อาการแบบนี้แค่กังวล หรือย้ำคิดย้ำทำ??
มีหลายคนเลยใช่มั้ยล่ะครับที่ออกจากบ้านมาแล้ว แต่ก็มักจะต้องย้อนกลับไปดูว่า เราล็อกประตู ปิดแก๊ส ปิดไฟ ปิดน้ำ ถอดปลั๊กเตารีดแล้วหรือยัง จนบางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เราแค่กังวล หรือเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำกันแน่ 😕
ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราทำแบบนั้นซ้ำๆ เพียง 1-2 ครั้ง ก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรคนะครับ แต่ถ้าเราทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น กลัวว่าจะสกปรก เลยต้องล้างมือบ่อยๆ หรือกลัวโจรจะขึ้นบ้าน ก็เลยต้องเช็กกลอนประตูบ่อยๆ ซึ่งถ้าทำบ่อยเกินไปจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็อาจทำให้เสียเวลา เสียงานเสียการ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
👨⚕️ ทางการแพทย์ถือว่าอาการย้ำคิดย้ำทำนั้นเป็นโรคประสาทหรือโรคเครียดชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ร้อยละ 2-3 ของคนทั่วไป โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการจะอยู่ที่ 20 ปี และสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน นอกจากนี้ ยังพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป โรควิตกกังวลแพนิค เป็นต้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder : OCD)
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักมีความคิดซ้ำๆ ทำให้เกิดความรู้สึกกังวลใจ และมักจะตอบสนองด้วยการทำอะไรซ้ำๆ เพื่อลดความกังวลใจนั้น โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรู้ว่า พฤติกรรมของตัวเองไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดหรือควบคุมพฤติกรรมนั้นๆ ได้
สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น
👉 ความผิดปกติทางสมอง และการทำงานของระบบประสาทบกพร่อง ซึ่งเกิดจากระดับของสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากเกินไปจนนำไปสู่การทำพฤติกรรมซ้ำๆ ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า เกิดจากความเครียดที่ทำให้ระดับสารเคมีไม่สมดุล หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล จนทำให้เกิดความเครียด และกลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ
👉 สาเหตุทางพันธุกรรมที่อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเกิดโรคนี้ในแฝดไข่ใบเดียวกันมีสูงถึงร้อยละ 60-90
👉 สภาพแวดล้อม เช่น การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย การเผชิญกับเหตุการณ์หรือปัญหาที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ส่วนอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจทำให้เกิดการทำซ้ำๆ จนคล้ายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ อันนี้ไม่เหมือนกันนะครับ เพราะของผู้สูงอายุเกิดจากความจำที่ถดถอย ทำให้ลืมไปว่าได้ทำไปแล้ว ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง
ผลกระทบจากโรคย้ำคิดย้ำ 😥
· เสียเวลา จะไปไหนก็ไม่ได้ไปซักที เพราะต้องคอยเช็กกลอนประตู หรือปิดน้ำ ปิดไฟ
· เกิดผื่นแพ้ หรือผิวแห้ง จากการล้างมือบ่อยเกินไป
· อาจป่วยหรือไม่สบาย เพราะติดเชื้อจากการชอบเก็บสิ่งของหรือสะสมขยะเอาไว้ในบ้าน
· ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ มีปัญหาด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
· มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เพราะมีทัศนคติในเรื่องอาหารที่ต่างไปจากเดิม
· คิดว่าตัวเองมีรูปลักษณ์ที่บกพร่องหรือมีตำหนิ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ
· คนไข้ที่กังวลกับอาการย้ำคิดย้ำทำของตัวเองมากเกินไปจนเกิดเป็นความเครียด อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมา และหากมีอาการรุนแรงก็อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองได้
การป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคย้ำคิดย้ำทำ 🛡️
· รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
· ทำจิตใจให้สบายๆ หลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
· ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นกีฬาที่ตัวเองชอบ
· ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ เช่น ออกไปทำงาน ไปเจอเพื่อน เจอสังคม
· หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ สามารถทำได้ 2 ส่วนคือ ⚕️
1. การใช้ยาเพื่อช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล โดยแพทย์มักใช้ยาในกลุ่มแก้โรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโทนิน ซึ่งยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แพทย์จึงมักใช้ยาคลายกังวลเพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวลของผู้ป่วย รวมถึงยาต้านโรคจิต ควบคู่ไปกับยาแก้โรคซึมเศร้า หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก
2. การทำจิตบำบัด เช่น การทำจิตบำบัดแบบที่มีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) ซึ่งเป็นการบำบัดที่เน้นการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ไม่ได้ย้อนกลับไปแก้ปมปัญหาที่มีมาตั้งแต่อดีต รวมถึงช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลดี
โรคย้ำคิดย้ำทำ แม้จะไม่ได้เป็นโรคที่ทำอันตรายกับชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดได้ ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นโรคนี้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษานะครับ 😘😘😘
อาการแบบนี้แค่กังวล หรือย้ำคิดย้ำทำ??
