งการแปลภาษาอังกฤษมีความยาวมาก
บทกวีบรรยายที่มีภาพวาดประกอบ
แบบม้วนภาพวาดขนาดยาวได้ (Handscroll)
บทกวีของศพ 9  ขั้นตอนที่เน่าเปื่อย


การเลื่อนดูภาพประกอบจะเล่าเรื่องราว
ด้วยภาพประกอบที่แสดงถึง 9  ขั้นตอน
ของการสลายตัวของศพคนเรา

เริ่มต้นด้วยหัวข้อคนที่มีสุขภาพดี
ของสตรีชนชั้นสูงที่ถูกระบุว่า
เป็นกวีสมัยศตวรรษที่ 9
คือ Ono no Komachi

ภาพที่ 2 
เธอตายแล้วถูกวางบนพื้นห่มด้วยผ้าห่ม

ภาพต่อมา
ศพของเธอซึ่งตอนนี้อยู่ในที่โล่ง
สามารถมองเห็นการย่อยสลายอย่างต่อเนื่อง
และการเน่าเปื่อยจนเหลือเนื้อและกระดูก
ต่อมาทั้งหมดนี้ได้รับการทำชำระล้าง
ทำความสะอาดด้วยพวกสัตว์กินเนื้อ
.
.
.
9 ขั้นตอนของการสลายตัวของหญิงงามเมือง
หมึกและสีบนผ้าไหมราวปี 1870 
British Museum
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
.


" หน้าที่ของงานศิลปะเหล่านี้ คือ
การแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง
และธรรมชาติของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง 

องค์ประกอบของภาพนั้น
สามารถปรับให้เข้ากับการทำสมาธิชาวพุทธ
เพราะศพจะปลูกฝังความรู้สึก
ให้เกิดความรังเกียจอย่างลึกซึ้ง
ให้กับร่างกายมนุษย์
โดยเฉพาะเพศตรงข้าม
เพื่อไม่ให้พระภิกษุหรือผู้ศรัทธาในศาสนา
จะได้ไม่ถูกล่อลวงโดยเนื้อหนังของสตรีเพศ
และตระหนักถึง ความไม่เที่ยงของ
ร่างกาย(สังขาร) ของคนเราทุกคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นตัวตน
และสละตัวตนเสีย ” Gail Chin  เขียน

ในทางคำสอนศาสนาพุทธ
การเอาชนะความต้องการทางเพศ
เป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ต่อการบรรลุธรรม/การตรัสรู้
เพราะร่างกายของสตรี
เป็นแหล่งความปรารถนาของมนุษย์

การนั่งสมาธิเบื้องหน้าซากศพที่เน่าเหม็น
จึงกลายเป็นรูปแบบอย่างหนึ่ง
ของการเรียนรู้ธรรมะ ที่ก่อขึ้นมา
ด้วยความเกลียดชัง
สำหรับพระภิกษุ ฆราวาสชายหญิง
ที่ถูกขอให้นั่งสมาธิในแง่ที่น่ารังเกียจ
ของร่างกายของตนเองด้วย

การใช้ซากศพหญิงเป็นเครื่องมือ
ในการพิจารณาร่างกายตนเอง
มีประเพณีอันยาวนานมาก
ในวรรณคดีพุทธศาสนา
ที่ย้อนกลับไปถึงยุคกลาง
อย่างไรก็ตามภาพที่มองเห็นถัดมา
คือ ชุดรูปแบบศิลปะที่มีการปรับตัวของญี่ปุ่น

นักวิชาการสมัยใหม่บางคนตีความว่า
การเจาะจงใช้เฉพาะศพผู้หญิง
ในงานศิลปะประเภท kusōzu
เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมากเรื่อง
ในเรื่องความจงเกลียดจงชังผู้หญิง
ในแนวความคิดพุทธศาสนาของญี่ปุ่น

แต่ Gail Chin ได้ปฏิเสธแนวความคิดนี้
โดยโต้แย้งว่า ร่างกายของผู้หญิงถูกนำมาใช้
เพื่อสอนบทเรียนพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด
เธอจะต้องมีคุณค่าอย่างแท้จริง
ในฐานะตัวแทนความจริงทางพุทธศาสนา
.
.[hf].
ความตายของสุภาพสตรีผู้สูงศักดิ์
และร่างกายที่เสื่อมโทรม
ที่ถูกระบุว่า เป็นกวีสมัยศตวรรษที่ 9
คือ Ono no Komachi
.

.
สตรีชนชั้นสุงในชุดกิโมโน
นั่งอยู่ในบ้านที่โต๊ะสีแดงต่ำ
มีแผ่นกระดาษม้วนอยู่ในมือซ้าย
ซึ่งเธอได้เขียนบทกวีอำลา  (ไฮกุ)
: เธอมีใบหน้าที่ซีดเผือด
และแสดงออกทางสีหน้าที่หมกมุ่นอยู่
.
.


.
เธอเสียชีวิตแล้วและถูกวางลงบนพื้น
คลุมไหล่ของเธอด้วยผ้าห่ม
มีสุภาพสตรีกับสุภาพบุรุษร่วมในงานศพ
.
.


.
ศพของเธออยู่พื้นที่ด้านนอกบ้าน
มีสภาพเปลือยกายท่อนบน
มีผ้าขาวปกคลุมท่อนล่าง
เสื่อวางพับขึ้นมาบนขาของเธอ
ตอนนี้ผิวของเธอมีสีเนื้อ
.
.


.
สภาพเน่าเปื่อยเพิ่งเริ่มขึ้น
.
.


.
ศพกำลังเน่าเปื่อยเต็มที่ในขั้นตอนสุดท้าย
.
.


.
ศพที่เน่าเปื่อยในตอนนี้
เป็นอาหารพวกนกและสัตว์เล็ก ๆ
.
.


.
เนื้อในศพเกือบหมดแล้ว
เผยให้เห็นโครงกระดูก
มีดอกไม้ Wisteria
ที่เบ่งบานอยู่เหนือร่างของเธอ
.
.


.
เหลือเพียงกระดูกเพียงไม่กี่ชิ้น  มี
กะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง มือ
.

.
สถูปสร้างเพื่อระลึกถึงผู้ตาย
เธอถูกจารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤต
ตามแบบคำสอนทางพุทธศาสนามหานิกาย
.
.
.


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2WfScfw
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่