มีหลายคนเลยใช่มั้ยล่ะครับที่ออกจากบ้านมาแล้ว แต่ก็มักจะต้องย้อนกลับไปดูว่า เราล็อกประตู ปิดแก๊ส ปิดไฟ ปิดน้ำ ถอดปลั๊กเตารีดแล้วหรือยัง จนบางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เราแค่กังวล หรือเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำกันแน่ 😕
ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราทำแบบนั้นซ้ำๆ เพียง 1-2 ครั้ง ก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรคนะครับ แต่ถ้าเราทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น กลัวว่าจะสกปรก เลยต้องล้างมือบ่อยๆ หรือกลัวโจรจะขึ้นบ้าน ก็เลยต้องเช็กกลอนประตูบ่อยๆ ซึ่งถ้าทำบ่อยเกินไปจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็อาจทำให้เสียเวลา เสียงานเสียการ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
👨⚕️ ทางการแพทย์ถือว่าอาการย้ำคิดย้ำทำนั้นเป็นโรคประสาทหรือโรคเครียดชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ร้อยละ 2-3 ของคนทั่วไป โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการจะอยู่ที่ 20 ปี และสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน นอกจากนี้ ยังพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป โรควิตกกังวลแพนิค เป็นต้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder : OCD)
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักมีความคิดซ้ำๆ ทำให้เกิดความรู้สึกกังวลใจ และมักจะตอบสนองด้วยการทำอะไรซ้ำๆ เพื่อลดความกังวลใจนั้น โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรู้ว่า พฤติกรรมของตัวเองไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดหรือควบคุมพฤติกรรมนั้นๆ ได้
👉 ความผิดปกติทางสมอง และการทำงานของระบบประสาทบกพร่อง ซึ่งเกิดจากระดับของสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากเกินไปจนนำไปสู่การทำพฤติกรรมซ้ำๆ ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า เกิดจากความเครียดที่ทำให้ระดับสารเคมีไม่สมดุล หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล จนทำให้เกิดความเครียด และกลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ
👉 สาเหตุทางพันธุกรรมที่อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเกิดโรคนี้ในแฝดไข่ใบเดียวกันมีสูงถึงร้อยละ 60-90
👉 สภาพแวดล้อม เช่น การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย การเผชิญกับเหตุการณ์หรือปัญหาที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ส่วนอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจทำให้เกิดการทำซ้ำๆ จนคล้ายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ อันนี้ไม่เหมือนกันนะครับ เพราะของผู้สูงอายุเกิดจากความจำที่ถดถอย ทำให้ลืมไปว่าได้ทำไปแล้ว ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง
· เสียเวลา จะไปไหนก็ไม่ได้ไปซักที เพราะต้องคอยเช็กกลอนประตู หรือปิดน้ำ ปิดไฟ
· เกิดผื่นแพ้ หรือผิวแห้ง จากการล้างมือบ่อยเกินไป
· อาจป่วยหรือไม่สบาย เพราะติดเชื้อจากการชอบเก็บสิ่งของหรือสะสมขยะเอาไว้ในบ้าน
· ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ มีปัญหาด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
· มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เพราะมีทัศนคติในเรื่องอาหารที่ต่างไปจากเดิม
· คิดว่าตัวเองมีรูปลักษณ์ที่บกพร่องหรือมีตำหนิ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ
· คนไข้ที่กังวลกับอาการย้ำคิดย้ำทำของตัวเองมากเกินไปจนเกิดเป็นความเครียด อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมา และหากมีอาการรุนแรงก็อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองได้
การป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคย้ำคิดย้ำทำ 🛡️
· รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
· ทำจิตใจให้สบายๆ หลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
· ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นกีฬาที่ตัวเองชอบ
· ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ เช่น ออกไปทำงาน ไปเจอเพื่อน เจอสังคม
· หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ สามารถทำได้ 2 ส่วนคือ ⚕️
1. การใช้ยาเพื่อช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล โดยแพทย์มักใช้ยาในกลุ่มแก้โรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโทนิน ซึ่งยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แพทย์จึงมักใช้ยาคลายกังวลเพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวลของผู้ป่วย รวมถึงยาต้านโรคจิต ควบคู่ไปกับยาแก้โรคซึมเศร้า หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก
2. การทำจิตบำบัด เช่น การทำจิตบำบัดแบบที่มีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) ซึ่งเป็นการบำบัดที่เน้นการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ไม่ได้ย้อนกลับไปแก้ปมปัญหาที่มีมาตั้งแต่อดีต รวมถึงช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลดี
โรคย้ำคิดย้ำทำ แม้จะไม่ได้เป็นโรคที่ทำอันตรายกับชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดได้ ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นโรคนี้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษานะครับ 😘😘😘